Written by on

การดูแลรักษารองเท้า

ในที่สุด คุณก็ได้รองเท้าคู่ที่เหมาะกับเท้าของคุณแล้ว แต่อย่าลืมว่ากว่าจะหารองเท้าคู่นี้ได้ คุณต้องใช้เวลานานแค่ไหน และราคาของมันก็ไม่ได้ถูกเลย เพราะฉะนั้น ถ้าคุณรู้จักดูแลรักษารองเท้าของคุณอย่างถูกวิธีแล้ว คุณก็จะใช้รองเท้าคู่ใจได้อย่างคุ้มค่านานหลายปี หรือบางครั้งอาจจะเป็นสิบปีเลยก็ว่าได้

เคลือบผิวรองเท้าเพื่อกันน้ำ หลังจากที่คุณซื้อรองเท้าเดินป่าได้แล้ว สิ่งแรกที่ควรจะต้องทำก็คือเคลือบผิวรองเท้าของคุณเพื่อให้กันน้ำได้ ถ้ารองเท้าของคุณทำจากหนังแท้ทั้งหมด ให้ใช้น้ำยาเคลือบผิวที่มีน้ำมันเป็นส่วนผสมหลัก (oil based waterproof product) ในการทาเคลือบผิวรองเท้า

ห้ามใช้แว็กซ์หรือซิลิโคนโดยเด็ดขาด เพราะสารสองตัวนี้จะทำให้อายุการใช้งานของหนังสั้นลง โดยบริเวณที่ควรจะใส่ใจและทาน้ำยาเคลือบผิวมากเป็นพิเศษก็คือตามตะเข็บต่างๆ และพื้นรองเท้า แต่ถ้ารองเท้าของคุณทำจากวัสดุสังเคราะห์ ให้ใช้น้ำยาเคลือบผิวที่มีซิลิโคนเป็นส่วนผสมหลัก (silicone based waterproof product) อย่าใช้น้ำยาที่มีน้ำมันเป็นส่วนผสมหลักกับรองเท้าที่ทำจากวัสดุสังเคราะห์

เพราะน้ำมันจะทำให้วัสดุสังเคราะห์เกิดความเสียหายได้ และคุณก็ควรจะเคลือบผิวบริเวณพื้นรองเท้าและตะเข็บต่างๆ มากเป็นพิเศษเช่นกัน แต่ถ้าหากรองเท้าของคุณทำจากทั้งวัสดุสังเคราะห์และวัสดุธรรมชาติ คุณควรจะทำตามคำแนะนำของผู้ผลิตเท่านั้น

อุ่นเครื่องก่อนการใช้งานจริง คุณไม่ควรที่จะใช้รองเท้าที่เพิ่งซื้อมาใหม่ครั้งแรกในการเดินป่าจริงโดยที่ยังไม่ได้ผ่านการอุ่นเครื่องอย่างเด็ดขาด ก่อนที่จะใช้รองเท้าคู่ใหม่นี้ในการเดินป่าจริง คุณควรจะลองใส่เดินรอบๆ บ้าน ใส่ไปเดินเที่ยวช็อปปิ้ง หรือใส่ไปเดินเล่นที่ไหนก่อนก็ได้ เพื่อให้รองเท้าของคุณได้มีโอกาสยืดหยุ่น

และให้ความรู้สึกนุ่มสบายเท้ามากขึ้นเช่นกัน ไม่มีใครเคยกำหนดระยะเวลาหรือระยะทางที่แน่นอนสำหรับการอุ่นเครื่องรองเท้า เชื่อเท้าของคุณเองจะดีที่สุด คุณควรจะลองใส่จนกว่าเท้าของคุณจะรู้สึกสบายและชินกับรองเท้าคู่ใหม่ก่อนแล้วจึงจะใส่เดินป่าจริง แต่ก็นั่นแหละ

ถ้าคุณลองใส่มันนานมากแล้วหรือลองเดินมาเป็นสิบๆ กิโลแล้ว ก็ยังไม่รู้สึกสบายสักทีคุณก็อาจจะต้องคิดใหม่แล้วล่ะว่ารองเท้าคู่นี้มันเหมาะกับเท้าคุณจริงๆ หรือเปล่า

ดูแลรักษารองเท้าให้สะอาดอยู่เสมอ ตอนที่คุณซื้อรองเท้านั้น ก่อนจะออกจากร้าน นอกจากจะซื้อน้ำยาเคลือบผิวรองเท้ามาด้วยแล้ว อย่าลืมซื้อน้ำยาทำความสะอาดรองเท้าติดมือมาด้วยเช่นกัน ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดรองเท้าหลากหลายยี่ห้อมาก และบางอย่างก็สามารถใช้ได้กับทั้งรองเท้าที่ทำจากหนังแท้และรองเท้าที่ทำจากวัสดุสังเคราะห์ ขั้นตอนการทำความสะอาดรองเท้าหลังจากใช้ในการเดินป่าก็ไม่มีอะไรซับซ้อนมาก

ประการแรกก็คือคุณควรจะเอาฝุ่นและเศษดินต่างๆ ออกจากพื้นรองเท้าให้หมดด้วยวิธีง่ายๆ เช่นการเคาะหรือกระแทกรองเท้าสองข้างด้วยกัน จากนั้นจึงใช้แปรงปัดเศษดินหรือฝุ่นที่ยังหลงเหลืออยู่ออก หรือถ้ายังออกไม่หมด อาจจะต้องใช้ผ้าชุบน้ำบิดให้แห้งๆ เช็ดฝุ่นที่หลงเหลืออยู่ออกอีกครั้ง

แต่ระวังอย่าให้ผ้าเปียกจนเกินไปจนทำให้รองเท้าเปียกได้ จากนั้นจึงใช้น้ำยาทำความสะอาดที่ซื้อมาทำความสะอาดรองเท้าตามคำแนะนำข้างขวดน้ำยานั้นๆ เมื่อเสร็จขั้นตอนเหล่านี้แล้ว รอทิ้งไว้จนกว่ารองเท้าของคุณจะแห้งสนิท จากนั้นจึงควรจะเคลือบผิวรองเท้าเพื่อกันน้ำอีกครั้ง

ห้ามใช้ความร้อนช่วยทำให้รองเท้าแห้ง ไม่ควรทำให้รองเท้าแห้งโดยการใช้วิธีตากรองเท้าข้างกองไฟ หรือใช้เครื่องช่วยเป่าให้แห้ง (เช่น เครื่องเป่าผม) เพราะความร้อนเหล่านั้นจะทำลายวัสดุที่ทำรองเท้าและมีผลต่อประสิทธิภาพของรองเท้าอีกด้วย

นอกจากนี้ การสัมผัสกับความร้อนโดยตรงแบบนี้จะทำให้ยางหรือสารที่เชื่อมระหว่างพื้นรองเท้ากับตัวรองเท้าละลายได้อีกเช่นกัน หากรองเท้าเดินป่าของคุณเปียก

ควรจะวางผึ่งลมธรรมชาติไว้ในที่แห้งๆ หากรองเท้ามีกลิ่นก็อาจจะกำจัดกลิ่นโดยใช้เบคกิ้งโซดาหรือผงสำหรับโรยเท้าก็ได้ และเมื่อรองเท้าแห้งดีแล้วจึงทำความสะอาดและเคลือบผิวกันน้ำตามขั้นตอนที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้น

อย่าปล่อยรองเท้าทิ้งเอาไว้โดยไม่ใช้นานๆ หากคุณไม่ค่อยได้เดินป่าบ่อยนัก ก็อย่าทิ้งรองเท้าเอาไว้โดยไม่ใส่เป็นเวลานานๆ ควรจะเอาออกมาใส่เดินเล่นหรือใส่ไปไหนมาไหนบ้างให้เป็นประจำเพื่อให้รองเท้ายังคงความยืดหยุ่นและสะดวกสบาย ไม่แข็งเกินไป

การเอารองเท้าออกมาใส่อย่างสม่ำเสมอจะทำให้พื้นรองเท้ายังคงความนุ่มเท้าและรองเท้าด้านบนยังคงความสะดวกสบายสำหรับเท้าอยู่ตลอดเวลา และไม่เกิดปัญหาเวลาที่จะเอาไปใช้เดินป่าจริง

อย่าใส่รองเท้าเดินโดยไม่ผูกเชือกรองเท้า เมื่อเวลาเราไปถึงแค้มป์หลังจากที่เดินขึ้นเขามาทั้งวันแล้ว บางครั้งหากเราลืมเอารองเท้าแตะไป หลายคนก็อาจจะใส่รองเท้าเดินป่าเดินไปมาโดยไม่ผูกเชือกรองเท้า แต่ความจริงแล้ว การเดินใส่รองเท้าเดินป่าโดยไม่ผูกเชือกรองเท้าจะทำให้รองเท้าเกิดการสึกหรอได้ง่ายขึ้นโดยไม่จำเป็น

โดยเฉพาะบริเวณที่บุด้านในของรองเท้าและยังทำให้เชือกรองเท้าขาดได้ง่ายขึ้นอีกด้วย ทางที่ดีควรจะนำรองเท้าแตะไปไว้เปลี่ยนเวลาเดินอยู่ที่แค้มป์หลังจากเดินมาแล้วทั้งวันจะดีที่สุดและเป็นการผ่อนคลายเท้าของคุณด้วยเช่นกัน

ขอขอบคุณข้อมูล นิตยสาร travel ภาพประกอบจากอิเตอร์เน็ต

Written by on

Written by on

การเลือกซื้อเปล สำหรับเดินทาง

การเลือกซื้อเปลในบ้านเราเลือกซื้อได้ไม่ยากนัก เพราะมีจำหน่ายเพียงไม่กี่แบบ แบบหลัก ๆ ที่นิยมใช้กันในปัจจุบันคือแบบมีมุ้งและไม่มีมุ้ง แบบไม่มีมุ้งที่เป็นที่นิยมก็จะ เป็นของยี่ห้อม้าลาย

ส่วนแบบไม่มีมุ้งก็มักจะไปซื้อกันตามจตุจักรหรือหลังกระทรวง สำหรับราคาแบบมีมุ้งก็ประมาณ 5-600 บาท แบบไม่มีมุ้งราคาประมาณ 1-300 บาท ทั้ง นี้ก็ขึ้นกับความต้องการของผู้ใช้ สำหรับรายละเอียดที่ควรพิจารณาอื่น ๆ ในการเลือกซื้อเปลมีดังนี้

เนื้อผ้า – เปลส่วนใหญ่จะทำจากผ้าไนลอน ซึ่งจะเป็นผ้าชั้นเดียวหรือซ้อนกันหลายชั้นขึ้นกับผู้ผลิต แต่เพียงผ้าชั้นเดียวก็สามารถรับน้ำหนักได้แล้วไม่จำเป็นจะต้องมีผ้าหลายชั้น เพียงแต่ความรู้สึกในการสัมผัสสำหรับผ้าหลายชั้นจะรู้สึกดีกว่า หรือแข็งแรงกว่า

เชือก – เชือกที่ใช้ไม่ควรเล็กเกินไป หากเชือกมีขนาดเล็กจะรับน้ำหนักได้น้อยกว่าเชือกขนาดใหญ่ แต่เชือกที่มาพร้อมกับเปลมักจะออกแบบให้สามารถรับน้ำหนักสำหรับ 1 คนได้อยู่แล้ว แต่เชือกเส้นเล็กเวลานอนไปครั้งแรก ๆ เมื่อผูกเชือกเสร็จอาจจะมีเสียงเชือกเลื่อนตัวบ้างเล็กน้อย หากต้องการเปลี่ยนเชือกใหม่ก็มีขายเชือกเปลต่างหาก สามารถหาซื้อได้ตามร้านอุปกรณ์แค้มปิ้งค์ทั่วไป โดยเชือกจะมีขายแบบสำเร็จความยาวคงที่ เช่น 5 เมตร 10 เมตร บรรจุขาย แต่ถ้าต้องการเลือกซื้อแบบความยาวตามที่ เราต้องการก็จะมีแบบเป็นขด โดยจะขายเป็นเมตร

น้ำหนัก – แน่นอนว่าหากน้ำหนักยิ่งเบาก็จะยิ่งดี เพราะทำให้เราไม่ต้องแบกของหนัก เปลบางแบบจะออกแบบมาเป็นแบบเบาเป็นพิเศษ (Ultralight) มีการใช้วัสดุพิเศษเพื่อ ยังคงคุณสมบัติเหมือนเดิมแต่เบาขึ้น และแน่นอนว่าราคาก็แพงขึ้นด้วย

มุ้ง – ช่วยป้องกันยุง แมลง เข้ามากัดเราเวลานอน ซึ่งตัวมุ้งจะต้องผูกเชือกขึงอีกเส้นหัวท้าย เวลานอน เพื่อดึงมุ้งขึ้นไม่ให้ปิดหน้า ในเปลบางรุ่นมุ้งจะสามารถถอดเก็บได้ด้วย ซึ่งจะดีกว่าที่หากเราคิดว่าจะไม่ใช้มุ้งก็ถอดเก็บไว้ที่บ้านได้

ความยาวเปล – เปลควรจะมีความยาวมากกว่าความสูงของผู้ใช้ประมาณ 2 ฟุต ถ้าเปลมีความยาวน้อยเกินไปเวลานอนจะไม่สบาย แต่เปลที่ขายในบ้านเรามักจะมีความยาว คงที่ ไม่ค่อยจะมีขนาดความยาวให้เลือก หากต้องการเปลที่ยาวกว่าปรกติก็อาจจะต้องสั่งพิเศษ แต่หากคุณใช้เปลที่มีความยาวมากกว่าปรกติ เวลาซื้อฟลายชีสควรจะตรวจ สอบความยาวด้วยว่า สามารถคลุมปิดเปลได้ทั่ว

อุปกรณ์เสริมและลูกเล่น – เปลบางรุ่นจะมีอุปกรณ์เสริม เช่น ช่องเก็บแว่นตา แผ่นปูรองนอน ช่องเก็บของจุกจิก ทั้งนี้ขึ้นกับรุ่นของเปลนั้น ๆ ในเปลบางแบบจะสามารถกาง เป็นเต็นท์ได้ด้วย (แต่อาจจะกางยากกว่าเต็นท์จริง ๆ สักหน่อย) ซึ่งก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง

ขอขอบคุณข้อมูล นิตยสาร travel ภาพประกอบจากอิเตอร์เน็ต

Written by on

Written by on

การเตรียมตัวไปดูนกในธรรมชาติ

ก่อนออกเดินทางไปดูนกในธรรมชาติ ไม่ว่าจะเข้าไปดูนกในอุทยานแห่งชาติ เชตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เขตห้ามล่าสัตว์ พื้นที่อนุรักษ์ หรือ แหล่งดูนก (birding spot) อื่นใด นักดูนกทุกคนควรจะต้องปฏิบัติดังต่อไปนี้ เพื่อให้การเดินทางไปดูนกในธรรมชาติได้รับประโยชน์สูงสุด

1. ศึกษาและหาข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ที่เราจะไปดูนกให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ เช่น เส้นทางที่ใช้เดินทางไปยังสถานที่ดูนก เส้นทางภายในสถานที่ดูนก เส้นทางที่ใช้ในการดูนก (trail) พืชพรรณธรรมชาติ และลักษณะภูมิประเทศ ภูมิอากาศ ลักษณะของที่พัก ซึ่งอาจเป็นบ้านพัก หรือ ต้องกางเต็นท์ รวมทั้งการขออนุญาตเข้าไปใช้พื้นที่อนุรักษ์ หรือ บ้านพักด้วย

2. ศึกษาชนิดของนกที่อาจพบในสถานที่ที่จะไปดูนก โดยติดต่อขอรายชื่อนกที่สำรวจพบในพื้นที่นั้นๆ จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หรือ โดยดูจากหนังสือคู่มือดูนก ซึ่งมีแผนที่เล็กๆ แสดงการแพร่กระจายของนกชนิดต่างๆ ในประเทศไทยไว้แล้ว

3. จัดเตรียมอุปกรณ์ที่จำเป็นในการดูนกภาคสนามให้พร้อม ได้แก่ กล้องสองตา คู่มือดูนก สมุดบันทึก ปากกา หรือ ดินสอ ควรตรวจสภาพกล้องสองตาให้เรียบร้อยก่อนออกเดินทางทุกครั้ง เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในขณะส่องกล้องดูนก

4. จัดเตรียมอุปกรณ์ที่จำเป็นในการเดินทางไปดูนกในธรรมชาติ เช่น หมวก กระติกน้ำ เต็นท์ ช้อน ถ้วย จาน แปรงสีฟัน ยาสีฟัน สบู่ ยาสระผม ผ้าเช็ดตัว ยารักษาโรค ยากันยุง และอุปกรณ์ส่วนตัวอื่นๆ ถ้าหากเดินทางไปดูนกในช่วงฤดูฝน ควรเตรียมร่ม เสื้อกันฝน และถุงพลาสติกเพื่อใช้ใส่กล้องสองตาไปด้วย

5. แต่งกายหรือจัดเตรียมเสื้อผ้า ซึ่งมีสีสันกลมกลืนกับสภาพแวดล้อม เช่น เขียว น้ำเงิน น้ำตาล เทา หรือ ดำ ไม่ควรใส่เสื้อผ้าหรือสวมหมวกสีขาว แดง แสด ส้ม ชมพู เหลือง หรือ สีสดใสอื่นๆ ซึ่งถือว่าเป็นสีเตือนภัย(warning colour) เพราะนกสามารถมองเห็นได้ชัดเจนแต่ไกล และอาจบินหนีไปก่อนที่เราจะได้เห็นตัว

6. ดูแลสุขภาพให้สมบูรณ์ก่อนออกเดินทางไปดูนกในธรรมชาติ เพราะในสถานที่ดูนก อากาศอาจหนาวเย็น และการเดินทางไปดูนกอาจต้องเดินทางไกล หรือ แบกสัมภาระมากมาย ถ้าหากร่างกายไม่แข็งแรง อาจเป็นไข้ได้ง่าย และเป็นอุปสรรคต่อคนอื่น

7. ในกรณีที่เดินทางไปดูนกเป็นกลุ่ม ถ้าหากสมาชิกในกลุ่มยังไม่เคยรู้จักกันมาก่อน ควรจะทำความรู้จักและทำความคุ้นเคยกันไว้ก่อน เพื่อให้การดูนกของกลุ่มเป็นไปด้วยความราบรื่น

ขอขอบคุณข้อมูล นิตยสาร travel ภาพประกอบจากอิเตอร์เน็ต

Written by on

Written by on

เทคนิคการใช้เครื่องครัว

ขี้เถ้าหรือทรายสามารถนำมาใช้ในการทำความสะอาดหม้อหรือกระทะได้ มนุษย์เราได้มีการใช้ทั้งขี้เถ้าและทรายเป็นสารทำความสะอาดกันมานานนับศตวรรษแล้ว เพียงใช้ ผ้าถูทรายในปริมาณเล็กน้อยกับภาชนะก็สามารถจะทำให้คราบต่างๆ หมดไปได้ หากคราบเหล่านั้นไม่ได้ติดฝังแน่นจริงๆ

หากคุณต้องการจะช่วยอนุรักษ์สภาพแวดล้อมในระหว่างคุณเดินทางอยู่ในป่า ตามหลักการที่ว่า "เราจะไม่ทิ้งอะไรไว้นอกจากรอยเท้า" คุณอาจจะใช้วิธีการต้มน้ำร้อนเพื่อทำ ความสะอาดหม้อได้โดยไม่ต้องใช้น้ำยาล้างจานได้ โดยเมื่อทานอาหารกันเสร็จแล้ว ก็ให้ใส่น้ำลงไปในหม้อเดิมแล้วปิดฝาต้มให้เดือด

ซึ่งน้ำมีคุณสมบัติเป็นตัวทำละลายที่ดี เยี่ยมอยู่แล้ว และเมื่อรวมตัวกับความร้อนและไอน้ำก็จะสามารถชำระล้างสิ่งสกปรกที่เกาะติดอยู่กับภาชนะด้านในได้อย่างหมดจด โดยน้ำร้อนนั้นก็สามารถใช้ล้างภาชนะอื่น ๆ ได้อีกหลายชิ้น หากเป็นการเดินทางที่ไม่ยาวนานมากเกินกว่า 5 วัน และเมื่อกลับถึงบ้านแล้ว คุณก็ควรจะนำภาชนะทั้งหมดออกมาล้างทำความสะอาดด้วยน้ำยาอย่างถูกต้อง อีกครั้ง และปล่อยให้แห้งสนิทก่อนที่จะเก็บเข้าที่ตามเดิม

หากด้านนอกภาชนะของคุณไม่ได้เป็นสีดำ เราสามารถจะทาสีของมันให้เป็นสีดำได้โดยไปหาซื้อสีมาทาเอง (อาจจะหาซื้อเป็นสีสำหรับทาเตาอบได้ตามร้านขายอุปกรณ์ซ่อม แซมบ้านในราคาไม่แพง) การทาสีดำเคลือบด้านนอกภาชนะจะช่วยให้หม้อหรือกระทะร้อนเร็วขึ้นในเวลาทำอาหาร เพราะสีดำจะมีคุณสมบัติในการดูดความร้อนได้ดี (แต่ ห้ามทาด้านในโดยเด็ดขาด)

ฝาของอาหารกระป๋อง ในบางครั้ง เราสามารถจะนำมาดัดแปลงใช้แทนเขียงได้หากต้องการจะหั่นอะไรเล็กๆ น้อยๆ เช่น พริก จะได้ไม่ต้องมานั่งล้างเขียงทีหลัง เพราะใช้ เสร็จแล้วเราก็สามารถทิ้งฝากระป๋องนั้นได้เลย

ควรจะเลือกซื้อหัวเตาและอุปกรณ์เครื่องครัวไปพร้อมๆ กัน เพราะเราสามารถจะลองได้เลยว่าหัวเตาที่ซื้อนี้จะสามารถเก็บไว้ในหม้อได้หรือไม่ ทางที่ดีควรจะเลือกหัวเตาที่ สามารถเก็บใส่ไปในหม้อขนาด 1.5 หรือ 2 ลิตรได้พอดี ถ้าหัวเตามีขนาดเล็กกว่านี้ก็อาจจะเล็กเกินไปสำหรับการใช้ในการทำอาหาร หรือถ้าไม่สามารถใส่ในหม้อขนาด 2 ลิตรได้ก็น่าจะถือว่าใหญ่เกินความจำเป็น

แต่ก็อย่าลืมว่าที่เก็บเชื้อเพลิงนั้นจะต้องแยกเก็บต่างหากด้วย แต่ถ้าหากคุณมีหัวเตาอยู่แล้ว ก็ควรจะนำติดตัวไปด้วยเวลาที่จะไป เลือกซื้อภาชนะเครื่องครัวชุดใหม่ เพื่อที่จะได้ทดลองใส่ในหม้อดูได้ ข้อดีของการที่เราสามารถเก็บหัวเตาไว้ในหม้อได้นั้น อย่างแรกคือเราสามารถประหยัดเนื้อที่ลงไปได้ และยังช่วยป้องกันการกระแทกให้กับหัวเตาของเรา และทำให้เราหาของได้ง่ายอีกด้วย

ทำอาหารง่ายๆ หรืออาหารจานเดียว ถ้าคุณต้องการจะมีเวลาชื่นชมธรรมชาติมากกว่าที่จะต้องมานั่งล้างนั่งขัดหม้อจานกองพะเนิน ก็ควรจะเน้นทำอาหารง่ายๆ หรืออาหาร จานเดียวที่สามารถจะทานจากในหม้อหรือกระทะได้เลย

เอาไปเฉพาะอุปกรณ์ที่คิดว่าจะต้องใช้ เช่น หากต้องการไปเดินทางท่องเที่ยวเพียงคนเดียวหรือสองคน ก็เอาไปเฉพาะหม้อขนาดเล็กก็พอ เพราะจะช่วยประหยัดเนื้อที่ในการ เก็บและลดน้ำหนักของสัมภาระลงได้อีกด้วย
อ ในท้ายที่สุดนี้

เราอาจจะกล่าวได้ว่าการเลือกซื้อภาชนะเครื่องครัวสักชุดนั้น ไม่ได้มีข้อกำหนดว่าอะไรถูกหรือผิด ทั้งหมดนี้ขึ้นอยู่กับความพอใจของตัวเราเอง ถ้า อุปกรณ์ที่เราเลือกซื้อนั้นตรงตามความต้องการในการทำอาหารของเรา อยู่ภายในงบประมาณที่เรากำหนดไว้ และไม่ใหญ่โตมากมายเกินไปจนทำให้เป็นภาระ ก็ถือได้ว่า อุปกรณ์ชุดนั้นเป็นอุปกรณ์ที่ดีและเหมาะสมแล้ว

ขอขอบคุณข้อมูล นิตยสาร travel ภาพประกอบจากอิเตอร์เน็ต

Written by on

Written by on

เทคนิคการเตรียมอาหาร ก่อนเดินทาง

กองทัพเดินด้วยท้อง นักเดินทางทุกคนก็ไม่พ้นกฏเกณฑ์ในเรื่องเหล่านี้ในสภาพความเป็มจริงของนักเดินป่าก็ย่อมรู้กันเป็นอย่างดี ความหิวไม่เคยปราณีใคร แต่การเที่ยวป่าก็มีข้อจำกัดในตัวมันเอง ที่ทำให้นักเดินทางรู้ดีว่าไม่สามารถนำอาหารไปได้ตามที่ใจปรารถนาได้ทุกอย่าง ถึงแม้จะมีการว่าจ้างลูกหาบ เพราะลูกหาบก็เป็นคนเหมือนกับเรา ถึงจะแบกน้ำหนักได้มากกว่าแต่ก็ใช่ว่าจะแบกโดยไร้ขีดจำกัด ยกเว้นยอมจ้างลูกหาบจำนวนมาก ซึ่งก็ดูไม่สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงนัก หากจะนำสิ่งอำนวยความสะดวกอย่างครบครันเข้าไปด้วย จนแทบแยกไม่ออกว่าอะไรคือบ้านอะไรคือป่า

หากทำใจรับสภาพกับความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในพื้นที่ไม่ได้ ก็ขอแนะนำให้นอนอยู่กับบ้านเฉย ๆ ดีกว่า ถึงแม้ว่าปากท้องจะเป็นสิ่งสำคัญทำให้เรามีเรี่ยวแรงในการเดินทาง แต่ก็ไม่สำคัญเท่าการไปฝืนกฎเกณฑ์ในธรรมชาติมากเกินไป

การเตรียมความพร้อมในด้านอาหารสามารถแบ่งความพร้อมออกได้เป็น 3 ส่วนด้วยกัน คือ

  1. อาหารหนัก
  2. อาหารเบา
  3. อาหารเสริม

พวกผักหรืออาหารสำเร็จรูปชนิดต่าง ๆ ก็สามารถเอาไปได้ โดยใช้วิธีรวนเค็มจะเป็นวิธีที่เก็บมันได้นานที่สุด นอกเหนือไปจากการตากแห้ง แต่ถ้าจ้างเขาทำก็คงไม่มีสิทธิ์เลือก คนนำทางหรือลูกหาบขึ้นเขาหลวงเขาจะรับเหมาทำอาหารด้วย ไม่ต้องกลัวว่าจะได้กินแต่วิญญาณเนื้อสัตว์หรือพวกผักต่าง ๆ เพียงอย่างเดียว เท่าที่เคยใช้บริการเขาก็เพียบพร้อมพอสมควร แต่จะให้เหมือนไปซื้อเองก็คงเป็นไปไม่ได้

  • อาหารหนัก อาหารหนัก หรือ อาหารหลัก ในส่วนนี้หนีไม่พ้นพวกกับข้าวอาหารเนื้อสัตว์ต่าง ๆ นอกเหนือจากพวกอาหารแห้ง เช่นเดียวกันผักควรจะเป็นพวกผักประเภทที่ทนเป็นพิเศษ เช่น ถั่วฝักยาว หรือ กะหล่ำปลี อาจจะเป็นผักที่ค่อนข้างหนัก แต่ความทนทานของมันสูง ที่ขาดไม่ได้เห็นจะเป็นน้ำพริกต่าง ๆ มันจะช่วยให้ อาหารมื้อนั้นอร่อยขึ้นได้ไม่น้อยตามพื้นฐานนิสัยของคนไทยที่ขาดน้ำพริกไม่ค่อยได้
  • อาหารเบา อาหารเบาในบางครั้งอาหารเบาหรือของว่างก็มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่ากลุ่มอาหารหลัก เนื่องจากมันช่วยเราระหว่างการเดินทางได้มาก อย่างน้อยมันก็เข้ากระตุ้นต่อมกำลังใจให้กัดฟันสู้ต่อไป อาหารในส่วนที่ได้รับความนิยม คือ อาหารจำพวกของขบเคี้ยว ลูกอม ผลไม้ดอง หรือแม้กระทั่งผลไม้ในธรรมชาติเช่นลูกสมอเป็นต้น สิ่งที่ทำให้มันได้รับความนิยมนอกจากการประทังความหิวแล้ว น้ำหนักของมันเบา พกพาได้สะดวกโดยตัวเราเอง
  • อาหารเสริม บางคนอาจมองว่าไม่มีความจำเป็น แต่เป็นที่ยอมรับกันว่า การเดินป่าบนเส้นทางที่สูงชัน ร่างกายจะเสียเหงื่อค่อนข้างมาก อาหารเสริมในความหมายคือ เครื่องดื่มพวกเกลือแร่หรือกลูโคสชนิดต่าง ๆ ที่จะช่วยให้สภาพร่างกายความสดชื่นคืนกลับมาในเวลาอันรวดเร็ว ซึ่งก็คงขึ้นอยู่กับมุมมองของแต่ละคน บางคนอาจใช้สิ่งที่มีอยู่ในร่างกายทดแทน การพักผ่อนให้เพียงพอก็เป็นวิธีการคลายเครียดและดึงความสดชื่นกลับคืนมา โดยธรรมชาติ แต่บอกได้เลยว่าสภาพความเป็นจริงบางครั้งมันก็ไม่เพียงพอกับความสดชื่นที่สูญเสียไป หารเราต้องการให้ร่างกายฟื้นคืนสภาพในเวลารวดเร็ว

พวกเครื่องบำรุงการเตรียมเรื่องอาหารการานในการเดินป่าไม่มีข้อบังคับอะไรตายตัว ส่วนใหญ่จะเน้นอาหารที่มีน้ำหนักเบาเป็นหลัก แต่ก็ไม่ถึงกับว่าตลอดการเดินทางต้องกินแต่อาหารสำเร็จรูปเพียงอย่างเดียว

นอกจากพวกเกลือแร่หรือกลูโคสชนิดต่าง ๆ แล้ว ยังมียาคลายกล้ามเนื้ออีกชนิดหนึ่ง หรืออาจใช้ยานวดแทนก็ได้

ขอขอบคุณข้อมูล ฟอร์เวิดเมลล์ ภาพประกอบจากอิเตอร์เน็ต

Written by on

Written by on

เทคนิคการเดินขึ้นทางชัน

บนยอดดอยมักจะมีสิ่งที่สวยงาม เส้นทางสู่ยอดเขามักจะเป็นทางชันไม่ว่าจะเป็นเส้นทางขึ้นดอยในเมืองไทยอย่างเช่นดอยผาโง้ม หากฝนตกระหว่างการเดินทางจะลื่นมาก

อาจจะทำให้เราลื่นตกไปสู่เบื้องล่างได้ หรือจะเป็นการขึ้นยอดดอยหิมะที่ลื่นและชันซึ่งอาจจะเกิดอันตรายระหว่างการเดินทางได้ เราผู้เป็นนักเดินทางจะต้องผ่านไปได้อย่าง ปลอดภัย หากเรารู้จักอุปกรณ์ที่จะช่วยให้เราปลอดภัยและรู้วิธีการใช้สักนิดอาจจะทำให้เรามีความปลอดภัยในการเดินทางมากขึ้น

การเดินทางเที่ยวภูเขาสูงมักจะมีผู้มีประสบการณ์เป็นผู้นำทีม หากทีมของคุณยังไม่มีผู้รู้เป็นหัวหน้าทีม ท่านก็ควรศึกษาไว้บ้างเพื่อที่จะได้พาทีมของท่านผ่านอุปสรรคไปได้ ด้วยดี หากเป็นการ Trekking ( เดินเขา ) ที่เนปาล การขึ้นยอดเขาจะต้องมีผู้ชำนาญการไต่เขาที่สอบได้ใบอนุญาตแล้วไปกับทีมอย่างน้อย 1 คนกับผู้ช่วยอีก 1 คน

ถ้าไม่มี ผู้นำทางเขาก็จะไม่ออกใบอนุญาตให้เข้าพื้นที่อุทยานแห่งชาติของเขา หากจะต้องผ่านเส้นทางชันหรือเส้นทางที่ผู้ชำนาญเห็นว่าเสี่ยงต่ออันตราย เขากับทีมงานจะเป็นผู้ปีน ขึ้นไปตอกหมุดผูกเชือกแล้วโรยเชือกลงมาเพื่อให้เราดึงเชือกไต่ขึ้นไปตามเส้นเชือกนั้น นักเดินทางจะต้องรู้วิธีการไต่เชือกขึ้นทางชันเพื่อที่จะได้ไม่ลื่นตกไปในหุบเขาเบื้อง ล่าง

การเดินขึ้นทางชันหากเกาะเชือกขึ้นไปจะทำให้ไม่ลื่นตกเขาได้ง่าย แต่ว่าการสาวเชือกขึ้นไปด้วยมือเปล่าจะลื่นได้ง่าย แล้วยิ่งเชือกเปียกจากฝนตกหรือเปียกเหงื่อจากมือเรา จะลื่นมาก

อุปกรณ์ที่ออกแบบมาเพื่อให้จับยึดเชือกได้ดีไม่มีโอกาสหลุด และทำให้เราจับได้กระชับมือคือ ascension หน้าตาเป็นแบบนี้

Ascension จะมีหน้าที่เกาะกับเส้นเชือกและเคลื่อนที่ไปข้างหน้าเท่านั้น หากเราลื่นตัวนี้จะล๊อคแน่นกับเส้นเชือกทำให้เราไม่ลื่นตกดอย มือจับเป็นยางทำให้จับได้กระชับ เหมาะมือ

วิธีการใช้งาน ง่ายๆ โดยการเกี่ยวเข้ากับเส้นเชือกให้เชือกเข้าไปอยู่ในร่องเชือก ดูวิธีการใช้งานรูปด้านขวามือ เมื่อเราเดินขึ้นก็เลื่อน ascension ไปข้างหน้า พอได้จังหวะ

ก็หยุดแล้วดึงตัวขึ้นตามไป ทำเป็นจังหวะๆ ง่ายๆ แต่ว่า...ห้ามปล่อยมือจาก ascension นะครับ เผลอปล่อยมือเมื่อไรเป็นได้หงายท้องตกดอยแน่นอน จงจับไว้ตลอดอย่า ปล่อยมือไม่ว่าจะเมื่อยแขนเพียงไรหรือจะลื่นเสียหลักอย่างไรก็จงอย่าปล่อยมือ

แต่ถ้าไม่แน่ใจในความแข็งแรงของแขนเราที่อาจจะเผลอปล่อยมือ หรืออาจจะเผลอเสียหลักลื่นล้มจน ascension หลุดมือ เพื่อความปลอดภัยควรป้องกันไว้ก่อน วิธีป้องกัน ง่ายๆ

แต่เปลืองเงินเพิ่มอีกหน่อย คือยึดสายรั้งระหว่าง ascension กับเข็มขัดของเรา เข็มขัดควรจะเป็นเข็มขัดที่สามารถรับแรงกระแทกของตัวเราได้ หากเราลื่นจนเผลอ ปล่อยมือจาก ascension ก็จะมีสายรั้งช่วยรั้งระหว่าง ascension กับเข็มขัดของเรา

เข็มขัดควรจะเป็นเข็มขัดไนลอนที่รับน้ำหนักตัวเราได้ หรืออาจจะคล้องไว้กับหูกางเกงเดินเขาที่เหนียวรับน้ำหนักตัวเราได้ชั่วครั้งชั่วคราวเวลาเราล้ม แต่ถ้าต้องการให้มี ความปลอดภัย 100% จากเข็มขัดก็ไม่ยากเพียงต้องจ่ายเงินเพิ่มอีกเยอะหน่อยเพื่อซื้อเข็มขัดนักไต่เขาซึ่งแพงราคาประมาณเส้นระ 5,000 บาทขึ้นไป แล้วจะเอาข้อมูลรูป แบบต่างๆ มาให้ชมกัน

Ascension แบบมือจับออกแบบมาให้เหมาะกับ คนถนัดขวา และถนัดซ้าย ดังนั้นในการเลือกซื้อไว้ติดเป้สักอันควรจะเลือกให้เหมาะกับการใช้งานด้วย

ขอขอบคุณข้อมูล นิตยสาร travel ภาพประกอบจากอิเตอร์เน็ต

Written by on

Written by on

เทคนิคการก่อไฟในป่า

การเดินทางท่องเที่ยวป่าทางภาคใต้หรือที่เรียกกันว่าป่าฝนนั้น เราต้องมีการเตรียมตัวให้รัดกุม โดยเฉพาะเรื่องอาหารการกินอยู่ ปัจจัยสำคัญในการเที่ยวป่า เราถือว่า "ไฟ" เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะไฟเป็นเพื่อนที่ดีเมื่อเราเข้าป่า ไฟจะเอื้อประโยชน์อย่างมากมาย

ไม่ว่าจะเป็นการปรุงอาหาร หุงข้าว การให้ไออุ่น ช่วยป้องกันภัยอันตรายจากสัตว์ร้าย แต่ละครั้ง ในการเข้าป่าเราต้องเตรียมอูปกรณ์ที่ช่วยในการก่อไฟไปด้วย อย่างเช่น เชื้อเพลิงแห้ง ยางในรถยนต์ หรือจะเป็นขี้ไต้ เทียนไข แก้วน้ำกระดาษที่เคลือบด้วยเทียนไข ซึ่งจะช่วยให้เราก่อกองไฟได้ดีไม่ว่าสภาพป่าหน้าฝนหรือหน้าแล้ง

ในกรณีการเที่ยวป่าบางพื้นที่ที่มีความเปราะบางทางธรรมชาติ ป่าบางแห่งหาฟืนยาก ไม้แห้งหายากมาก อย่างเช่นที่ป่าเขาหลวงและป่าเขาเหมนเป็นป่าชื้นจึงหาฟืนได้ยากมาก

หรืออย่างที่ดอยม่อนจอง มีนักท่องเที่ยวเข้าไปเที่ยวมากขึ้น จนจะหาฟืนจะหามาใช้นั้นแทบไม่มี บางทีก็ต้องไปตัดไม้สด ก็กลายเป็นว่าเป็นการทำลายธรรมชาติที่เกิดจากนักท่องเที่ยวโดยตรง จนต้องมีมาตรการให้นักท่องเที่ยวต้องนำเตาแก๊ส เตาน้ำมันหรืออุปกรณ์ในการหุงต้มขึ้นไปด้วย เพราะจะช่วยลดการหาฟืนและการก่อกองไฟ ใครอยากจะไปเที่ยวด้วย ก็ควรจะปฏิบัติตามกฎระเบียบ เพื่อช่วยรักษาธรรมชาติให้คงอยู่นาน ๆ

เช่นเดียวกับที่ป่าเขาหลวงหรือป่าเขาเหมน ในเมื่อเรามีลูกหาบแบกสัมภาระอยู่แล้ว เราควรที่จะใช้เตาแก๊สแทนการหาฟืน อีกทั้งสะดวกในการหุงหาอาหารได้ดีกว่าด้วย ถ้าเราเลือกใช้เตาแก๊สแบบปิกนิกสีส้ม ซึ่งมีน้ำหนักประมาณ 5 กิโลกรัมกว่า ๆ จ้างลูกหาบแบกได้สบายเลย หรือจะใช้เตาฟู่ที่ใช้น้ำมันเบนซินไร้สารตะกั่ว ที่เห็นมีขายในบ้านเรามียี่ห้อ COLEMAN ราคาแพงสักนิด ให้พลังสูง ไม่ว่าจะเป็นหุงต้ม ผัด สามารถทำได้ทุกอย่าง มีน้ำหนักเบา

ยังมีเตาแก๊สแคมปิ้งอีกชนิดหนึ่ง สมารถเปลี่ยนแก๊สได้ แต่มีปัญหาว่าแก๊สที่เปลี่ยนใหม่นั้นมีราคาสูงมาก ไม่สามารถนำมาบรรจุแก๊สใหม่ได้อีกครั้ง หกเทียบกับเตาฟู่แล้ว ดูเหมือนกับว่าเตาฟู่น้ำมันน่าใช้กว่ากัน

ในกรณีการเที่ยวป่าแบบนี้ เมื่อไม่มีอุปกรณ์เตาแก๊ส หรือเตาน้ำมัน เราอาจใช้ฟืนในป่าเท่าที่หาได้จริง พยายามหลีกเลี่ยงการได้การใช้ฟืนให้น้อยที่สุด แต่ถ้ามีเตาแก๊สเตาน้ำมันถือว่าเป็นการช่วยให้ค้ำจุนธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในป่าใหญ่ให้คงอยู่ไดนาน ๆ สร้างแนวทางใหม่หรือรูปแบบใหม่ มาเพื่อเป็นบรรทัดฐานเดียวกัน สำหรับคนป่าคอเดียวกัน

ขอขอบคุณข้อมูล ฟอร์เวิดเมลล์ ภาพประกอบจากอิเตอร์เน็ต

Written by on