Written by on

10 เคล็ดลับ เมื่อเลือกเดินทางโดยเครื่องบิน

หลายท่านที่เดินทางบ่อยๆ เป็นประจำ อาจมองข้ามจุดเล็กๆ น้อยๆ ในการปฏิบัติตัวบนเครื่องบินไป เนื่องจากความเคยชินและคิดว่าไม่น่าจะเป็นอันตรายอะไร สิ่งเล็ก ๆ น้อยๆ เหล่านี้ที่คุณมองข้ามไป มีอยู่หลายอย่าง ที่เสี่ยงต่อความปลอดภัยของตัวคุณเอง เรื่องเล็กน้อยที่เหมือนเส้นผมบังภูเขานั้น อาจจะทำให้เกิดผลกระทบที่คุณคาดไม่ถึงได้ และเพื่อให้เที่ยวบินของคุณราบรื่นและสุขสนุก ตลอดการเดินทาง ลองอ่านและปฏิบัติตามกับเคล็ด (ไม่) ลับ 10 ประการต่อไปนี้ดู ซึ่งไม่ได้ยากเย็นอะไรเลยครับ

1. เลือกเส้นทางบินแบบเทคเดียวจบ จากสถิติการเกิดอุบัติเหตุทางเครื่องบินนั้น ช่วงที่ถือได้ว่าเป็นช่วงที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุมากที่สุดคือ ตอนขณะเครื่องขึ้น (takeoff) , เครื่องไต่ระดับ (climb), เครื่องลดระดับ (descent) และช่วงนำเครื่องลง (landing) ฉะนั้นเพื่อลดความเสี่ยงในโดยสารเครื่องบิน หากเป็นไปได้ ให้เลือกเดินทางในเส้นทางบินที่ non-stop น่าจะดีกว่า นอกจากนี้ยังประหยัดเวลาและไม่เหนื่อยล้า สำหรับการเดินทางของคุณด้วย

2. เล็กๆ ไม่ ใหญ่ๆ ดีกว่า ทราบมาว่า เครื่องบินที่มีที่นั่งมากกว่า 30 ที่ขึ้นไป จำเป็นที่จะต้องผ่านการตรวจสอบตามข้อกำหนดของการบินสากล ซึ่งเป็นข้อกำหนดที่เคร่งครัด สำหรับการออกแบบเครื่องบินที่ปลอดภัยและมีการทดสอบก่อนบินจริง ดังนั้นเครื่องบินที่มีขนาดใหญ่กว่า ย่อมหมายถึงประสิทธิภาพและสมรรถนะที่ดีกว่าเครื่องบินขนาดเล็ก โอกาสที่จะเกิดปัญหาทางเทคนิคก็น้อยลงนั่นเอง ของแบบนี้ คุณควบคุมไม่ได้ ใช่ไหมครับ?

3. ใส่ใจกับการสาธิตวิธีการใช้อุปกรณ์ต่างๆ และวิธีการเพื่อความปลอดภัย คงจะมีบ้าง ที่คุณคิดว่า ผม/ดิฉัน เดินทางเป็นประจำ รู้อะไรต่างๆ ดี จึงเพิกเฉยกับการสาธิตต่างๆ จากพนักงานต้อนรับบน ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว แต่ละเที่ยวบินของคุณนั้น คุณอาจจะถูกจัดที่นั่งในที่ที่ต่างไปจากเที่ยวบินก่อนๆ หรือรุ่นของเครื่องบินที่คุณกำลังเดินทางต่างแบบกัน หรือเป็นสายการบินที่ไม่เคยใช้บริการมาก่อน ฉะนั้นทางออกฉุกเฉิน รวมถึงอุปกรณ์ช่วยชีวิตต่างๆ ก็ต้องแตกต่างไปจากที่คุณเคยเห็นแน่นอน สนใจศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมสักนิด สละเวลานั่งอ่านหนังสือพิมพ์เฉยๆ ซักไม่กี่นาที เพี่อชมการสาธิต และศึกษาคู่มือความปลอดภัย (Safety Card) ในกระเป๋าหน้าที่นั่งของท่านสักหน่อย อาจจะช่วยชีวิตคุณได้ หากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิดนะครับ

4. การเก็บกระเป๋าสัมภาระส่วนตัว ยิ่งเดินทางไกล หรือเดินทางไปนานๆ กระเป๋าของคุณก็มีน้ำหนักมากขึ้นตามไปด้วย สายการบินส่วนใหญ่ จะกำหนดน้ำหนักสัมภาระสำหรับหิ้วขึ้นเครื่องของผู้โดยสารเอาไว้ คุณควรจะปฏิบัติตามโดยเคร่งครัด ทั้งนี้ทั้งนั้น เพื่อความสะดวกและปลอดภัยของคุณเอง การมีสัมภาระที่หนักอึ้งเหมือนภาระชีวิตใครบางคน เป็นสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในช่องเก็บของเหนือศีรษะนั้น สายการบินมีการจำกัดน้ำหนักเอาไว้ แต่ในความเป็นจริง เราไม่สามารถชั่งน้ำหนักในเครื่องก่อนเก็บไว้ได้ หากเกิดสภาพอากาศแปรปรวน (turbulence) ที่รุนแรง ช่องเก็บของอาจจะรับน้ำหนักจากการกระแทกของกระเป๋าหนักๆ ไว้ไม่ไหว ทีนี้หล่ะ หัวใครหัวมันครับ

นอกจากนี้บางคนยังวางเก็บกระเป๋าไว้ใต้ขา เพื่อเอาไว้รองขาเวลานอนนั้น จริงๆ แล้วอันตรายครับ หากเกิดสภาพอากาศแปรปรวนอย่างรุนแรงมากๆ กระเป๋าอาจจะลอยขึ้นแล้วตกลงมา ทำให้ผู้คนบาดเจ็บได้ จึงขอแนะนำให้นำแต่สัมภาระที่จำเป็น เก็บสัมภาระที่ไม่จำเป็นหรือหนักเกินไป โหลดเข้าเก็บในกระเป๋าใหญ่ ส่งไปใต้เครื่องดีกว่าครับ

5. รัดเข็มขัดนิรภัย ปลอดภัยที่สุด นอกจากจำเป็นต้องรัดเข็มขัดนิรภัยขณะเครื่องขึ้นและลงแล้วนั้น ระหว่างการเดินทาง ควรรัดเข็มขัดนิรภัยทุกครั้งขณะนั่ง ถึงแม้มันอาจจะอึดอัดและไม่สบายตัว แต่การปฏิบัติเช่นนี้เป็นการป้องกันตัวคุณเองจากการตกหลุมอากาศแบบกระทันหัน ซึ่งบางครั้ง เป็นไปได้ที่นักบินไม่สามารถทราบได้จากหน้าจอเรดาห์

6. รับฟังและปฏิบัติตามคำแนะนำจากลูกเรือ นอกเหนือจากหน้าที่ที่พนักงานต้อนรับ หรือที่เราเรียกกันติดปากว่าแอร์กับสจ๊วต จะดูแลและบริการคุณระหว่างการเดินทางแล้วนั้น การดูแลเรื่องความปลอดภัยของผู้โดยสาร ก็เป็นหน้าที่ที่สำคัญที่สุดของพวกเขาด้วย ดังนั้นหากคุณได้รับการร้องขอหรือแจ้งให้ปฏิบัติ ก็ทำตามคำแนะนำและคำขอจากพวกเขาด้วย เช่นให้รัดเข็มขัดนิรภัย, เก็บสัมภาระไว้ในช่องเก็บของเหนือศีรษะ, ปรับพนักพิงหลังให้ตรง ฯลฯ เพราะสิ่งเหล่านี้ ล้วนเพื่อความปลอดภัยของคุณและผู้โดยสารคนอื่นๆ ทั้งสิ้น

7. ของร้อนโปรดระวัง ระหว่างเที่ยวบินของคุณ แน่นอนที่สุด ที่พนักงานต้อนรับจะต้องให้บริการท่านด้วยชาและกาแฟร้อน หรือแม้แต่น้ำร้อนๆ ที่ผู้โดยสารขอ ดังนั้นเพื่อป้องกันการบาดเจ็บจากการถูกน้ำร้อนลวก บางสายการบิน พนักงานจะมีถาดไว้ให้คุณวางถ้วยกาแฟ กรุณารอจนพนักงานรินให้คุณเสร็จเรียบร้อยก่อน แล้วคุณจึงหยิบถ้วยกาแฟด้วยความระมัดระวัง หรือบางสายการบินไม่มีถาด แต่จะรินลงแก้วให้คุณโดยตรง อันนี้ต้องระวังครับ ควรรอให้พนักงานรินเสร็จเสียก่อน จึงค่อยดึงแก้วกลับมา มิเช่นนั้น กาแฟร้อนๆ อาจจะรดลวกตักคุณกลางอากาศได้ และบนเครื่องเอง ก็ไม่ใช่โรงพยาบาลเคลื่อนที่ด้วยซิ

8. ดื่มพอเป็นพิธี เนื่องจากระหว่างการเดินทาง เครื่องบินนั้นต้องบินอยู่ในระดับความสูงที่สูงจากระดับน้ำทะเลมาก ภายในห้องโดยสารจึงต้องมีการปรับความดันให้คนเราสามารถอาศัยได้อย่างสบาย แม้จะมีการปรับสภาพแล้วก็ตาม ภายในห้องโดยสารก็ยังเปรียบได้กับสภาพบนภูเขาสูง อากาศจะเบาบางกว่าระดับน้ำทะเล ซึ่งการบริโภคเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์นั้น เป็นผลทำให้คุณเมาเร็วกว่าปกติ และเสี่ยงต่อการจับตัวเป็นก้อนของเลือดในเส้นเลือดของคุณ นำไปสู่อาการของโรคชั้นประหยัด (Economy Class Syndrome) ฉะนั้นจึงควรดื่มของมึนเมาแต่พอประมาณ และดื่มน้ำเปล่าให้มากๆ

9. เขตปลอดวัตถุอันตราย มีวัตถุหลายรายการที่เป็นสิ่งต้องห้ามบนเครื่องบิน เป็นการดีที่คุณจะศึกษาข้อมูลเหล่านี้ ก่อนเดินทาง ปกติแล้วคุณสามารถหาอ่านได้ ในตั๋วเดินทางของคุณ วัตถุที่ต้องห้ามต่างๆ เช่น แก๊สพิษ น้ำมันก๊าซ วัตถุไวไฟ สารทำละลาย เป็นต้น ทั้งนี้มีบางรายการที่ได้รับการยกเว้น หรือนำติดตัวไปได้ในจำนวนจำกัด

10. หากเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินที่ไม่คาดฝัน เช่น จำเป็นต้องออกจากเครื่องโดยเร็ว หรือลี้ภัยฉุกเฉิน (evacuation) คุณต้องปฏิบัติตามคำสั่งของลูกเรือโดยเคร่งครัด เพราะลูกเรือเหล่านั้น ได้รับการฝึกมาให้รับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉินมาแล้ว ดังนั้นคุณจึงควรควบคุมสติให้ดี แล้วพยายามหาทางออกที่ใกล้ตัวที่สุด และออกจากเครื่องบินให้เร็วที่สุดเท่าที่ทำได้ และเมื่อออกจากเครื่องไปแล้ว ให้หนีห่างออกจากเครื่องบินให้ไกลที่สุด วิธีเหล่านี้ คุณได้ศึกษามาแล้วจากการชมการสาธิตของลูกเรือ และจากเอกสารคู่มือความปลอดภัยในกระเป๋าหน้าที่นั่งนั่นเอง

ขอขอบคุณ นิตยสาร เที่ยวรอบโลก ภาพประกอบจากอิเตอร์เน็ต

 

Written by on

Written by on

เตรียมตัวก่อน เที่ยวทะเล

การเตรียมตัวท่องเที่ยวทางทะเล

  1. หาข้อมูลเกี่ยวกับทะเลหรือหมู่เกาะที่จะไปให้มากที่สุด เพื่อง่ายต่อการจัดโปรแกรมการเดินทาง
  2. ติดต่อจองตั๋วรถ เรือ ที่พักให้พร้อม หากเป็นที่พักในเขตอุทยานแห่งชาติ ควรต้องติดต่อล่วงหน้าอย่างน้อย 1 เดือน
  3. พักผ่อนให้เพียงพอและเตรียมฟิตร่างกายให้พร้อมกับการเดินทาง
  4. ไม่ควรดื่มเครื่องดื่มมึนเมา เพราะจะทำให้ร่างกายอ่อนแอจากการเดินทางมากขึ้น และยังอาจก่อให้เกิดอันตรายระหว่างขึ้น-ลงเรือ หรือเล่นน้ำได้
  5. ไม่ควรเตรียมสัมภาระไปมากมายเกินความจำเป็น เพราะจะไม่สะดวกต่อการลงเรือ ขึ้นฝั่ง
  6. เตรียมเสื้อผ้า รองเท้า หมวก ที่เหมาะแก่การเที่ยวทะเล
  7. เตรียมครีมกันแดด หรือเสื้อคลุมแขนยาวไปด้วย เพื่อจะได้ไม่ถูกแดดเผาจะเกินไป
  8. เตรียมยาที่จำเป็น ยาทากันยุงกันแมลงติดไปด้วย เพราะบางชายหาดมักมีตัวแมลงเล็กๆที่กัดแล้วเกิดอาการคัน
  9. เตรียมไฟฉายเล็กๆติดตัวไปด้วย เพราะที่พักตามเกาะห่างไกลส่วนใหญ่ไม่มีไฟฟ้าใช้ หรืออาจมีเป็นช่วงเวลาเท่านั้น

หน้าร้อนทีไร สาว ๆ เป็นต้องวางแผนเที่ยวทะเลใช่ไหมคะ บางคนไปจองทัวร์ ไปนัดแนะกับเพื่อน ๆ เอาไว้เรียบร้อยแล้ว แถมบางคนลงทุนไปซื้อชุดว่ายน้ำ ซื้อเสื้อผ้าคอเลคชั่นใหม่ ๆ มาเตรียมพร้อมกัน แต่คุณสาว ๆ คะ อย่านึกถึงแต่ความสวยความสนุกอย่างเดี่ยวล่ะ ต้องนึกถึงความปลอดภัยเอาไว้ด้วย มาดูกันค่ะ ว่าร้อนนี้ เราจะเที่ยวทะเลอย่างไรให้ปลอดภัย

ผิวกาย : แน่นอนค่ะ เราทราบกันดีอยู่แล้วว่า แสงแดดจ้าของชายหาดเนี่ย เป็นอันตรายต่อผิวของเรา ไม่เพียงแค่ทำให้ดำคล้ำหมองเท่านั้น ถ้ารับแสงแดดมากเกินไป ก็อาจจะเพิ่มความเสี่ยงของโรคมะเร็งผิวหนังเข้าไปด้วย ดังนั้น เราควรจะหลีกเลี่ยงการเดิน หรือนอนอาบแดด ในช่วง 10 โมงเช้าถึงบ่าย 3 โมง เพราะช่วงเวลานี้ แดดแรงสุด ๆ ค่ะ นอกจากนั้น ควรจะทาครีมกันแดดที่มีค่า SPF 15 ขึ้นไปค่ะ

สวมแว่นกันแดด : จะช่วยป้องกันดวงตาจากรัวสียูวีได้ แต่เวลาเลือกซื้อ ต้องเลือกแว่นที่เขาลงน้ำยากันยูวีไว้นะคะ จะช่วยป้องกันแสงได้ถึง 90 เปอร์เซ็นต์ แต่ถ้าเป็นแว่นกระจกสี สวย ๆ ขายกันตามแฟชั่น ราคาถูก ๆ นั้น อาจจะไม่ได้ช่วยอะไรเลยค่ะ แค่ใส่แล้วสวยเปรี้ยวอย่างเดียวเท่านั้น

พยายามหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์เพราะจะเป็นตัวเร่งให้ร่างกายขจัดน้ำออกมา เพราะอากาศที่มีแดดร้อนเปรี้ยงนั้นก็ทำให้ร่างกายของเราสูญเสียน้ำอยู่แล้ว ทางที่ดีควรดื่มน้ำสะอาดให้มาก ๆ เข้าไว้ค่ะ

สังเกตกระแสลม : ลมที่แรงมากมักจะมากับคลื่นสูง หากว่ามีลมแรงเราก็ไม่ควรจะออกทะเลค่ะ

อย่าว่ายน้ำคนเดียว : แม้ว่าคุณจะเป็นนักว่ายน้ำก็ตามที ควรหาเพื่อนที่จะช่วยกันดูแลได้

ไม่ควรเล่นน้ำหลังรับประทานอาหารอิ่ม : เพราะจะทำให้เป็นตะคริวที่ท้อง และทำให้จมน้ำได้ ควรพักประมาณ 1 ชั่วโมงหลังอาหารค่ะ

ไม่ควรออกไปว่ายน้ำในทะเลลึก : บางคนมัวแต่ดำน้ำดูปะการัง รู้ตัวอีกทีก็ไปไกลแล้ว ทีนี้ตอนว่ายน้ำกลับเข้าฝั่ง จะเหนื่อยมาก หรืออาจจะทำให้เป็นตะคริวจมน้ำได้เหมือนกัน

สวมชูชีพเสมอเวลาจะขึ้นลงเรือ : โดยเฉพาะเรือเล็ก แต่ถ้าเป็นเรือใหญ่ให้สังเกตเอาไว้ว่า เขาเก็บชูชีพไว้ตรงไหน หากเกิดเหตุจะได้หยิบมาใส่ได้ทัน

การเล่นกีฬาทางน้ำก็ต้องสวมชูชีพ : ไม่ว่าจะเป็นบานาน่าโบ๊ต เจ็ตสกี เรือใบ ควรสวมชูชีพตลอดเวลาเพราะหากเกิดเหตุขึ้นมา ต้องลอยคอในทะเล ชูชีพจะช่วยได้มากทีเดียว

สังเกตธงสัญญลักษณ์ตามชายหาด : จะมีการปักธงเพื่อแสดงระดับความลึกของน้ำ ถ้าเห็นธงสีแดงสองอัน แปลว่าอันตรายมาก อย่าลงเล่นเด็ดขาด ถ้าธงแดงอันเดียว คืออันตราย ถ้าธงเหลือง หมายถึงให้ระวังแต่ก็ไม่ถึงกับห้ามเล่น แต่ถ้าธงเขียว เล่นได้ไม่อันตรายค่ะ

กรณีเกิดอุบัติเหตุทางน้ำเช่นเรือล่ม : สิ่งที่ต้องทำคือ ตั้งสติให้ดี สละข้าวของหนัก ถอดรองเท้า แล้วพยายามว่ายน้ำอยู่ใกล้ ๆ เรือ หาวัตถุที่ลอยน้ำได้เกาะพยุงตัวไว้ เพื่อรอความช่วยเหลือ

ถ้าเดินเล่นแถวชายหาด แล้วเห็นน้ำทะเลลดอย่างรวดเร็ว : อย่ามัวตื่นตาตื่นใจ รีบขึ้นไปในที่สูงให้เร็วที่สุด เพราะคลื่นยักษ์อาจจะตามมา

ขอขอบคุณ phuketislandtour.com ภาพประกอบจากอิเตอร์เน็ต

 

Written by on

Written by on

การเตรียมตัวก่อนไปล่องแก่ง

ก่อนจะไปล่องแก่งควรเตรียมตัวสำหรับการเดินทางให้เหมาะสมเพื่อให้ได้รับความสนุกสนาน ความปลอดภัย โดยมีส่งผล กระทบกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ดังต่อไปนี้

พื้นที่ที่จะเดินทางไปส่วนใหญ่จะอยู่ในเขตป่าต้นน้ำที่ธรรมชาติมีความเปราะบาง จำเป็นอย่างยิ่งที่จะ ต้องติดต่อขออนุญาตเดินทางเข้าไปในพื้นที่ต่าง ๆ ให้ถูกต้อง เช่น การ ขออนุญาตต่อกรมป่าไม้ หน่วย งานที่ดูแลพื้นที่เหล่านั้นด้วย

การล่องแก่งเป็นกิจกรรมประเภทท่องเที่ยวธรรมชาติกึ่งการผจญภัย จำเป็นที่จะต้องใช้ความระมัด ระวังอย่างยิ่งในการร่วมกิจกรรมต่าง ๆ โดยเลือกใช้บริการที่มีการจด ทะเบียนธุรกิจนำเที่ยวแล้วเรียบร้อย และตรวจสอบรายการท่องเที่ยว และข้อตกลงต่าง ๆ ให้เรียบร้อย เช่น การประกันภัย เครื่องมือ อุปกรณ์ที่มีการให้บริการ

การเตรียมตัวท่องเที่ยวทางน้ำ ควรเลือกเสื้อผ้าที่เหมาะสม เช่น กางเกงขาสั้น และเสื้อผ้า ควรใช้ผ้าที่ แห้งง่าย รองเท้าแตะที่มีสายรัดจะดีมาก เพราะต้องเตรียมพร้อมที่จะ เปียกน้ำ และขึ้นไปเดินบนฝั่ง หากมีการเดินป่าระยะทางไกล ก็จำเป็นต้องนำรองเท้าผ้าใบไปอีกคู่หนึ่ง ในช่วงฤดูหนาวควรมีเสื้อแจ๊กเกต ผ้ากันลมไว้ใส่กันหนาวช่วงที่ล่อง แก่งด้วย

เสื้อผ้า อุปกรณ์สำหรับแค้มปิ้ง และกล้องถ่ายภาพ และของใช้ต่าง ๆ ควรใส่ถุงพลาสติค หรือถุงกันเปียก ให้เรียบร้อย การเตรียมสัมภาระต่าง ๆนำไปเฉพาะที่จำเป็นจริง ๆ เพราะพื้นที่ขนสัมภาระจำกัด

ในการล่องแก่งควรศึกษาข้อปฏิบัติการพายเรือ พยายามมีส่วนร่วมในการเดินทางอย่างดี ควรปฏิบัติตัว ตามคำแนะนำของกัปตันเรือ และมัคคุเทศก์

หากมีการรับประทานอาหาร หรือไปประกอบอาหารในป่า ควรเลือกรายการอาหารที่สะดวกง่ายและ หลีกเลี่ยงการใช้เครื่องกระป๋อง ภาชนะประเภทกล่องโฟม ขวดน้ำ พลาสติ คที่ใช้ครั้งเดียว เพื่อลดขยะ และมลพิษ ทุกครั้งที่เก็บแคมป์ ควรดูแลความสะอาด พยายามให้พื้นที่กลับสู่สภาพเดิมให้มากที่สุด

ขอขอบคุณ tongtiew.com ภาพประกอบจากอิเตอร์เน็ต

 

Written by on

Written by on

เคล็ดลับก่อนจะเช่ารถ ไปท่องเทียว

ในการท่องเที่ยวนั้น บางครั้งคุณอาจต้องเช่ารถเมื่อเดินทางไปถึงจุดหมาย แต่อย่าทำให้ตัวเองตกที่นั่งลำบากด้วยข้อตกลงที่ไม่เหมาะสม คำแนะนำมีดังนี้

จองรถล่วงหน้า ไม่เช่นนั้นคุณอาจต้องรอนาน บริษัทรถเช่าส่วนใหญ่จะบังคับให้คุณรูดบัตรเครดิตไว้เป็นมัดจำสำหรับค่าเช่าและค่าประกันกรณีรถหายหรือเสียหาย

รถเช่าดีพอหรือไม่ รถมีเข็มขัดนิรภัยครบ ตามกฎหรือไม่ มีเครื่องปรับอากาศไหม ให้ตรวจมาตรวัดน้ำมันด้วย มิฉะนั้นคุณอาจต้องจ่ายค่าน้ำมันเต็มถัง
อย่ายอมเช่ารถบุโรทั่ง คุณต้องลองเปิดไฟรถและใบปัดน้ำฝน รวมทั้งตรวจสภาพยางรถยนต์ก่อน นอกจากนี้ควรบันทึกรอยแตก รอยขูดขีด หรือรอยบุบทั้งหลาย อย่ายอมจ่ายค่าความเสียหายที่คนอื่นทำไว้

ตรวจการประกันภัยของรถ กฎการใช้รถใช้ถนนในแต่ละประเทศนั้นแตกต่างกัน และคุณก็คงต้องการความคุ้มครองที่ดี คุณควรอ่านเงื่อนไขเกี่ยวกับค่าความรับผิดชอบจากความเสียหายส่วนแรกในกรมธรรม์เสียก่อน และที่สำคัญ คุณต้องรู้ว่ากรมธรรม์นั้นอนุญาตให้ใครขับรถบ้าง

ขอขอบคุณ นิตยสาร readersdigest.co.th ภาพประกอบจากอิเตอร์เน็ต

 

Written by on

Written by on

การช่วยเหลือตัวเองเมื่อพลัดตกเรือ

หลายคนเดินทางโดยการโดยสารเรือ หรือ การท่องเที่ยวโดยการนั่งเรื่อ หากเกิดอุบัติเหตุพลัดตกเรื่อขึ้นมา คุณจะต้องทราบถึงวิธีการช่วยเหลือตนเอง ดังต่อไปนี้

เมื่อตกไปในน้ำก็ให้พยายามว่ายเข้าหาเรือ หรือเข้าฝั่งให้เร็วที่สุด ทั้งนี้เพื่อป้องกันการบาดเจ็บที่จะเกิดขึ้นจากกระแส น้ำที่พัดพาตัวเราให้ไปตกอีกแก่งหนึ่งได้

เมื่อตกน้ำ ให้พยายามลอยตัวให้อยู่เหนือน้ำในลักษณะท่านอนหงาย ยกขาทั้งสองข้างขึ้นระดับผิวน้ำ เสื้อชูชีพจะช่วยพยุง ตัวให้ลอย พยายามให้ขาไปข้างหน้าขณะที่ไหลไปตามกระแสน้ำ ค่อย ๆ เตะขาอย่างช้า ๆ เพื่อชะลอความเร็วและป้องกัน ตัวเองจากการกระแทกกับแก่งหิน

ที่สำคัญอย่างยิ่งในการล่องเรือ ผู้เชี่ยวชาญเน้นที่ความปลอดภัยทุกครั้ง โดยเฉพาะอุปกรณ์พื้นฐาน เช่น เสื้อชูชีพ หมวกกัน น็อก เสื้อชูชีพจะช่วยพยุงตัวเราให้ลอยเหนือน้ำ ส่วนหมวกกันน็อกนอกจากจะช่วยป้องกันศีรษะกระแทกกับหินแล้ว ใน กรณีตกจากเรือ ยังช่วยป้องกันการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุไม้พายของคนข้างหลังตีอีกด้วย

ขอขอบคุณข้อมูล tongtiew.com ภาพประกอบจากอิเตอร์เน็ต

 

Written by on

Written by on

การเตรียมรถยนต์ก่อนเดินทางไปท่องเที่ยว

สิ่งที่ต้องตรวจสอบก่อนการเดินทาง

  • " ยาง " สิ่งจำเป็นที่ต้องหมั่นตรวจสอบ ต้องเป็นยางที่อยู่ในสภาพดี และสิ่งที่ไม่ควรลืมก็คือยางอะไหล่ ที่ต้องเตรียมให้พร้อมอยู่เสมอ
  • " เบรก " ตรวจตราให้มีความสมบูรณ์ และใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพ ควรตรวจเช็คน้ำมันเบรค จานเบรก ปั๊มลม และควรมีน้ำมันเบรกสำรองไว้ด้วย
  • " น้ำ " ในหม้อน้ำ ให้อยู่ในระดับมาตรฐานเสมอ
  • " น้ำกลั่น " ในหม้อน้ำแบตเตอรี่ ให้อยู่ในระดับที่กำหนดไว้ ควรมีน้ำสำรองเก็บไว้ด้วย
  • " กระจกมองข้าง " ทั้ง 2 ด้าน และกระจกมองหลังให้อยู่ในสภาพที่มองเห็นได้ชัดเจน
  • " น้ำมันเครื่อง " ควรตรวจสอบว่าขาดหรือพร่องไปหรือไม่ ควรเติมให้ถึงขีดมาตรฐาน และควรมีสำรองติดรถไว้ด้วย
  • " น้ำมันเชื้อเพลิง " ควรเติมให้เต็ม และควรคาดคะเน ตามเข็มวัดน้ำมัน และจำเป็นต้องเติมในจุดที่เหมาะสม
  • " เครื่องมือ " ประจำรถและอะไหล่ต่างๆ ต้องมีติดรถไว้ให้พร้อมเสมอ
  • " เครื่องมือพยาบาล " ติดรถไว้กรณีฉุกเฉิน หรือในกรณีเกิดอุบัติเหตุเล็กน้อย

ข้อคิดยามเดินทางไกล

  1. ควรแจ้งกำหนดการ ให้ผู้ที่อยู่ทางบ้าน และปลายทางทราบเสมอ เมื่อต้องการเดินทางไกล เพื่อตรวจสอบ เมื่อมีเหตุ หรือเห็นว่าผิดปกติ เช่นล่าช้ากว่ากำหนด และเมื่อถึง ปลายทางแล้ว ควรแจ้งให้ทางบ้านทราบด้วย
  2. ข้อเตือนใจสำหรับนักเดินทาง ถ้าเส้นทางใดท่านไม่คุ้นเคย หรือต้องเดินทางตามลำพังในที่เปลี่ยว ไม่ควรไปในเส้นทางนั้น
  3. อย่าหยุดรถ หรือแวะรับคนข้างทางในที่เปลี่ยวโดยไม่จำเป็น
  4. นักเดินทางหลายรายเคยพบสิ่งไม่คาดคิด เมื่อคนร้ายอาจจะแกล้งขับรถชนท้ายรถท่านเพื่อให้ลงมาเจรจา แล้วใช้อาวุธปืนจี้ ปล้น เมื่อเกิดเหตุการณ์ทำนองนี้ ไม่ควรหยุดรถ แต่ควรเดินทางต่อไปจนถึงป้อมตำรวจ
  5. ศึกษาเส้นทาง หรือสอบถามเส้นทางจากผู้รู้ให้ละเอียด เพื่อที่จะไม่ต้องเสียเวลาเดินทางย้อนกลับทางเดิม
  6. การแซงรถ ควรปฏิบัติตามกฎจราจรเสมอ ไม่ควรแซงตรงทางแยก บนเนินเขา บนทางโค้ง และบนสะพาน
  • ข้อปฏิบัติเมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน
  1. กรณีกระจกแตก เมื่อถูกก้อนหิน ก้อนกรวดกระเด็นมาถูกกระจกแตก ข้อควรปฏิบัติคือ ชะลอความเร็วของรถ แล้วเข้าข้างทางทันที ถ้าเป็นกระจก 2 ชั้นยังพอจะขับต่อไปได้ หรืออาจจะทุบกระจกรถเก่าออกให้หมด แล้วโกยเศษแก้วออกมาให้มากที่สุด เมื่อต้องการจะขับรถต่อไปอีก ให้ไขกระจกข้างขึ้นจนมิด เพื่อป้องกันอาการส่ายของรถบน ถนน
  2. กรณีสุนัขวิ่งตัดหน้า ถ้าชะลอไม่ทันอาจจำเป็นต้องตัดสินใจชน มิฉะนั้นรถอาจเสียหลักได้ ถ้ากรณีที่เป็นสัตว์ใหญ่ไม่ควรบีบแตร เพราะจะทำให้สัตว์เหล่านั้นตกใจ และย้อน มาทำอันตรายได้
  3. กรณีหม้อน้ำรั่ว ถ้าหาอู่ไม่ได้ ให้ใช้วิธีการ โดยนำเอาสบู่ มาอุดรูรั่วไว้ก่อน เติมน้ำจนเต็ม แล้วขับไปให้อู่ซ่อมแซม
  4. กรณียางระเบิด เมื่อยางระเบิดกะทันหัน ต้องพยายามถือพวงมาลัยไว้ให้มั่นคง และพยายามบังคับรถเข้าข้างทางอย่างปลอดภัย และไม่ควรใช้เบรกอย่างกะทันหัน เพราะ จะทำให้รถเสียหลักพลิกคว่ำ ควรใช้เกียร์เป็นตัวชะลอความเร็ว โดยเปลี่ยนเป็นเกียร์ต่ำทันที กรณียางระเบิดที่ล้อหลังท้ายรถจะส่าย ควรถือพวงมาลัยให้มั่นคง และรักษาทิศ ทางให้ตรง ก็สามารถแก้ไขปัญหาได้ พยายามย้ำเบรกหลายๆ ครั้งติดกัน เพื่อให้น้ำหนักตกอยู่ข้างล้อที่ใช้งานได้ กรณียางระเบิดที่ล้อหน้า พยายามจับพวงมาลัยให้มั่นคง ใช้ เบรกให้เบาที่สุด ถ้าแฉลบไปทางใดต้องคืนพวงมาลัยกลับมาให้ตรงทิศทาง จนกว่าจะนำเข้าข้างทางเรียบร้อย
  5. กรณีคันเร่งน้ำมันค้าง ให้ใช้เบรกช่วยโดยไม่ต้องไปยุ่งเกี่ยวกับคลัตช์ เพราะเมื่อเหยียบคลัตช์ จะทำให้รอบเครื่องยนต์สูงขึ้นทันที อาจจะทำให้เกิดความเสียหายได้ จะใช้ คลัตช์ในกรณีที่เปลี่ยนเกียร์เท่านั้น และเมื่อลดความเร็วลงมาอยู่ในอัตราที่ปลอดภัยแล้ว ใช้ปลายเท้าสอดเข้าไปใต้คันเร่งแล้วงัดขึ้นมา ถ้าคันเร่งไม่ขึ้น ก็พยายามนำรถเข้า ข้างทาง แล้วปิดสวิตช์การทำงานทันที

ข้อควรระวัง

  1. การปิดสวิตช์กุญแจ ควรปิดไว้ที่ตำแหน่ง OFF อย่าปิดที่ LOCK เพราะจะทำให้พวงมาลัยทำงานไม่ได้
  2. กรณีฝากระโปรงรถเปิดเมื่อเกิดอุบัติเหตุ ฝากระโปรงเปิดจนปิดกระจกบังลมหน้า การแก้ไขควรชะลอ และมองดูรถคันหลังด้วยว่ากระชั้นชิดหรือไม่ อย่าหยุดรถกะทันหัน เพราะอาจเกิดอุบัติเหตุได้ นำรถเข้าข้างทาง แล้วปิดให้เรียบร้อย
  3. เมื่อความร้อนขึ้นสูงผิดปกติ ให้รีบลดความเร็ว แล้วนำรถเข้าข้างทาง ตรวจดูรอยรั่วของหม้อน้ำ และข้อต่อต่างๆ สายพาน ถ้ามีน้ำพอ ให้ใช้น้ำราดลงหม้อน้ำได้เลย แต่ถ้า มีน้ำไม่พอ คอยให้เครื่องเย็น แล้วจึงเติมน้ำลงในหม้อน้ำ
  4. ถ้าที่ปัดน้ำฝนไม่ทำงาน พยายามนำรถเข้าหาอู่ หรือถ้าฝนตกหนักควรจอดพักดีกว่า
  5. กรณีรถสตาร์ทไม่ติด เกิดจากแบตเตอรี่ไม่มีไฟ ให้พยายามลาก หรือเข็น แล้วสตาร์ทกระตุก โดยให้ใช้เกียร์ 2 เหยียบคลัตช์ เมื่อความเร็วได้ที่ปล่อยคลัตช์ แล้วเหยียบคัน เร่ง หรือให้ใช้สายแบตเตอรี่พ่วงกับรถคันอื่น แล้วสตาร์ท

อุปกรณ์ที่ขาดไม่ได้ยามเดินทางไกล

  • – อุปกรณ์สำหรับการเปลี่ยนยาง แม่แรง กากบาทถอดล้อ
  • – อุปกรณ์ส่องสว่าง ประเภทไฟฉาย ควรติดรถไว้ตลอด
  • – อุปกรณ์สำหรับการลากจูง
  • – อุปกรณ์สำหรับการพ่วงไฟ เช่น สายพ่วงแบตเตอรี่
  • – หมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉิน ทั้งตำรวจทางหลวง และตำรวจท่องเที่ยว
  • – น้ำเปล่าสำหรับเติมหม้อน้ำ
  • – น้ำมันเครื่อง

ขอขอบคุณ mocyc.com ภาพประกอบจากอิเตอร์เน็ต

 

Written by on

Written by on

สิ่งควรรู้ก่อนเดินทางเที่ยวต่างประเทศ

การจะเดินทางไปต่างประเทศแต่ละทีมีเรื่องให้ต้องเตรียมตัวมากมาย แต่เรื่องเอกสารต่างๆ ก็เป็นเรื่องที่สำคัญอย่างหนึ่ง คุณอาจเดินทางโดยเสียเปล่าไม่ได้เข้าประเทศนั้น ดังนั้นวันนี้ ต้นเทียน มีเรื่องที่ควรรู้เกี่ยวกับการเตรียมตัวก่อนเดินทางมาให้คุณ

1. หาข้อมูลว่าว่าประเทศที่จะเดินทางไปนั้นมีกฎหมาย ห้ามการนำสิ่งของใดเข้าประเทศ ในบางประเทศ เช่น ประเทศสิงคโปร์และประเทศ มาเลเซีย การนำอาวุธปืน กระสุน วัตถุระเบิด หรือยาเสพติดร้ายแรงเข้าประเทศจะ มีโทษถึงประหารชีวิต สำหรับประเทศญี่ปุ่นมีกฎหมายห้ามนำยาคุมกำเนิดเข้า ประเทศโดยไม่ได้รับอนุญาต

2. ไม่ควรรับฝากสิ่งของจากผู้อื่น เว้นแต่จะได้ตรวจสอบให้แน่ใจด้วยตนเองแล้วว่า สิ่งของนั้นไม่เป็นของที่ผิดกฎหมาย เช่น ยาเสพติด อาวุธ หรือสารต้องห้าม เพราะ หากถูกเจ้าหน้าที่ปลายทางตรวจพบจะยากในการแก้ข้อหา

3. ควรจำหรือพกพาหมายเลขโทรศัพท์และที่อยู่ของสถานทูต สถานกงสุลไทยใน ต่างประเทศไว้ตลอดเวลา เพื่อใช้ติดต่อขอความช่วยเหลือในกรณีฉุกเฉิน

4. หนังสือเดินทางเป็นเอกสารสำคัญมากควรถ่ายสำเนาเก็บไว้อย่างน้อย 1 ชุด และ ในกรณีที่หนังสือเดินทางหายให้แจ้งความต่อตำรวจท้องถิ่นและนำใบแจ้งความมา ติดต่อเจ้าหน้าที่สถานทูต หรือสถานกงสุลไทยที่อยู่ใกล้ที่สุดทันที เพื่อขอออกเอกสาร การเดินทางแทน กรณีเช่นนี้ หากมีบัตรประจำตัวประชาชนมาแสดงก็จะช่วยให้ออก เอกสารการเดินทางได้เร็วขึ้น

5. ควรหมั่นตรวจสอบอายุของวีซ่า เพราะหากวีซ่าขาดอายุท่านอาจถูกปรับ จำคุก และ/หรือส่งตัวกลับประเทศไทยได้

6. ไทยได้ทุกแห่ง แม้ว่าท่านอาจไม่มีหนังสือเดินทาง หรือวีซ่าขาดอายุ หรือเป็นผู้เข้าเมือง โดยผิดกฎหมายก็ตาม เจ็ด ผู้ที่จะเดินทางไปต่างประเทศเป็นระยะเวลานานควรแจ้ง ชื่อ ที่อยู่ ให้สถานทูตหรือ สถานกงสุลไทยประจำประเทศที่ไปอยู่ทราบ รวมทั้งแจ้งการเปลี่ยนแปลงที่อยู่ทุกครั้ง เพื่อทางสถานทูต สถานกงสุลสามารถติดต่อท่านได้ในยามฉุกเฉิน

ขอขอบคุณข้อมูล tripperclub.com ภาพประกอบจากอิเตอร์เน็ต

 

Written by on