นำเสนอสาระน่ารู้ บทความดีๆ เกี่ยวกับพัฒนาการของทารกตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 1 ปี เพื่อคุณพ่อคุณแม่จะได้เตรียมพร้อมรับมือกับพัฒนาการของลูกน้อยได้อย่างชาญฉลาด และมีสติ พร้อมที่จะแก้ไขและส่งเสริมให้ลูกน้อยมีพัฒนาการที่ดีสมวัย และสามารถเจริญเติบโตต่อไปได้อย่างมีความสุข สุขภาพแข็งแรง ร่าเริงสดใส ทาง Pstip หวังเป็นอย่างยิ่งว่าสาระความรู้ต่างๆ ในหมวดนี้จะสามารถเป็นแนวทางที่ดี สำหรับคุณพ่อคุณแม่คนใหม่นำไปปฏิบัติเพื่อลูกน้อยที่คุณรักได้อีกทางหนึ่งค่ะ

Written by on

ลูกติดจุกนมมากกว่ากินนมแม่

เมื่อเลยช่วงเดือนแรกๆ ไปแล้ว ลูกจะกินนมแม่สลับกับนมผสมก็ได้ ไม่อยากให้คุณแม่ให้นมผสมตั้งแต่ช่วงต้น ถ้าพ้นช่วง 2-3 เดือนแรกไปแล้วลูกมีปัญหาการกลับมาดูดนมแม่เราค่อยๆ ฝึกเขาให้กลับมากินได้ อย่ากลัวค่ะ คุณแม่มักจะกลัวมากลูกเลยหมดทางกลับมากินจริงๆ พยายามอย่าให้กินนมขวดในช่วงแรกดีที่สุด แต่อย่างไรก็ตามถ้าพลาดไปก็แก้ไขต้องใช้ความอดทน ฝึกผ่อนสั้นผ่อนยาวเขาจะทำได้ในที่สุด ปัญหาทุกอย่างแก้ได้ แต่ถ้าไม่มีความจำเป็นก็ไม่ควรเริ่มปัญหาด้วยการให้นมขวดค่ะ

ขอขอบคุณ ที่มา : นิตยสาร Modern Mom ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต

Written by on

Written by on

น้ำนมแม่น้อยขอนมผสมช่วยด้วย

ใน 1-2 วันแรกคุณแม่ต้องไม่คาดหวังว่าจะมีน้ำนมมาก น้ำนมจะค่อยๆ เพิ่มขึ้นเองเมื่อผ่านช่วงหายเหนื่อยแล้ว เนื่องจากช่วงแรกลูกจะกินนมได้ทีละน้อยอยู่แล้ว น้ำนมมาน้อยไม่เป็นไรเขาจะได้ย่อยหมดเหมาะกับความต้องการของลูกในช่วงเวลานั้น ขนาดกระเพาะอาหารของลูกยังเล็กเขาจึงต้องการดูดนมบ่อย พอเวลาผ่านไปเขากินได้มากขึ้นช่วงการให้นมก็จะห่างออกไป ถ้ายังไม่ถึงจุดจำเป็นอย่าเพิ่งรีบให้นมขวดเพราะความกังวลใจค่ะ ควรปรับตามความต้องการของลูกก่อนเขาหิวเมื่อไหร่ให้กินเมื่อนั้น ลูกร้องไม่ใช่เพราะความหิวเสมอไป อาจท้องอืด แน่น หรือไม่สบายตัว คอยสังเกตคุณแม่จะค่อยๆ เรียนรู้และเข้าใจความต้องการของลูก หันมาดูแลตัวเอง พักผ่อน และกินอาหารดื่มน้ำให้พอเพื่อช่วยเพิ่มน้ำนม

การให้นมผสมเร็วอาจเป็นการตัดโอกาสให้ลูกได้กินนมแม่ ถ้าเราฝึกเขาจากนมขวดตั้งแต่แรกลูกจะไม่ยอมกลับมาหานมแม่อีก แต่ในจุดที่จำเป็นจริงๆ เช่น น้ำหนักลูกลดเกินกว่า 10 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักแรกคลอดในช่วงสัปดาห์แรกๆ ควรปรึกษาคุณหมอหรือคลินิกสุขภาพเพื่อหาสาเหตุและทางแก้ไข

และสำหรับการให้นมผสมนั้นขึ้นอยู่กับลูกด้วยว่าอายุเท่าไหร่ ถ้า 6 เดือนแล้วมีอาหารมาช่วยเสริมก็ไม่เป็นไร แต่ถ้ายังเล็กกว่านี้ คุณแม่พยายามกินอาหารเพิ่ม ดื่มน้ำให้พอเพียง ปั๊มนมช่วยกระตุ้นน้ำนม ใช้เวลาประมาณ 1 สัปดาห์ ก็จะเริ่มเห็นว่าดีขึ้น อาจนวดประคบหรือใช้สมุนไพรช่วย หาเพื่อนปรึกษาพูดคุยหากำลังใจเพื่อให้ลูกได้รับสารอาหารในนมแม่ดีที่สุดค่ะ เพราะทั้งย่อยง่าย และยังมีภูมิคุ้มกันโรคด้วยค่ะ

ขอขอบคุณ ที่มา : นิตยสาร Modern Mom ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต

Written by on

Written by on

โรคร้ายที่ควรระมัดระวังในเด็กเล็ก

คุณแม่มือใหม่หลายคนคงกังวลเกี่ยวกับการดูแลลูกน้อยของเรา โดยเฉพาะลูกน้อยวับแบเบาะ ที่อายุต่ำกว่า 2 ขวบซึ่งต้องอาศัยการเลี้ยงดูที่เป็นพิเศษสักหน่อย เพราะเด็กในวัยนี้มีโอกาสที่จะเจ็บป่วยได้สูงมาก เพราะเด็กยังมีภูมิต้านทานต่ำ เชื้อโรคสามารถเข้ามาฟักเชื้อได้ง่าย สำหรับโรคสุดฮิตที่มักจะเกิดขึ้นกับเด็กในวัยนี้ก็คือ โรคปอดบวม โรคไอพีดี และโรคหูชั้นในอักเสบ ดังนั้นคุณแม่มือใหม่ก็ควรศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อที่จะได้หาวิธีป้องกันไม่ให้ลูกน้อยของเราเป็นโรคเหล่านี้ได้

เชื้อโรคที่มักพบในเด็กเล็ก เชื้อนิวโมคอคคัสและเอ็นทีเอสไอ ซึ่งเชื้อโรคทั้ง 2 ชนิดนี้ มักพบได้ในโพรงจมูกและลำคอของเด็ก โดยทั่วไปแล้วเชื้อนี้จะไม่ค่อยมีพิษมีภัยเท่าไรนัก แต่ถ้าตราบใดลูกน้อยของเราร่างกายอ่อนแอ ก็จะทำให้เชื้อทั้ง 2 กำเริบขึ้นมาได้ทันที และทำให้ลูกน้อยของเราเกิดอาการเจ็บป่วยทันที ป่วยเป็นโรคหูชั้นกลางอักเสบ โรคปอดบวม และโรคไอพีดี นอกจากนั้นเชื้อทั้ง 2 ตัวนี้ ยังสามารถแพร่กระจายผ่านทางน้ำลาย น้ำมูก การไอ การจามได้ดี อีกทั้งยังสามารถลอยตัวอยู่ในอากาศได้นานอีกด้วย

โรคที่มักพบในเด็กเล็ก

  • โรคปอดบวม จากข้อมูลการประเมินขององค์การอนามัยโลกและองค์การยูนิเซฟพบว่าโรคปอดบวมเป็นโรคร้ายแรงอันดับต้นๆ ที่ทำให้เด็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ขวบ เสียชีวิต โดยมีเด็กเสียชีวิตสูงสุดถึง 2 ล้านคนต่อปี เนื่องจากโรคปอดบวมจะทำให้ปอดอักเสบ เกิดภาวะน้ำหรือหนองในช่องเยื่อหุ้มปอดในตัวเด็กได้ นอกจากนั้นอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อในกระแสเลือด อาจทำให้เด็กเกิดอาการช็อกและเสียชีวิตได้ในทันที
  • โรคไอพีดี ชื่อโรคอาจจะดูไม่คุ้นหูกันสักเท่าไรนัก แต่ททว่าโรคนี้เกิดขึ้นจากการติดเชื้อรุนแรงของเชื้อนิมโมคอคคัสซึ่งเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบได้ ถ้าเด็กได้รับเชื้อนี้เข้าไปอาจส่งผลให้สมองพิการ จนถึงเสียชีวิตได้ในที่สุด
  • โรคหูชั้นกลางอักเสบ เป็นโรคที่เกิดขึ้นอย่างเงียบๆ จากการติดเชื้อนิวโมคอคคัสและเอ็นทีเอชไอ ซึ่งเด็กจะได้รับเชื้อนี้ได้อย่างง่าย พอเชื้ออยู่ในตัวเด็กแล้วก็จะแพร่กระจายเข้าสู่ท่อยูสเตเชี่ยน ซึ่งเป็นท่อเล็กๆ เชื่อมระหว่างหูชั้นกลางกับโพรงหลังจมูกยิ่งถ้ามีการอักเสบเกิดขึ้นที่หูชั้นกลางก็จะทำให้เชื้อแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว เช่น จากหูไปสู่สมอง ก่อให้เกิดฝีในสมอง รวมถึงมีโอกาสเสี่ยงที่เยื่อหุ้มสมองจะอักเสบได้ เป็นเรื่องที่อันตรายมากเลยทีเดียว

สำหรับโรคนี้พบมากในเด็กที่อายุต่ำกว่า 3 ขวบ และมีโอกาสเกิดโรคหูชั้นกลางอักเสบอย่างน้อย 1 ครั้ง และยิ่งครอบครัวไหนที่มีลูกน้อยวัยที่ยังพูดไม่ได้ ยิ่งต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ เพราะหากปล่อยทิ้งไว้อาจทำให้หูอักเสบมากขึ้น ส่งผลให้เด็กปวดหูและทำให้เด็กต้องสูญเสียการได้ยินในทันที

ทั้ง 3 โรค มียารักษา เชื่อว่าตอนนี้คุณแม่หลายคนคงกังวลไม่น้อยว่าทั้ง 3 โรคที่พูดถึงนี้จะมียารักษาไหม ขอตอบเลยค่ะว่ามียารักษาแน่นอน และตัวยาที่รักษาก็จะเป็นยาปฏิชีวนะร่วมกับการรักษาด้วยวิธีอื่นๆ แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือถ้าลูกเกิดอาการเจ็บป่วยควรรีบพาไปพบแพทย์จะดีที่สุดค่ะ เพื่อให้แพทย์ทำการวินิจฉัยและรักษาได้อย่างทันท่วงที เพราะปัจจุบันพบว่าเชื้อนิวโมคอคคัสมักเกิดการดื้อยา ทำให้การรักษาเป็นไปได้ยากขึ้นแต่อย่าเพิ่งเครียดกันค่ะ ถึงแม้เชื้อจะดื้อยา แต่มันก็ไม่ได้เกิดขึ้นกับเด็กทุกคนนะคะ แต่ถึงอย่างนั้นเราก็ควรป้องกันไว้ก่อน ด้วยการส่งเสริมให้ลูกน้อยมีภูมิต้านทานด้วยการให้ลูกน้อยดื่มนมแม่ เพราะน้ำนมแม่จะเป็นตัวสร้างภูมิคุ้มกันให้กับลูกน้อยได้เป็นอย่างดี

สุดท้ายนี้ทั้ง 3 โรคที่เรากล่าวมา ไม่ว่าจะเป็นโรคปอดบวม โรคไอพีดี และโรคหูชั้นกลางอักเสบ สามารถป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีนเสริมสามารถสอบถามได้ที่สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทยหรือแพทย์โรงพยาบาลใกล้บ้านก็ได้ค่ะ คุณแม่ทั้งหลายถ้าไม่อยากให้ลูกน้อยเจ็บป่วยเป็นโรคทั้ง 3 ก็อย่าลืมพาลูกน้อยไปฉีดวัคซีนกันนะคะ เพื่อสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงของลูกน้อยค่ะ

ขอขอบคุณ ที่มา : นิตยสารเรื่องผู้หญิง ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต

Written by on

Written by on

ท่าไหนลูกดูดนมเหมาะสุดๆ

คุณแม่มือใหม่ลองดูคำแนะนำดีๆ เหล่านี้นะคะ เพื่อจะได้ให้นมลูกอย่างถูกวิธี และสบายตัวที่สุดคะ

  • ใช้หัวนมแตะจมูกหรือปากลูกก่อนเพื่อส่งสัญญาณว่านมแม่มาแล้วนะ พออ้าปากปุ๊บอุ้มลูกมาใกล้อกให้เขาหาหัวนมเอง
  • ลูกจะดูดนมอย่างมีความสุขถ้าดูดนมถูกวิธีคือ อมลานหัวนมด้วย บริเวณนี้จะกระตุ้นน้ำนมให้ไหลออกมาสะดวกกินอิ่มสบายท้อง
  • คุณแม่ลองสังเกตริมฝีปากลูกดูว่าบานออกก็แสดงว่าเขากำลังหม่ำนมสบายใจ
  • ถ้าคุณแม่เจ็บหัวนมอย่าอดทนอยู่ค่ะ เพราะหัวนมจะแตกและอักเสบ ให้เริ่มใหม่ใช้นิ้วก้อยสอดมุมปากเจ้าตัวเล็กให้เขาอ้าปาก แล้วเริ่มดูดนมในท่างับที่ถูกสบายทั้งแม่และลูก

รู้เคล็ดลับดีๆ กันไปแล้วให้นมลูกคราวหน้าก็ไม่ต้องเจ็บตัวกันแล้วค่ะ

ขอขอบคุณ ที่มา : นิตยสาร Modern Mom ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต

Written by on

Written by on

เลี้ยงลูกอย่างไรให้แข็งแรงทั้งกายและใจ


สำหรับคุณแม่มือใหม่หลายคน ที่กำลังจะคลอดน้องหรือคลอดแล้ว เชื่อว่าคงมีคุณแม่จำนวนไม่น้อยกำลังกังวลเกี่ยวกับวิธีการเลี้ยงลูก และไม่รู้จะเลี้ยงเขาแบบไหนดี อย่าเพิ่งกังวลเกินไปค่ะ

ซึ่งการเลี้ยงลูกไม่ได้ยากอย่างที่คิดเลย เพียงแค่คุณแม่ทำตามคำแนะนำที่บอกต่อไปนี้ รับรองว่าลูกน้อยของคุณจะต้องแข็งแรงทั้งกายและใจอย่างแน่นอน

  • ต้องเริ่มจากสุขภาพที่ดีของคุณแม่ค่ะ เพราะการที่คุณแม่มีสุขภาพที่แข็งแรง ก็จะทำให้เรามีแรงเลี้ยงดูลูกน้อยของเราได้ ทางที่ดีคุณแม่ควรเตรียมความพร้อมให้กับร่างกายของตนเองก่อนที่จะดูแลลูกน้อยอยู่เสมอค่ะ
  • เมื่อคุณแม่มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงแล้วก็พร้อมที่จะให้นมแก่ลูกน้อยเพราะว่าน้ำนมแม่ถือว่าเป็นสิ่งมหัศจรรย์ และเป็นแหล่งรวมสารอาหารที่ครบถ้วน อีกทั้งยังให้คุณค่าทางโภชนาการมากมายมหาศาลซึ่งไม่มีอาหารชนิดใดมาทดแทนได้ ยิ่งกว่านั้นน้ำนมแม่สะอาดและไม่เป็นอันตรายแก่ลูกน้อย ดังนั้นสำหรับคุณแม่มือใหม่ควรให้ลูกดื่มนมจากอกแม่จะเป็นการดีที่สุดค่ะ
  • คุณแม่ควรเลือกอาหารที่มีประโยชน์ และมีสารอาหารให้ครบถ้วนทั้ง 5 หมู่ โดยเมนูอาหารในแต่ละมื้อควรเลือกอาหารที่มีส่วนผสมแตกต่างกันไป เพื่อที่ลูกน้อยของเราจะได้รับสารอาหารที่หลากหลาย และที่สำคัญในแต่ละมื้ออาหารควรจะมีผักและผลไม้เสริมเข้าไปด้วย เพื่อเป็นการฝึกให้ลูกน้อยของเราชอบและรักในการทานผักและผลไม้ค่ะ

จะเห็นได้ว่าการเลี้ยงลูกไม่ได้ยากเลย ถ้าหากคุณแม่รู้จักเตรียมความพร้อมให้กับตนเองเสมอ เพียงเท่านี้ก็จะทำให้คุณแม่เลี้ยงลูกได้อย่างสบายๆ อีกทั้งลูกน้อยของเรายังแข็งแรงทั้งกายและใจอีกด้วย

ขอขอบคุณ ที่มา : นิตยสารเรื่องผู้หญิง ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต

Written by on

Written by on

กินนมแม่แล้วน้ำหนักน้อย

การเริ่มให้นมผสมควรดูอายุของลูกด้วยค่ะ ถ้า 4-5 เดือนแล้ว น้ำหนักยังไม่ขึ้น คุณหมออาจแนะนำให้เริ่มอาหารเสริมเร็วหน่อย แต่ถ้าอายุยังน้อยกว่านี้คุณแม่ลองปรับให้ลูกกินนมบ่อยขึ้น กลับมาดูวิธีการดูดนมว่าลูกดูดนมได้ดีไหม คุณแม่อาจใช้วิธีการเพิ่มน้ำนมเข้ามาช่วย ลูกตัวเล็กกว่าเด็กวัยเดียวกันต้องดูด้วยว่าคุณแม่เป็นคนตัวเล็กหรือเปล่า เด็กควรจะเติบโตอย่างสมบูรณ์แข็งแรง น้ำหนักตัวพอเหมาะไม่ใช่เด็กอ้วน

การให้นมแม่แต่ละครั้งพอใกล้หมดจะมีไขมันออกมามาก เราใช้ความรู้นี้ช่วยและบีบเต้านมในช่วงที่ลูกกินนม ลูกจะดูดนมได้เร็วขึ้น และการที่ลูกดูดนมได้ดีจะทำให้ขบวนการหลั่งน้ำนมและได้รับไขมันในน้ำนมได้ดีขึ้น แก้ปัญหาน้ำหนักตัวน้อยได้เร็ว รอสักนิดค่ะ แค่ 1-2 สัปดาห์ก็จะเห็นผล

ขอขอบคุณ ที่มา : นิตยสาร Modern Mom ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต

Written by on

Written by on

ปกป้องลูกน้อยจากเชื้อราผื่นผ้าอ้อม


ผิวของเด็กแรกเกิดเป็นผิวที่บอบบางมาก และยังมีการเจริญเติบโตไม่ดีนัก ต่อมเหงื่อจึงทำงานไม่เต็มที่ ทำให้เกิดการระคายเคืองได้ง่าย โดยเฉพาะผดผื่น ซึ่งเกิดจากผ้าอ้อม วันนี้เรามีวิธีปกป้องลูกน้อยจากเชื้อราผื่นผ้าอ้อมมาฝากคุณแม่กันค่ะไปดูกันเลย

เชื้อราเป็นภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นจากการเป็นผื่นผ้าอ้อม ซึ่งเกิดจาก 2 ปัจจัย คือความอับชื้นบวกกับปัสสาวะ-อุจจาระเป็นตัวกระตุ้นให้เชื้อราเจริญเติบโตได้ดี ทำให้ผิวหนังของลูกเกิดการอักเสบ เป็นแผลถลอกมีลักษณะเป็นจุดๆ สีแดงสดตามขาหนีบ รอยพับ

  • หากคุณแม่ดูแลความสะอาดเป็นอย่างดี อาการผื่นผ้าอ้อมก็จะหายได้เอง แต่ถ้าปล่อยให้ผิวลูกสัมผัสอุจจาระและปัสสาวะเป็นเวลานาน เกิดการหมักหมม อับชื้น ก็เท่ากับเปิดโอกาสให้เชื้อโรคเติบโต เกิดการติดเชื้อง่ายมากขึ้นด้วย
  • ทั้งนี้ความไม่สะอาด ความเปียกชื้น เป็นปัจจัยทำให้เกิดปัญหาเชื้อรา ฉะนั้นการป้องกันอยู่ที่การดูแลของคุณพ่อคุณแม่ด้วยการล้างมือให้สะอาดทั้งก่อนและหลังการเปลี่ยนผ้าอ้อมให้ลูกหมั่นเปลี่ยนผ้าอ้อมให้ลูกบ่อยๆ และดูแลรักษาความสะอาดบริเวณก้น และขาหนีบ
  • อีกทั้งควรล้างบริเวณก้น ขาหนีบให้สะอาดด้วยน้ำเปล่า และซับเบาๆ ให้แห้ง เพื่อป้องกันไม่ให้เปียกชื้น นอกจากนั้น ผ้าอ้อมหรือของใช้ที่ผิวลูกสัมผัส ต้องใส่ใจเรื่องความสะอาด ไม่มีสารเคมีหรือสิ่งสกปรกตกค้าง รวมไปถึงการใส่ผ้าอ้อมแบบผ้าฝ้ายก็เป็นทางเลือกหนึ่งที่ช่วยลดปัญหาการอับชื้นให้ลูกได้ เพราะสามารถระบายอากาศได้ดี

หากลูกเกิดอาการระคายเคืองเป็นผดผื่นแล้วการรักษาอาการที่ถูกวิธีคือต้องอยู่ภายใต้การดูแลของคุณหมอไม่ควรปล่อยทิ้งไว้ เนื่องจากภาวะแทรกซ้อนเรื่องเชื้อรา จำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะ เพื่อระงับการเจริญเติบโตของเชื้อรา

ขอขอบคุณ ที่มา : นิตยสารเรื่องผู้หญิง ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต

Written by on