Written by on

เขาพลายดำ นครศรีธรรมราช เป็นภูเขาที่ติดทะเลเป็นรอยต่ออำเภอขนอมและอำเภอสิชล ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของสถานที่พัฒนาและอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าเขาพลายดำ ตั้งอยู่ในตำบลทุ่งใส มีหาดที่สวยงามคือ บริเวณหาดท้องยาง สามารถลงเล่นน้ำได้ เขาพลายดำมีสัตว์ป่าประเภทกินพืชอาศัยอยู่จำนวนหนึ่ง เช่น กวาง กระจง และนกนานาชนิด มีร้านอาหารบริการแก่นักท่องเที่ยว

การเดินทางแยกจากตัวเมืองสิชลไปทางเหนือ ตำบลทุ่งใสประมาณ 12 กม. ใช้ทางหลวงหมายเลข 401 (นครศรี-สิชล) ถึง กม.98 แล้วเลี้ยวขวาเข้าหมู่บ้านบางปอไป 10 กม. ถึงหาดท้องยาง เดินทางต่อไปอีก 5 กม.จะถึงเขาพลายดำ

ขอขอบคุณ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต

 

Written by on

Written by on

เขาหินพับผ้า นครศรีธรรมราช ปรากฎการณ์ทางธรณีวิทยา ที่เห็นได้บนเขาหิน และเกาะบางเกาะในทะเลขนอม บริเวณหน้าอ่าวเตล็ด คือที่เกาะท่าไร่ เกาะนุ้ยนอก เขาหลักซอ และชายฝั่งอ่าวเตล็ด ลักษณะที่เห็นจะเหมือนเป็นแผ่นหินที่ทับซ้อนเรียงกันเป็นชั้นๆสูงขึ้นไปด้านบนมีต้นไม้ขึ้นปกคลุมหลากหลายชนิด บางชนิดก็ดูแปลกตาออกไป บางแห่งก็จะพบกล้วยไม้ป่าขึ้นอยู่ด้วย

การเกิดของเขาหินพับผ้า เกิดจากกระบวนการหินตะกอน (sedimentary process) ที่มีการตกตะกอนของหินที่มีส่วนประกอบและความแข็งต่างกัน เป็นชั้นๆ ในท้องทะเล ต่อมามีการเอียงและยกตัวของเปลือกโลกชั้นหินดังกล่าวก็เกิดเป็นหน้าผา เมื่อถูกกระแสน้ำ และลม กัดกร่อนเอาชั้นที่อ่อนกว่าออกเหลือชั้นที่แข็งแกร่งกว่า ก็จะดูเหมือนแผ่นหินที่ซ้อนกันเป็นชั้นๆ เปรียบเหมือนขนมชั้น หรือผ้าที่พับไว้ จึงเป็นที่มาของชื่อ " หินพับผ้า " เมื่อนักท่องเที่ยวฝรั่งได้มาเห็นที่นี่ก็บอกว่า เขาหินลักษณะนี้คล้ายกับ Pancake rock ที่เมือง Punakaiki ประเทศนิวซีแลนด์ ก็เลยเรียกหินพับผ้าเหล่านี้ว่า " แพนเค้ก ร็อค เมืองไทย " อีกชื่อหนึ่ง

ขอขอบคุณ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต

 

Written by on

Written by on

โรงไฟฟ้าขนอม นครศรีธรรมราช ปากน้ำขนอม พื้นที่ซึ่งถูกขนาบด้วยภูเขาขนาดใหญ่สองลูก มีลำคลองขนอมเลียบชิดริมเขาทางด้านใต้ อีกฟากหนึ่งเป็นที่ตั้งของโรงไฟฟ้าขนอม และโรงแยกก๊าซขนอม ซึ่งบริเวณริมทะเลทางด้านนี้ เป็นหาดทราย สวย สะอาด เล่นน้ำได้เหนือหาดเป็นทิวสนร่มรื่น ทางด้านริมคลองเป็นเขื่อนป้องกันตลิ่ง มีผู้นิยมตกปลามาตกปลากันที่เขื่อนนี้

ปากน้ำขนอม มี ความน่าสนใจอีกอย่างหนึ่งคือ การอยู่ร่วมกันของ ธรรมชาติและอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นพื้นที่ตัวอย่างที่อุตสาหกรรมได้ทุ่มเทความตั้งใจรักษาธรรมชาติไว้ เป็นอย่างดี

ขอขอบคุณ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต

 

Written by on

Written by on

ถ้ำเขาวังทอง นครศรีธรรมราช เป็นถ้ำที่มีความงดงามทางธรรมชาติแห่งหนึ่งของจังหวัดนครศรีธรรมราชครับ ภายในถ้ำเขาวังทองมีลักษณะเป็นห้องโถงขนาดใหญ่บ้างเล็กบ้างหลายห้อง แต่ละห้องมีหินงอกหินย้อยสวยงามมากมาย การเข้าชมบางห้องจะต้องใช้วิธีลอดคลาน หรือปีนป่าย ซึ่งเป็นการเพิ่มความสนุกสนานในการเข้าชมเป็นอย่างยิ่ง การเดินทางจากอำเภอขนอมเลี้ยวขวาตรงทางแยกไปยังอำเภอดอนสัก และเลี้ยวซ้ายอีกครั้งหนึ่งตรงปากทางเข้ามีศาลาที่พักผู้โดยสารเป็นที่สังเกต ชื่อศาลาตันสกุล เข้าไปอีกประมาณ 6 กิโลเมตร ถึงปากทางเข้าถ้ำ ผุ้ที่ต้องการเข้าชมถ้ำเขาวังทองต้องติดต่อขอกุญแจจากผู้ดูแลถ้ำก่อนได้ที่ บ้านที่อยู่ตรงปากทางเข้าถ้ำ จากตัวเมืองประมาณ 77 กิโลเมตร ทางทิศเหนือถัดลงมาจากอำเภอขนอม

แผนผังของถ้ำแห่งนี้มีไม่มาก แค่เดินขึ้นตามบันไดปูนจากเชิงเขาขึ้นไปราว 300 ขั้น ก็จะถึงศาลาปากทางเข้า จากศาลาแห่งนี้จะมองเห็นทะเลทางฝั่งขนอม วันฟ้าใสอาจจะเห็นไปไกลถึงสมุยด้วยซ้ำ ปากทางเข้าถ้ำวังทองเป็นปล่องแคบๆ มีการติดไฟให้แสงสว่างไว้ตามจำเป็น ทางเดินเป็นอุโมงค์ยาวๆ เดินไปราว 50 เมตรก็ต้องไต่บันไดขึ้นไปราว 8 ขั้น แล้วจะต้องเบียดแทรกตัวเข้าไปตามช่องแคบๆ จากนั้นจึงไปโผล่ที่ห้องโถงขนาดใหญ่ ตรงกลางโถงเป็นกองหินกองดิน มีหินงอกตั้งเป็นแท่งอยู่เรียงราย บางอันสูงเกือบจรดเพดานถ้ำ

ถ้ำเขาวังทอง ม. 7 ซอยวังทอง ถ.ถ้ำเขาวังทอง ต.ควนทอง อ.ขนอม จ.นครศรีธรรมราช ใช้เส้นทาง สุราษฎร์ธานี-ขนอม ทางเข้าซ้ายมือ ติดต่อคนนำชมถ้ำ นายสุนันท์ สมจิตร โทร. 08-6274-0133, 08-4305-1215)อุทยานฯ แห่งชาติขนอม-หมู่เกาะทะเลใต้ โทร. 074-685-269 ,08-6475-8392

การเดินทาง ไปยังถ้ำเขาวังทอง

  • จากตลาดสี่แยกในเมืองขนอม (จุด A) กลับออกไปตามถนนหมายเลข 4014 ซึ่งเป็นสายเข้าเมือง ไปประมาณ 1.8 กม. จะถึงสามแยกครูวิง ให้เลี้ยวขวาเข้าไปทางถนนไปอำเภอดอนสัก (หมายเลข 4142)
  • บนเส้น 4142 ให้ตรงไปประมาณ 6 กม. จะเจอกับทางแยกเลี้ยวซ้าย เข้าไปถนนสายหน้าควน - ต้นเหรียง (จุดวงกลมสีขาวในแผนที่) ปากทางมีป้ายท่องเที่ยวถ้ำเขาวังทอง
  • บน ถนนหน้าควน-ต้นเหรียง ให้ตรงเข้าไปประมาณ 3 กม. ซึ่งถนนช่วงแรกจะเป็นถนนลาดยางผ่านสวนยางของชาวบ้าน (ประมาณ 1 กม.) และถัดจากนั้นก็จะเป็นถนนลูกรังไปอีกประมาณ 2 กม. ก็จะถึงวัดเขาวังทอง ให้เลี้ยวซ้ายไปตามซอยห้วยอโศก (รูปภาพด้านบน รูปสุดท้าย)
  • บนถนน ห้วยอโศก ตรงเข้าไปประมาณ 200 ม. เจอทางแยก ให้ตรงเข้าไปยังซอย ถ้ำเขาวังทองตรงไปตามถนนคอนกรีต ก็จะถึงถ้ำเขาวังทองสามารถจอดรถได้ที่เชิงเขาใกล้กับทางขึ้นถ้ำเขาวังทอง

ขอขอบคุณ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต

 

Written by on

Written by on

วัดกระดังงา นครศรีธรรมราช เป็นวัดเก่าแก่ของอำเภอขนอม สันนิษฐานว่าสร้างมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา วัดนี้ห่างจากถนนสายขนอม-ในเพลาประมาณ 200 เมตร ภายในอุโบสถมีภาพเขียนพุทธประวัติฝีมือวิจิตรบรรจง นอกจากนี้มีพระประธานเป็นพระพุทธรูปสมัยอยุธยาประดิษฐานอยู่ภายใน และมีโบราณวัตถุที่น่าสนใจมากมายโดยเฉพาะเครื่องถ้วยชามครับ

การเดินทาง ไปยังวัดกระดังงา

  • จากทางหลวงสาย 401 (สุราษฎร์ฯ-นครศรีฯ) ถึงแยกคลองเหลง (มีรูปปั้นปลาโลมา มองเห็นชัดเจน)เลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 4014 ซึ่งเป็นเส้นทางเข้าสู่เมืองขนอม (แยกคลองเหลง - จุด A ในแผนที่)
  • ตรงเข้าไปยังเส้น 4014 ประมาณ 14 กิโลเมตร ถึงตลาดสี่แยกขนอม ให้เลี้ยวขวาเพื่อไปยังทางเข้าวัดกระดังงา
  • เมื่อเลี้ยวขวามาแล้วให้ตรงไปประมาณ 2 กิโลเมตร จะถึงทางเลี้ยวซ้ายเข้าวัดซึ่งจะมีป้ายบอกชัดเจน
  • ตรงไปประมาณ 400 เมตรก็จะถึงวัดกระดังงา

ขอขอบคุณ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ภาพประกอบ thai-tour

 

Written by on

Written by on


บ่อหลวงพ่อทวด เหยียบน้ำทะเลจืด นครศรีธรรมราช จากปรากฎการณ์บ่อน้ำ จืดกลางทะเล ซึ่งสอดคล้องกับตำนานหลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด ที่เล่ากันว่า เมื่อครั้งหลวงพ่อทวดเดินทางจากสงขลาไปยังกรุงศรีอยุธยาด้วยเรือสำเภา ระหว่างทางเกิดคลื่นลมแรงเรือไปต่อไม่ได้ ต้องลอยลำอยู่กลางทะเลจนน้ำจืดหมด หลวงพ่อทวดได้แสดงอภินิหารเอาเท้าเหยียบน้ำทะเล กลายเป็นน้ำจืดดื่มกินได้ ให้ลูกเรือขนน้ำไปใช้ในระหว่างการเดินทาง

เรื่องเล่านี้มีสืบทอดกัน มาร่วม 400 ปี อาจจะพิศดารแตกต่างกันไปบ้าง แต่เป็นเรื่องราวที่ชาวบ้านย่านนี้ให้ความเชื่อถือ เมื่อพบว่ามีบ่อน้ำจืดอยู่กลางทะเลที่เกาะนุ้ย ก็ยิ่งเพิ่มความเชื่อและศรัทธาที่มีต่อหลวงพ่อมากยิ่งขึ้น จึงได้สร้างรูปบูชาหลวงพ่อทวดด้วยหินแกรนิต แกะสลักขนาดหน้าตัก 36 นิ้ว อัญเชิญมาประดิษฐานไว้ที่เกาะนุ้ยเพื่อให้เป็นเสมือนที่เคารพของคนในพื้นที่ รวมทั้งนักท่องเที่ยวที่ได้มาถึงเกาะนุ้ย เกาะหลวงพ่อทวดแห่งทะเลขนอม

ขอขอบคุณ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ภาพประกอบ siamtreestyle

 

Written by on

Written by on

วัดเจดีย์หลวง เจดีย์ปะการัง นครศรีธรรมราช ตั้งอยู่หมู่ที่ 4 บ้านท่าใน ตำบลควนทอง เป็นชุมชนโบราณ ซึ่งมีร่องรอยของเนินดิน สระน้ำ หินชิ้นส่วนของเทวสถาน แท่นเทวรูป แท่นศิวลึงค์ ที่กระจัดกระจายอยู่เป็นจำนวนมากวัดเจดีย์หลวง หรือ "โชติการาม" หรือ "ราชกูฏา"หรือ "กุฏาราม" ก็เรียก เป็นวัดที่ ตั้งอยู่ใจกลางเมืองเชียงใหม่ เลขที่ ๑๐๓ ถนนพระปกเกล้าฯ ตำบลพระสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัด เชียงใหม่ นับเป็นวัดสำคัญมากวัดหนึ่งของเมืองเชียงใหม่มาตั้งแต่อดีต เป็นที่ตั้งของเสา หลักเมืองเชียงใหม่ นอกจากนี้ ยังเป็นแหล่งศูนย์กลางการบริหารคณะสงฆ์ฝ่ายธรรมยุตในภาคเหนือ

วัดนี้สร้างขึ้นในสมัยพระญาแสนเมืองมา กษัตริย์ในราชวงศ์มังรายองค์ที่ ๗ ไม่ปรากฏปีที่สร้างแน่ชัด และได้รับสร้างต่อมาในสมัยพระญาติโลกราช (พ.ศ.๒๐๒๒ - ๒๐๒๔) การที่ถูกเรียกชื่อว่า "วัดเจดีย์หลวง" เนื่องจากมีพระธาตุเจดีย์องค์ใหญ่ ("หลวง" หมายถึง ใหญ่)

โบราณวัตถุสถานที่สำคัญภายในบริเวณวัดเจดีย์หลวง

๑. พระธาตุเจดีย์หลวง เป็นพระธาตุเก่าแก่ที่ก่อสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.๑๙๓๔ สมัยพระเจ้าแสน เมืองมา นับเป็นพระธาตุที่มีความสูงใหญ่ที่สุดในอาณาจักรล้านนา คือ ประมาณ ๘๐ เมตร ฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส กว้างด้านละ ๖๐ เมตร ปัจจุบันมีอายุกว่า ๖๐๐ ปี

๒. พระวิหาร พระอุโบสถ พระวิหารหลวง หรือพระวิหารกลาง ปัจจุบันเป็นทั้งพระอุโบสถ ด้วย ตั้งอยู่ห่างพระธาตุเจดีย์หลวงประมาณ ๑๕.๘๔ เมตร ไปทางทิศตะวันออก เป็นสถาปัตยกรรมทรงล้านนาประยุกต์ ส่วนอุโสถหลังเก่าศิลปะแบบล้านนาดั้งเดิมที่อยู่หลังวัด ด้านตะวันตกขององค์เจดีย์หลวงได้เลิกใช้งานตั้งแต่ปี ๒๕๒๒ เพราะคับแคบเกินไป วิหารที่วัดเจดีย์หลวงนี้หลังแรกซึ่งสร้างครั้งแรกโดยพระนางติโลกจุฑา พระราชมารดาของพระเจ้าสามฝั่งแกนเมื่อปี พ.ศ.๑๙๕๔ พร้อมทั้งได้หล่อพระอัฏฐารสพุทธปฏิมาประธานและพระอัครสาวกโมคคัลลาน์ สารีบุตร ไว้ในพระวิหาร ต่อมาในปี พ.ศ.๒๐๑๗ พระเจ้าติโลกราชให้รื้อวิหารหลังเก่าแล้วสร้างวิหารหลังใหม่ มีขนาดกว้าง ๙ วา ยาว ๑๙ วา ขึ้นแทนมาในปี พ.ศ.๒๐๕๘ พระเมืองแก้วให้รื้อวิหารหลังเก่าแล้วสร้างขึ้นใหม่ในที่เก่าอีก ครั้นถึงสมัยพระเมกุฏิสุทธิวงศ์ไฟได้ไหม้วิหารเสียหายจึงต้องรื้อแล้วสร้างใหม่ทับที่เดิมอีกครั้ง

ต่อมาในยุคเจ้าหลวงอินทวิชยานนท์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์ที่ ๗ ราชวงศ์ทิพจักร ได้ รื้อวิหารหลังเดิม แล้วสร้างวิหารหลังใหม่ขึ้นที่เดิมอีก ซึ่งวิหารในยุคก่อน ๆ นั้นคงสร้างด้วยไม้ จึงมีการสร้างและรื้อถอนกันได้บ่อย ๆ ส่วนวิหารหลังปัจจุบันได้รับการสร้างขึ้นใหม่ในยุคเจ้าแก้วนวรัฐ ผู้ครองนครเชียงใหม่องค์ที่ ๙ โดยสร้างขึ้นหลังปี พ.ศ.๒๔๗๑

๓. พระอัฏฐารส เป็นพระพุทธรูปปั้นขนาดใหญ่ปางห้ามญาติ สูง ๑๘ ศอก หล่อด้วยทองสำริด มีพระอัครสาวก โมคคัลลาน์ สารีบุตร สร้างโดยพระนางติโลกะจุดา(ติโลกจุฑา) นอกจากนี้ยังมีพระพุทธรูปปางต่าง ๆ หลายขนาดอีกจำนวนมากประดิษฐานอยู่รายล้อมพระอัฏฐารส +++๔. พระนอน หรือ พระพุทธไสยาสน์ เป็นพระพุทธรูปที่เก่าแก่คู่กับพระเจดีย์ แต่ไม่ปรากฏว่า สร้างขึ้นเมื่อใด และใครเป็นผู้สร้าง พระนอนองค์นี้สร้างด้วยอิฐฉาบปูนปิดทอง เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ.๒๕๓๖ ได้บูรณะใหม่ทาสีทองสำเร็จแทน มีพุทธลักษณ์สวยงามมาก หันเศียรสู่ทิศใต้ พระพักตร์หันเข้าหาองค์พระธาตุเจดีย์หลวง สูง ๑.๙๓ เมตร ยาว ๘.๗๐ เมตร อยู่ห่างจากพระเจดีย์หลวงไปทางทิศตะวันตก

๕. เจดีย์ขนาดเล็ก เป็นเจดีย์ฐานสี่เหลี่ยมแบบเชียงใหม่ มีอยู่ ๒ องค์ ตั้งอยู่กระหนาบ พระวิหารด้านเหนือและด้านใต้ เยื้องไปทางด้านหน้าของวิหารหลวง

๖. พระอุโบสถ ตั้งอยู่ด้านทิศตะวันตกของเจดีย์หลวงและวิหาร เป็นพระอุโบสถขนาดเล็ก แบบพื้นเมืองเชียงใหม่ ก่ออิฐฉาบปูน

๗. เสาอินทขีล เชื่อกันว่าเป็นหลักเมืองเชียงใหม่ เดิมอยู่ที่วัดสะดือเมือง (วัดอินทขีล หรือวัดสะดือเมือง ข้างศาลากลางหลังเก่า) ปัจจุบันเป็นที่ตั้งหอประชุมติโลกราช พระเจ้ากาวิละเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ ๑ (พ.ศ.๒๓๒๔ - ๒๓๕๘) ในราชวงศ์ทิพจักร โปรดให้ย้ายเสาอินทขีล จากวัดสะดือเมือง มาไว้ ณ วัดเจดีย์หลวง เมื่อ พ.ศ.๒๓๔๓

๘. บ่อเปิง เป็นบ่อน้ำใหญ่ ลึก ก่อด้วยอิฐกันดินพังไว้อย่างดี คำว่า "เปิง" แปลว่า คู่ควร-เหมาะสม เป็นบ่อใหญ่สมกับที่ขุดขึ้นมาเพื่อนำมาใช้ในการก่อสร้างพระธาตุเจดีย์หลวงซึ่งในสมัยที่พระเจ้าติโลกราช ทรงสร้างเสริม พระธาตุเจดีย์หลวง (พ.ศ.๒๐๒๒ - ๒๐๒๔) นั้น ทั่วทั้งวัดเจดีย์หลวงมีบ่อน้ำถึง ๑๒ บ่อ ต่อมาถูกถมไปเพื่อเอาพื้นที่สร้างถาวรวัตถุ

๙. พระมหาสังกัจจายน์ ประดิษฐานอยู่ในวิหารหลังเล็ก อยู่ห่างจากพระธาตุเจดีย์ไปทาง ทิศเหนือ เชื่อว่ามีความเก่าแก่พอ ๆ กับพระนอน ปัจจุบันพระสังกัจจายน์มี ๒ องค์ องค์ใหม่อยู่ด้านหน้าวัด ติดกับวัดพันเตา สร้างเมื่อประมาณ ๓๐ กว่าปีมานี้เอง

๑๐. ต้นยางใหญ่ในวัดเจดีย์หลวงมีต้นยางใหญ่ ๓ ต้น กล่าวกันว่าอายุกว่า ๒๐๐ ปี

๑๑. กุมภัณฑ์ มีอยู่ ๒ ตน สร้างไว้เพื่อให้คอยรักษาเสาอินทขีล ตนหนึ่งอยู่ด้านหน้าวัด

๑๒. หอธรรม เมื่อปี พ.ศ.๒๐๑๗ พระเจ้าติโลกราช ได้ทรงสร้างพระวิหารหลวงขึ้นใหม่ พร้อมทั้งให้สร้างหอธรรม (หอพระไตรปิฏก) ไว้ทางด้านเหนือขององค์พระธาตุเจดีย์

๑๓. กุฏิแก้วนวรัฐ เป็นกุฏิหลังแรกของวัด สร้างด้วยไม้สักทั้งหลัง เจ้าแก้วนวรัฐสร้างถวาย เมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๑

วัดเจดีย์หลวงทางกรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานเมื่อวันที่ ๑๙ เมษายน พ.ศ.๒๕๐๓

การเดินทาง ไปยังเจดีย์ปะการัง

จากทางหลวงสาย 401 (สุราษฎร์ฯ-นครศรีฯ) ถึงแยกคลองเหลง(มีรูปปั้นปลาโลมามองเห็นชัดเจน)เลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข4014ซึ่งเป็นเส้นทางเข้าสู่เมืองขนอม

เมื่อเข้าเขตตัวเมืองขนอมที่ตลาดสี่แยก ให้เลี้ยวซ้ายเข้าเมืองขนอม ผ่านหน้าที่ว่าการอำเภอตลาดบางโหนดข้ามสะพานข้ามคลองขนอมไปจนถึงสามแยกบ้านบางแพง เลี้ยวซ้ายไปตามทางหลวงหมายเลข 4044 (บ้านน้ำโฉ -บ้านบางแพง)

เมื่อเลี้ยวเข้ามาแล้วให้ตรงไปประมาณ 8.5กม. จะเจอกับสี่แยก ให้เลี้ยวซ้าย ซึ่งเมื่อเลี้ยวซ้ายมาแล้วยังจะคงอยู่บนถนนเส้น 4044

เมื่อเลี้ยวซ้ายมาแล้วให้ตรงเข้าไปอีกประมาณ 2.2 กม. ถึงวัดจันทน์ธาตุทาราม (มีจุดสังเกตุคือฝั่งตรงข้ามจะเป็นป้าย ม.เทคโนโลยี ศรีวิชัย) เลี้ยวขวาไปยังเจดีย์ปะการังซึ่งตั้งอยู่บนยอดเขาด้านหลังวัด

เจดีย์ปะการังเขาธาตุ ที่ตั้ง วัดจันทน์ธาตุทาราม หมู่ที่ 4 บ้านท่าจันทน์ ตำบลท้องเนียน อำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช

ขอขอบคุณ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ภาพประกอบ thai-tour

 

Written by on