Written by on

ประเพณีลอยเรือ ชาวเล จังหวัดกระบี่ เป็น งานประเพณีเก่าแก่ที่หาดูได้ยากของชาวเลเกาะลันตา งานนี้จัดขึ้นตรงกับวันเพ็ญเดือน 6 และเดือน 11 โดยกลุ่มชาวเลที่เกาะลันตาและเกาะใกล้เคียง จะมาชุมนุมกันทำพิธีลอยเรือ เพื่อสะเดาะเคราะห์ บริเวณชายหาดใกล้กับบ้านศาลาด่านมีการร้องรำทำเพลง และการร่ายรำรอบลำเรือด้วยจังหวะและทำนองเพลงรองเง็ง

ประเพณีลอยเรือชาวเลกระบี่ ที่เกาะลันตานับเป็นงานประเพณีเก่าแก่ของชาวเลที่หาดูได้ยาก งานนี้จัดตรงกับวันเพ็ญเดือน 6 และวันเพ็ญเดือน 11 ของทุกปี โดยกลุ่มชาวเลในบริเวณเกาะลันตาและเกาะใกล้เคียงจะมาชุมนุมกันทำพิธีลอยเรือเพื่อสะเดาะเคราะห์ ณ ชายหาดใกล้ ๆ กับบ้านศาลาด่าน ในพิธีจะมีการร้องรำทำเพลง มีการร่ายรำรอบลำเรือด้วยจังหวะและทำนองเพลงรองเง็ง

พิธีกรรม : ในวันขึ้น 13 ค่ำ ช่วงเช้า ชาวเลจะเดินทางไปบริเวณที่จะทำพิธี ผู้หญิงจะทำขนม ผู้ชายจะสร้างและซ่อมแซมที่พักชั่วคราว ช่วงเย็น ทั้งหญิงและชายจะไปรวมกันที่ศาลบรรพบุรุษเพื่อนำอาหารเครื่องเซ่นไปเซ่นไหว้บรรพบุรุษเป็นการบอกกล่าวให้มาร่วมพิธีลอยเรือ

เช้าของวันขึ้น 14 ค่ำ ผู้ชายส่วนหนึ่งเดินทางไปตัดไม้ เพื่อนำไม้มาทำเรือผู้หญิงจะร้องรำทำเพลง ในขณะที่รอรับไม้บริเวณชายฝั่ง แล้วขบวนแห่จะแห่ไม้ไปวนรอบศาลบรรพบุรุษเพื่อนำกลับมาทำเรือ "ปลาจั๊ก" คืนวันขึ้น 14 ค่ำ มีพิธีฉลองเรือโดยมีการรำรอบเรือ เพื่อถวายวิญญาณบรรพบุรุษโดยใช้ดนตรีและเพลงรำมะนาประกอบวงหนึ่งและอีกวงจะเป็นการรำวงแบบสมัยใหม่มีดนตรีชาโดว์ประกอบการร้องรำ โต๊ะหมอจะทำพิธีในช่วงเริ่มฉลองเรือและมีพิธีสาดน้ำตอนเที่ยงคืน (เลฮฺบาเลฮฺ) และทำพิธีอีกครั้งในช่วงเช้าตรู่วันขึ้น 15 ค่ำ ก่อนนำเรือไปลอยในทิศทางลมซึ่งแน่ใจว่าเรือจะไม่ลอยกลับเข้าฝั่ง หลังจากนั้นแยกย้ายกันนอนพักผ่อน

บ่ายวันขึ้น 15 ค่ำ ผู้ชายส่วนหนึ่งแยกย้ายไปตัดไม้และหาใบกะพร้อเพื่อทำไม้กันผีสำหรับทำพิธีฉลองในเวลากลางคืน โดยมีพิธีกรรมเหมือนกับพิธีฉลองเรือทุกประการ จนกระทั่งใกล้จะสว่างโต๊ะหมอจะทำพิธีเสกน้ำมนต์ทำนายโชคชะตา และสะเดาะเคราะห์ให้สมาชิกที่เข้าร่วมพิธีก่อนจะอาบน้ำมนต์ และแยกย้ายกันกลับบ้านโดยนำไม้กันผีไปปักบริเวณรอบหมู่บ้านด้วย

เรือปลาจั๊กที่ทำขึ้นในพิธีลอยเรือ ทำจากไม้ตีนเป็ดและไม้ระกำเป็นสัญลักษณ์ของ "ยาน" ที่จะนำวิญญาณของคนและสัตว์ไปสู่อีกภพหนึ่ง มีชิ้นไม้ระกำที่สลักเสลาอย่างสวยงามเป็นรูปลักษณ์ต่าง ๆ ประดับประดาอยู่ในเรือ รูปนกเกาะหัวเรือ หมายถึง "โต๊ะบุหรง" บรรพบุรุษผู้ซึ่งสามารถห้ามลมห้ามฝน ลายฟันปลา หมายถึง "โต๊ะบิกง" บรรพบุรุษที่เป็นฉลาม ลายงูหมายถึง "โต๊ะอาโฆะเบอราไตย" บรรพบุรุษที่เป็นงู ฯลฯ ในเรือยังมีตุ๊กตาไม้ระกำทำหน้าที่นำเคราะห์โศกโรคภัยของสมาชิกในแต่ละครอบครัวเดินทางไปกับเรือและเครื่องเซ่นต่าง ๆ ที่จะให้วิญญาณบรรพบุรุษนำติดตัวไปยังถิ่นฐานเดิมที่เรียกว่า "ฆูนุงฌึไร"การร่ายรำแบบดั้งเดิมผสมผสานกับบทเพลงเก่าแก่และดนตรีรำมะนา เป็นส่วนประกอบที่เร้าใจและเป็นการรำถวายต่อบรรพบุรุษ ทุกคนที่รำเชื่อว่าจะได้บุญโต๊ะหมอผู้นำทั้งทางโลกและทางธรรม เชื่อว่าเป็นผู้ที่สามารถสื่อสารกับพระผู้เป็นเจ้าและวิญญาณบรรพบุรุษได้ ผู้ที่ผ่านพิธีลอยเรือถือว่าจะเป็นผู้ที่ผ่านทุกข์โศกโรคภัยไปหมดแล้ว ชีวิตต่อไปข้างหน้าจะประสบแต่ความสุขและโชคดีในการทำมาหากิน

ประเพณีลอยเรือชาวเลที่เกาะลันตา จะจัดตรงกับวันเพ็ญเดือน 6 และวันเพ็ญเดือน 11 ของทุกปี ซึ่ง วันเพ็ญเดือน 6 ปี พ.ศ. 2555 ตรงกับวันที่ 5 เดือนพฤษภาคม และ วันเพ็ญเดือน 11 ปี พ.ศ. 2555 ตรงกับวันที่ 30 ตุลาคม

ขอขอบคุณ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต

 

Written by on

Written by on

งานกระบี่เบิกฟ้าอันดามัน จังหวัดกระบี่ จัดขึ้นในเดือนพฤศจิกายน เป็นงานเปิดฤดูการท่องเที่ยงของจังหวัด มีกิจกรรม งานรื่นเริง การแสดงทางวัฒนธรรม และการแข่งขันกีฬาทางน้ำเทศกาลกระบี่เบิกฟ้าอันดามัน จัดขึ้นตรงกับเดือนพฤศจิกายนของทุกปี เป็นงานเปิดฤดูกาลท่องเที่ยวของจังหวัดกระบี่ มีกิจกรรมรื่นเริงและการแสดงทางวัฒนธรรมมากมาย และการแข่งขันกีฬาทางน้ำหลายประเภท จังหวัดกระบี่ ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนผนึกกำลังจัดงาน "กระบี่เบิกฟ้าอันดามัน" ณ หาดนพรัตน์ธารา อ. เมือง จ.กระบี่ เพื่อเปิดฤดูกาลท่องเที่ยวที่มาถึงรวมทั้งนำเสนอความพร้อมในการรองรับนักท่องเที่ยวและความหลากหลายของกิจกรรมทางการท่องเที่ยวของจังหวัดกระบี่

จังหวัดกระบี่ มีความหลากหลายในเรื่องของทรัพยากรทางการท่องเที่ยว ไม่ว่าจะเป็นแหล่งท่องเที่ยวประเภท หาดทราย ชายทะเลที่มีความสวยงาม น้ำตก น้ำพุร้อน ป่าเขา กิจกรรมทางการท่องเที่ยวต่างๆ เช่น แคนู ดำน้ำ ปีนผา รวมไปถึงอาหารการกินและวิถีชีวิตของผู้คน ซึ่งล้วนแล้วแต่น่าสนใจ พร้อมกันนี้เรายังมีสิ่งอำนวยความสะดวกทางการท่องเที่ยวรองรับนักท่องเที่ยวที่ต้องการเดินทางมาท่องเที่ยวในจังหวัดกระบี่อย่างครบครัน เช่น ที่พักที่มีให้เลือกหลายระดับ ซึ่งปัจจุบันจังหวัดกระบี่มีห้องพักกว่า 20,000 ห้อง 500กว่าโรง กระจายอยู่ตามหาดต่างๆ มีร้านอาหาร มีการคมนาคมที่เข้าถึงสะดวกและหลายช่องทาง

เทศกาลกระบี่เบิกฟ้าอันดามัน จะเริ่มต้นด้วยการบวงสรวง แม่คงคา ขอพรแม่พระนาง ทอดแหกุ้งทะเล แข่งขันเก็บหอย การแสดงทางวัฒนธรรม ดนตรีพื้นบ้าน บนเวที และงานออกซุ้มอาหารของโรงแรมต่างๆ ฯลฯ จึงขอเชิญชวนทุกคนมาท่องเที่ยวและสัมผัสกับความงดงามในศิลปวัฒนธรรม ที่จังหวัดมีความตั้งใจ ยกของดีมาไว้ที่ในงาน ทั้งนี้หากต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมสามารถสอบถามได้ที่สำนักงานหอการค้าจังหวัดกระบี่ โทรศัพท์ 0 7570 0204 หรือ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยสำนักงานจังหวัดกระบี่ โทรศัพท์ 0 7562 2163

เทศกาลกระบี่เบิกฟ้าอันดามัน จังหวัดกระบี่จะจัดขึ้นเป็นประจำทุกที ในช่วงกลางเดือนพฤศจิกายน ระหว่างวันที่ 13 - 15 พฤศจิกายน

ขอขอบคุณ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ภาพประกอบจาก news.hatyaiok.com

 

Written by on

Written by on


เทศกาลลานตาลันตา จังหวัดกระบี่ จุดขายทางวัฒนธรรมของความเป็นเกาะลันตา งานนี้เริ่มต้นจัดในปี 2544 เพื่อฉลองอำเภอเกาะลันตาครบรอบ 100 ปี และให้ถือเป็นงานประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวไปในตัวด้วยเลย จุดเด่นอันหนึ่งภายในงานก็คือ ประเพณีวัฒนธรรมของพี่น้องชาวไทย

ใหม่ ซึ่งมีพิธีแต่งงาน รวมไปถึงการสร้างเรือเพื่อทำพิธีลอยเรือ ซึ่งเป็นการจำลองมาจากพิธีลอยเรือ ส่วนพี่น้องชาวมุสลิมนั้น มีการจำลองพิธีการเข้าสุหนัด พิธีแต่งงานของพี่น้องอิสลาม การขึ้นแปลเด็ก พิธีการทำนา และการทำนูรี(การทำบุญของชาวมุสลิม) เรื่องราวอย่างนี้ เราไม่สามารถพบเห็นได้ทั่วไปครับ สำหรับภูมิปัญญาท้องถิ่นนั้น มีหลากหลายมาก อย่างเช่นการทิ่ม(ตำ)ข้าวเม้า การทำผลิตภัณฑ์ด้วยมือของหลายชุมชน

อีกเรื่องหนึ่งที่หาดูได้ยาก นั่นคือ การละเล่นและการแสดงพื้นบ้าน ซึ่งเป็นภารกิจหลักของงานนี้ โดยเฉพาะการแสดงของชาวบ้านชุมชนบ้านร่าหมาด ซึ่งสนับสนุนและประสานงานโดยองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะกลาง ที่นำการแสดงมาโชว์ในงานมากมายหลายอย่าง ทั้งลิเกป่า กาหยง และรองเง็ง รวมไปถึงการแสดงของตัวแทน อบต.และนักเรียนนับหลายโรงเรียน

กีฬาพื้นบ้าน เป็นเรื่องราวอย่างหนึ่งที่ต้องการการมีส่วนร่วมจากทุกคน ท่านที่ไม่เคยพบเห็นการแข่งขันกีฬายิงหนังสติ๊ก รับรองได้ประลองฝีมือแน่ ขณะที่กีฬาประเภทอื่นๆถูกบรรจุในรายการการแข่งขันตลอดทั้งวัน สิ่งที่น่าสนใจเพิ่มเติม ในงานลานตา ลันตา วันที่ 7-9 มีนาคม นี้ ก็คือ ลานวัฒนธรรมที่นำเสนอเรื่องราวที่ผมบอกไว้ รวมไปถึงพื้นที่สำหรับกิจกรรมด้านการท่องเที่ยว และถนนคนเดินบริเวณบ้านยาว อันเป็นเอกลักษณ์ ที่บ่งบอกความเป็นเกาะลันตาในอดีต

เทศกาลลานตาลันตา เป็นงานประจำปีของ อ.เกาะลันตา จ.กระบี่ จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีช่วงต้นเดือนมีนาคม ประมาณวันที่ 7-9 มีนาคม ของทุกปี

ขอขอบคุณ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต

 

Written by on

Written by on

ประเพณีแห่จาดสารทเดือนสิบ จังหวัดกระบี่ เป็นประเพณีที่บรรพบุรุษไทย นำภูมิปัญญาท้องถิ่นมากำหนดเป็นแนวทางปฏิบัติ โดยผ่านกระบวนการทางศาสนา ประเพณีและวัฒนธรรม เพื่อให้เกิดความสมัครสมานสามัคคี เกิดความผูกพัน เชื่อมโยงคนในชุมชนให้เป็นกลุ่มชน


เดี่ยวกัน สังคมชาวไทยในภาคใต้ บรรพบุรุษได้เชื่อมโยงศาสนา ประเพณี และวัฒนธรรมเป็นแนวทางปฏิบัติไว้หลากหลาย และหนึ่งในประเพณีเหล่านั้น คือ ประเพณีแห่จาดสารทเดือนสิบ ซึ่งเป็นประเพณีที่ส่งเสริมให้คนทำความดี มีศีลธรรม เกรงกลัวการกระทำผิด เชื่อถือว่าการกระทำที่ผิดจารีต ประเพณี ศีลธรรมเป็นบาป และอาจต้องได้รับผลบาปตาม วิถีกรรมที่กระทำไว้ นอกจากนี้ ยังเป็นการส่งเสริมให้คนเกิดความรักในบรรพบุรุษ ให้ระลึกถึงคุณความดีที่บรรพบุรุษได้กระทำมาแก่ชนรุ่นหลัง ดังนั้นในเทศกาลนี้ คนไทยในภาคใต้ ไม่ว่าจะอยู่ ณ แห่งหนตำบลใด ต่างก็พากันกลับมายังภูมิลำเนาของตนเอง เพื่อร่วมประเพณีแห่จาดสารทเดือนสิบเป็นประจำทุกปี

ขอขอบคุณ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต

Written by on