รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับ พันธุ์ปลา ลักษณะของปลาแต่ละสายพันธุ์ รวมสายพันธุ์ปลาไม่ว่าจะเป็นปลาสวยงาม หรือปลาเศรษฐกิจ สายพันธุ์ปลาทั้งน้ำจืดและน้ำเค็ม ที่นิยมเลี้ยงกันทั่วไป เพื่อคุณผู้อ่านจะได้รู้ถึงมาตรฐานสายพันธุ์ของปลา แต่ละสายพันธุ์ว่าเป็นอย่างไร จะได้เลือกมาเลี้ยงได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมตามความต้องการ หรือสำหรับคนที่เลี้ยงอยู่แล้วก็จะได้เลี้ยงอย่างถูกต้องยิ่งขึ้น จะได้อยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุขที่สุดทั้งคนเลี้ยงและสัตว์เลี้ยงค่ะ

Written by on

ปลาปักเป้าหางไหม้

ชื่อวิทยาศาสตร์ ปลาปักเป้าหางไหม้ : Arothron immaculatus (Bloch & Schneider, 1801)

ชื่อสามัญ ปลาปักเป้าหางไหม้ :  Immaculate blowfish

ลักษณะเด่น : ขอบหางดำ บนลำตัวไม่มีร่องรอยสีดำ

ลักษณะทั่วไป ปลาปักเป้าหางไหม้ : หัวกว้างทู่ มีหนามขนาดเล็กอยู่ทั่วตัว ครีบหางตัดตรง บริเวณหัว หลัง และคอดหางมีสีเทาเข้ม บริเวณข้างลำตัวมีสีเทาอมเหลือง ครีบหลังและครีบก้นสีเทา ครีบหูและครีบหางสีเหลืองอ่อน ขอบรอบครีบหางมีสีดำ

การศึกษาพิษ : ตัวอย่างปลาจากบริเวณทะเลอันดามันพบพิษน้อยกว่าค่ามาตรฐานในเนื้อเยื่อทุกส่วนที่ศึกษาโดยมีค่าน้อยกว่า ๑ MU/g แต่ตัวอย่างบริเวณอ่าวไทยพบว่าในเนื้อ และตับ มีพิษเกินค่ามาตรฐานโดยมีค่า ๓๕ และ ๖๐ MU/g ตามลำดับ

รายงานในประเทศไทย : ประภากร (๒๕๒๘) Suvatti (1981) และ Monkolprasit et al(1997)

ขอบคุณข้อมูล ศูนย์วิจัยพัฒนาประมงน้ำจืด และ วิกิพีเดีย ภาพประกอบจาก fishesofaustralia.net.au

Written by on

Written by on

ปลาปักเป้าหลังเรียบ

ชื่อวิทยาศาสตร์ ปลาปักเป้าหลังเรียบ : Lagocephalus inermis (Temminck & Schlegel, 1850)

ชื่อสามัญ ปลาปักเป้าหลังเรียบ : Smooth-backed blowfish

ลักษณะเด่น : หลังและท้องไม่มีหนาม

ลักษณะทั่วไป ปลาปักเป้าหลังเรียบ : รูปร่างและสีสันคล้ายกับปลาปักเป้าหลังด่าง Lagocephalus sceleratusแต่ไม่มีจุดสีเข้มบนลำตัวเลย

การศึกษาพิษ : ปลาบริเวณทะเลอันดามันไม่พบพิษในเนื้อและตับ แต่ในผิวหนังและรังไข่มีค่า ๖ และ ๑๓ MU/g ตามลำดับ ในบริเวณอ่าวไทยพบว่าในเนื้อมีค่า ๐.๙๗ MU/g ซึ่งไม่เกินค่ามาตรฐาน แต่ในหนัง ตับ และไข่ มีพิษเกินค่ามาตรฐาน โดยมีค่า ๕.๗, ๑๐๔.๙๕ และ ๓๒.๔ MU/g ตามลำดับ

รายงานในประเทศไทย : ประภากร (๒๕๒๘)

ขอบคุณข้อมูล ศูนย์วิจัยพัฒนาประมงน้ำจืด และ วิกิพีเดีย ภาพประกอบจาก taibif.tw

Written by on

Written by on

ปลาปักเป้าเล็กหลังลาย

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Canthigaster solandri (Richardson)

ชื่อสามัญ : False-eye toby, Sharpnose pufferfishes

ลักษณะเด่นของปลาปักเป้าเล็กหลังลาย : บริเวณใต้ครีบหลังมีจุดสีเข้มขนาดใหญ่ มีเส้นสีเข้มกระจายออกรอบขอบตา8-10 แถบ ครีบหางมีสีน้ำตาลและมีจุดประเล็กๆ

ลักษณะทั่วไปของปลาปักเป้าเล็กหลังลาย : ลำตัวแบนข้าง จมูกเป็นแอ่งเนื้อขนาดเล็ก ลำตัวมีสีน้ำตาลเข้ม ส่วนหลังมีจุดเล็กๆ ส่วนท้องสีเข้ม ครีบหางสีน้ำตาลและมีจุดจางๆ

การศึกษาพิษ : ยังไม่มีการรายงานการศึกษาในประเทศไทย

รายงานในประเทศไทย : Monkolprasit and Sontirat (1980) และ Monkolprasit et al(1997)

ขอบคุณข้อมูล ศูนย์วิจัยพัฒนาประมงน้ำจืด และ วิกิพีเดีย ภาพประกอบจาก fishesofaustralia.net.au

Written by on

Written by on

ปลาปักเป้าหลังน้ำตาล

ชื่อวิทยาศาสตร์ ปลาปักเป้าหลังน้ำตาล : Lagocephalus spadiceus (Richardson, 1845)

ชื่อสามัญ ปลาปักเป้าหลังน้ำตาล : Brown-backed blowfish

ลักษณะเด่น ปลาปักเป้าหลังน้ำตาล : บริเวณของหนามหน้าครีบหลังกระจายแคบแล้วกว้างขึ้น จนคลุมบริเวณส่วนบนของหัวทั้งหมด

ลักษณะทั่วไป ปลาปักเป้าหลังน้ำตาล : รูปร่างและสีสันคล้ายกับปลาปักเป้าหลังเรียบ Lagocephalusinermis สีบริเวณหลังสีเขียวเข้มแล้วจางลง บริเวณข้างตัว บริเวณหลังบางแห่งอาจมีสีเข้มกว่าบริเวณอื่นๆกระจายอยู่ ๔-๕ แห่ง

การศึกษาพิษ : ปลาบริเวณทะเลอันดามันพบว่ามีพิษน้อยกว่าค่า มาตรฐานในเนื้อเยื่อทุกส่วนที่ศึกษา โดยมีค่าน้อยกว่า ๑ MU/g แต่บริเวณอ่าวไทยพบว่ามีพิษเกินค่ามาตรฐานโดยพบใน หนัง เนื้อ และตับ มีค่า ๔.๐๕, ๑๐.๗ และ ๑๓.๓ MU/g ตามลำดับ

รายงานในประเทศไทย :  ประภากร (๒๕๐๘) Monkolprasit and Sontirat (1980) Suvatti (1981) และ Monkolprasit et al (1997)

ขอบคุณข้อมูล ศูนย์วิจัยพัฒนาประมงน้ำจืด และ วิกิพีเดีย ภาพประกอบจาก fisheries.go.th

Written by on

Written by on

ปลาปักเป้าแถบส้ม

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Torquigener hypselogeneion (Bleeker, 1852)

ชื่อสามัญ : Orange-banded blowfish

ลักษณะเด่น : ปากตรงและอยู่กึ่งกลางหัวมีก้านครีบหลัง ๘-๙ อัน ก้านครีบก้น ๗-๘ อัน บริเวณส่วนหลังและข้างลำตัวมีแต้มสีเข้มและจางกระจายถึงแนวข้างตัว

ลักษณะทั่วไปของปลาปักเป้าแถบส้ม : รูปร่างคล้ายกับ Amblyrhynchotes honckeniiบริเวณส่วนหลังมีสีเขียวเข้มและมีจุดสีเข้ม ส่วนท้องมีสีขาวครีม มีแถบสีดำตามขวาง ๓-๕ แถบด้านล่างของตา

การศึกษาพิษ : ยังไม่มีรายงานการศึกษาในประเทศไทย

รายงานในประเทศไทย : ประภากร (๒๕๒๘)

ขอบคุณข้อมูล ศูนย์วิจัยพัฒนาประมงน้ำจืด และ วิกิพีเดีย ภาพประกอบจาก fishbase.mnhn.fr

Written by on

Written by on

ปลาปักเป้าหลังเขียว

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Lagocephalus lunaris (Bloch & Schneider, 1801)

ชื่อสามัญ : Green rough-backed blowfish

ลักษณะเด่นของปลาปักเป้าหลังเขียว : บริเวณของหนามหน้าครีบหลังกระจายเป็นบริเวณกว้างจนคลุมบริเวณส่วนบนของหัวทั้งหมด โดยขอบด้านข้างเว้าเล็กน้อย

ลักษณะทั่วไปของปลาปักเป้าหลังเขียว : รูปร่างและสีสันคล้ายกับปลาปักเป้าหลังน้ำตาล Lagocephalus spadiceusสีลำตัวบริเวณหลังมีสีเขียวมะกอกและค่อยๆ จางลงบริเวณข้างลำตัว ครีบทุกครีบมีสีเหลือง

การศึกษาพิษ : ปลาจากบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยพบว่ามีพิษเกินค่ามาตรฐานในเนื้อเยื่อทุกส่วนแต่ ไม่สูงมาก และตรวจพบพิษเพียง ๕๐ เปอร์เซ็นต์ของตัวอย่าง

รายงานในประเทศไทย : ประภากร (๒๕๒๘) Suvatti (1981) และ Monkolprasit et al(1997)

ขอบคุณข้อมูล ศูนย์วิจัยพัฒนาประมงน้ำจืด และ วิกิพีเดีย ภาพประกอบจาก zukan.com

Written by on

Written by on

ปลาค้อผี

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ellopostoma mystax Tan & Lim, 2002

ชื่อสามัญ : Enigmatic Loach

ลักษณะทั่วไปของปลาค้อผี : ปลาค้อเกล็ดค่อนข้างใหญ่ ลายพื้นสีน้ำตาล ลายประขนาดใหญ่สีน้ำตาลเข้ม ฐานครีบหลังค่อนข้างกว้าง ปากเชิดขึ้น

ถิ่นอาศัย : ลำธาร บริเวณที่น้ำไหลไม่แรงนัก มีการสะสมของตะกอน ทางภาคใต้ตอนล่าง

อาหาร : ตัวอ่อนแมลง

ขนาด : ๕-๖ เซนติเมตร

ขอบคุณข้อมูล ศูนย์วิจัยพัฒนาประมงน้ำจืด และ วิกิพีเดีย ภาพประกอบจาก ig-bssw.org

Written by on