รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับ พันธุ์สุนัข พันธุ์หมา ลักษณะของสุนัขแต่ละสายพันธุ์ รวมสายพันธุ์สุนัข สายพันธุ์หมา ที่นิยมเลี้ยงกันทั่วไป เพื่อคุณผู้อ่านจะได้รู้ถึงมาตรฐานสายพันธุ์ของสุนัข หมา แต่ละสายพันธุ์ว่าเป็นอย่างไร นิสัยส่วนตัวเฉพาะสายพันธุ์ว่าเป็นอย่างไร จะได้เลือกมาเลี้ยงได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมในกรณีที่กำลังมองหาสุนัขดีๆ มาเลี้ยง หรือสำหรับคนที่เลี้ยงอยู่แล้วก็จะได้รู้ว่าเจ้าสัตว์เลี้ยงที่เราเลี้ยงอยู่นั้น ต้องการอะไร มีลักษณะตรงตามสายพันธุ์หรือเปล่า จะได้อยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุขที่สุดทั้งคนเลี้ยงและสัตว์เลี้ยงค่ะ

Written by on

สุนัขพันธุ์..มอลทีส

สุนัข MALTESE มีถิ่นกำเนิดในประเทศ MALTA (แถบทะเลเมอร์ดิเตอริเนียน) มานานเกือบ 2800 ปีแล้ว นักเขียนหรือนักวาดภาพในสมัยโบราณมักนิยมเขียนเรื่องราวหรือภาพของสุนัข พันธุ์นี้อยู่เนืองๆ และเป็นที่นิยมเลี้ยงของผู้คนสมัยนั้น และจนกษัตริย์อียิปต์โบราณและ QUEEN VICTORIA ด้วย MALTESE เป็นสุนัขที่มีขนมีขาวสะอาดมีสุขภาพดี คล้ายสุนัขใหญ่กลุ่ม SPANIEL ในปี ค.ศ. 1607 มีการซื้อขายพันธุ์ MALTESE ตัวหนึ่งสูงถึง 2000 ดอลล่าร์ หรือประมาณ 50000 บาท

มาตรฐานสายพันธุ์

  • อุปนิสัย : เป็นเพื่อนที่ดีของมนุษย์ สุภาพ กล้าหาญ ไม่ขลาดกลัว

  • ศีรษะ : มีความยาวปานกลาง หัวกะโหลกลักษณะกลม
  • หู : โคนหูอยู่ในระดับต่ำ หูตก บริเวณหูมีขนหนาและยาว
  • ตา : สีดำ ลักษณะกลม ขอบตาดำ ทำให้ดูตื่นตัวอยู่เสมอ
  • ดั้งจมูก : มีมุมหักพอประมาณ
  • ปาก : มีความยาวปานกลาง ขนาดของโคนปากเรียวสู่ปลายจมูกเล็กน้อย
  • จมูก : สีดำ
  • ฟัน : ขาว แข็งแรง ขบแบบเสมอหรือขบแบบกรรไกร
  • ลำตัว : ค่อนข้างสั้น ความยาวของลำตัวมีขนาดใกล้เคียงกับความสูงของลำตัว เส้นหลังตรงขนานกับพื้น
  • คอ : มีความยาวพอเหมาะ
  • อก : ค่อนข้างลึก
  • ขาหน้า : มีกระดูกใหญ่พอเหมาะ ขาหน้าตั้งตรง ขาหน้ามีขนยาวเท้ามีขนาดเล็กค่อนข้างกลม นิยมตัดขนบริเวณเท้าเพื่อไม่ให้รุ่มร่าม
  • เอว : แข็งแรง เอวกิ่วเล็กน้อย
  • ขาหลัง : มีกระดูกใหญ่พอเหมาะ ข้อเท้าแข็งแรงทำมุมพอประมาณเท้ามีขนาดเล็ก เท้ากลม นิยมตัดบริเวณเท้า
  • หาง : ค่อนข้างยาวหางมีขนยาว หางพาดอยู่บนหลัง
  • ขน-สี : มีขนชั้นเดียว ขนยาวเหยียดตรง ขนฟู ขนไม่ตั้ง บริเวณหัวยาวอาจมัดเป็นจุก หรือหวีปัดลงก็ได้มีสีขาวทั้งตัว
  • ขนาด : เป็นสุนัขที่มีขนาดเล็ก
  • น้ำหนัก : ประมาณ 4-6 ปอนด์
  • การเดิน - วิ่ง : มีความสง่างาม วิ่งเร็ว ขณะวิ่งขาหลังเป็นเส้นตรง ไม่บิดงอ

ข้อบกพร่อง : ขนหยิกงอ เท้าบิด

ขอขอบคุณ ที่มา : นิตยสาร สัตว์เลี้ยงแสนรัก ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต

Written by on

Written by on

สุนัขพันธุ์..พุดเดิ้ล

Poodle ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่ามีกำเนิดในประเทศใด บางข้อมูลกล่าวว่ามีกำเนิดในประเทศเยอรมัน โดยรู้จักกันในนาม Pudle แต่บางท่านกล่าวว่า Poodle เป็นสุนัขประจำชาติของฝรั่งเศส โดยชาวฝรั่งเศสมักนิยมใช้สุนัขพันธุ์นี้ ในการคาบสิ่งของหรือฝึกแสดงในละครสัตว์และชอบที่จะตัดแต่งทรงขน ซึ่งมีลักษณะหยิกแน่นเป็นขดเป็นทรงต่างๆตามแฟชั่นเป็นที่โปรดปราน แก่บรรดาคุณหญิงคุณนายชาวฝรั่งเศสกันมาช้านาน

สุนัขพันธุ์นี้สืบเชื้อสายมาจากพันธุ์ Water Retriever จึงมีความสามารถพิเศษในการว่ายน้ำ Poodle มี 3 ขนาด โดยมีชื่อเรียกที่แตกต่างกันออกไปคือ Toy poodle, Miniature Poodle, Standard Poodle โดยขนาด Standard Poodle ถือกำเนิดก่อน Poodle ขนาดอื่นๆ ซึ่งนิยมเลี้ยงกันอย่างแพร่หลาย ต่อมาจึงมีคัดเลือกสหพันธุ์ที่เล็กลง ผสมผสานจนเกิดเป็น Miniature และ Toy Poodle ขึ้น ทั้งสามขนาดนี้กำหนดขึ้นให้เป็นมาตรฐานประกวดไปทั่วโลกในปัจจุบัน


มาตรฐานสายพันธุ์

  • อุปนิสัย : ฉลาด ร่าเริง ช่างประจบประแจง ขี้อิจฉา สอนง่าย รักสะอาด จึงเป็นที่นิยมเลี้ยงกันมาช้านานทั่วทุกมุมโลก
  • หู : ห้อยแนบชิดส่วนหัว โคนหูจะอยู่ในระดับต่ำกว่าตาเล็กน้อย หูมีขนยาว ใบหูค่อนข้างกว้างและหนา
  • ศีรษะ : หัวกะโหลกมีลักษณะค่อนข้างกลม แก้มค่อนข้างแบนหากมองจาด้านบน ลักษณะจากส่วนหัวถึงปลายจมูกจะมีลักษณะคล้ายรูปหยดน้ำ
  • ตา : มีลักษณะเป็นรูปกลมค่อนข้างรี คล้ายผลอัลมอนด์ ตาสีเข้ม ขอบตาเข้ม ตามีแววร่าเริง ตื่นตัวเสมอ
  • ดั้งจมูก : มีมุมหักพอสมควรหรือลาดลง
  • ปาก : ความยาวของปากมีขนาดใกล้เคียงกับความยาวของหัวกะโหลก สันปากตรงแข็งแรง ริมฝีปากตึงไม่ห้อยหย่อนยานหรือปากล่างหนาจนเกินไป
  • ฟัน : ขาวแข็งแรง ขบแบบกรรไกร
  • ลำตัว : มองจากด้านข้าง มีลักษณะคล้ายรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ความสูงของลำตัวมีขนาดใกล้เคียงกับความยาวของลำตัว เส้นหลังตรงแข็งแรง
  • คอ : มีขนาดค่อนข้างยาว ทำให้ Poodle ดูสง่างาม ขณะเชิดหัวขึ้นหนังคอตึง คอประกอบด้วยกล้ามเนื้อ
  • อก : ลึก กว้างพบประมาณ
  • เอว : สั้น ประกอบด้วยกล้ามเนื้อ
  • ขาหน้า : มองจากด้านหน้า ขาหน้าตั้งตรง ขาหน้าทั้ง 2 ข้างขนานกัน ห่างกันพอเหมาะ มองจากด้านข้างอยู่ในแนวเดียวกับหัวไหล่ ขาหน้ามีกระดูกและกล้ามเนื้อสัมพันธ์กับขนาดของสุนัข ข้อเท้าหน้าแข็งแรง เท้ามีขนาดเล็ก รูปกลมรีไม่แบนเหมือนตีนเป็ด ฝ่าเท้าหนา เท้าชี้ตรงไปด้านหน้า ไม่บิดซ้ายบิดขวา นิ้วติ่งตัดออก เล็บควรตัดสั้น
  • ขาหลัง : มองจากด้านหลัง ขาหลังตรง ขนานกัน ขาหลังท่อนบนมีกล้ามเนื้อมาก ข้อเท้าสั้น ตั้งฉากกับพื้น ขาเท้าหลังทำมุมพอประมาณ และสัมพันธ์กับลำตัวส่วนหน้า เท้าหลังมีลักษณะเหมือนเท้าหน้าคือไม่บิดซ้ายบิดขวา
  • หาง : โคนหางอยู่ในระดับสูง หางตั้งตรงไม่ชี้เอนไปด้านหลังขณะเดิน หางนิยมตัดออก 1 ใน 3 ส่วนของความยาวของหางทั้งหมด
  • ขน : Poodle มีขน 2 ชั้น ขนชั้นบนอ่อนนุ่ม ขนชั้นนอกยาว ขนชั้นนอกนี้มี 2 ชนิด คือ ชนิดหยิกและชนิดหยิกคลายเป็นเกลียวคลื่น Poodle นิยมตัดแต่งขนให้มีรูปทรงต่างๆ กันได้หลากหลายตามแฟชั่นในแต่ละสถานที่ แต่มีข้อบังคับแน่นอนในสนามประกวด ดังนี้ อายุน้อยกว่า 12 เดือน ตัดทรง Puppy Clip เมื่ออายุเกิน 12 เดือนไปแล้วต้องตัดทรง English หรือทรง Continental Clip
  • สี : มีขนสีเดียวตลอดทั้งตัว ขนอาจมีสีจางลงได้ Poodle ขาวอาจมีสีครีมอ่อนที่หูได้ แต่ไม่ใช่สีตัดกันจนเป็นสีน้ำตาล Poodle สีน้ำตาลช็อกโกแลต กาแฟ แอปปริคอท มักมีจมูก, ขอบตา, เล็บ, ริมฝีปาก สีน้ำตาลเข้มๆ หรือสีตับ ส่วน Poodle สีดำ เทาดำ เทาเงิน ครีม และขาวจะมีจมูก, เล็บ, ขอบตา, ริมฝีปากและไรจมูกเป็นสีดำ
  • ขนาด : Poodle มี 3 ขนาดและจัดอยู่ในกลุ่มต่างๆ ดังนี้ Standard Poodle มีขนาด ความสูงไม่ต่ำกว่า 15 นิ้ว Miniatrue Poodle มีความสูง 11-15 นิ้ว ทั้ง 2 ขนาดนี้ จัดอยู่ในกลุ่มของ Non-Sporting Toy Poodle มีขนาดความสูงไม่เกิน 11 นิ้ว จัดอยู่ในกลุ่ม Toy ส่วนขนาด Tea-Cup ซึ่งเล็กกว่า Toy Poodle เป็นเพียงขนาดไม่ได้จัดประกวด มีความสูงตั้งแต่ 8 นิ้วลงไป นับเป็น Pet-Quality ที่นิยมเลี้ยงกันเท่านั้นจะเข้าประกวดไม่ได้เลย ถือเป็น Poodle ที่ด้อยผิดมาตรฐานของสายพันธุ์ Poodle ทั่วๆ ไป
  • การเดิน : มีความสง่างาม ขณะเดินหรือวิ่ง ขาหน้าไม่แกว่งหรือยกเตะสูงเหมือนพันธุ์ Miniatrue Pinscher จะเหวี่ยงขว้างไกลไปข้างหน้าเช่นเดียวกับขาหลัง หัวตั้งตรง ขณะเดินไม่โยกไปมา ขาแข็งแรง ก้าวอย่างมั่นใจ

ข้อบกพร่อง : มีหลายสีในตัวเดียวกัน เป็น Under หรือ Overshot ตากลมโปน ขาบิด เดินไขว้ เดินเตะสูง ขนาดกลัว ดุร้ายขณะประกวด ตัดแต่งขนผิดทรงและ Oversize ในกลุ่มนั้นๆ

ขอขอบคุณ ที่มา : นิตยสาร สัตว์เลี้ยงแสนรัก ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต

Written by on

Written by on

สุนัขพันธุ์..บาสเซ็ทฮาวด์

Basset Hound เป็นสุนัขที่มีความสามารถในการตามกลิ่น มีขาที่สั้น กระดูกขาใหญ่มาก และจัดว่าใหญ่กว่าสุนัขพันธุ์อื่นๆ มีลักษณะการเคลื่อนไหวที่สุขุม แต่ไม่งุ่มง่าม เป็นสุนัขอารมณ์ดี ใจดี ไม่ตกใจกลัวง่าย มีความอดทนสูงในการตามกลิ่นในทุ่งกว้างได้อย่างยาวนาน

 

มาตรฐานสายพันธุ์

  • ศีรษะ : มี ขนาดใหญ่และได้สัดส่วนที่ดี ความยาวจากด้านหลังของกะโหลก(Occiput)ไปจนถึงบริเวณจมูกและปาก (Muzzle) จะใหญ่กว่าความกว้างของหน้าผาก(Brow) ถ้าเทียบกับขนาดตัวทั้งหมดและหัวของมันจะมีขนาดพอดีๆ กะโหลกหัวจะมีลักษณะเป็นรูปโดม ซึ่งจะแสดงกระดูกหลังกะโหลก(Occiput) ที่ยื่นออกมาได้อย่างชัดเจน สำหรับกะโหลกแบนเรียบถือว่าเป็นข้อผิดพลาด(Falt) ความยาวจากจมูกถึงช่วงตรงกลางหน้าผากระหว่างตา(Stop) จะใกล้เคียงความยาวจาก Stop ถึง Occiput ด้านข้างทั้งสองด้านเรียบและห้อยย้อยลงมา มองจากด้านข้างหัวสุนัขจะเห็นแนวเส้นตรงบนดั้งจมูกนั้นจะตรง และขนานกับแนวเส้นตรงของกะโหลกหัว หนังบริเวณหัวทั้งหมด จะย่นเมื่อสุนัขก้มหัวลงรอยย่นจะปรากฎเป็นริ้วบริเวณหน้าผาก สุนัข Basset Hound ตัวใดก็ตามที่หนังหัวไม่ย่นจะถือว่าเป็นข้อผิดพลาด บริเวณด้านข้างระหว่างปากกับจมูก (Muzzle) ควรมีลักษณะใหญ่และห้อย จมูกควรมีสีเข้ม ยิ่งถ้าเป็นสีดำจะยิ่งดี จมูกมีขนาดใหญ่ รูจมูกกว้างสำหรับจมูกสีน้ำตาลเข้มถ้าเข้ากับสีของหัวสุนัขก็ถือว่าไม่ผิด แต่ไม่เป็นที่นิยม ฟัน (Teeth) ควรมีลักษณะใหญ่แข็งแรงเป็นระเบียบ ฟันบนจะขบกับฟันล่างเป็นแบบ Scissors ถ้าลักษณะฟันแบบ Overshot หรือ Undershot ถือเป็นข้อผิดพลาดอย่างร้ายแรง (serious Fault)

  • ริมฝีปาก : มีสีเข้ม มีลักษณะห้อยเอียงจากด้านหน้าไปด้านหลัง หนังบริเวณใต้คอ (Dewlap) จะห้อยมาก คอมีลักษณะแข็งแรงภายใต้ความยาวที่พอดีและมีส่วนโค้งที่ได้สัดส่วน ตา (Eyes) อ่อนโยน เศร้า ลักษณะของลูกตาจะเว้าลงไป ทำให้เห็นเปลือกตาล่างด้านใน ดวงตามีสีน้ำตาลจนถึงสีน้ำตาลเข้ม ดวงตาสีอ่อนไม่ถือเป็นข้อผิดพลาด แต่ก็ไม่เป็นที่นิยม สำหรับลักษณะลูกตาที่โปนออกมาจากเบ้าถือเป็นข้อผิดพลาด หู(Ears) ค่อนข้างยาว ห้อยลงมาต่ำ ใบหูควรจะยาวมาปิดจมูกได้ ลักษณะของพื้นผิวใบหูนิ่มเหมือนกำมะหยี่ยาวเรียว ปลายหูม้วนเข้าข้างในเล็กน้อย กกหูจะอยู่ต่ำและค่อนไปทางด้านหลังของหัวบริเวณฐานกะโหลก ขณะที่ยืนนิ่งใบหูจะห้อยขนานกับต้นคอ ลักษณะกกหูที่อยู่สูงและใบหูแบบเรียบถือว่าเป็นข้อผิดพลาดร้ายแรง
  • ส่วนหน้าของลำตัว : จะ มีอกยื่นออกมาเมื่อมองจากด้านข้าง ประกอบไปด้วยกระดูกอก(Sternum)ที่ยื่นออกมาอย่างเห็นได้ชัดโดยจะอยู่ระหว่าง ขาหน้า หัวไหล่และข้อศอกจะอยู่ชิดกับอก ช่วงห่างระหว่างอกกับพื้นควรห่างพอที่สุนัขจะเคลื่อนไหวได้อย่างสะดวก แต่ไม่ควรจะห่างเกิน 1 ส่วน 3 ของความสูงสุนัขเมื่อโตเต็มที่โดยวัดจากหัวไหล่ ไหล่ควรจะเอียงไปทางด้านหลังและดูแข็งแรง หัวไหล่ที่ตั้งตรงและการออกรวมทั้งข้อศอกไม่ชิดลำตัวถือเป็นข้อผิดพลาดอย่าง ร้ายแรง
  • ขาหน้า : มีขาหน้าสั้น เต็มไปด้วยพละกำลัง กระดูกใหญ่มีรอยย่นรอบๆขา ลักษณะขาหน้าโค้งงอไปด้านหน้า (Knucking Over) ถือว่าขาดคุณสมบัติ (Disqualification) อุ้งเท้าใหญ่แข็งแรง นิ้วเท้าเรียงชิดติดกัน อุ้งเท้ามีลักษณะกลมและเอียงออกเล็กน้อยเท่าๆกันทั้งสองข้างสมดุลย์กับความ กว้างของหัวไหล่ ลักษณะข้อต่อระหว่างเท้ากับขาไม่ต่อกันถือเป็นความผิดพลาดอย่างแรง นิ้วเท้าทั้งสองข้างต้องไม่บิดและแบะออก เพราะมันจะทำหน้าที่รับน้ำหนักทั้งหมดของส่วนหน้าลำตัว ส่วนนิ้วเท้าเล็กๆข้างเท้าหน้าด้านใน (Dewclaws) สามารถตัดออกได้
  • ลำตัว : มีลำตัวยาว กระดูกซี่โครงเรียงกันไปจนถึงส่วนหลังของลำตัว กระดูกซี่โครงมีขนาดเหมาะสมที่จะปกป้องคุ้มครองหัวใจและปอด ส่วนกระดูกซี่โครงที่ยุบตัวหรือนูนออกมาไม่เรียบถือเป็นข้อผิดพลาด
  • กระดูกเส้นหลัง : จะมีลักษณะเป็นเส้นตรงได้ระดับเสมอกัน เส้นหลังที่มีลักษณะโค้งงอหรือเว้าลงถือเป็นข้อผิดพลาด
  • ส่วนหลังของลำตัว : จะมีลักษณะกลมและแข็งแรง ความกว้างของส่วนหลังนี้จะเท่ากับความกว้างของหัวไหล่ ลักษณะส่วนหลังจะไม่ปรากฎลักษณะของขาหลังที่หย่อนหรือขาที่ไม่มีแรง เมื่อมองแล้วจะสัมพันธ์กับลำตัวทั้งหมด ส่วนหลังควรจะสัมพันธ์กับส่วนหน้าของลำตัว เพื่อที่สุนัขจะสามารถยืนได้อย่างมั่นคงบนขาหลังของมัน โดยไม่มีลักษณะข้อหัวเข่าขาหลัง (Stifle) โค้งงอออกหรือโค้งงอเข้า เมื่อมองจากด้านหลังจะเห็นว่าขาหลังทั้งสองข้างจะต้องชี้ไปข้างหน้า ถ้าบริเวณด้านล่างของขาหลัง (กระดูก Lower Thigh) ตั้งชันจนไม่เกิดมุมถือเป็นข้อผิดพลาดอย่างร้ายแรง นิ้วเท้าเล็กๆ ที่ขาหลัง (Dewclaws) ก็สามารถตัดออกได้
  • หาง : หางจะไม่มีลักษณะเป็นข้อต่อ กระดูกของหางจะเรียงตัวต่อกันและโค้งเล็กน้อย หางจะเป็นเครื่องที่แสดงความมีชีวิตชีวาตามแบบฉบับของสุนัขกลุ่ม Hound ขนบริเวณใต้หางจะมีลักษณะหยาบ
  • ขนาด : ไม่ควรสูงเกิน 14 นิ้ว โดยวัดจากไหล่ Basset Hound สูงเกิน 15 นิ้ว ถือว่าขาดคุณสมบัติ
  • ลักษณะการเดิน : สุนัข Basset Hound จะเคลื่อนตัวอย่างนุ่มนวล มีกำลังและมีพลังงานในการเคลื่อนตัวเนื่องจาก Basset Hound เป็นสุนัขดมกลิ่นมันจึงมักเดินเอาจมูกดมพื้นอยู่เสมอ ขณะที่มันเดินขาหน้าและขาหลังจะก้าวขนานไป ในขณะที่เท้าหน้าข้างหนึ่งก้าวไปข้างหน้า เท้าหลังข้างนั้นก็จะดันตัวไปข้างหลังเสมอ เท้าหน้าเมื่อเวลาเดินไม่ควรแบะออกไปด้านข้าง หรือก้าวหน้าแล้วแต่ละเท้าทิศทางการก้าวเท้าไปคนละทิศละทางไม่ตรงกัน และข้อศอกควรจะแนบลำตัว ข้อขาหลังทั้งสองข้างควรตั้งตรงในขณะที่เดิน
  • ขน : ขนของ Basset Hound มีลักษณะแข็ง เรียบ และสั้น มีขนแน่นปกคลุมทั่วร่างกายทั้งนี้เพื่อให้ร่างกายสามารถปรับได้กับทุสภาพ อากาศ ผิวหนังมีลักษณะห้อยและยืดหยุ่นได้ดี สุนัข Basset Hound ที่มีขนยาวถือว่าขาดคุณสมบัติ
  • สีขน : ไม่มีกำหนดว่าควรจะมีสีอะไร เพียงแต่เป็นสีที่ยอมรับได้ในสุนัขกลุ่ม Hound เรื่องสีและลาย (Marking) จึงถือว่าไม่สำคัญ

ข้อบกพร่อง : * สูงเกิน 15 นิ้วเมื่อวัดจากหัวไหล่* ขาหน้าโก่งงอไปข้างหน้า (Knuckled Over)* ขนยาว

ขอขอบคุณ ที่มา : นิตยสาร สัตว์เลี้ยงแสนรัก ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต

Written by on

Written by on

สุนัขพันธุ์..ปั๊ก

400 ปีก่อนคริสตกาลในสมัยโบราณนิยมเลี้ยงไว้ในวัดจีน ต่อมาสุนัขพันธุ์ PUG กระจายไปอยู่ส่วนต่างๆของยุโรป ในประเทศฮอลแลนด์ให้เกียรติสุนัขนี้มาก เนื่องจากมันได้ช่วยชีวิตของเจ้าชายวิลเลียม โดยการเตรียมให้รู้ว่าพวกสเปนได้ยกทัพเข้ามาใกล้แล้ว ส่วนฝรั่งเศส มเหสี นโป-เลียนได้ซ่อนจดหมายไว้ที่ปลอกคอของ PUG ไปให้นโปเลียนเพื่อบอกว่า พระนางถูกจับขังไว้ที่ LESCARMES เหตุการณ์นี้เกิดในปี 1970

มาตรฐานสายพันธุ์

  • อุปนิสัย : สามารถอยู่ในที่เล็กๆได้หรือสามารถอยู่ร่วมกันหลายตัวได้
  • โครงสร้าง : ลำตัวเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสและดูกระชับได้สัดส่วน สุนัขมีลำตัวซูบผอม ขาสั้นหรือยาวเกินไป
  • ศีรษะ : มีขนาดใหญ่ ลักษณะกลม หนังหัวบริเวณหน้ามีรอยย่นมาก
  • หู : มีขนาดเล็ก ใบหูค่อนข้างบาง หูพับไปด้านหน้าหรือด้านหลัง แต่หูพับไปด้านหน้าจะได้รับความนิยมมากกว่า
  • ตา : สีเข้ม ลักษณะกลมโต
  • ปาก : มีขนาดสั้น รูปร่างคล้ายทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัส
  • จมูก : ควรสั้นแลดูหน้าทู่เหมือนสุนัขพันธุ์ปักกิ่งเวลามองตรงเข้าไปจากกหน้า จมูก
  • ปาก : ควรมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส จมูกควรมีสีดำ ฟันห้ามแลบออกมานอกปาก
  • ลำตัว : มีขนาดเล็ก ลำตัวล่ำสัน ลำตัวมีกล้ามเนื้อมาก
  • อก : กว้าง
  • ขาหน้า : แข็งแรงมาก ตั้งตรง ขาหน้ามีความยาวปานกลาง เท้าไม่กลมเหมือนเท้าแมว หรือนิ้วยาวมากเกินไป เล็บสีดำ
  • ขาหลัง : มีลักษณะเหมือนขาหน้า
  • หาง : มีลักษณะม้วนอยู่เหนือสะโพก หางม้วนสองรอบถือว่าดี
  • ขน-สี : ขนสั้นนุ่ม ตัวสีน้ำตาล บริเวณหน้า หู แก้ม ควรมีเส้นตัวสีดำหรือสีดำทั้งตัว
  • น้ำหนัก : ประมาณ 14-18 ปอนด์

ขอขอบคุณ ที่มา : นิตยสาร สัตว์เลี้ยงแสนรัก ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต

Written by on

Written by on

สุนัขพันธุ์..บางแก้ว

เป็น สุนัขสายพันธุ์ไทย มีถิ่นกำเนิดที่บ้านบางแก้ว อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก และเชื่อว่าเกิดจากการผสมกันระหว่างสุนัขไทยกับสุนัขจิ้งจอก หลังจากนั้นในรุ่นลูกมีการผสมกับกลุ่มเครือญาติหลายชั่วอายุจนได้พันธุ์แท้ คือ บางแก้วในปัจจุบัน

ลักษณะทั่วไป

เป็น สุนัขขนาดกลาง หูตั้งตรง ขนยาวเหยียดตรงหนา และปุย ใบหน้าจะสั้น แต่ปากแหลมยาวคล้ายปากสุนัขจิ้งจอก สง่างาม เวลายืนมีขาหน้าใหญ่กว่าขาหลัง นัยน์ตาเล็กกลมสีเหลืองทองคล้ำ ส่วนของหางจะเป็นพวงแต่มีบางตัวไม่เป็นพวง สำหรับลักษณะของใบหน้าแบ่งเป็น 3 แบบ คือ

หน้าเสือ คือ มีกะโหลกใหญ่ ใบหูเล็ก แววตาดุร้าย มีขนที่คอแต่ไม่รอบคอ และไม่มีเคราใต้คาง หางมีทั้งเป็นพวงและไม่เป็นพวง ส่วนขนมีทั้งฟูและไม่ฟู

หน้าสิงห์โต คือ มีขนแผงคอใหญ่รอบคอ มีเครายาวใต้คาง กะโหลกใหญ่ ใบหูเล็กและตั้งตรง ช่วงตัวตอนหน้าใหญ่ตอนท้ายเล็ก แววตาปกติจะเซื่องซึม แต่จะดุร้ายและคล่องแคล่วว่องไวเมื่อเจอคนแปลกหน้า หางเป็นพวง จัดเป็นสุนัขที่หายากและมีราคาแพง

หน้าจิ้งจอก คือ ใบหน้าแหลม ใบหูใหญ่กว่าสองชนิดแรก หางเป็นพวง นิสัยไม่ค่อยดุร้าย

บางแก้ว เป็นสุนัขที่มีนิสัยค่อนข้างดุ แต่มีความซื่อสัตย์และหวงเจ้าของมากเป็นพิเศษ ไม่ชอบคนแปลกหน้า มีความสามารถในการดมกลิ่นและจำเสียงเป็นเลิศ ตื่นตัวตลอดเวลา กล้าหาญ กินอาหารง่าย ชอบเล่นน้ำ นอกจากนี้ยังเป็นสุนัขที่หวงสิ่งของในบ้าน หากคนภายนอกบ้านแตะต้องจะกัดทันทีและกัดไม่ปล่อย

การเลือกซื้อลูกสุนัขบางแก้ว

ข้อคิดในการเลือกซื้อสุนัขบางแก้ว - สุนัขบางแก้วเป็นสุนัขพื้นบ้านที่สามารถทนต่อสภาพแวดล้อมได้ดี โดยธรรมชาติของสุนัขบางแก้วแล้ว มีความรักเจ้าของ และสวยงามคล้ายสุนัขพันธุ์ต่างประเทศที่มีขนยาวสวยงาม หางเป็นพวง และเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นบนผืนแผ่นดินไทย เป็นเอกลักษณ์ของคนไทยที่ควรอนุรักษ์ไว้ แต่ว่าสุนัขบางแก้วมีข้อเสียเรื่องความดุ และบางครั้งอาจจะก้าวร้าวอาจมีปัญหาเรื่องพฤติกรรม อารมณ์ ฉะนั้นสุนัขบางแก้วควรได้รับการเลี้ยงดูและการฝึกให้อยู่ร่วมกับคนใน สังคมอย่างถูกต้องโดยสามารถเริ่มฝึกให้สุนัขมีการเรียนรู้พร้อมๆ กับการเลี้ยงดูได้ตั้งแต่ยังเป็นลูกสุนัข เพื่อให้สุนัขมีความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างเจ้าของและสุนัข เพื่อให้เกิดการยอมรับและการไว้ใจ สามารถเข้

าสังคมได้ดี เรื่องของพฤติกรรมและอารมณ์ของสุนัขจะดุหรือก้าวร้าวนั้นมีสาเหตุหลักประกอบ ด้วยสองส่วนด้วยกัน ส่วนแรกคือ พันธุกรรม และส่วนที่สองคือการเรียนรู้(การฝึก)

ดังนั้นก่อนการตัดสินใจในการเลี้ยง ผู้เลี้ยงควรพิจารณาดังนี้

1. พันธุกรรม

เนื่อง จากพันธุกรรมและอารมณ์ของสุนัขเมื่อโตเต็มที่นั้น ส่วนหนึ่งถ่ายทอดทางสายเลือด ดังนั้นก่อนการตัดสินใจเลือกซื้อลุกสุนัขนั้นควรพิจารณาอย่างถี่ถ้วน เพื่อที่จะได้ลูกสุนัขที่ปราศจากข้อบกพร่องที่ถ่ายทอดมาทางสายเลือด เพราะว่าข้อบกพร่องเหล่านี้มีผลต่อพฤติกรรม และอารมณ์ของสุนัขอย่างมากในอนาคตเพราะสุนัขที่ถ่ายทอดสายเลือดไม่ดีอาจจะ เป็นผลให้เกิดความพิการในจุดที่มองเห็น และมองไม่เห็นยังเป็นผลทำให้สุนัขต้องทนทุกข์ทรมานในความเจ็บปวดเป็น เวลานาน และเป็นสาเหตุให้สุนัขมีสุขภาพจิตไม่ดี มีพฤติกรรมออกมาทางในสิ่งที่เราไม่ต้องการ เช่น ก้าวร้าว ดุ หรือสุนัขกัดเจ้าของได้

สำหรับหลักในการพิจารณาลักษณะที่ดีของสุนัขบางแก้วที่ใช้เป็นเกณฑ์ในการเลือกซื้อ มี ดังนี้

  1. เลือกหูเล็กกว่าทุกตัวในครอกเดียวกัน ถ้าในกรณีที่ดูไม่ออกว่าเล็กกว่ากันหรือไม่คงต้องดูว่าคุณชอบตัวไหนมากกว่า เพราะสุนัขขณะที่ยังเล็กก็ดูเล็กไปหมดทุกส่วน
  2. กะโหลกศีรษะใหญ่ กระหม่อมแบนราบ หน้าผากโหนก ลักษณะนี้สุนัขบางแก้วไม่ได้มีทุกตัว เพราะเนื่องจากต้องขึ้นอยู่กับเชื้อสาย พ่อพันธุ์ แม่พันธุ์ด้วย แต่ถ้าในกรณีที่มีโอกาสเลือกจากหลายครอก ก็เลือกจากครอกที่มีกะโหลกศีรษะใหญ่ก็ได้ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า สุนัขที่มีกะโหลกศีรษะเล็กจะเป็นข้อด้อยเพราะอย่างที่บอกว่าสุนัขไม่ได้มี กะโหลกใหญ่ทุกตัว และส่วนมากสุนัขที่มีกะโหลกใหญ่ หูของมันจะตั้งขึ้นช้ากว่าสุนัขที่มีกะโหลกเล็กกว่า เพราะฉะนั้นไม่ ต้องตกใจ ถ้าท่านซื้อสุนัขไป 2 ตัวพร้อมกันแล้วอีกตัวหูยังไม่ตั้ง ต้องให้เวลาหน่อย เว้นแต่ว่าท่านโดนหลอกขายสุนัขพันธุ์อื่นแทนบางแก้ว
  3. โคนหางอวบใหญ่ หางใหญ่ยาวโน้มกลางหลังในลักษณะกำลังงามไม่มากเกินไป ไม่ไพล่หลัง หางไม่ขอด ไม่ม้วน
  4. ขนเส้นยาวนุ่ม ในกรณีที่ท่านเลือกซื้อตอนสุนัขยังเล็ก อย่างไรแล้วขนก็นุ่มเพราะยังไม่มีการถ่ายขน เพราะปกติสุนัขบางแก้วมีขนสองชั้น ชั้นในนุ่ม ชั้นนอกจะหยาบกว่า แต่อย่างไรก็ยังสัมผัสได้ว่านุ่มกว่าสุนัขพันธุ์ทั่วไปแน่นอน

  5. สีด่างได้ลักษณะ สิ่งนี้เป็นสิ่งหนึ่งที่สุนัขบางแก้วนั้นแตกต่างจากสุนัขพันธุ์ ต่างประเทศ เพราะสุนัขพันธุ์ต่างประเทศ ถ้าเป็นสีไหนก็จะเป็นสีนั้นไปทั้งตัวอาจจะมีอ่อน เข้มต่างกันเท่านั้นแต่สุนัขบางแก้ว นอกจากจะมีสีต่างกันแล้ว เช่น ขาว-เทา ขาว- น้ำตาล ขาว-ดำ ยังมีข้อแตกต่างอีกว่าในแต่ละตัวจะมีแต้ม จะมีด่างตรงไหนบ้าง ขึ้นอยู่กับว่าตัวใดจะมีลักษณะสวยงามอย่างไร อย่างเช่น บางตัวอาจแบ่งสีได้อย่างชัดเจนว่ามี 3 ส่วน คือ ส่วนหัว กลาง ท้าย บางตัวก็อาจไม่เป็นเช่นนั้น แล้วแต่ว่าจะชอบแบบไหน หรือบางทีสีด่างอยู่ที่ตำแหน่งอื่นแต่ก็สวยไม่แพ้กันก็มี
  6. หน้าแด่น หรือแบ่งเป็นเส้นจากปลายปากถึงกะโหลกศีรษะ ถ้ามีน้อยไม่ยาวมากเรียกว่า แด่น แต่ถ้าเส้นยาวมีมากและแยกส่วนศีรษะออกเป็นสองส่วนเรียกว่า แบ่ง คุณลักษณะนี้เป็นลักษณะที่ถ้าสุนัขมีก็ตรงตามลักษณะที่สวยงามตามเกณฑ์ แต่ถ้าไม่เป็นอย่างนี้ก็ไม่ได ้หมายความว่าไม่ใช่สุนัขบางแก้ว เพราะสุนัขบางตัวก็มีลักษณะเด่นอย่างอื่นแทนลักษณะที่ด้อยของตัวมันเองก็ได้
  7. ปลายปากแหลมเล็ก ถ้าปลายปากขาวเป็นวงรอบปลายปาก เรียกว่า ปากคาบแก้ว
  8. จมูกดำ ลูกนัยน์ตาเล็กมีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยม
  9. ขาใหญ่ ลักษณะที่ดี ขาหน้าจะต้องใหญ่กว่าขาหลัง
  10. รูปร่างสวยงามเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส ซึ่งท่านสามารถศึกษาดูได้จากมาตรฐานพันธุ์ว่ารูปสี่เหลี่ยมดูจากส่วนใดของสุนัข
  11. มีสุขภาพดี ร่าเริง ไม่อยู่นิ่งทั้งนี้ ทั้งนั้นในการเลือกซื้อแต่ละครั้งคงไม่จำเป็นว่าท่านจะต้องได้สุนัขที่มี ลักษณะเด่นถูกต้องตามหลักเกณฑ์ทุกอย่าง เพราะบางครั้งขึ้นอยู่กับความพอใจว่าชอบตัวไหน จุดประสงค์ในการซื้อว่าท่านจะนำไปประกวดหรือไม่ หรือเพียงเพื่อนำไปเลี้ยงเป็นเพื่อนที่ซื่อสัตย์คอยเฝ้าบ้าน หรือเป็นเพื่อนเล่นแก้เหงา และอีกอย่างขึ้นอยู่กับงบประมาณของท่านเองด้วยว่า พอที่จะซื้อในราคาแบบใด เพราะในแต่ละตัวมีลักษณะที่เด่น และด้อยต่างกัน ทำให้ราคาก็ต่างกันด้วย

ขอขอบคุณ ที่มา : นิตยสาร สัตว์เลี้ยงแสนรัก ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต

Written by on

Written by on

สุนัขพันธุ์..บูลด็อก

ประวัติความเป็นมา

มีถิ่นกำเนิดที่ประเทศอังกฤษ จัดอยู่ในกลุ่มมาสติฟ (Mastiff) โดยเชื่อกันว่าบูลด็อกเป็นสุนัขกลายพันธุ์มาจากสุนัขพันธุ์ Tibetan Mastiff ที่ดูโครงสร้างภายนอกไม่สมประกอบ มีตำราบางเล่มระบุว่าบูลด็อก สุนัขที่เกิดจากการถูกผู้เลี้ยงดูอย่างทรมาน เพื่อให้ได้มาซึ่งสุนัขที่มีรูปร่างหน้าตาไม่สมประกอบ เช่น การนำวัสดุแข็งๆ มาทำเป็นหน้ากากคลุมหัวบูลด็อกไว้ เพื่อให้มีใบหน้าสั้นผิดปรกติไปจากสุนัขตัวอื่นๆ หรือการยับยั้งการเจริญเติบโตของสุนัขด้วยการขังไว้ในที่แคบๆ จนแทบไม่สามารถกระดิกตัวได้ เพื่อให้สุนัขมีรูปร่างแคระแกร็น

คำว่า บูล (Bull) ซึ่งหมายถึงบูลด็อกเป็นสุนัขที่มีรูปร่างคล้ายวัวขนาดเล็ก ชื่อนี้ได้มาจากการที่ชาวอังกฤษในสมัยยุคก่อนๆ ได้ฝึกสุนัขพันธุ์นี้ไว้เพื่อต่อสู้กับวัว เป็นการยากที่จะหาหลักฐานมาอ้างอิงว่าบูลด็อกกำเนิดมาตั้งแต่เมื่อใด แต่มีข้ออ้างอิงที่เป็นไปได้คือ ในสมัยปี ค.ศ. 1209 ซึ่งตรงกับยุคสมัยของกษัตริย์จอห์น โดยท่านลอร์ดวิลเลี่ยม เอริล์วอร์เรนได้มองเห็นวัว 2 ตัว กำลังต่อสู้กันในสนามหญ้าหน้าวังของท่าน เพื่อแย่งชิงวัวตัวเมียอีกตังหนึ่ง จนกระทั่งฝูงสุนัขเลี้ยงวัวของคนเลี้ยงวัวได้ออกมาขับไล่วัวคู่นั้นออกไป จากบริเวณสนาม ท่านลอร์ดมีความยินดีมากและเกิดความคิดที่ว่าจะให้มีเกมกีฬาชนิดใหม่ขึ้นมา คือกีฬาสุนัขต่อสู้กับวัว ซึ่งต่อมาก็เป็นกีฬาที่นิยมกันมากในประเทศอังกฤษ

บูลด็อกโดยมากจะได้รับการฝึกให้มีนิสัยก้าวร้าวดุร้าย โดยเจ้าของสุนัขจะลงโทษด้วยวิธีการที่เจ็บปวด จึงทำให้บูลด็อกในอดีตมีนิสัยที่ดุร้าย ในการต่อสู้ในเกมกีฬาที่แสนหฤโหดและนองเลือด บูลด็อกจะถูกปล่อยลงสนามให้ต่อสู้กับวัวที่กำลังบ้าคลั่ง โดยมันจะบุกโจมตีบริเวณใบหูของวัว และกัดอยู่นานจนกว่าจะล้มวัวตัวนั้นได้ ต่อมาก็ได้มีการผสมพันธุ์เจ้าหน้าแก่นี้เสียใหม่ให้มีตัวเล็กลง เพื่อความว่องไวและปราดเปรียว ขณะเดียวกันจมูกที่เคยโด่งออกก็ถูกผสมให้แนบแบนติดกับใบหน้าเสีย เพราะจะทำให้มันโจมตีคู่ต่อสู้ได้นานกว่าเดิม

ยุคแรกๆ ของบูลด็อกมีขายาวกว่าพันธุ์ที่เห็นในปัจจุบัน แต่กระดูกเบากว่า ปากใหญ่และกะโหลกศีรษะเล็กกว่าทุกวันนี้ หูก็มีลักษณะตูบเล็กเพื่อความทนทานในการเสียดสีเมื่อต่อสู้ อีกประการหนึ่งก็คือหางยาวและม้วนพอง มีไว้ให้เจ้าของดึงออกจากคู่ต่อสู้ขณะต่อสู้อยู่แต่แล้วยุคเสื่อม ของบูลด็อกก็มาถึง เมื่อกีฬาต่อสู้กับวัวเสื่อมความนิยมลง โดยเฉพาะในปี ค.ศ. 1835 กีฬาการต่อสู้สุนัขถูกบัญญัติให้เป็นสิ่งผิดกฎหมาย บูลด็อกจึงค่อยๆ หมดความหมายและพลอยถูกลืมเลือนไปด้วย ช่วงเวลาของความรุ่งโรจน์แห่งเผ่าพันธุ์ก็เริ่มหมดลง จำนวนของบูลด็อกก็ได้ลดลงไปมาก แต่โชคดีที่มีคนรักสุนัขและเสียดายในสายพันธุ์ได้ยื่นมือเข้ามาอนุรักษ์สาย เลือดนี้ไว้ แม้ว่าความดุร้ายจะเป็นสิ่งที่ไม่พึงปรารถนา แต่คงลักษณะที่ดีๆ อย่างอื่นเอาไว้ จากหลักการนี้บูลด็อกจึงได้รับการคัดเลือกพันธุ์ตามวิธีการที่ถูกต้อง ภายในเวลาเพียงไม่กี่รุ่นก็ประสบความสำเร็จ จนกระทั่งมีการประกวดบูลด็อกขึ้นเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1859 และในปี ค.ศ. 1864 ก็ได้ตั้งสมาคมอนุรักษ์สุนัขพันธุ์บูลด็อกขึ้น บูลด็อกยังคงลักษณะที่ดีเด่นเอาไว้ครบถ้วน แต่ความโหดร้ายดุดันดั้งเดิมได้ถูกตัดออกไป จนถึงบัดนี้บูลด็อกได้รับการยกย่องเป็นสุนัขประจำชาติอังกฤษ เนื่องจากความอดทนกล้าหาญและความเด็ดเดี่ยวของมัน วิญญาณของความเป็นนักสู้ในอดีตยังคงปรากฏให้เห็น แม้ว่าวันเวลาที่ผ่านไปจะทำให้มันเกิดเชื่องช้าลงบ้างก็ตาม

มาตรฐานสายพันธุ์

ลักษณะทั่วไป : บูลด็อกที่สมบูรณ์แบบต้องมีขนาดปานกลาง รูปรางบึกบึนและหนา กระดูกและกะโหลกศีรษะมีขนาดใหญ่มาก หน้าสั้น ใหญ่ กว้าง บริเวณหน้าผากมีรอยย่นลึก ตาอยู่ในตำแหน่งห่างจากใบหู กล้ามเนื้อหนังตาบนจะย่นเหมือขมวดคิ้วอยู่ตลอดเวลา ริมฝีปากหนาและกว้าง มีกล้ามเนื้อหนาแน่น แขน ขาล่ำสัน แข็งแรง แผ่นหลังโค้งเล็กน้อย และจะยกสูงบริเวณสะโพก ลำตัวส่วนท้องจะคอด กระดูกซี่โครงมีลักษณะห่อกลมคล้ายมะขามป้อม ตะโพกค่อนข้างเล็ก หางสั้นและขดแน่นกับส่วนหลัง ด้านอุปนิสัยมีความทรหดอดทน อารมณ์คงที่มั่นคงอย่าเสมอต้นเสมอปลาย มีความตั้งใจแน่วแน่ กล้าหาญ พฤติกรรมที่แสดงออกเป็นไปอย่างสงบและสง่า ท่าทางการเดินมีลักษณะแปลกเฉพาะตัว คล้ายข้อต่อกระดูกไม่แข็งแรง เหมือนการลากไป มีลักษณะการเคลื่อนที่ไปทางด้านข้างคล้ายการกลิ้งไป แต่อย่างไรก็ตามการเคลื่อนที่ต้องไม่เกร็ง เป็นอิสระและเข้มแข็ง

  • ศีรษะ : ควรมีขนาดใหญ่ เมื่อวัดรอบศีรษะ โดยวัดจากด้านบนลงล่างผ่านใบหูควรจะมีความยาวมากกว่าความสูงของตัว เมื่อมองจากด้านหน้าศีรษะควรสูงมาก เมื่อมองจากมุมของขากรรไกรล่างไปถึงจุดสูงสุดของกะโหลกกว้างมากเป็นสี่ เหลี่ยม เมื่อมองจากด้านข้างศีรษะอยู่สูงมาก และจากจมูกถึงท้ายทอยสั้นมาก หน้าผากควรมีรอยย่นลึกเป็นแนว และมีเส้นผ่าลึกลงมาจากส่วนบนมายังจมูกและปาก
  • จมูก : จมูกควรใหญ่ แลดูกว้างแต่สั้น ปลายจมูกควรจะมีรอยย่นลึก จมูกมีเส้นแบ่งเขตแนวชัดเจน รูจมูกใหญ่และเชิด จมูกควรจะมีสีเข้ม หากเป็นสีดำสนิทได้ยิ่งดี จมูกสีอื่นที่ไม่ใช่สีดำไม่เป็นที่นิยม จมูกแดงเป็นสีเดียวกับสีผิวถือว่าผิดลักษณะ และถ้าจมูกเป็นสีชมพูถือว่าเป็นจุดด้อยอย่างมาก นอกจากนี้จมูกต้องไม่แห้งหรือเปียกชุ่มเกินไป
  • ปาก : ริมฝีปากบนควรหนา กว้างและลึกมากห้อยลงมาปิดกรามล่างได้มิดชิด หากมองจากด้านข้างจะปิดริมฝีปากล่างและฟันมิดชิด แผ่นหลังที่หุ้มปากทั้งสองด้านควรมีขนาดใหญ่และยาวเท่าๆ กัน ขากรรไกรล่างใหญ่กว้าง เป็นสี่เหลี่ยมยื่นเลยขากรรไกรบนและงอนขึ้น
  • ฟัน : ฟันควรอยู่ครบ 42 ซี่ ฟันล่างจะเกยอยู่ด้านนอก ฟันที่ดีต้องซี่ใหญ่แข็งแรงมั่นคง ฟันที่ยื่นออกมาต้องไม่มีลักษณะโค้งงอ ฟันเขี้ยวอยู่ห่างจากกัน ฟันตัด 6 ซี่ที่อยู่ด้านหน้าระหว่างฟันเขี้ยวอยู่ในแนวระดับเดียวกัน เวลาอ้าปากจะเห็นฟันซี่เล็กๆ 6 ซี่ทางด้านหน้า เวลาหุบปากไม่ควรจะให้เห็นฟันจึงจะดี และฟันควรขาวสะอาด
  • ตา : ดวงตาควรมีลักษณะกลม ขนาดปานกลาง ไม่จมลึกหรือยื่นออกมามากเกินไป เมื่อมองจากด้านหน้าจะฝังอยู่ในกะโหลกศีรษะ อยู่ห่างจากหูมาก และตาทั้ง 2 ข้างไม่ควรอยู่ห่างกันมากนัก สีลูกตาควรเป็นสีเข้ม หนังตาปิดตาขาว
  • หู : ฐานหูทั้ง 2 ข้างควรจะยกสูงและควรจะอยู่ในตำแหน่งที่สมดุลกัน ใบหูควรเล็กและบาง ปลายหูควรพับลงมาแนบกับศีรษะ ควรอยู่ห่างจากตาพอเหมาะ ลักษณะใบหูที่ดีควรมีลักษณะโคนตั้งปลายตกหรือกับกลีบดอกกุหลาบ ซึ่งเป็นที่นิยมสูงสุด หูไม่ควรตั้งตรงและไม่ควรตกลงมาทั้งหมด
  • คอ : เนื่องจากบูลด็อกเป็นสุนัขที่มีส่วนหัวใหญ่ ลำคอจึงควรใหญ่หนา สั้นและแข็งแรง และเป็นส่วนโค้งทอดไปยังส่วนหลัง หนังใต้ลำคอจะหย่อนลงมาเพียงเล็กน้อย แต่ไม่ควรปล่อยให้ยาน เพราะถ้ายานและมีหนังหย่อนมามากแสดงว่ากำลังอ้วนเป็นพะโล้ แก้ไขโดยการออกกำลังกายบ่อยๆ
  • ไหล่ : หัวไหล่ควรมีขนาดใหญ่ กว้างและมีมัดกล้ามเนื้อหนา ก่อให้เกิดความสมดุลและพละกำลังมาก
  • อก : กว้างมาก ลึกและเต็มไปด้วยกล้ามเนื้อ เห็นกล้ามเนื้อที่อกได้ชัดเจน ซี่โครงโค้งกลมจากหัวไหล่จนไปถึงจุดต่ำสุดของหน้าอก ทำให้สุนัขมองดูมีลักษณะกว้าง เตี้ยและขากว้าง
  • ลำตัว : แข็งแรงกำยำ เต็มไปด้วยกล้ามเนื้อ ไม่ควรผอมจนเห็นซี่โครงและไม่ควรอ้วนจนมองไม่เห็นกล้ามเนื้อบริเวณท้องน้อย ควรจะขอดเล็กน้อย แนวสันหลังควรสั้นและแข็งแรง บริเวณที่ไหล่กว้างมากและค่อนข้างแคบ บริเวณบั้นท้ายซึ่งเป็นจุดที่ควรสูงกว่าความสูงที่ไหล่และมีความโค้งลาดต่ำ อีกครั้งลงไปที่หาง ซึ่งเป็นลักษณะที่เด่นชัดมากสำหรับสุนัขพันธุ์นี้ จึงเรียกว่าหลังแมลงสาบหรือหลังวงล้อ
  • สะโพก : ควรจะโค้งมนได้รูป ส่วนก้นกลมและไม่มีกระดูกโปนออก
  • ขาหน้า : ควรสั้น สุนัขพันธุ์นี้มีขาหน้าที่สั้นกว่าขาหลัง ดังนั้นเมื่อสุนัขยืนจะทำให้ช่วงหน้าของลำตัวต่ำกว่าบั้นท้าย ขาที่ดีต้องแข็งแรง กระดูกขาใหญ่ ต้นขาเต็มไปด้วยมัดกล้ามเนื้อ ขาหน้าเวลายืนควรอยู่ห่างกัน ช่วงบนของขาหน้าแลดูเป็นวงโค้ง ข้อศอกควรอยู่ห่างจากลำตัว เท้าและนิ้วเท้าใหญ่พอประมาณแลดูกะทัดรัด เล็บที่ขาควรมีสีเข้มและควรเป็นสีเดียวกันกับขนบนลำตัว
  • ขาหลัง : แข็งแรง เต็มไปด้วยมัดกล้ามเนื้อและยาวกว่าขาหน้า เวลายืนตะโพกจะเชิดสูงทำให้ดูหลังแอ่น ส่วนขาควรสั้นและแข็งแรง ลักษณะของเท้าที่ดี ข้อเท้าที่ขาหลังควรจะหันออกจากลำตัวเล็กน้อย ขาหลังควรบิดออกเล็กน้อย
  • เท้า : ควรมีขนาดปานกลาง กะทัดรัดและแข็งแรง ปลายเท้าหน้าอาจตรงหรือเปิดออกเล็กน้อย แต่ขาหลังควรยื่นออกด้านนอก
  • หาง : อาจตรงหรือเป็นเกลียว แต่ไม่โค้งหรือม้วน หางต้องสั้น ห้อยต่ำ โคนหางใหญ่ ปลายเล็ก ถ้าหางเป็นเกลียว การม้วนหรือขมวดของหางจะมีลักษณะเป็นเกลียวคล้ายก้นหอยแต่ต้องไม่หงิกงอ ปลายหางไม่ควรม้วนลงไปถึงโคนหาง
  • ขน : ขนควรสั้นและเหยียดตรงแบนราบกับลำตัว สีของขนควรสม่ำเสมอ สะอาดสดใสและดูเป็นมันเงา ขนต้องไม่ยาวหรือขึ้นเป็นลอน
  • ผิวหนัง : อ่อนนุ่มและไม่ตึง โดยเฉพาะที่หัว คอและหัวไหล่ รอยย่นและเหนียงตรงคอ ศีรษะและหน้าควรปกคลุมด้วยรอยย่นขนาดใหญ่ และที่คอจากขากรรไกรจนถึงหน้าอกควรจะมีรอยย่นที่ห้อยออกมาเป็น 2 แนว
  • สี : สีขนของบูลด็อกมีหลายสี สำหรับสีขนที่ถือเป็น 2 สีในตัวเดียวกัน ในสุนัขที่มี 2 สี แต่ละสีควรเป็นสีเดียวที่บริสุทธิ์ไม่มีสีอื่นเจือปนให้เป็นสีผสม และควรมีการกระจายสีในลักษณะที่สมดุล บูลด็อกที่มีสีดำทั้งตัวไม่เป็นที่นิยม แต่ก็ไม่ถึงกับไม่เป็นที่ยอมรับ สำหรับบูลด็อกที่มีสีนอกเหนือจากที่กล่าวมาในข้างต้นถือว่าใช้ไม่ได้
  • การเดินการวิ่ง : ถึงแม้จะดูอืดอาดเชื่องช้าเวลาเดินต้องส่ายสะโพกไปมา ลักษณะการก้าวย่างควรดูอิสระ คล่องแคล่ว กระฉับกระเฉง ไม่อืดอาดเวลาเดิน ลำตัวต้องไม่แกว่งมาก จนดูเหมือนไม่มีกระดูก
  • น้ำหนักและส่วนสูง: เพศผู้ควรมีน้ำหนักอยู่ในช่วงระหว่าง 24-25 กิโลกรัม เพศเมียอยู่ในช่วง 22-23 กิโลกรัม ส่วนความสูงเพศผู้ควรอยู่ระหว่าง 16-18 นิ้ว และเพศเมียควรสูง 12-15 นิ้ว

ข้อบกพร่อง : จมูกมีสีเนื้อหรือจมูกเผือก

ขอขอบคุณ ที่มา : นิตยสาร สัตว์เลี้ยงแสนรัก ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต

Written by on

Written by on

สุนัขพันธุ์..ดัลเมเชียน

เป็น สุนัขที่ไม่เหมือนใครและไม่มีใครเหมือน มีประวัติและตำนานอันยาวนาน รูปร่างของเขาเป็นการผสมผสานระหว่าง สุนัขพันธุ์พ้อยเตอร์และสุนัขพันธุ์ฮาวนด์ที่มีใบหูเล็กและผิวหนังที่ตึงของ ทวีปยุโรปตะวันออก เนื่องจากมันไม่ได้ถูกใช้เป็นสุนัขดมกลิ่นหรือช่วยในการล่าสัตว์ จึงเป็นการยากที่จะรู้ถึงเทือกเถาเหล่ากอที่แน่ชัด ตามตำนานได้เล่าขานว่า เล่าขานว่ามาจากทางตอนเหนือของประเทศอินเดียเมื่อนานมาแล้ว แล้วถูกนำเข้าทวีปยุโรปตะวันออกโดยชาวยิปซี เนื่องจากพบบันทึกเกี่ยวกับสุนัขพันธุ์นี้ในเมืองดัลเมเชียในยุคแรกๆ จึงมีการตั้งชื่อสุนัขพันธุ์นี้ว่าดัลเมเชียน

ไม่ว่าจะมีต้นกำเนิด อย่างไร เจ้าที่คอยวิ่งตามม้าเทียมรถตั้งแต่ยุคกลาง เพื่อปกป้องนักท่องเที่ยวจากโจรที่ปล้นคนเดินทาง แต่ในที่สุดมันก็กลายมาเป็นเครื่องประดับของผู้รากมากดี จากภาพที่สุนัขพันธุ์นี้วิ่งไปตามถนนของกรุงลอนดอน เพื่อกันผู้คนไม่ให้ไปเกะกะเจ้าหน้าที่ดับเพลิง จึงมีชื่อเล่นว่าสุนัขดับเพลิง ดัลเมเชียนเป็นสัตว์เลี้ยงที่สะอาด สงบเสงี่ยมและมองได้ไกล กลายเป็นสุนัขที่คอยระแวดระวังเกี่ยวกับเพลิงไหม้ เป็นสุนัขที่ไม่ค่อยเห่ายกเว้นจะมีอะไรหลงเข้ามา สุนัขพันธุ์นี้มีความอดทนอย่างเหลือเชื่อ สามารถที่จะวิ่งในความเร็วปานกลางแบบไม่มีกำหนด ความจำเป็นในการออกกำลังกายจึงมีมาก

มาตรฐานสายพันธุ์

ลักษณะทั่วไป : ดัลเมเชียนเป็นสุนัขที่มีจุดโดดเด่น ตื่นตัว แข็งแรง เต็มไปด้วยมัดกล้าม กระฉับกระเฉง ไม่ขี้อาย เฉลียวฉลาด เป็นสุนัขที่มีความทรหดอดทนผนวกกับการวิ่งที่ค่อนข้างเร็ว

  • อุปนิสัย : ร่าเริง รักสะอาด ตื่นตัว แข็งแรง เต็มไปด้วยมัดกล้าม กระฉับกระเฉง ไม่ขี้อาย เฉลียวฉลาด เป็นสุนัขที่มีความทรหดอดทนผนวกกับการวิ่งที่ค่อนข้างเร็ว
  • ศีรษะ : มีความสมดุลกับร่างกาย มีความยาวพอสมควร ผิวหนังไม่หย่อน
  • ตา : อยู่ห่างกันพอประมาณ ขนาดปานกลางและมีลักษณะกลม ตาสีน้ำตาลหรือสีน้ำเงิน ตายิ่งเข้มยิ่งดี ตามักมีสีเข้มในดัลเมเชียนที่มีจุดสีดำมากกว่าในตัวที่มีจุดสีตับ
  • หู : ขนาดปานกลาง ฐานหูกว้างแล้วค่อยๆ สอบ ปลายหูมน หูบาง เมื่อตื่นตัวส่วนบนของหูจะอยู่ระดับเดียว กันกับยอดของกะโหลกศีรษะ
  • จมูก : สีดำในสุนัขที่มีจุดสีดำ และสีน้ำตาลในสุนัขที่มีจุดสีตับ
  • ริมฝีปาก : ปิดสนิท
  • คอ : เส้นหลัง ลำตัว คอโค้งได้ที่ ค่อนข้างยาว ไม่มีเหนียง
  • เส้นหลัง : เรียบ
  • อก : ลึก กว้างปานกลาง
  • หลัง : อยู่ในแนวราบและแข็งแรง
  • ชายกระเบนเหน็บ : สั้น เต็มไปด้วยกล้ามเนื้อและโค้งเล็กน้อย
  • หาง : ต่อจากเส้นหลังอย่างธรรมชาติ ไม่มีการตัดหาง หางชูขึ้นเล็กน้อย แต่ไม่ม้วน
  • เท้า : ทั้ง เท้าหน้าและเท้าหลังกลมและกะทัดรัด มีอุ้งเท้าที่หนาและมีสปริง เล็บสีดำหรือขาวในสุนัขที่จุดสีดำ และสีน้ำตาลหรือสีขาวในสุนัขที่มีจุดสีตับ
  • ขน : ละเอียด หนา สั้น เป็นมัน

ขอขอบคุณ ที่มา : นิตยสาร สัตว์เลี้ยงแสนรัก ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต

Written by on