รวบรวมข้อมูลดีๆ เรื่องราวบทความน่ารู้ เกี่ยวกับพัฒนาการของลูกน้อยในท้องตั้งแต่เริ่มปฏิสนธิจนถึงครบกำหนดคลอด เพื่อคุณแม่มือใหม่จะได้ทราบถึงพัฒนาการของลูก รู้ถึง วิธีการปฏิบัติตัวในช่วงท้องว่าจะต้องปฏิบัตอย่างไรลูกในท้องจึงจะสุขภาพดี โตตามวัย และจะได้รู้ว่าลูกน้อยที่อยู่ในท้องของเรานั้น ในแต่ละเดือนตั้งแต่ 1-9 นั้น เขาเติบโต มีพัฒนาการ มีรูปร่าง หรืออาศัยอยู่ในท้องของเราได้อย่างไร

Written by on

ลูกน้อยในครรภ์ เดือนที่ 8

เมื่อตั้งท้องได้ 8 เดือน ดูเหมือนว่าท้องจะโตเต็มที่ ยอดของมดลูกดันอยู่ที่ยอดอก แถวลิ้นปี่ คุณอาจรู้สึกหายใจไม่อิ่ม อึดอัด แล้วยังมีปวดหลัง และปวดหน้าท้อง เพราะลูกเติบโตขนาดตัวใหญ่ขึ้น อาการเจ็บท้องเตือนจะเพิ่มความรุนแรง และความถี่ขึ้น เป็นการฝึกบีบตัวคลอดของมดลูก เต้านมก็ฝึกผลิตน้ำนม เห็นได้จากที่หัวน้ำนม ซึมออกมาจากเต้านมทางหัวนม ท้องที่โตมากในระยะนี้ เป็นอุปสรรคต่อท่าการนอนของคุณแม่ คุณแม่จะหาท่าที่สามารถนอนได้สบายได้ยาก ทนอีกสักหน่อย ลูกของคุณเกือบพร้อมที่จะออกมาชมโลกแล้ว ถ้าอึดอัดมากก็ลองนอนตะแคง ขาข้างหนึ่งทับซ้อนอีกข้างหนึ่งดูซิคะ อาจจะช่วยให้นอนหลับได้ดีขึ้น ถ้ายังไม่ดี อาจจะใช้หมอนสอดระหว่างขา จะทำให้สบาย และยังช่วยลดอาการบวมที่ข้อเท้าและเท้าได้อีกด้วย

ทารกที่สมบูรณ์ จะเคลื่อนไหว จะแตะแรงขึ้น หน้าท้องโป่ง แหลม จะพอจะเดาได้ว่า เป็นศอก หรือส้นเท้าที่ลูกยกมายันที่หน้าท้องแม่ กระดูกของลูกจะแข็งมากขึ้น กระดูกที่ศีรษะจะแตกต่างจากกระดูกที่อื่นๆ คือ นิ่ม และยืดหยุ่นได้พอสมควร เล็บลูกน้อยจะยาวเกินปลายนิ้ว ทารกเพศชาย จะพบว่าลูกอัณฑะเคลื่อนตัวจากช่องท้องลงมาอยู่ใน ถุงอัณฑะแล้ว ขณะอยู่ในท้อง ทารกอาจจะสะอึกได้ จนแม่รู้สึกว่าลูกเคลื่อนไหวแบบกระตุกๆ

น้ำหนักตัวจะประมาณ 2000-2300 กรัม และลำตัวยาวประมาณ 42-45 ซ.ม.

เตรียมตัวคลอด คุณแม่มีใจจดจ่อกับลูกน้อย ที่กำลังจะเกิด คุณแม่อาจไปเข้าร่วมกิจกรรมที่เกี่ยวกับ การฝึกคลอด จัดเตรียมบ้านเพื่อต้อนรับสมาชิกคนใหม่ การหาคนช่วยเลี้ยงลูก คนที่เป็นเพื่อนและช่วยเหลือหลังคลอด และแม้แต่สถานฝากเลี้ยงลูกเมื่อตอนต้องกลับไปทำงาน ก็ควรเตรียมหาเอาไว้ตั้งแต่ช่วงนี้ เพราะเมื่อลูกคลอดออกมาแล้วคุณแม่จะยุ่งมาก จนไม่มีเวลา (คุณแม่จะหาคำแนะนำ สำหรับการเลือกสถานเลี้ยงเด็ก หรือเนอสเซอรี่ ในส่วนของเคล็ดลับน่ารู้ ใน lovekid.com ค่ะ)

ปรึกษาสูติแพทย์ ถึงสถานที่ ที่จะคลอด วิธีการคลอด ฝึกหัดหายใจ จังหวะการเบ่ง เอาไว้ ถ้าคุณต้องการคลอดด้วยวิธีธรรมชาติ ที่สำคัญ อย่าลืมเตรียมเต้านม เพื่อให้นมลูกการออกกำลังกายด้วยการเดิน จะทำให้คุณคลอดง่ายขึ้น เพราะกล้ามเนื้อได้ออกกำลัง ทำให้มีแรงเบ่งคลอดค่ะ

ในทารกอายุ 8 เดือน จะเห็นได้ว่า มีผมขึ้นแล้ว ปอดของเด็กในช่วงนี้ จะเจริญเต็มที่

ขอขอบคุณ ที่มา : นิตยสารรักลูก ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต

Written by on

Written by on

ลูกน้อยในครรภ์ เดือนที่ 9

เมื่อครบ 9 เดือน ศีรษะของลูกจะเคลื่อนเข้ามาในอุ้งเชิงกราน ความสูงของยอดมดลูกจะลดลง ที่เรียกกันว่า ?ท้องลด? คุณแม่อาจรู้สึกปวดปัสสาวะบ่อย หรือปัสสาวะเล็ด เกิดเพราะ ศีรษะลูกเคลื่อนมากดกระเพาะปัสสาวะของแม่ แต่คุณอาจรู้สึกหายใจสะดวกขึ้น เนื่องจากมดลูกเคลื่อนตัวลงมา ทำให้ดันกระบังลมและปอดน้อยลง ปากมดลูกเข้าสู่การเตรียมตัวเปิดขยาย สำหรับให้ทารกผ่านออกมา เมื่อมดลูกมีการบีบตัว ปากมดลูกจะเริ่มนิ่มขึ้นเรื่อยๆ เมื่อมดลูกบีบตัวแรง และถี่ คุณแม่จะรู้สึกเจ็บร้าวไปที่ท้องและหลัง อาการเจ็บท้องจะเกิดขึ้นบ่อยจนคุณรู้สึกเครียด เหนื่อย ช่วงก่อนคลอดเดือนสุดท้ายนี้ คุณหมอจะนัดตรวจ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง จนถึงกำหนดวันคลอด คุณแม่ควรเตรียมของใช้ สำหรับนำไปใช้ที่โรงพยาบาลเวลาคลอด ใส่กระเป๋าเอาไว้ จะได้หยิบฉวยได้ทันที บุคคลรอบข้าง สามีควรให้กำลังใจ ช่วยให้คุณคลอดลูกอย่างปลอดภัยและแล้วลูกในท้อง ก็พร้อมที่จะออกมา เผชิญกับโลกภายนอก เสียที เขาจะเติบโตเต็มที่ ผิวหนังเรียบเนียน กระดูกศีรษะนิ่ม และยืดหยุ่น เพื่อที่จะปรับขนาด ให้ลอดช่องเชิงกรานของแม่ เขาจะนอนอยู่ในท่างอตัว เข่าชิดคางและจมูก ต้นขาพับมาบนหน้าท้อง เมื่อถูกมดลูกบีบตัว เป็นแรงผลักให้ลูกค่อยๆเคลื่อนเข้าสู่ช่องเชิงกราน หัวโผล่นำออกมาก่อน แล้วไหล่จะถูกคลอดตามออกมาจนหมดตัว ลูกจะมีน้ำหนักประมาณ 2500-3000 กรัม และยาวประมาณ 50 ซ.ม.

ระยะคลอด ใกล้สิ้นสุดแล้ว ทารกส่วนใหญ่จะนำหัว ออกมาก่อนได้เวลาเกิดแล้ว

คุณจะรู้สึกเจ็บท้องเป็นระยะๆ อาจหายไปแล้วเจ็บอีก ไม่เจ็บต่อเนื่องหรือเจ็บถี่ขึ้น เป็นการเจ็บท้องเตือน การเจ็บท้องเตือนจะเกิดก่อน การเจ็บท้องจริงประมาณ 1 สัปดาห์ เป็นเหมือนการอบอุ่นร่างกาย ก่อนการเจ็บท้องจริง อาการเจ็บท้องจะไปถี่ขึ้น บางคนเจ็บท้องตลอดคืน พอตื่นเช้ามาก็หายเมื่อถึงคราวเจ็บท้องจริง จะเจ็บร้าวไปที่หลัง และเจ็บหน่วงร้าวไปที่หน้าขา เจ็บถี่ขึ้นเรื่อยๆ เมื่อมีอาการเจ็บ จะมีมูกปนเลือดออกมาทางช่องคลอด หรืออาจมีน้ำใสๆ คล้ายน้ำปัสสาวะออกมา เมื่อมีอาการเช่นนี้ แสดงว่าลูกน้อย พร้อมจะออกมาดูโลกแล้ว ให้คุณแม่รีบไปโรงพยาบาลทันที

ระยะเจ็บท้องคลอด โดยทั่วไปคุณแม่จะเจ็บท้อง ในระยะเริ่มแรก ปากมดลูกจะมีขนาดประมาณ 1-2 ซ.ม. เมื่อเวลาผ่านไป 6-8 ชั่วโมง ปากมดลูกก็จะขยายเป็น 4 ซ.ม. และ อีก 3-4 ชั่วโมง จะขยายเป็น 7 ซ.ม.เมื่อถึงตอนนี้คุณแม่จะมีอาการเจ็บท้องมาก อย่าบอกใครเชียว บางคนเจ็บท้องนาน โดยเฉพาะท้องแรก กว่าจะคลอด ก็ต้องอดทนนะคะเมื่อปากมดลูกเปิด 10 ซ.ม. ซึ่งจะเปิดเต็มที่ ประมาณ 20-90 นาที ระยะนี้คุณแม่เก็บแรง เอาไว้ก่อน ถึงเจ็บก็ผ่อนลมหายใจ อย่าเพิ่งเบ่ง เดี๋ยวจะหมดแรงเสียก่อนระยะคลอดหลังจากที่ปากมดลูกเปิด 10 ซ.ม. มาสักพัก ต่อไปคุณแม่จะเจ็บท้องเหมือนกับต้องการ ถ่ายอุจจาระเต็มที่ แสดงว่าหัวลูกน้อยลงต่ำแล้ว ถึงเวลาที่คุณแม่จะต้องแสดงฝีมือแล้วละค่ะ คุณแม่ต้องเบ่งตามจังหวะที่มดลูกบีบตัว ถ้าคุณรู้สึกตัวดี ไม่ได้รับยาแก้

ปวดฉีดเข้าไขสันหลัง คุณก็จะปลาบปลื้มมาก ที่รู้สึกถึงความอุ่นของตัวลูกน้อย เมื่อเขาเคลื่อนผ่านช่องคลอดออกไปจากตัวคุณ ลูกน้อยจะค่อยๆเคลื่อนหัวลงต่ำมาเรื่อย ตามแรงเบ่ง เมื่อคุณหมอบอกให้เบ่งเต็มที่ หัวเขาก็จะโผล่พ้นช่องคลอดออกมา จากนั้นคุณหมอดึงตัวเขาออกมาให้พ้นไหล่ เมื่อได้เขาออกมาทั้งตัวแล้ว เขาจะร้องเมื่อถูกดูดน้ำเมือก ออกจากจมูกและคอ คุณหมอจะตัดสายสะดือ แล้วนำลูกมาให้คุณแม่ได้ดู ลูกน้อยได้เข้าสู่อ้อมกอดของคุณแม่แล้ว คุณพ่อคงจะปลื้มที่ได้เห็นหน้าลูกน้อย และยิ่งได้โอบอุ้ม ครอบครัวคุณก็จะเกิดความรักความผูกพัน ดีใจหาที่สุดมิได้

ขอขอบคุณ ที่มา : นิตยสารรักลูก ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต

Written by on