รวบรวมเรื่องราว บทความเกี่ยวกับวันสำคัญของไทยตลอดทั้งปีว่ามีวันอะไรบ้าง ตรงกับวันไหน ความสำคัญและจะได้ทราบว่าวันสำคัญเหล่านั้นเกิดขึ้นมาได้อย่างไร ใครเป็นผู้ริเริ่มหรือระบุให้วันนั้นๆ เป็นวันสำคัญอยู่ในปัจจุบัน และสิ่งที่เราชาวไทยสมควรที่จะทำหรือปฏิบัติในวันสำคัญต่างๆ ซึ่งบทความที่เรานำมาเสนอนี้เหมาะสำหรับเยาวชนและบุคคลทั่วไปที่สนใจหาความรู้เพิ่มเติม หรือจะนำไปใช้ในบทเรียนก็ได้

Written by on

วันเกษตรแห่งชาติ(1 กุมภาพันธ์)

ความเป็นมา ในช่วงแรก (พ.ศ.2453 ถึง พ.ศ.2454) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้ทรงสนับสนุนและเป็นผู้ริเริ่มการจัดงานการแสดงกสิกรรมและพาณิชการ ซึ่งในปัจจุบันคือ งานเกษตรแห่งชาติ ขึ้นในช่วงนี้มีการแสดงมหรสพ แตรวง รวมทั้งจัดแสดงสินค้าเกษตรและเครื่องมือเครื่องจักรที่ใช้ในการเพาะปลูกจาก ในประเทศและต่างประเทศ มีการทำโรงนาสาธิตให้ประชนดูเป็นตัวอย่าง มีการประกวดพันธุ์ข้าวและพันธุ์พืช มีการแนะนำให้รู้จักระบบชลประทานและรัฐบาลสนับสนุนลงทุนจัดงานให้ทั้งหมด ส่วนการแสดง กสิกรรม และพาณิชยการครั้งที่ 2 ช่วงนี้ประชาชนรู้รักพัฒนาพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์พัฒนาวิธีการปลูกแต่ช่วง นี้ไม่มีการแสดงมหรสพเพราะอยู่ในระหว่างการไว้ทุกข์พระบรมศพรัชกาลที่ 5 การจัดงานครั้งนี้จึงอยู่ในสมัยรัชกาลที่ 6 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัฐบาลมีนโยบายลดค่าใช้จ่ายในการจัดงานลง การส่งพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์ก็มีจำนวนลดลงด้วย

แรกๆ การจัดงานวันเกษตรจะไม่มีคำว่า แห่งชาติ โดยจะเป็นชื่องานว่า งานวันเกษตรต่อมาปรากฏว่างานวันเกษตรได้รับความสนใจจากประชาชนในเขตกรุงเทพ มหานครและจังหวัดใกล้เคียงเป็นอย่างมาก ขอบเขตของการจัดงานได้ขยายออกไปอย่างกว้างขวางจนเกินงบประมาณและกำลังคน ประกอบกับบ้านเมืองประสบปัญหาเศรษฐกิจ จึงเป็นเหตุให้ต้องหยุดการจัดงานไปหลายปีต่อมารัฐบาลได้เล็งเห็นความสำคัญ ของการจัดงานลักษณะนี้ จึงมีมติให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จัดงานวันเกษตรแห่งชาติขึ้น ตั้งแต่วันที่ 3-4 มกราคม พ.ศ.2491 โดยรัฐบาลให้การสนับสนุนด้านงบประมาณ ซึ่งส่วน ราชการทั้งสองได้ร่วมกันจัดติดต่อกันเรื่อยมา เป็นประจำทุกปี ณ บริเวณมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน วัตถุประสงค์ของการจัดงานถือหลักการเดิมของการจัดงานนิทรรศการครั้งแรก คือการจัดแสดงต่างๆ จะเป็นทางหนึ่งที่ชักนำปลุกใจอาณาประชาราษฎร์ ให้ประกอบการเพาะปลุก เลี้ยงสัตว์ และค้าขายให้เจริญทันสมัย โดยมีจุดประสงค์จะให้ประชาชนทั่วไปรวมทั้งเกษตรกร ได้เรียนรู้พัฒนาการวิชาการใหม่ๆ และเน้นนโยบายที่จะให้เกษตรทุกภาคได้รับความก้าวหน้า และพัฒนาการวิชาการการเกษตรใหม่ๆ และเน้นนโยบายที่จะให้เกษตรทุกภาคได้รับทราบความก้าวหน้า และพัฒนาการทางด้านการเกษตรอย่างทั่วถึงทั้งประเทศ นอกจากนั้นยังเน้นให้เกษตรที่ทำงานหนักมาทั้งปีได้มีโอกาสพักผ่อนหย่อนใจและ หาความสำราญในการเที่ยวงาน จึงมีมติเห็นชอบให้จัดงานวันเกษตรแห่งชาติขึ้น ทั้งในส่วนภูมิภาคสลับกับส่วนกลาง โดยความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยในภูมิภาคต่างๆ

ต่อมาการจัดงานวันเกษตรแห่งชาติได้เริ่มจัดขึ้นในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ของทุกปี และ ได้เปลี่ยนไปจากเดิมเนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่ก่อสร้างอาคารของมหาวิยาลัย เกษตรศาสตร์และของกระทรวงกระเกษตรเสียเป็นส่วนมาก การจัดงานจึงไม่สามารถทำกิจกรรมต่างๆ เหล่านั้นได้อย่างเต็มที่นัก ซึ่งกิจกรรมส่วนใหญ่เป็นเรื่องของการจัดตลาดนัด และจำหน่ายผลิตภัณฑ์ต่างๆ เป้าหมายของงานเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมากคือ เน้นทางด้านธุรกิจ ผู้ที่มาเที่ยวงานส่วนใหญ่เป็นนิสิตนักศึกษาและข้าราชการในมหาวิทยาลัยเกษตร เป็นส่วนใหญ่ และบุคคลภายนอกที่มาเดินเที่ยวชมงาน ส่วนพวกเกษตรกรจะมีแต่พวกที่เป็นแม่ค้าหรือพ่อค้าขนสินค้ามาเพื่อขายเท่า นั้นมิได้สนใจใฝ่รู้พัฒนาการใหม่ๆ ทางด้านการเกษตร และบุคลากรมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ต่างเรียกชื่องานนี้ว่า "งานเกษตรแฟร์"

ขอบคุณที่มา หนังสือวันสำคัญของไทย ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต

Written by on

Written by on

วัน Valentine (14 กุมภาพันธ์)

วันวาเลนไทน์ มาจาก ชื่อของนักบุญวาเลนไทน์ (St.Valentine) ผู้ ซึ่งมีชีวิตอยู่ในสมัยกษัตริย์ Claudiusที่ 2 แห่งกรุงโรม ในสมัยนั้นกษัตริย์ Claudius ออกกฎห้ามให้มีการแต่งงานในเมืองของพระองค์ เพราะกษัตริย์ ทรงต้องการทำศึกสงคราม ทรงต้องการให้ผู้ชายทุกคนไปเป็นทหาร พระองค์เชื่อว่าถ้าไม่มีการแต่งงานผู้ชาย จะสนใจกับการรบมากขึ้น นักบุญวาเลนไทน์ขัดบทบัญญัติแห่งกฎหมายของกษัตริย์ ด้วยการเป็นบาทหลวงในพิธีแต่งงานให้หนุ่มสาว ที่ต้องการแต่งงานอย่างลับ ๆ...และแล้ววันหนึ่งข่าวการทำ พิธีสมรสของนักบุญวาเลนไทน์ก็รู้ถึงหูของพระเจ้า Claudius พระองค์จึงทรงสั่งทหารไปจับเขาไปประหารชีวิต...... ระหว่างอยู่ในคุกมีคู่แต่งงานที่ท่านเคย ทำพิธีให้หลายคู่ลอบไปเยี่ยมเยียนท่านอย่างสม่ำเสมอ และที่นั่นท่านยังได้รู้จักกับหญิงสาวคนหนึ่ง ซึ่งเป็นลูกสาวของผู้คุม เธอมักมาพูดคุยกับท่าน... .และบอกท่านเสมอ ๆ ว่าการกระทำของท่านถูกต้องแล้ว นักบุญวาเลนไทน์เสียชีวิตเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ในปี 296 A.D.ในคุกแห่งนั้นเอง ก่อนตายท่านได้ฝากโน้ต สั้น ๆ ถึงเพื่อนของท่านและลงท้ายว่า "Love from your Valentine"...ในปี 496 A.D. โป๊ป Gelasius ได้ยกย่องให้วันที่ 14 กุมภาพันธ์ เป็นวันวาเลนไทน์ เพื่อเป็นอนุสรณ์ให้รำลึกถึงคุณความดี ความกล้าหาญ และความเสียสละของนักบุญวาเลนไทน์...เราจึงมักถือเอาวันนี้เป็นวันแห่งความ รัก ในระยะต่อมาวันวาเลนไทน์ใช้แทนความรักของหนุ่มสาวเป็นส่วนใหญ่ โดยในวันนี้จะมีการส่งขนม (โดยเฉพาะช็อคโกแลต) ดอกไม้ (ส่วนใหญ่จะดอกกุหลาบ) ให้กับคนที่รัก

แล้ว Valentine นี้ ส่งความรักให้ใครหรือยัง หรือจะไปฉลองความรักที่ไหนสักแห่ง ในบรรยากาศแสนโรมานซ์ท่ามกลางกลิ่นอบอวลของกุหลาบ ซึ่งควรจะเป็นพันธุ์ VALENTINEแต่ถ้าหากมีเพียงแค่นี้ ความรักที่คุณมอบให้ใครหรือไปฉลองกับใครในวันนั้นก็ยังไม่สมบูรณ์ ไม่มีความหมายนัก

ถ้าหากจะมี VALENTINE เพิ่มขึ้นมาอีกอย่าง ลองนึก ลองอ่าน ลองทำบ้างแล้วจะเห็นนะว่า VALENTINE จะเป็น VALENTINE ที่สมบูรณ์ไม่ใช่เป็นเพียงวันแห่งความรักเท่านั้น ควรมีสิ่งนี้ด้วย

V คือ VERITY ความจริงที่มีอยู่ คุณควรให้ความจริงแก่เธอหรือแก่เขา ว่าคุณมีความเป็นจริงความเป็นอยู่อย่างไร มีอะไรบ้างที่คุณพอจะบอกเธอหรือเขาได้ว่าคุณเองนั้นปัจจุบันนะเป็นอย่างไร กล่าวอย่างเปิดเผย ซึ่งความจริงแล้วถ้าความจริงสิ่งที่เป็นอยู่ของคุณและเธอ หรือเขาที่มีต่อกันแล้ว ความไว้เนื้อเชื่อใจ ความเข้าใจ ความเห็นอกเห็นใจก็จะมีเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณทีเดียว ในโลกนี้มีสิ่งที่รู้และไม่รู้อยู่เพียง 4 อย่างเท่านั้นคือ คุณรู้ เขาไม่รู้ คุณไม่รู้ เขารู้ คุณรู้ เขารู้คุณไม่รู้ เขาก็ไม่รู้ ถ้าหากคุณบอกสิ่งที่คุณรู้และเขาไม่รู้ หรือคุณไม่รู้เขาบอกให้คุณรู้ ความรู้นั้นก็จะกลายเป็นสิ่งที่เปิดเผย จะบอกเขาว่ารัก ก็รีบ ๆ บอกเสียในวันนี้ อย่าบอกว่า การกระทำก็บอกอบู่แล้ว สายตาก็บอกอยู่แล้ว บอกให้ชัด ๆ เสียว่า"รักคุณ"

A คือ AMBITION เป็นความปรารถนาอย่างแรงกล้า คุณจะรัก จะชอบ จะจีบใคร คุณควรมีความปรารถนาอย่างสูง มิใช่เห็นเขาส่งการ์ดให้ ส่งดอกไม้ให้ พาเขาไปฉลองสนุก ๆ เท่านั้น คุณควรมีความปรารถนาในความรักอย่างจริงจังมิใช่ทำไปเพื่อตามแฟชั่น หรือเพื่อนพ้องลากไป หรือชวนทำ ไปสรรหาการ์ดสวย ๆ สั่งดอกกุหลาบสีแดงสด สวย ๆ ไว้ล่วงหน้า พยายามทำด้วยความปรารถนาดีที่มีไฟอยู่ในใจนะ

L คือ LENIENT ความผ่อนปรน ความปรานี คุณและเขาหรือเธอควรจะมีการผ่อนปรน หรือสิ่งที่ละทิ้งได้ก็ควรจะละทิ้งไป อย่าเก็บมาใส่ใจให้เป็นขยะในใจ หรือรอยมลทินใจ อย่าคิดอะไรเก่า ๆ สมัยนี้ควรที่จะคิด จะนึกได้นะว่า บางอย่างก็ทิ้ง ๆไปเสีย อย่านำมาคิด มีความปรานี เมตตาหรือความรัก ความปรารถนาดีกว่า

E คือ EQUALITY ความเสมอภาค ความทัดเทียมกันในสมัยปัจจุบัน คู่รักหรือคนรักกัน ควรจะมีความเท่าเทียมกันมิใช่อยู่ในสมัยบรรจงกราบเช้า กราบเย็น นอนทีหลังตื่นก่อนแล้ว เราต้องก้าวไปด้วยกัน ด้วยความมุ่งมั่นในอนาคต ด้วยความเสมอภาค แต่เราก็คิดเสมอว่าเคียงข้างไปด้วยกัน ขนานกันดีกว่าที่จะมาจูงกัน ก้าวไปด้วยความรักที่มีเท่าเทียมกัน เขามอบอะไรให้เรา เราก็ควรจะตอบแทนให้เขาเท่า ๆ กัน พอ ๆ กัน มิใช่เอารัดเอาเปรียบเขา เขามาแสดงความรัก ความยินดี ด้วยกุหลาบช่อใหญ่ แต่เราให้เขาเพียงดอกเดียว ดูเป็นการเอาเปรียบกันเกินไป จริงอยู่บางคนอาจคิดว่าไม่สำคัญ แต่มันสำคัญที่ใจ ถ้าหากต่างคนต่างให้ความเสมอภาคแล้ว ตาชั่งก็คงไม่เอียงใช่ไหม?

N คือ NOTABLE การ ยกย่องให้อยู่ในสภาพที่ดี ถึงแม้คุณจะมีความเสมอภาคเท่าเทียมกันแล้วก็ตาม คุณก็ควรจะยกย่องเธอหรือเขาให้อยู่ในสถานภาพที่ดีต่อบุคคลทั่วไป คือ เป็นการให้เกียรติยกย่องเธอหรือเขาต่อสังคม ว่าเป็นคนที่สวยเป็นคนที่ดี ไม่ว่าอยู่ต่อหน้าและลับหลัง มิใช่เอาไปนินทา เอาไปเผาต่อหน้าเพื่อนฝูงให้ไหม้เป็นจุลไป หรือพูดคุยตลกคะนอง ลับหลังเธอหรือเขาว่าเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ สู้ฉันไม่ได้ ฉันยอด คุณควรจะยกย่องเธอหรือเขา ในโอกาสที่ควร และในเวลาที่กำลังมีความรักอยู่ด้วยแล้วก็จะดียิ่งทีเดียว

T คือ TENDER ความ รักใคร่ที่นุ่มนวล บรรจงเป็นห่วงใย Love me Tender คงจะบอกคุณได้หลาย ๆ อย่าง คุณควรจะทะนุถนอมเธอหรือเขาด้วย ความรัก ความนุ่มนวล ความห่วงใย โทร.ไป สวัสดี VALENTINE ตั้งแต่ใครยังไม่โทร. หรือถึงแม้คุณจะมีนัดเพื่อเจอเพื่อให้ของขวัญ VALENTINE คุณก็ควรโทร.ไปสวัสดีก่อน เพื่อให้เธอหรือเขาเห็นว่าคุณมีความห่วงใย ความปรารถนาดีแค่ไหน ไปฉลองด้วยกันต้องนุ่มนวลในบรรยากาศอย่างนั้น ดูซิ แสนจะสดชื่นกับความรักแค่ไหน ?

I คือ INNOVATION การ ทำความแปลกใหม่มาให้คู่รัก คนรักหรือชีวิตรัก มิใช่อยู่อย่างไรก็อยู่อย่างนั้นมาตลอด ชอบกันอย่างไรก็ชอบกันมาอย่างนั้น เคยให้อะไรก็ให้อย่างนั้น คุณควรจะทำสิ่งแปลก ๆ ใหม่ ๆ มาสู่ชีวิตคุณและเธอหรือเขาด้วย การเปลี่ยนแปลงเป็นวิถีของชีวิต ดังนั้นคุณควรจะเปลี่ยนอะไร ๆ บ้างในทางที่ดีนะ อย่างคุณจะหาอะไรในวัน VALENTINE ให้เธอจะเปลี่ยนจากดอกไม้ที่เป็นดอกกุหลาบมาเป็นผ้าตัดเสื้อลายกุหลาบ หรือผ้าเช็ดหน้าปักกุหลาบแดง หรือจี้เพชรรูปกุหลาบ เข็มกลัดกุหลาบก็ได้ ส่วนคุณที่จะมอบให้เขาอาจเป็นผ้าเช็ดหน้าปักกุหลาบ เข็มกลัดไทรูปกุหลาบหรือแหวนรูปกุหลาบสำหรับใส่นิ้วก้อยสักวง ลองเปลี่ยนบ้างนะ

N คือ NEXUS การ เชื่อมโยงความสัมพันธ์ให้มีตลอดไปมิใช่วัน VALENTINE เท่านั้นที่คุณจะมอบกุหลาบให้เธอหรือเขา วันเกิด วันขึ้นปีใหม่ วันครบรอบความรักที่เคยให้กันไว้ วันครบรอบวันแต่งงาน หรือวันสำคัญ ๆ ทีคุณให้ก็ได้ หรือบางวันก็ส่งช่อดอกไม้ไปให้เธอช่อใหญ่ ๆ พร้อมกับคำขวัญสั้น ๆ ว่า "รักคุณ" ให้คนในที่ทำงานหรือเพื่อน ๆ อิจฉาเล่นก็ได้ เป็นการแสดงถึงความสัมพันธ์ของคุณต่อเธอหรือเขาว่าคุณยังคิดถึง ยังรักอยู่นะ

E คือ ENDURANCE ความอดทน ความยืนยงสถาพร ความอดกลั้น ความเป็นอมตะ อยู่ชั่วกาลนานคุณจะต้องมีความอดทนต่อทุก ๆ สิ่ง ถ้าหากคุณต้องเผชิญกับสิ่งนั้น อาจเป็นเวลาที่คุณจะต้องคอย คุณจะต้องยืนหยัดในความปรารถนาของคุณ คุณต้องอดกลั้นเมื่อคุณเผชิญต่อสิ่งที่คุณจะต้องโมโห หรืออารมณ์เสีย ต่อหน้าเธอหรือเขา คุณควรประพฤติและปฏิบัติอย่างเป็นไปอย่างนั้นอย่างเสมอ ๆ มิใช่นานเกือบเดือนเพิ่งจะโทร.ไปหาหรือเขียนจดหมายมา หรือหายไปเป็นปี เพิ่งจะมาบอกว่า " รักคุณ" คุณควรจะมีความรัก ความเมตตา ความปราณี ชีวิต ของคุณจะสดใสดังกุหลาบแรกแย้มที่ต้องน้ำค้างของวันใหม่ทีเดียว

ขอบคุณที่มา หนังสือวันสำคัญของไทย ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต

Written by on

Written by on

วันโคนมแห่งชาติ (17 มกราคม)

คณะรัฐมนตรีกำหนดให้วันที่ 17 มกราคมของทุกปี เป็น "วันโคนมแห่งชาติ" ซึ่งองค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.) ได้ถือเป็นประเพณีสืบต่อกันมา ให้มีการจัดงาน "เทศกาลโคนมแห่งชาติ" ณ อ.ส.ค.สำนักงานใหญ่(บริเวณเชิงเขาตาแป้น) อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี เป็นประจำทุกปี เพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณขององค์พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา ภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ที่ได้พระราชทานอาชีพการเลี้ยงโคนมให้แก่ปวงชนชาวไทย และเพื่อเป็นการส่งเสริมพัฒนาอาชีพการเลี้ยงโคนมให้เจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น

วัตถุประสงค์ การจัดงาน "วันโคนมแห่งชาติ" เพื่อประชาสัมพันธ์ อาชีพการเลี้ยงโคนมและอุตสาหกรรมโคนมของประเทศตลอดจนเป็นเวทีในการพบปะแลก เปลี่ยนเทคโนโลยีการเลี้ยง การผลิตระหว่างเกษตรกรและเป็นเวทีในการแสดงความก้าวหน้าเกี่ยวกับวิทยาการ ด้านการเลี้ยงโคนมและอุตสาหกรรมโคนมของประเทศ อีกทั้งยังเป็นการเผยแพร่ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตรสมัย ใหม่ไปสู่เกษตรกรอีกด้วย

กิจกรรมในวันโคนมแห่งชาติ มีกิจกรรมที่น่าสนใจจำนวนมาก อาทิ การประกวดโคนมประเภทต่าง ๆ การจัดนิทรรศการ เกี่ยวกับวิทยาการก้าวหน้าในการเลี้ยงโคนมและพัฒนาอุตสาหกรรมนมไทยในรูปแบบ ทันสมัย การจัดสัมมนาทางวิชาการเกี่ยวกับอุตสาหกรรมโคนมไทย ฯลฯ

ขอขอบคุณ ที่มา : หนังสือ วันสำคัญของไทย ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต

Written by on

Written by on

วันอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ของชาติ (14 มกราคม)

ความเป็นมา ป่าไม้เป็นทรัพยากรที่สำคัญของชาติ ให้ประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อมแก่ประชาชน ช่วยรักษาความสมดุลของภาวะแวดล้อมและป้องกันภัยธรรมชาติซึ่งนำความเสียหายอย่างร้ายแรงแก่ชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน สาเหตุที่ทำให้เกิดภัยธรรมชาติ ส่วนหนึ่งมาจากการลักลอบตัดไม้ทำลายป่าจนทำให้เกิดความเสียหายต่อสภาพป่าไม้ของชาติ ทำให้เกิดความไม่สมดุลทางภาวะแวดล้อมขึ้นจนถึงขั้นเป็นอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สิน วันที่ 14 มกราคม 2532 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงลงพระปรมาภิไธยในพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 และพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2504 พระราชกำหนดดังกล่าวได้ให้อำนาจรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีมีอำนาจสั่งการให้สัมปทานป่าไม้สิ้นสุดลงทั้งแปลงได้ ดังนั้นการจัดวางโครงการทำไม้ทั่วประเทศต้องยุติลงทุกโครงการและพื้นที่ เหตุเนื่องมาจากอุทกภัยภาคใต้ที่เกิดขึ้นเมื่อเดือน พฤศจิกายน 2531 โดยเฉพาะที่ตำบลกระทูน อำเภอพิปูน จังหวัดนครศรีธรรมราช และวาตภัยจากพายุเกย์ที่จังหวัดชุมพร เมื่อ พ.ศ. 2532

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์พิจารณาแล้วเห็นว่า ภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นเป็นส่วนหนึ่งมาจากสาเหตุการลักลอบตัดไม้ทำลายป่า จำเป็นต้องทำการรณรงค์ต่อเนื่องและระยะยาวให้ประชาชนได้เข้าใจ และให้ความสำคัญในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ โดยสร้างจิตสำนึกให้กับประชาชนเกี่ยวกับอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการตัดไม้ทำลายป่า เพื่อต้องการอนุรักษ์ป่าไม้ที่มีอยู่อย่างจำกัดมิให้ถูกทำลายต่อไปพร้อมทั้งได้กำหนดให้ช่วงปี 2532-2535 เป็น"ปีแห่งการป้องกันและอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ของชาติ" และต่อมาคณะรัฐมนตรีได้มีมติ เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2533 กำหนดให้วันที่ 14 มกราคม ของทุกปีเป็น "วันอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ของชาติ"

วัตถุประสงค์

1. เพื่อสนองพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เกี่ยวกับสภาวะแวดล้อม เนื่องใน วโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 5 ธันวาคม 2532

2. เพื่อให้ประชาชนในชาติได้ตระหนักถึงผลร้ายที่เกิดจากการตัดไม้ทำลายป่า ซึ่งทำให้ประชาชนจำนวนมากในภาคใต้และภาคอื่นต้องสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินไป

3. เพื่อระลึกถึงมาตรการอันเด็ดเดี่ยวของรัฐบาลที่ได้สั่งปิดป่า ระงับการทำไม้ในป่าสัมปทาน ถือว่าเป็นก้าวสำคัญในประวัติศาสตร์ของการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ของประเทศ

ผลที่ได้รับ

1. ผลทางตรงที่เกิดขึ้นก็คือ การทำไม้ในป่าสัมปทาน จำนวน 276 ป่า เนื้อที่ 96,728,981 ไร่ ยุติลงโดยสิ้นเชิง ทำให้ต้นไม้ในป่าสัมปทานไม่ถูกตัดฟัน เป็นการอนุรักษ์ต้นไม้ไว้ใช้สอยในอนาคต คิดเป็นเนื้อไม้เฉลี่ยปีละ 3 ล้านลูกบาศก์เมตร จนทำให้รัฐบาลได้รับคำชมเชยจากนานาประเทศเป็นอย่างมาก และเป็นการสนับสนุนมาตรการป้องกันมลภาวะของโลกโดยตรง

2. ด้านนโยบายของรัฐบาล เป็นการตอบสนองนโยบายการป้องกันรักษาป่าและนโยบายป่าไม้แห่งชาติ

3. ด้านสังคมและการเมือง ทำให้ประชาชนมีความรู้สึกรักและหวงแหนทรัพยากรป่าไม้ ทำให้มีการใช้ไม้อย่างประหยัด และส่งผลให้สามารถอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ไว้ เป็นสมบัติของประชาชนทุกคนในชาติได้ตลอดไป

กิจกรรม เพื่อให้การจัดงานวันอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ของชาติเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สมเจตนารมย์ของทางราชการจึงสมควรได้รับการสนับสนุน ดังนี้

? ภาคราชการ จัดงานวันอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ของชาติขึ้น เพื่อให้ประชาชนได้ตระหนักถึงความสำคัญของวันดังกล่าว ซึ่งมีกิจกรรมที่สำคัญ เช่น การจัดนิทรรศการ การเผยแพร่ความรู้ การบรรยายความรู้ในสถานศึกษา ประกวดวาดภาพป่าไม้ แจกเอกสารเผยแพร่แจกกล้าไม้แก่ประชาชน ตลอดจนจัดประชุมชี้แจงแก่ประชาชนทั่วไป เชิญชวนให้ประชาชนงดเว้นการตัดไม้ทำลายป่า พร้อมทั้งร่วมกันปลูกและบำรุงรักษาต้นไม้ในทุกท้องที่

? ภาคเอกชน ประชาชนควรให้การสนับสนุนและเข้าร่วมกิจกรรมกับทางราชการเท่าที่สามารถจะทำได้ ควรถือเอาวันที่ 14 มกราคม เป็นวัน ลด ละ เลิก การบุกรุกแผ้วถางป่าและตัดไม้ทำลายป่า และร่วมมือร่วมใจกันปลูกต้นไม้ขึ้นมาทดแทนที่ถูกตัดทำลายไปให้มากที่สุด

สรุป วันอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ของชาติ เป็นวันสำคัญที่ทุกฝ่าย ทั้งภาคราชการ เอกชน ประชาชน เยาวชน จะต้องร่วมมือร่วมใจกันดำเนินการ จัดให้มีขึ้นทุกท้องที่ในวันที่ 14 มกราคม ของทุกปีเพื่อสนับสนุนนโยบายการป่าไม้แห่งชาติ ในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ไว้เป็นสมบัติของทุกคนในชาติตลอดไป

ขอขอบคุณ ที่มา : หนังสือ วันสำคัญของไทย ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต

Written by on

Written by on

วันครู (16 มกราคม)

ประวัติความเป็นมาของการจัดงานวันครู ในปีพ.ศ.2499 จอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมานตรีในสมัยนั้น ซึ่งดำรงตำแหน่งประธานกรรมการอำนวยการคุรุสภากิตติมศักดิ์ ได้กล่าวปราศรัยต่อที่ประชุมทั่วประเทศ ถึงความคิดที่จะกำหนดให้มีวันครู และเป็นการสอดคล้องกับความคิดเห็นของครูโดยทั่วไป

โดยได้กล่าวคำปราศรัยต่อที่ประชุมครูทั่วประเทศว่า "ที่อยากเสนอในตอนนี้ก็คือ ว่า เนื่องจากผู้เป็นครูมีบุญคุณ เป็นผู้ให้แสงสว่างในชีวิตของเราทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่าวันครูควรมี สักวันหนึ่งสำหรับให้บรรดาลูกศิษย์ทั้งหลายได้แสดงความเคารพ สักการะต่อบรรดาครูผู้มีพระคุณทั้งหลาย เพราะเหตุว่าสำหรับ คนทั่วไปถ้าถึงวันตรุษ วันสงกรานต์ เราก็นำเอาอัฐิของผู้มีพระคุณบังเกิดเกล้ามาทำบุญ ทำทาน คนที่สองรองลงไปก็คือครูผู้เสียสละ ทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่าในโอกาสนี้จะขอฝากที่ประชุมไว้ด้วย ลองปรึกษาหารือกันในหลักการ ทุกคนคงจะไม่ขัดข้อง"

ดังนั้นในวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ.2599 คณะรัฐมนตรีได้มีมติกำหนดให้ วันที่ 16 มกราคม ของทุกปี ซึ่งตรงกับวันที่ประกาศพระราชบัญญัติ ครูในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันวันที่ 16 มกราคม พ.ศ.2488 เป็น "วันครู"

วันครูได้ให้มีขึ้นครั้งแรก เมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ.2500 สืบเนื่องมาจากการประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษาในปีพ.ศ.2488 ซึ่งระบุให้มีสภาในกระทรวงศึกษาธิการ เรียกว่า คุรุสภา เป็นนิติบุคคล ให้ครูทุกคนเป็นสมาชิกคุรุสภา โดยมีหน้าที่ในเรื่องของสถาบันวิชาชีพครู ในขณะเดียวกันก็ทำหน้าที่ให้ความเห็นเรื่องนโยบายการศึกษาและวิชาการศึกษา ทั่วไปแก่กระทรวงศึกษาธิการ ควบคุมจรรยาและวินัยของครู รักษาผลประโยชน์ส่งเสริมฐานะของครู จัดสวัสดิการให้ครูและครอบครัวได้รับความช่วยเหลือตามสมควร ส่งเสริมความรู้และความสามัคคีของครู

คำปฏิญาณวันครู

ข้อ 1. ข้าจะบำเพ็ญตนให้สมกับที่ได้ชื่อว่าเป็นครู

ข้อ 2. ข้าจะตั้งใจฝึกสอนศิษย์ให้เป็นพลเมืองดีของชาติ

ข้อ 3. ข้าจะรักษาชื่อเสียงของคณะครูและบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม

ความมุ่งหมายในการจัดงานวันครู

1. เพื่อประกอบพิธีระลึกถึงคุณบูรพาจารย์

2. เพื่อส่งเสริมความสามัคคีธรรมระหว่างครู

3. เพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างครูกับประชาชน

การจัดงานวันครูได้ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงกิจกรรม ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมตลอดเวลา ในปัจจุบันได้จัดรูปแบบการจัดงานวันครู จะมีกิจกรรม 3 ประเภทใหญ่ ๆ ดังนี้

1. กิจกรรมทางศาสนา

2. พิธีรำลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์ ประกอบด้วยพิธีปฏิญาณตน การกล่าวคำรำลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์

3. กิจกรรมเพื่อความสามัคคีระหว่างผู้ประกอบอาชีพครู ส่วนมากเป็นการแข่งขันกีฬา หรือการจัดงานรื่นเริงในตอนเย็น

ขอขอบคุณ ที่มา : หนังสือ วันสำคัญของไทย ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต

Written by on

Written by on

วันพ่อขุนรามคำแหงมหาราช (17 มกราคม)

เดือนธันวาคม ปีพระพุทธศักราช 2531สำนักงานสภาจังหวัดสุโขทัย ได้มีหนังสือเสนอต่อ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ขอให้มีการกำหนด "วันพ่อขุนรามคำแหงมหาราช" ขึ้น โดยถือเอา วันที่ 17พฤศจิกายน ซึ่งเป็นวันที่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินเพื่อทรงประกอบพระราชพิธีและทรงเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์ พ่อขุนรามคำแหงมหาราช เป็น "วันพ่อขุนรามคำแหงมหาราช"

ต่อมาคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ คณะกรรมการชำระประวัติศาสตร์ไทย และจัดเอกสารทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี ได้พิจารณาทบทวนเรื่องการกำหนดวันสำคัญทางประวัติศาสตร์โดยคำนึงถึง ความเหมาะสม และความถูกต้องตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ซึ่งคณะกรรมการฯ ได้เสนอความคิดว่าควรที่จะเป็น วันที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้า อยู่หัว ทรงพบหลักศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช จะเป็นการเหมาะสมกว่า ซึ่งวันนั้นตรงกับวัน ศุกร์ที่ 17 มกราคม ปีพระพุทธศักราช 2376 ได้มีการนำเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม ปีพระพุทธศักราช 2532 ในที่สุดคณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติ ในการกำหนดวันสำคัญทางประวัติศาสตร์ของชาติ ซึ่งคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ คณะกรรมการชำระประวัติศาสตร์ไทยและจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์และ โบราณคดี ได้พิจารณาเห็นชอบด้วยแล้ว

ดังนั้นวันที่ 17 มกราคม ปีพระพุทธศักราช 2533 จึงเป็น "วันพ่อขุนรามคำแหงมหาราช" วันสำคัญทางประวัติศาสตร์วันหนึ่งซึ่งถูกกำหนดขึ้นอย่างเป็นทางการเป็นครั้งแรก

นับแต่นั้นมาจังหวัดสุโขทัย และทางมหาวิทยาลัยรามคำแหง ได้จัดให้มี งานวันพ่อขุนรามคำแหงมหาราช วันที่ 17 มกราคม เป็นประจำทุกปี เพื่อรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชที่มีต่อประชาชนชาว ไทย กิจกรรมหลักประกอบด้วย พิธีสักการะ บวงสรวงพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ขบวนแห่ และพิธีสวดสรภัญญะ ฯลฯ โดยสถานที่จัดงานของจังหวัดสุโขทัย คือ บริเวณพระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ส่วนสถานที่จัดงานของมหาวิทยาลัยรามคำแหง คือ ณ บริเวณลานพ่อขุน และหอประชุมพ่อขุนรามคำแหงมหาราช

พระราชประวัติพ่อขุนรามคำแหงมหาราช พ่อขุนรามคำแหงมหาราช หรือพ่อขุนรามราช ชื่อ"รามราช" พบในจารึกวัดศรีชุมว่า "ลูกพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ผู้หนึ่งชื่อพ่อขุนรามราชปรา(ช)ญ์รู้ธรรม" รวมทั้งพบในจารึก และเอกสารอื่นๆอีกหลายแห่งว่า "พญารามราช" อาจารย์พิริยะ ไกรฤกษ์ อธิบายคำว่า "ราม" (จากชื่อพญารามราช) น่าจะมาจาก "อุตตโมราม" ซึ่งแปลว่า "พระรามผู้ยิ่งใหญ่" ที่ทรงเป็นพระอนาคตพุทธเจ้าองค์ต่อไปจากพระเมตไตรย ดังที่กล่าวถึงใน "โสตตัตถกีมหานิทาน" เพราะในช่วงเวลานั้นต่างให้ความสำคัญแก่พระอนาคตพุทธเจ้าโดยเฉพาะ (เอกสารวิจัยเรื่อง "การศึกษาเชิงประวัติศาสตร์ศิลปะ : จารึกพ่อขุนรามคำแหง" : ๒๕๓๑)แต่ชื่อ "รามคำแหง" พบเพียงครั้งเดียวในจารึกพ่อขุนรามคำแหง และไม่พบในที่อื่นๆอีกเลยทุกวันนี้ชื่อ "รามคำแหง" เป็นที่รู้จักกันแพร่หลายกว่า "รามราช" จึงขอเรียกตามความนิยมว่า "พ่อขุนรามคำแหง"

ใน ศิลาจารึกหลักที่ ๑ ว่าขุนสามชนเจ้าเมืองฉอดได้ยกทัพมาตีเมืองตาก ซึ่งอยู่ภายใต้การปกครองของสุโขทัย พ่อขุนศรีอินทราทิตย์จึงยกกองทัพจากเมืองสุโขทัยไปป้องกันเมืองตาก โดยมีพระรามราชโอรสซึ่งมีพระชนมายุ ๑๙ พรรษาไปด้วย การรบของทั้งสองฝ่ายได้ทำยุทธหัตถี (การรบบนหลังช้าง) ในตอนแรกพ่อขุนศรีอินทราทิตย์เป็นฝ่ายเสียเปรียบ ช้างที่ประทับของพระองค์สู้กำลังข้าศึกไม่ได้ พระรามได้รีบไสช้างเข้าไปช่วย และสู้รบกับขุนสามชนจนได้ชัยชนะ ความกล้าหาญของพระรามใน ครั้งนี้พ่อขุนศรีอินทราทิตย์จึงพระราชทานนามให้เป็น "รามคำแหง" ซึ่งหมายถึง รามผู้กล้าหาญเข้มแข็งในการรบ หลังจากศึกครั้งนี้เข้าใจว่าฐานะทางการเมืองของสุโขทัยมีความมั่นคงเพิ่ม ขึ้น และคงมีการทำสงครามเพื่อขยายอาณาเขตสุโขทัยให้กว้างขวางออก

ภายหลังที่พ่อขุนศรีอินทราทิตย์สิ้นพระชนม์พ่อขุนบานเมืองราชโอรสองค์ใหญ่ ได้ขึ้นครองราชย์ที่สุโขทัยสืบต่อมา ในสมัยนี้สุโขทัยได้ขยายอำนาจทางการเมืองด้วยการทำสงครามกับเมืองต่างๆเช่น เดียวกับสมัยพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ โดยมีพระอนุชาคือพ่อขุนรามคำแหงเป็นแม่ทัพ ดังปรากฏข้อความในศิลาจารึกหลักที่ ๑ ว่า "กูไปท่บ้านท่เมือง ได้ช้าง ได้งวง ได้ปั่ว ได้นาง ได้เงือน ได้ทอง กูเอามาเวนแก่พ่อกู พ่อกูตายยังพี่กู กูพร่ำบำเรอแก่พี่กู ดังบำเรอแก่พ่อกู" เมื่อพ่อขุนบานเมืองสิ้นพระชนม์ พ่อขุนรามคำแหงมหาราชได้ครองกรุงสุโขทัยสืบต่อมา การที่พระองค์เป็นกษัตริย์นักรบ และนักปกครองที่มีความสามารถ อาณาเขตในสมัยของพระองค์จึงได้แผ่ขยายกว้างไกล จนได้รับการเทิดพระเกียรติด้วยพระนามว่า "พ่อขุนรามคำแหงมหาราช" ในภายหลัง ดังปรากฏในศิลาจารึกหลักที่ ๑ กล่าวถึงเขตแดนสุโขทัยในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชไว้ว่า "ทางทิศเหนือ มีเมืองแพร่ เมืองน่าน เมืองพลัว ถึงเมืองหลวงพระบาง ทิศตะวันออกมี เมืองสระหลวง สองแคว ลุมบาจาย สคา ถึงเมืองเวียงจันทร์ ทางทิศตะวันตกมีเมืองฉอด เมืองหงสาวดี จนสุดชายฝั่งทะเล ทางทิศใต้มี เมืองคณฑี เมืองพระบาง เมืองแพรก เมืองสุพรรณภูมิ เมืองราชบุรี เมืองเพชรบุรี เมืองนครศรีธรรมราช จนสุดชายฝั่งทะเล" จะเห็นว่าในรัชสมัยของพ่อขุนรามคำแหงฯนี้ อาณาจักรสุโขทัยได้ครอบครองเมืองในลุ่มแม่น้ำ ปิง ยม น่าน และป่าสักได้ทั้งหมด อันเป็นการรวบรวมเมืองบ้านพี่เมืองน้อง ซึ่งเคยอยู่ใต้ครอบครองของราชวงศ์พ่อขุนศรีนาวนำถมให้เป็นแว่นแคว้นเดียว กัน และขยายอาณาเขตไปยังดินแดนห่างไกลออกไป

จากเอกสารของจีน ได้กล่าวถึงการขยายอาณาเขตของพ่อขุนรามคำแหงฯไปยังดินแดนทางใต้ว่า ในปี พ.ศ. ๑๘๒๓ ตีได้เมืองนครศรีธรรมราช และเมืองในแหลมมลายู ตลอดจนยะโฮร์ และต่อมาตีได้กัมพูชา และจากพงศาวดารเหนือได้กล่าวถึงพระเจ้าฟ้ารั่ว หรือมะกะโท ผู้เป็นราชบุตรเขยของพ่อขุนรามคำแหง ซึ่งต่อมาได้ครองเมืองมอญ แสดงถึงการขยายอาณาเขตของพระองค์ไปทางตะวันตก ได้หัวเมืองมอญด้วยสันติวิธี อาจกล่าวได้ว่าเป็นลักษณะของการยอมรับอำนาจและความเข้มแข็งของศูนย์กลาง อำนาจที่เมืองสุโขทัยอันเป็นผลจากการสะสมกำลังคนที่ได้จากการทำสงคราม แล้วกวาดต้อนผู้คน และแรงงานจากเมืองต่างๆ ซึ่งดำเนินมาตั้งแต่ก่อนรัชสมัยของพ่อขุนรามคำแหงฯ นอกจากนั้นเนื่องจากพระองค์มีสัมพันธไมตรี กับเมืองใหญ่ๆใกล้เคียง ได้แก่ พ่อขุนเม็งราย(มังราย)แห่งอาณาจักรล้านนา และพระยางำเมืองแห่งอาณาจักรพะเยา ซึ่งได้ทำข้อตกลงที่จะช่วยเหลือกันและกันเมื่อถูกรุกรานจากอาณาจักรอื่น ในรัชสมัยของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช เป็นช่วงสมัยที่สุโขทัยมีความเจริญรุ่งเรืองสูงสุด ซึ่งนอกจากการทำสงครามเพื่อขยายอาณาเขตแล้ว ความรุ่งเรืองของสุโขทัยอาจเนื่องมาจากการที่สุโขทัยตั้งอยู่ในเส้นทางทาง การค้ามาตั้งแต่สมัยโบราณ และเมื่อการค้าขยายตัวเพิ่มขึ้น สุโขทัยซึ่งอยู่บนเส้นทางคมนาคมที่สามารถค้าขายติดต่อกับบ้านเมืองต่างๆได้ โดยรอบ โดยมีเส้นทางการเดินทางไปทางเหนือถึงลุ่มแม่น้ำโขง ทางตะวันตกมีเส้นทางติดต่อกับเมืองพุกามและหัวเมืองมอญ ซึ่งสามารถออกทะเลเบงกอลติดต่อกับลังกา และอินเดียใต้ ส่วนทางใต้มีเส้นทางเดินทางผ่านลุ่มแม่น้ำปิง ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ผ่านนครศรีธรรมราชออกสู่ทะเล สันนิษฐานว่าสุโขทัยอาจเป็นเมืองศูนย์กลางการค้าแบบกองคาราวาน และสุโขทัยเองอาจจะค้าของป่า และแร่ธาตุสำคัญ นอกจากนั้นสุโขทัยยังยอมเป็นเมืองผ่านทางการค้า โดยอนุญาตให้พ่อค้าเอาสินค้าไปค้าขายแลกเปลี่ยนได้โดยไม่เก็บภาษีผ่านด่าน เป็นการส่งเสริมให้มีคนมาค้าขายที่สุโขทัยเพิ่มขึ้น

ดังมีข้อความปรากฏในศิลาจารึกหลักที่ ๑ ว่า "เจ้าเมืองบ่เอาจกอบ ในไพร่ลู่ทาง เพื่อนจูงวัวไปค้า ขี่ม้าไปขาย ใครจะใคร่ค้าช้างค้า ใครจะใคร่ค้าม้าค้า ใครจะใคร่ค้าเงือนค้าทองค้า" จึงอาจเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้ผู้คนจากที่ต่างๆโยกย้ายเข้ามาสู่ดินแดนใน อาณาเขตของอาณาจักรสุโขทัย ดังปรากฏข้อความในศิลาจารึกหลักที่ ๑ ว่า "พ่อขุนรามคำแหง ลูกพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ เป็นขุนในเมืองศรีสัชนาลัย สุโขทัย ทั้งมากาว ลาวแลไทย เมืองใต้หล้าฟ้า ฏ...ไทยชาวอู ชาวของ มาออก"

เมื่อพ่อขุนรามคำแหงสวรรคต (สันนิษฐานว่าประมาณปี พ.ศ. ๑๘๔๒) พระยาเลอไทยพระราชโอรสของพระองค์ได้ครองราชสมบัติ พระยาเลอไทยทรงศรัทธาในพระพุทธศาสนา ได้ศึกษาพระไตรปิฎกจนแตกฉาน มุ่งปฏิบัติธรรมบำเพ็ญประโยชน์เกื้อกูลพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรือง แผ่ขยายออกไปจากเดิมมากขึ้น การศึกษาพระธรรม และภาษาบาลีได้เริ่มขึ้น และเจริญก้าวหน้า พระองค์ทรงฝักใฝ่ในทางธรรมมาก และทรงมีความรู้ทางปรัชญาอย่างสูง ลูกเจ้าลูกขุนจึงถวายพระนามว่า "พระมหาธรรมราชา" เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติ พระองค์ครองราชย์นาน ๔๐ ปี เมื่อสิ้นรัชกาล พระยางัวนำถมได้ครองราชย์สืบต่อมา

เมื่อพระยางั่วนำ ถมทรงทำพิธีราชาภิเษกแล้ว ได้ทรงแต่งตั้งพระยาลิไทย (พระราชโอรสของพระยาเลอไทย) ซึ่งเป็นพระราชนัดดาของพระองค์ไปปกครองเมืองศรีสัชนาลัย อันเป็นเมืองที่ถือว่ารัชทายาทแห่งราชบัลลังก์จะพึงครอบครองก่อนที่จะเป็น พระมหากษัตริย์ ในรัชกาลนี้ได้มีการปราบปรามเมืองต่างๆที่แข็งเมืองมาตั้งแต่รัชกาลพระยาเลอ ไทย แต่ไม่สำเร็จ ทั้งยังไม่สามารถแก้ไขความเสื่อมโทรม และความแตกแยกภายใน ตอนปลายรัชกาลพระยางัวนำถมสวรรคตลงโดยกะทันหันในปี พ.ศ. ๑๘๙๐ ทำให้เกิดการแย่งชิงราชสมบัติขึ้นในกรุงสุโขทัย พระยาลิไทยองค์รัชทายาทจึงยกกำลังจากเมืองศรีสัชนาลัยเข้าเมืองสุโขทัย แล้วจับศัตรูที่คบคิดชิงราชสมบัติประหารชีวิตเสียทั้งหมด แล้วเสด็จขึ้นครองเมืองสุโขทัยในปีนั้น

ขอขอบคุณ ที่มา : หนังสือ วันสำคัญของไทย ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต

Written by on

Written by on

วันการบินแห่งชาติ (13 มกราคม)

ในปี พ.ศ. 2454 ( 1911 ) ได้มีชาวต่างประเทศนำเครื่องบินแบบอองรีฟาร์มังมาแสดง การบินในประเทศไทย หลังการแสดงการบินของชาวต่างประเทศในปีเดียวกัน จอมพล สมเด็จเจ้าฟ้าจักรพงษ์ ภูวนารถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานารถ (เสนาธิการ ทหารบก ) ได้นำความขึ้นกราบบังคมทูลต่อพระบาท สมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ( รัชกาลที่ 6 ) ถึงความจำเป็นและประโยชน์ของเครื่องบิน ที่ต้องมีไว้เพื่อป้องกันประเทศ หลังนำความขึ้น กราบบังคมทูลกระทรวงกลาโหมได้มีคำสั่งให้นายทหารนักบิน จำนวน 3 นาย ได้แก่

1. นายพันโท หลวงศักดิ์ศัลยาวุธ

2. นายพันตรี หลวงอาวุธสิธกร

3. นายร้อยเอกหลวงทยาน พิมาฎ

ไปศึกษาวิชาการบิน ณ ประเทศฝรั่งเศส โดยในระหว่างที่นายทหารนักบินศึกษา วิชาการบินอยู่นั้น กระทรวงกลาโหมได้มีคำสั่งซื้อเครื่องบินจำนวน 8 ลำ หลังนายทหาร นักบินทั้ง 3 นาย สำเร็จการศึกษาได้เดินทางกลับประเทศไทยพร้อม เครื่องบินจำนวน 8 ลำ ที่กระทรวงกลาโหมสั่งซื้อ เมื่อเครื่องบินถึงประเทศไทย นายทหารนักบินทั้ง 3 นาย ได้ ทดลองเครื่องบินครั้งแรกในวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2456 หลังจากนั้นในวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2456 (ขณะ นั้นประเทศไทยนับ วันที่ 1 เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่จนถึงปี พ.ศ. 2483) พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตร การแสดงการบินครั้งแรกของประเทศ โดยนายทหาร นักบินไทยจำนวน 3 นาย ที่สำเร็จ การศึกษาวิชาการบินจากประเทศฝรั่งเศสและ ใช้เครื่องบินที่เป็นสมบัติของชาติไทยบิน ถวายหน้าพระที่นั่ง ซึ่งขณะนั้นประเทศไทย ได้เริ่มจัดตั้งแผนกการบิน โดยมีสนามบินและ โรงเก็บเครื่องบินที่สนามม้าสระปทุม นับเป็นการริเริ่มกิจการบินของประเทศไทยจากเหตุการณ์ดังกล่าวมูลนิธิอนุรักษ์และพัฒนาอากาศยานไทยในพระบรม ราชูปถัมภ์ได้ น้อมรำลึกพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงมีต่อ กิจการบินของชาติ จึงได้นำเรื่องเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่ออนุมัติคณะรัฐมนตรีได้เห็น ความสำคัญของเหตุการณ์ดังกล่าวและได้มีมติเมื่อ วันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ.2537 กำหนดให้วันที่ 13 มกราคมของทุกปีเป็นวันการบินแห่งชาติ โดยเริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 2538 เป็นต้นมา

ความเป็นมา ความคิดริเริ่มให้มี " วันการบินแห่งชาติ " พัฒนาขึ้นจากการแลกเปลี่ยนความคิดกัน ในบรรดาผู้ร่วมงานกับมูลนิธิฯ ในขณะที่ทำงาน บูรณะฟื้นฟู ทำการบิน เก็บรักษา อนุรักษ์ก็ทำให้มีการศึกษาทบทวนถึงประวัติศาสตร์การริเริ่มและพัฒนากิจการ บิน ของไทยที่บรรพบุรุษไทยได้สร้างไว้ให้พร้อมกับการพัฒนาอากาศยานของอารยประเทศในยุโรปและอเมริกา หลังจากที่พี่น้องตระกูลไรท์ ประดิษฐ์เครื่องบินสำเร็จเป็น รายแรกของโลกได้เพียง ๘ ปี โดยที่ขณะนั้นประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคนี้ยังไม่มีโอกาส ริเริ่มกิจการบินของตนได้ กิจการบินของไทยได้เจริญก้าวหน้าถึงขั้นสามารถสร้าง อากาศยานใช้ราชการได้ในช่วงระยะเวลาเดียวกับ ในยุโรปและอเมริกาแต่ก็มาหยุดชะงัก ไปในสมัยหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ การริเริ่มและพัฒนากิจการบินที่บรรพบุรุษได้สร้างไว้ก่อให้เกิดความเจริญทาง ด้าน ความมั่งคง ได้แก่กิจการบินทางทหารสามารถป้องปรามการล่วงล้ำอธิปไตยและป้องกัน ประเทศ ทั้งในสงครามอินโดจีน สงครามมหาเอเชียบูรพา และการปราบปรามการก่อ การร้ายมาโดยตลอด ด้านสังคมสามารถให้การช่วยเหลือ ลำเลียงผู้เจ็บป่วย ส่งไปรษณีย์ อากาศ และช่วยเหลือประชาชน ในท้องถิ่นทุรกันดาร ทั้งในภาวะปกติ และเมื่อประสบภัย พิบัติ เช่น กรณีเกิดโรคระบาด อุทกภัย ฯลฯ หลังจากได้สถาปนากิจการบินพลเรือนเปิด สายการบินในประเทศขึ้นได้ช่วยให้เศรษฐกิจ และสังคม การเดินทาง ขนส่งไปรษณีย์ สินค้าและทำธุรกิจได้รวดเร็วขึ้น จนพัฒนามาเป็นอุตสาหกรรมการบินขนส่งทางอากาศ เป็นสายการบินระหว่างประเทศ แต่อุตสาหกรรมด้านกิจการบินทั่วไปสำหรับภาคเอกชน และอุตสาหกรรมการผลิตและซ่อมบำรุงอากาศยาน แทบไม่พัฒนาเลย ไม่เพียงพอกับ ความต้องการการขนส่งและการจราจร จึงทำให้ล้าหลังกว่าประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาค ทั้งๆ ที่เราเริ่มต้นก่อนเขาเป็นเวลานาน

ประวัติศาสตร์การริเริ่มพัฒนากิจการบินอัน เป็นเกียรติประวัติที่น่าภาคภูมิใจของคน ในชาติและปัญหาเกี่ยวกับการพัฒนาอุตสาหกรรมการบินในปัจจุบันดังกล่าว น่าจะ ได้เผยแพร่ให้เป็นที่ทราบทั่วกันทั้งในภาครัฐ เอกชน และประชาชน ทั่วไปได้ทราบ เห็นคุณค่าประโยชน์ ช่วยกันแก้ปัญหาพัฒนาและส่งเสริมกิจการบินและอุตสาหกรรม การบินของชาติให้เจริญสืบไปมูลนิธิฯ จึงริเริ่ม ให้มีวันการบินแห่งชาติขึ้นเพื่อเผยแพร่ ดังกล่าว

การดำเนินการให้มีวันการบินแห่งชาติ มูลนิธิฯ ร่วมกับกองทัพอากาศเชิญ ชวนส่วนราชการและภาคเอกชนประชุมหารือ ๒ ครั้ง ที่ประชุมมีมติเห็นสมควรให้ วันที่ ๑๓ มกราคม ๒๔๕๖ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทอดพระเนตรการแสดง การบินโดยนักบินไทยและใช้เครื่องบินที่เป็นสมบัติของ ชาติไทยเป็นครั้งแรก และได้ทรง สถาปนาแผนกการบินขึ้นในกระทรวงกลาโหม เป็นผลให้กิจการบินของไทยเจริญมาโดย ลำดับกองทัพอากาศได้ดำเนินการ นำเรียนผู้บัญชาการการทหารสูงสุดเสนอกระทรวง กลาโหมขอความเห็นชอบ จากกระทรวงที่เกี่ยวข้อง และนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีมีมติ เห็นชอบเมื่อ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๓๗ กำหนดให้วันที่ ๑๓ มกราคม ของทุกปีเป็นวัน การบินแห่งชาติ กับ ให้จัดกิจกรรมต่างๆ ในวันสำคัญดังกล่าว ความมุ่งหมายและขอบเขตในการจัดงาน เพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเผยแพร่ให้ประชาชนทราบถึงประวัติความเป็นมาและ วิวัฒนาการ การบินของไทย เห็นคุณค่าประโยชน์ของกิจการบิน สนับสนุนส่งเสริมให้อุตสาหกรรม การบินของชาติเจริญก้าวหน้าสืบไป

ขอขอบคุณ ที่มา : หนังสือ วันสำคัญของไทย ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต

Written by on