Written by on

สมุนไพร ชำมะนาดเล็ก

สมุนไพร ชำมะนาดเล็ก ชื่อสามัญ Bread flower

สมุนไพร ชำมะนาดเล็ก ชื่อวิทยาศาสตร์ Vallaris solanacea Ktze. หรือ Vallaris solanacea (Roth) Kuntze (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Vallaris heynii Spreng., ชื่อวิทยาศาสตร์เดิม Peltanthera solanacea Roth) จัดอยู่ในวงศ์ APOCYNACEAE

สมุนไพรชำมะนาดเล็ก มีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ ว่า ฟูมฟูม อุมฟูม (เลย), ฟูมฟูม อุ่มฟูม(ตะวันออกเฉียงเหนือ), หญ้าช้างน้อย หญ้าช้างย้อย หางเม่นเครือ (ภาคเหนือ), ชำมะนาดเล็ก (ภาคกลาง), ชำมะนาดป่า, ชำมานาดป่า, เป็นต้น

ลักษณะของชำมะนาดเล็ก

ต้นชำมะนาดเล็ก จัดเป็นพรรณไม้พุ่มกึ่งเลื้อย ลำต้นมีความสูงได้ถึง 8 เมตร ลำต้นเป็นสีเขียวคล้ำ มีน้ำยางเป็นสีขาว พรรณไม้ชนิดนี้ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด มีเขตการกระจายพันธุ์กว้าง พบได้ตั้งแต่ปากีสถาน อินเดีย พม่า จีน และเวียดนาม ส่วนในประเทศไทยพบขึ้นกระพายแบบห่างๆ ทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ โดยมักขึ้นในป่าดิบแล้งที่ระดับความสูงจนถึงประมาณ 350 เมตร ขึ้นตามป่าละเมาะ และตามป่าผลัดใบใกล้ลำธาร

ใบชำมะนาดเล็ก ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงกันเป็นคู่ๆ ตรงตรงข้ามกัน ลักษณะของใบเป็นรูปรี รูปขอบขนาน หรือรูปใบหอก ปลายใบแหลมเป็นติ่ง โคนใบเป็นรูปลิ่ม ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2-4.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 14 เซนติเมตร เนื้อใบบาง มีเส้นแขนงใบข้างละประมาณ 6-10 เส้น ก้านใบยาวได้ประมาณ 0.3-2 เซนติเมตร

ดอกชำมะนาดเล็ก ออกดอกเป็นช่อเป็นพวงที่ปลายกิ่ง หรือจะออกตามซอกใบ ก้านช่อดอกยาวประมาณ 3-10 ก้านช่อยาวได้ประมาณ 3.5 เซนติเมตร ดอกมีกลีบเลี้ยงตั้งตรงลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยมยาวได้ประมาณ 3-7 มิลลิเมตร กลีบดอกนั้นเป็นสีขาว สีครีม สีเหลืองอ่อน หรือสีเขียวอ่อน และมีกลิ่นหอมแรง หลอดกลีบดอกยาวได้ประมาณ 6-10 มิลลิเมตร และกว้างประมาณ 3-4 มิลลิเมตร ลักษณะของกลีบเป็นรูปไข่หรือรูปไข่กลับ ยาวประมาณ 5-10 มิลลิเมตร ปลายกลม ด้านนอกมีขนสั้นนุ่ม มีขนรอบที่ก้านชูอับเรณูติดด้านในประมาณใต้จุดกึ่งกลางหลอดกลีบดอก ก้านชูอับเรณูยาวประมาณ 2 มิลลิเมตร ส่วนอับเรณูยาวประมาณ 3 มิลลิเมตร ที่โคนเป็นเงี่ยง จานฐานดอกเกลี้ยงหรือมีนขึ้นประปราย รังไข่มีขนสั้นนุ่ม ยาวประมาณ 1 มิลลิเมตร ก้านเกสรเพศเมียรวมยอดเกสรยาวประมาณ 6 มิลลิเมตร และมีขนสั้นนุ่ม เมื่อดอกบานจะกางออกและมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2-25 เซนติเมตร

ผลชำมะนาดเล็ก ออกผลเป็นฝักคู่ ยาวประมาณ 8-14 เซนติเมตร และมีขนาดกว้างประมาณ 1.5-3.5 เซนติเมตร เมื่อฝักแก่จัดจะแตกออกเป็น 2 ซีก ภายในมีเมล็ดมาก เรียงเป็น 2 แถว ลักษณะของเมล็ดเป็นรูปไข่หรือรูปรี แบน ยาวได้ประมาณ 1 เซนติเมตร ปลายสุดมีกระจุกขนติดอยู่เป็นกระจุก ยาวประมาณ 3-4 เซนติเมตร

สรรพคุณของชำมะนาดเล็ก

  1. ยางจากต้นกัดใช้ใส่แผลเรื้อรัง (ยาง)
  2. ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของชำมะนาดเล็ก
  3. ใบมีสารที่ออกฤทธิ์คล้ายดิจิตาลิส ใช้แอลกอฮอล์สกัดพวก triterpenic acid และ ursolic acid
  4. ในเมล็ดพบมีสารไขมันซึ่งเป็นพิษ

ขอขอบคุณ ที่มา : หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย ภาพประกอบอินเตอร์เน็ต

Written by on