ลูกน้อยในครรภ์ เดือนที่ 3

ลูกน้อยในครรภ์ เดือนที่ 3

เมื่อย่างเข้าเดือนที่ 3 อาการแพ้ท้องจะเริ่มทุเลาลง และมักหายไปเมื่อท้องได้ครบ 3 เดือน มดลูกขณะนี้มีขนาดเท่ากับ ผลส้มขนาดใหญ่ แต่อาจจะยังอยู่ในอุ้งเชิงกรานของแม่ คุณจะสังเกตว่า รอบเอวของคุณใหญ่ขึ้น หรือถ้าดูในกระจกจะพบว่าเองไม่คอดเหมือนแต่ก่อน หรือไม่มีเอว เมื่อลูกน้อยเติบโตขึ้นเรื่อยๆลูกน้อย

คุณแม่ควรถือโอกาส หาซื้อเสื้อคลุมท้องที่หลวมๆ มาใส่ได้แล้ว และควรจะหาซื้อเสื้อยกทรง ที่มีขนาดใหญ่ขึ้น ถ้าเป็นไปได้ควรเลือกชนิดที่สามารถเปิดด้านหน้า (well filled maternity bra หรือ nursing bra)ให้ลูกดูดนมได้ โดยไม่ต้องถอดเสื้อยกทรง คุณแม่จะได้ใช้ใส่ต่อไปจนถึงระยะให้นมลูกด้วย จะได้ใช้อย่างคุ้มค่า เนื่องจากเต้านมขยายใหญ่ขึ้น และมีน้ำหนักมากขึ้น คุณแม่ควรใส่เสื้อยกทรงเพื่อพยุงเต้านมเอาไว้ เต้านมจะได้ไม่หย่อยยานในภายหลัง เมื่อไปฝากท้อง คุณหมอก็จะตรวจเต้านม และหัวนม เพื่อเตรียมตัวให้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่เอง ถ้าหัวนมบอดก็จะได้ให้คำแนะนะการแก้ไข แม่ที่มีหัวนมปกติ ให้เตรียมหัวนมให้ลูกดูด โดยใช้ผ้าชุบน้ำอุ่น ถูที่หัวนมเบาๆ จะได้มีผิวหนังที่แข็งแรง เมื่อลูกดูดหัวนมจะได้ไม่เจ็บ หลังอาบน้ำแล้วควรใช้โลชั่น ทาเต้านม ผิวหนังจะได้ไม่ยืด เกิดเป็นรอยแตก ที่อาจจะเกิดจากการขยายของเต้านม

เมื่อใกล้ครบ 3 เดือน ลูกน้อยของคุณจะมีรูปร่าง และอวัยวะพัฒนาขึ้นมาเกือบสมบูรณ์แล้ว ทารกจะเริ่มเคลื่อนไหว โดยแม่จะรู้สึกว่าลูกดิ้น เพราะลูกจะแตะเท้าจนแม่รู้สึกได้ กำหมัดได้ หันหัวไปมา ตาเคลื่อนไหว มองไปมาได้ ทำหน้าผากย่น มีตุ่มฟันประมาณ 20 ตุ่มเกิดขึ้นใต้เหงือก เพื่อจะพัฒนาเป็นฟันน้ำนมต่อไป ริมฝีปาก และอวัยวะเพศเริ่มพัฒนาไตทั้ง 2 ข้าง พัฒนามากพอ จนลูกน้อยของคุณเริ่มถ่ายปัสสาวะแล้ว ไม่ต้องกังวลค่ะ ปัสสาวะที่ลูกน้อยถ่ายออกมานี้ ลูกก็จะกลืนเข้าทางเดินอาหาร และถูกดูดซึมเข้ากระแสเลือด ส่งผ่านสายสะดือ ไปยังแม่ เพื่อให้ไตของแม่ขับของเสีย ต่อไปลูกน้อยลูกน้อยจะนอนสบาย อยู่ในน้ำคร่ำ ซึ่งเป็นน้ำหล่อเลี้ยงภายนอก รวมกับปัสสาวะของลูกนั่นเอง ขณะนี้ ลูกน้อยจะมีน้ำหนักประมาณ 30 กรัม ยาวประมาณ 10 ซ.ม.

เราสามคน อยู่ด้วยกัน การแต่งงานเป็นเรื่องของคนสองคน เมื่อภรรยาตั้งครรภ์ เป็นเรื่องของ ?คนสามคน?ในไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ คุณจะพบว่า อารมณ์เปลี่ยนแปลง และเกิดอารมณ์ได้หลากหลาย แปรเปลี่ยน จากดีใจที่มีลูก สลับกับความกลัวในการตั้งครรภ์ การคลอด กังวลใจว่าจะทำหน้าที่แม่ได้อย่างไร เลี้ยงลูกอย่างไรเรื่องอารมณ์เป็นเรื่องธรรมดา สำหรับคนท้อง การตั้งครรภ์ การคลอดเป็นเรื่องธรรมชาติ คนเราได้ผ่านประสบการณ์ อย่างที่คุณจะผ่านมาร่วมหลายพันปี เขาก็ผ่านมาได้ ดังนั้นคุณควรอยู่กับมันอย่างมีความสุขนะคะ ความวิตกกังวล ไม่ช่วยให้อะไรดีขึ้น มาตั้งใจปฏิบัติตนให้ถูกต้องดีกว่า ค้นหาความรู้เพิ่มเติม เตรียมสถานที่เพื่อลูกรัก ศึกษาเรื่องการเลี้ยงลูก ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะคล้ายๆกัน แต่จะมีความแตกต่างกันบ้างเล็กๆน้อยๆ ซึ่งคุณแม่ต้องศึกษาเปรียบเทียบดู หาวิธีการที่เหมาะสมกับตนเอง แต่อย่าลืมว่า เมื่อนำไปใช้จริงๆ คุณจะต้องเลือกที่เหมาะสมกับทั้งคุณและลูกของคุณ เพราะแม่ลูกแต่ละคู่จะไม่เหมือนกัน การตั้งครรภ์ครั้งที่สอง ก็ไม่เหมือนครั้งแรกค่ะ

ผู้ที่กำลังจะเป็นพ่อเขาจะรู้สึกอย่างไร ความรู้สึกคล้ายคนกำลังจะเป็นแม่ คือ ผันผวน ผู้เป็นพ่อรู้สึกภูมิใจ ที่เขาได้ให้กำเนิดลูก แต่เขาจะรู้สึกกังวลใจว่า เขาจะเป็นพ่อที่ดีได้เพียงไร แล้วค่ะใช้จ่ายที่จะต้องเพิ่มขึ้นอีก ลูกจะสมบูรณ์ไหม ลูกที่เกิดมาจะเป็นผู้หญิง หรือผู้ชาย ถ้าเป็นชายก็จะเล่นกีฬาอย่างที่พ่อถนัด ถ้าเป็นลูกสาวล่ะ! จะเลี้ยงอย่างไรดี นอกจากนั้นเขาก็เป็นห่วงภรรยาที่เขารัก จะต้องลำบากเจ็บปวดในการคลอด แล้วยังเรื่องเพศสัมพันธุ์ในช่วงที่คุณผู้หญิงตั้งครรภ์นี้ จะเหมือนเดิมหรือไม่ และเรื่องอื่นๆอีกจิปาถะ วิถีชีวิตของคนสองคน กำลังจะเปลี่ยนไป ผู้ที่จะเป็นพ่อควรไปกับภรรยา เวลาไปตรวจครรภ์ เพื่อพูดคุยเรื่องสุขภาพของภรรยา และลูก เรื่องความกังวล และคำถามที่คุณมีอยู่ในใจ ช่วยกันถาม ช่วยกันจดจำ นำมาปฏิบัติ เพื่อลูกน้อยของคุณทั้งสองคน

การถามคำถามกับแพทย์โดยตรง จะทำให้ผู้เป็นพ่อ ได้มีส่วนร่วมตั้งแต่ในช่วงตั้งครรภ์ และได้ข้อมูลที่อาจจะละเอียดอ่อน เช่น เรื่องเพศสัมพันธุ์ กับภรรยาที่มีรูปร่าง เปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ ในช่วงที่ภรรยาตั้งครรภ์ โดยทั่วไป ถ้าไม่มีปัญหาเรื่องแท้งบุตรง่ายมาก่อน หรือเลือดออกทางช่องคลอด การมีเพศสัมพันธุ์ โดยเลือกท่าที่ไม่ทับหน้าท้อง และไม่กระทำรุนแรง โลดโผน ก็ไม่มีข้อห้ามอะไร ยกเว้นแต่ในช่วงท้ายของการตั้งครรภ์

การเจริญเติบโตของ หู

ลูกน้อยtong4-4tong4-9

หูชั้นในของลูกน้อย จะเริ่มพัฒนาตอนอายุ 2 เดือน เมื่ออายุประมาณ 10 สัปดาห์ (รูปซ้าย) จะเริ่มเห็นหูส่วนนอก หูชั้นนอกจะ
เริ่มพัฒนา เมื่ออายุ 4 เดือน (รูปกลาง) และพัฒนาเสร็จสมบูรณ์ ในอีก 1 เดือน ต่อมาการร้องเพลง ให้ลูกฟัง ก็เริ่มได้ตั้งแต่ตอนนี้ค่ะ แต่ไม่มีผลการวิจัย ที่แน่นอนว่าจะมีผลต่อ พัฒนาการของลูกหลังคลอดหรือไม่

ขอขอบคุณ ที่มา : นิตยสารรักลูก ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต

airban-300x250
0
Shares