น้ำหนัก ส่วนสูง และพัฒนาการของเด็กอายุ 1-2 ปี

น้ำหนัก ส่วนสูง และพัฒนาการของเด็กอายุ 1-2 ปี

พัฒนาการที่ปกติสำหรับเด็กอายุ 1-2 ปี และวิธีการส่งเสริมพัฒนาการ

เด็กวัยนี้เป็นวัยที่หัดเดิน เดินได้ดีและวิ่งได้ ในวัยนี้นอกจากดูแลเรื่อง การกิน การนอน แล้วจะต้องฝึกการขับถ่าย และฝึกให้เด็กควบคุมอารมณ์ การเข้าร่วมกิจกรรมของครอบครัวตลอดจน การหย่า นมแม่หรือนมขวด ซึ่งต้องการความร่วมมือของพ่อแม่ คนเลี้ยงดูเด็กตลอดจนญาติผู้ใหญ่ด้วยจึงจะประสบความสำเร็จ

น้ำหนักและส่วนสูงโดยประมาณ

  • อายุ 12 เดือน น้ำหนัก 9 ส่วนสูง 5 เซนติเมตร
  • อายุ 15 เดือน น้ำหนัก 10 ส่วนสูง 77 เซนติเมตร
  • อายุ 18 เดือน น้ำหนัก 10.8 ส่วนสูง 80 เซนติเมตร

พัฒนาการ

การทรงตัวและเคลื่อนไหว

  • เด็กเดินเองได้ เมื่อเด็กอยู่ในท่ายืน สามารถก้มลงเก็บของ แล้วลุกขึ้นได้ โดยไม่ล้ม
  • การใช้ตาและมือ เมื่อให้ของเล่นเป็นชิ้นสี่เหลี่ยม วางของซ้อนกัน 2-3 ชั้น ขีดเขียนเป็นเส้นยุ่ง ๆ
  • การสื่อความหมายและภาษ เด็กพูดเป็นคำพยางค์เดียว ที่มีความหมาย เช่น พ่อ แม่ นม น้ำ ชี้ส่วนต่าง ๆ บนใบหน้าได้ตามคำบอก
  • อารมณ์และสังคม เด็กสามารถใช้ช้อนตักอาหารได้ แต่ยังหกอยู่บ้าง กลิ้งลูกบอลรับส่งกับผู้ใหญ่ เลียนแบบสีหน้า ท่าทาง เช่น โบกมืออำลา ไหว้
  • การเติบโตของร่างกาย และพัฒนาการของเด็กแต่ละคนอาจเร็ว ช้าแตกต่างกันได้บ้าง หากสงสัยควรถามแพทย์
  • พ่อแม่ควรให้เวลากับลูกอย่างมีคุณภาพ ตั้งใจ ฝึกลูกในการขับถ่าย และหย่าขวดนมโดยทำอย่างนุ่มนวล ปฎิบัติตามข้อเสนอแนะต่อไปนี้
  • ฝึกการดื่ม หรือนมจากถ้วยทีละน้อย โดยผู้ใหญ่ช่วยถือถ้วยให้ก่อน ต่อมาให้เด็กถือถ้วยยกขึ้นดื่มเอง และเลิกใช้ขวดนม
  • ทำอาหาร ที่อ่อนนุ่มตัดเป็นชิ้นเล็กให้เด็กหัดหยิบกินเอง และฝึกการใช้ช้อนตักอาหารโดยใช้ชามขอบสูง และช้อนเล็กขอบมน
  • ฝึกขับถ่ายอุจจาระปัสสาวะให้เป็นที่ เช่น กระโถนหรือส้วมที่ดัดแปลงให้เด็กใช้ได้
  • สอนการช่วยตัวเองในกิจวัตรประจำวัน และระเบียบวินัยอย่างง่าย ๆ ด้วยการทำตัวเป็นแบบอย่าง ใช้วิธีชักจูงให้สนใจทำจะได้ผลดีกว่าการสั่ง หรือบังคับขู่เข็ญ
  • พ่อแม่ควรส่งเสริมพัฒนการของเด็ก โดยจัดบริเวณที่ปลอดภัยให้เด็กมีอิสระที่จะเดิน ปีนป่าย และเล่นโดยอยู่ในความดูของผู้ใหญ่อย่างใกล้ชิด จัดหาของเล่นที่เหมาะสมกับเด็ก และเล่นกับเด็กด้วย เช่น ลูกบอล กล่องที่ซ้อนกันได้ ของเล่นลอยน้ำ หาของที่ซ่อนไว้
  • ยิ้มแย้ม พูดคุยโต้ตอบกับเด็ก เรียกชื่อเด็กและพูดถึงสิ่งที่เด็กสนใจหรือกำลังทำอยู่ ปรบมือและกล่าวชมเชย เมื่อเด็กทำสิ่งที่บอกได้อุ้มชูและกอดจูบเด็กและร้องเพลงกล่อมเด็กให้เด็กได้พบเห็นญาติหรือเพื่อนบ้าน และร่วมในกิจกรรมของครอบครัว
  • บันทึกน้ำหนัก ความยาว และพัฒนาการของเด็กลงในสมุดสุขภาพ และนำติดตัวไป เมื่อพาเด็กไปรับการตรวจสุขภาพทุกครั้ง

ขอขอบคุณ ที่มา : นิตยสาร Modern Mom ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต

airban-300x250
0
Shares