มาดูแลลูกน้อย เมื่อเกิดภาวะลมชัก ให้ถูกต้องกันเถอะ
มาดูแลลูกน้อย เมื่อเกิดภาวะลมชัก ให้ถูกต้องกันเถอะ
โรคลมชัก ของลูกน้อย เป็นเรื่องน่ากลัวสำหรับพ่อแม่หลายๆ คน ภาวะชัก เกิดจากการมีไข้สูงมากเป็นเวลานาน การชักไม่มีอันตรายมาก เว้นแต่ในรายที่มีอาการชักนานกว่า 15 นาที


ภาพจาก : bangkokbiznews.com

โรคลมชัก ของลูกน้อย เป็นเรื่องน่ากลัวสำหรับพ่อแม่หลายๆ คน ภาวะชัก เกิดจากการมีไข้สูงมากเป็นเวลานาน การชักไม่มีอันตรายมาก เว้นแต่ในรายที่มีอาการชักนานกว่า 15 นาที มีอาการชักซ้ำมากกว่า 1 ครั้ง ภายใน 24 ชั่วโมง มีความผิดปกติทางสมองและพัฒนาการก่อนมีอาการชัก หรือมีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคลมชัก จะมีโอกาสเป็นมากกว่าเด็กปกติทั่วไป

ภาวะลมชักจะพบในเด็กอายุตั้งแต่ 6 เดือนไปจนถึง 5-6 ปี แต่จะพบบ่อยในกลุ่มเด็กเล็กที่มีช่วงอายุประมาณ 1-2 ปี อาการชัก จะเกิดขึ้นในขณะมีไข้สูงกว่า 38.5 องศาเซลเซียส อาการแสดงคือ การชักเกร็งหรือกระตุกทั้งตัว

เมื่อลูกมีอาการชัก คุณแม่อย่าตกใจ ตั้งสติ จับลูกนอนตะแคง เพื่อป้องกันการสำลัก ห้ามใช้นิ้ว หรือวัสดุใดๆ ล้วงหรืองัดปากลูก ถ้ามีอาการชักนานมากกว่า 3-5 นาที หรือรอบปากมีสีเขียวคล้ำ ควรรีบนำส่งโรงพยาบาล เพื่อทำการรักษาในเบื้องต้นที่เหมาะสมต่อไป

ภาพจาก : mahachaihospital.com

โดยทั่วไปประมาณ 1 ใน 3 ของผู้ป่วยจะมีโอกาสชักซ้ำได้ ถ้ามีไข้สูงจนกว่าจะมีอายุ 5-6 ปีไปแล้ว ส่วนในรายที่เริ่มมีอาการชักจากไข้ครั้งแรกก่อนอายุ 1 ปี และมีประวัติว่าคนในครอบครัวมีภาวะนี้เกิดขึ้นในตอนเด็ก อาจมีโอกาสชักซ้ำได้มากขึ้น

จะป้องกันการชักซ้ำเมื่อมีไข้สูงของลูกได้โดย การให้ยาลดไข้พาราเซตามอลและเช็ดตัวลดไข้ทันที และควรพาพบแพทย์ เพื่อตรวจหาสาเหตุของไข้และให้การรักษาที่เหมาะสมต่อไป

ที่สำคัญ คุณแม่ ต้องตั้งสติให้ดี เพื่อจะได้ดูแลลูกน้อยได้อย่างปลอดภัยในทุกสถานการณ์

ขอขอบคุณ ที่มา : นิตยสาร ModernMom Vol.18



ปฏิกิริยาของคุณ?