สมุนไพร กุ่มน้ํา

สมุนไพร กุ่มน้ํา

สมุนไพร กุ่มน้ํา ชื่อสามัญ Crataeva
สมุนไพร กุ่มน้ํา ชื่อวิทยาศาสตร์ Crataeva magna (Lour.) DC. หรือ Crateva religiosa Ham. หรือ Crateva religiosa G.Forst.จัดอยู่ในวงศ์ CAPPARACEAE เช่นเดียวกับกุ่มบก และผักเสี้ยนผี

สมุนไพรกุ่มน้ำ มีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ ว่า เหาะเถาะ (กาญจนบุรี), อำเภอ (สุพรรณบุรี, ภาคตะวันตกเฉียงใต้), ผักกุ่ม ก่าม ผักก่าม (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), รอถะ (ละว้า-เชียงใหม่, ภาคเหนือ), กุ่มน้ำ (ภาคกลาง), ด่อด้า (ปะหล่อง) เป็นต้น

ลักษณะของกุ่มน้ำ

ต้นกุ่มน้ำ เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง มีความสูงประมาณ 5-20 เมตร เปลือกต้นค่อนข้างเรียบมีสีเทา จะผลัดใบร่วงหมดทั้งต้นเมื่อออกดอก มักพบได้ตามริมแม่น้ำ ข้างลำธาร หรือที่ชื้นฉะ ในป่าเบญจพรรณ หรือพบได้ตามริมน้ำลำธารในป่าดิบแล้งและป่าผลัดใบ ที่มีความสูงระดับ 30-700 เมตรกุ่มน้ำ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด การปักชำ และการตอนกิ่ง

ใบกุ่มน้ำ มีใบเป็นใบประกอบแบบนิ้วมือ แผ่นใบค่อนข้างหนาสีเขียวเป็นมัน ด้านล่างใบมีสีอ่อนกว่าด้านบน มีใบย่อย 3 ใบ ก้านใบประกอบมีความประมาณ 4-14 เซนติเมตร หูใบเล็ก ร่วงได้ง่าย ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปใบหอกหรือขอบขนาน มีความกว้างประมาณ 1.5-6.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 4.5-18 เซนติเมตร ปลายค่อยๆ เรียวแหลม มีความยาวประมาณ 2.5 เซนติเมตร โคนสอบ ใบย่อยที่อยู่ด้านข้างโคนใบจะเบี้ยวเล็กน้อย ใบย่อยไม่มีก้าน หรือถ้ามีก็ยาวไม่เกิน 5 มิลลิเมตร ใบกุ่มน้ำมีเส้นแขนงของใบข้างละประมาณ 9-20 เส้น และอาจมีถึงข้างละ 22 เส้น เส้นใบสามารถมองเห็นได้ชัดจากด้านล่าง เมื่อใบแห้งจะมีสีค่อนข้างแดง

ดอกกุ่มน้ำ ออกดอกเป็นช่อแบบกระจะถี่ ออกตามยอด หนึ่งช่อมีดอกหายดอก ก้านดอกยาวประมาณ 4-7 เซนติเมตร กลีบเลี้ยงลักษณะเป็นรูปไข่ ปลายแหลม กว้างประมาณ 2 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 2-4 มิลลิเมตร กลีบดอกกุ่มน้ำมีสีขาว แล้วจะค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีเหลือง ใบมีลักษณะค่อนข้างกลมถึงรี มีความกว้างประมาณ 1-2.5 เซนติเมตร ส่วนก้านชูอับเรณูจะมีความประมาณ 3.5-6.5 เซนติเมตร และอับเรณูจะยาวประมาณ 2-3 มิลลิเมตร และก้านชูเกสรตัวเมียจะยาวประมาณ 3.5-8 เซนติเมตร ดอกมีรังไข่เป็นรูปรีหรือรูปทรงกระบอก มีอยู่ 1 ช่อง[1] มักออกดอกในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนมิถุนายน

ลูกกุ่มน้ำ หรือ ผลกุ่มน้ำ ลักษณะของผลเป็นรูปกลมรี มีเปลือกหนา ผลหรือเปลือกผลมีสีนวลหรือสีเหลืองอมเทา เมื่อสุกจะเป็นสีเทา ผลแก่ผิวจะเรียบ ผลกว้างประมาณ 1.5-4.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 5-8 เซนติเมตร ก้านผลยาวประมาณ 8-13 เซนติเมตร ก้านหนาประมาณ 3-5 มิลลิเมตร ด้านในผลมีเมล็ดมาก

เมล็ดกุ่มน้ำ มีลักษณะเป็นรูปเกือกม้า มีขนาดกว้างและยาวเท่าๆ กันคือประมาณ 6-9 มิลลิเมตร และเมล็ดมีสีน้ำตาลเข้ม

สรรพคุณของกุ่มน้ำ

  1. เปลือกต้น ใช้ปรุงเป็นยาบำรุงร่างกาย (เปลือกต้น)
  2. แก่น ใช้ต้มกับน้ำดื่ม สรรพคุณช่วยบำรุงกำลัง (แก่น)
  3. รากและเปลือกต้นกุ่มน้ำ สรรพคุณใช้เป็นยาบำรุงกำลังของสตรีได้
  4. รากใช้แช่น้ำกิน เป็นยาบำรุงธาตุในร่างกาย (ราก,ใบ)
  5. สรรพคุณสมุนไพรกุ่มน้ำ ช่วยทำให้เจริญอาหาร (ใบ)
  6. ช่วยแก้กษัย แก้ในกองลม หรือต้มเป็นยาตัดลมในลำไส้ (เปลือกต้น)
  7. กุ่มน้ํา สรรพคุณช่วยแก้ลมขึ้นเบื้องสูง (ใบ)
  8. สรรพคุณกุ่มน้ำ ช่วยแก้ไข้ (ผล,ใบ) (เปลือกต้น)
  9. เปลือกต้นใช้เป็นยาช่วยแก้อาเจียน (เปลือกต้น)
  10. ดอกกุ่มบก มีรสเย็นสรรพคุณช่วยแก้อาการเจ็บในตา (ดอก)
  11. ช่วยแก้ลมทำให้เรอ (เปลือกต้น)
  12. ใบ มีรสหอมขม สรรพคุณช่วยขับเหงื่อ (ใบ,เปลือกต้น)
  13. ช่วยแก้อาการเจ็บตา (ดอก)
  14. ช่วยแก้อาการเจ็บในลำคอ (ดอก)

ขอขอบคุณ ที่มา : หนังสือสมุนไพรพื้นบ้าน และ วิกิพีเดีย ภาพประกอบอินเตอร์เน็ต

airban-300x250
0
Shares