ตำแยแมว สรรพคุณ-ประโยชน์ 17 อย่าง

สมุนไพร ตำแยแมว

สมุนไพรตำแยแมว มีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ ว่า หานแมว (ภาคเหนือ), ตำแยตัวผู้ ตำแยป่า หญ้าแมว หญ้ายาแมว (ไทย) เป็นต้น

สมุนไพร ตำแยแมว ชื่อสามัญ Indian acalypha, Indian nettle, Indian copperleaf, Tree-seeded mercury

สมุนไพร ตำแยแมว ชื่อวิทยาศาสตร์ Acalypha indica Linn. จัดอยู่ในวงศ์ EUPHORBIACEAE

ลักษณะของตำแยแมว

ต้นตำแยแมว จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกขนาดเล็ก ลำต้นมีลักษณะตั้งตรง สูงได้ประมาณ 2 ฟุต แตกกิ่งก้านจากโคนต้น เนื้อภายในอ่อนและไม่แข็งแรง ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการปักชำและการแยกต้น ชอบขึ้นตามที่ดินเย็นๆ พบขึ้นเป็นวัชพืชตามที่รกร้างทั่วไป และตามที่มีอิฐปูนเก่าๆ ผุๆ

ใบตำแยแมว ใบเป็นใบเดี่ยวขนาดเล็ก (ใหญ่กว่าใบพุทราเล็กน้อย) ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปมนรี รูปไข่ หรือรูปกลมโต ปลายใบมนหรือแหลมเล็กน้อย โคนใบสอบ ส่วนขอบใบหยักเล็กน้อย แผ่นใบเป็นสีเขียว ด้านบนมีขนขึ้นปกคลุม

ดอกตำแยแมว ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบ รอบๆ ลำต้น ส่วนยอดของช่อดอกเป็นดอกเพศเมีย ลักษณะของดอกจะคล้ายกับใบอ่อนที่มีขนาดเล็ก แต่เมื่อบานเต็มที่แล้วใบอ่อนนี้ก็ยังคงติดอยู่และไม่ร่วง มีใบประดับหยักเป็นซี่ฟัน มีขนปกคลุม แต่ละใบประดับจะหุ้มห่อดอก 2-6 ดอก

สรรพคุณของตำแยแมว

  1. ต้นมีสรรพคุณทำให้อาเจียน (ต้น)
  2. ใช้เป็นยาช่วยขับเสมหะ ขับเสมหะในโรคหลอดลมอักเสบ เสมหะในโรคหอบหืด ด้วยการใช้ใบสดๆ นำมาสับเป็นชิ้นเล็กๆ แล้วนำไปต้มกับน้ำ 4 ถ้วยแก้ว ให้เหลือเพียง 2 ถ้วยแก้ว ใช้ดื่มครั้งละ 1 ถ้วย เช้าและเย็น (ต้น,ราก,ใบ,ทั้งต้น)
  3. ช่วยแก้อาการไอ (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
  4. ใช้เป็นยารักษาโรคหอบหืด ภูมิแพ้ ด้วยการถอนทั้งต้นและราก นำมาต้มกับน้ำดื่มสัก 1 แก้ว ใช้ดื่มเมื่อมีอาการ แก้วเดียวก็หาย หรือจะนำมาโขลกผสมกับน้ำซาวข้าว กรองใส่ผ้าขาวบางให้ได้น้ำข้นๆ 1 แก้ว แล้วดื่มก็มีสรรพคุณดีเช่นกัน (ทั้งต้น)
  5. ต้น ราก ใบ หรือทั้งต้นหากนำมารับประทานในปริมาณมากจะทำให้คลื่นเหียนอาเจียน และทำให้ระคายเคืองทางเดินอาหาร (ต้น,ราก,ใบ,ทั้งต้น)
  6. ลำต้นที่อ่อนๆ ใช้เป็นยาล้างเมือกในท้องหรือทำความสะอาดทางเดินอาหาร ด้วยการนำต้นสดทั้งต้นมาคั้นเอาแต่น้ำ ซึ่งน้ำที่ได้นี้จะใช้เป็น purgative (ต้น)
  7. ต้น ราก และใบมีสรรพคุณเป็นยาถ่าย ยาระบาย (ต้น,ราก,ใบ)
  8. ใบใช้เป็นยาขับพยาธิ ขับพยาธิเส้นด้าย ด้วยการนำใบสดมาทำเป็นอาหาร โดยเฉพาะสำหรับเด็กๆ หรือนำมาต้มกิน หรือจะใช้ใบสดนำมาคั้นเอาน้ำผสมกับกระเทียมก็ได้ (ต้น,ใบ)
  9. ต้นหรือใบนำมาต้มกับน้ำกินเป็นยาถอนพิษเมาเบื่อในทางเดินอาหาร (ต้น,ใบ)
  10. ใบใช้เป็นยารักษาโรคผิวหนัง ด้วยการใช้ใบสดนำมาตำผสมกับเกลือแกง ใช้ทาบริเวณที่เป็น (ใบ)

ขอขอบคุณ ที่มา : หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย ภาพประกอบอินเตอร์เน็ต

airban-300x250
0
Shares