สมุนไพร พังคี

สมุนไพร พังคี

สมุนไพร พังคี หรือ ปังคี มีชื่อสามัญว่า Thick-leaved Croton, Thick leaf Croton, Cockbone’s Aroma

สมุนไพร พังคี ชื่อวิทยาศาสตร์ Croton crassifolius Geisel จัดอยู่ในวงศ์ EUPHORBIACEAE เช่นเดียวกับเจตพังคี โคคลาน ไคร้น้ำ น้ำนมราชสีห์ น้ำนมราชสีห์เล็ก เปล้าน้อย เปล้าใหญ่ ละหุ่ง ลูกใต้ใบ ลูกเขยตายแม่ยายทำศพ โลดทะนงแดง สบู่ดำ และสบู่แดง จัดอยู่ในวงศ์เดียวกัน คือวงศ์ EUPHORBIACEAE

ลักษณะของพังคี

ต้นพังคี จะเป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก มีความสูงประมาณ 20-30 เซนติเมตร สามารถพบได้ทางตอนใต้ของประเทศจีน และในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตามป่าเบญจพรรณ ที่ระดับความสูงประมาณ 300-400 เมตร

ใบพังคี ใบเป็นใบเดี่ยว ลักษณะของใบเป็นรูปไข่แกมรูปหอก มีความกว้างประมาณ 3-5 ซิติเมตร และยาวประมาณ 6-10 เซนติเมตร โคนใบมน ปลายใบแหลม ขอบใบเป็นจักตื้นๆ แผ่นใบมีลักษณะสากคาย ส่วนก้านใบยาวประมาณ 2-3 เซนติเมตร

ดอกพังคี ออกดอกเป็นช่อที่ปลายยอด เป็นแบบแยกเพศอยู่บนช่อเดียวกัน ดอกมีสีขาวนวล ดอกตัวผู้มีขนาดประมาณ 8 มิลลิเมตร ขอบกลีบมีขนนุ่ม มีเกสรตัวผู้จำนวน 15-25 อัน ส่วนดอกตัวเมียจะคล้ายกับดอกตัวผู้ แต่กลีบดอกจะสั้นกว่า ส่วนก้านชูเกสรยาวเรียว ปลายแยกเป็น 2 แฉก ที่รังไข่มีขนปกคุลมแน่น โดยจะออกดอกในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนกรกฎาคม

ผลพังคี ผลมีลักษณะค่อนข้างกลม มีขนาดประมาณ 1 เซนติเมตร มี 3 พู ผลมีขนขึ้นปกคุลมแน่น เมื่อผลแก่จะแตก ในผลมีเมล็ดลักษณะกลมแกมรี กว้างประมาณ 3-4 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 7-8 มิลลิเมตร โดยจะติดผลในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนกรกฎาคม

สรรพคุณของพังคี

  1. รากใช้เข้ายาแก้ไข้ โดยผสมกับสมุนไพรชนิดอื่นอีก 34 ชนิด ใช้ต้มกับน้ำดื่มแก้ไข้
  2. รากพังคี สรรพคุณช่วยแก้อาการจุกเสียด แก้ท้องอืด ท้องขึ้น ท้องเฟ้อ ปวดท้อง ปวดแน่นท้อง ด้วยการใช้รากต้มกับน้ำดื่ม หรือใช้ภายนอกด้วยการนำมาฝนทาท้อง หรือใช้ฝนกับน้ำปูนใส ผสมกับมหาหิงคุ์และการบูรใช้ทาท้องเด็กอ่อนจะช่วยทำให้ผายลม หรือใช้รากพังคีผสมกับรากส่องฟ้าดง ต้มกับน้ำดื่มก็ได้
  3. ประโยชน์พังคี รากใช้ตำประคบแก้อาการปวด

ขอขอบคุณ ที่มา : หนังสือสมุนไพรพื้นบ้าน และ วิกิพีเดีย ภาพประกอบอินเตอร์เน็ต

airban-300x250
0
Shares