สมุนไพร สบู่ดํา

สมุนไพร สบู่ดํา

สมุนไพร สบู่ดำ (Black Soap) ชื่อสามัญ Physic nut, Purging nut, Barbados nut, Kuikui pake, Pignon d'inde

สมุนไพร สบู่ดำ ชื่อวิทยาศาสตร์ Jatropha curcas L. จัดอยู่ในวงศ์ EUPHORBIACEAE เช่นเดียวกับสบู่แดง โคคลาน ไคร้น้ำ พังคี เจตพังคี น้ำนมราชสีห์ น้ำนมราชสีห์เล็ก เปล้าน้อย เปล้าใหญ่ ละหุ่ง ลูกใต้ใบ ลูกเขยตายแม่ยายทำศพ และโลดทะนงแดง โดยมีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาเขตร้อน เป็นพืชพื้นเมืองของทวีปอเมริกาใต้ ซึ่งชาวโปรตุเกสได้นำเข้ามาปลูกในประเทศไทยในช่วงปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา

สมุนไพรสบู่ดำ มีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ ว่า ละหุ่งรั้ว สบู่หัวเทศ สลอดป่า สลอดดำ สลอดใหญ่ สีหลอด (ภาคกลาง), มะเยา หมักเยา มะหัว มะหุ่งฮั้ว มะโห่ง หกเทก (ภาคเหนือ), มะเยา หมากเย่า สีหลอด (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), หงส์เทศ มาเคาะ (ภาคใต้), แจ้ทซู (หม่า), ทะวอง (เขมร), มั่วฮองซิว (แต้จิ๋ว), หมาฟ่งสู้ (จีนกลาง), บูราคีรี (ญี่ปุ่น) เป็นต้น

ลักษณะของสบู่ดำ

ต้นสบู่ดำ จัดเป็นไม้พุ่มยืนต้นขนาดกลาง มีความสูงของต้นประมาณ 2-7 เมตร เป็นต้นไม้ที่อายุยืนมากกว่า 20 ปี ลำต้นเกลี้ยงเกลาใช้มือหักได้ง่าย เนื่องจากเนื้อไม้ไม่มีแก่น ลำต้นและยอดคล้ายละหุ่ง แต่จะไม่มีขน โดยต้นสบู่ดำเป็นพืชที่ทนทานและปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมที่แห้งแล้งได้ดี จึงเจริญเติบโตได้ดีในเขตร้อน หรือในพื้นที่ที่มีความสูงจนถึง 1,000 เมตรจากระดับน้ำทะเล หรือในพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ของดินต่ำ ส่วนการปลูกโดยทั่วไปแล้วจะใช้กิ่งปักชำ

ใบสบู่ดำ ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับกัน ลักษณะของใบคล้ายกับใบละหุ่ง แต่ใบจะหยักตื้นกว่า ใบมีลักษณะค่อนข้างกลมหรือไข่ป้อมๆ กว้างประมาณ 7-11 เซนติเมตร และยาวประมาณ 7-16 เซนติเมตร ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ มีรอยหยัก 3-5 หยัก ฐานใบเว้าเป็นรูปหัวใจ ส่วนเส้นใบออกจากจุดเดียวกันที่โคนใบ 5-7 เส้น ตามเส้นใบจะมีขนอ่อนปกคุลมอยู่ และมีก้านใบยาวประมาณ 6-18 เซนติเมตร

ดอกสบู่ดำ ออกดอกเป็นช่อกระจุกที่ปลายยอดและตามง่ามใบ ดอกมีขนาดเล็กสีเหลือง มีกลิ่นหอมอ่อนๆ ดอกตัวผู้และดอกตัวเมียจะอยู่บนต้อนเดียวกัน โดยในช่อจะมีดอกตัวผู้มากกว่าดอกตัวเมียในช่อ ช่อดอกยาวประมาณ 6-10 เซนติเมตร ดอกตัวเมียมีกลีบรองกลีบดอก 5 กลีบ ยาวประมาณ 4-5 มิลลิเมตร กลีบดอก 5 กลีบเชื่อมติดกันเป็นหลอด ภายในหลอดมีขน ส่วนเกสรตัวผู้มี 10 อัน เรียงเป็นวง 2 วง (วงละ 5 อัน) ส่วนอับเรณูตั้งตรง ดอกตัวเมียกลีบรองดอกจะไม่ติดกัน มีรังไข่และท่อรังไข่เกลี้ยง บางครั้งมีเกสตัวผู้ฝ่อ 5 อัน ภายในรังไข่มีช่อง 2-4 ช่อง มีไข่อ่อนอยู่ช่องละ 1 หน่วย

ผลสบู่ดำ ผลมีลักษณะกลม มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2.5 เซนติเมตร ผลมีลักษณะเป็นพู โดยส่วนมากแล้วจะมีอยู่ด้วยกัน 3 พู ผลมีสีเขียวอ่อน เมื่อสุกหรือแก่จัดแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง โดยอายุของผลสบู่ดำคือตั้งแต่ออกดอกจนถึงผลแก่คือประมาณ 60-90 วัน

เมล็ดสีดำ เมล็ดมีสีดำ มีลักษณะกลมรีผิวเกลี้ยง มีขนาดเล็กกว่าเมล็ดละหุ่งสายพันธุ์ลายขาวดำเล็กน้อย สีตรงปลายของเมล็ดมีจุดสีขาวเล็กๆ ติดอยู่ เมล็ดมีความยาวประมาณ 1.7-1.9 เซนติเมตร และมีความหนาประมาณ 0.8-0.9 เซนติเมตร โดยเมล็ด 100 เมล็ด จะหนักประมาณ 69.8 กรัม

สบู่ เป็นภาษาโปรตุเกส ซึ่งหมายถึง ต้นไม้ชนิดหนึ่งที่ใช้น้ำมันจากเมล็ดมาเป็นส่วนผสมในการทำสบู่ เพื่อใช้ชำระล้างร่างกาย ซักล้างเสื้อผ้า หรือของใช้อื่นๆ

สรรพคุณของสบู่ดำ

  1. ยางจากก้านใบ นำมาป้ายปากช่วยรักษาโรคปากนกกระจอก (ยางจากก้านใบ)
  2. น้ำต้มใบ ใช้กินเป็นยาฟอกเลือด ฟอกโลหิต (ใบ)
  3. ยางใช้เป็นสารต้านมะเร็งได้ (ยาง)
  4. น้ำคั้นจากใบใช้ทาบริเวณท้องเด็กช่วยแก้ธาตุพิการได้ (ใบ)
  5. ช่วยแก้อาการปวดฟัน (ยางจากก้านใบ)
  6. กิ่งก้านสบู่ดำ นำมาทุบแล้วใช้แปรงฟันช่วยแก้อาการเหงือกบวมอักเสบได้ (กิ่งก้าน)
  7. ใบใช้อมบ้วนปากช่วยทำให้เหงือกแข็งแรง (ใบ)
  8. ช่วยแก้อาการปากและลิ้นเปื่อยพุพอง (ใบ,เนื้อไม้,ยาง)ลูกสบู่ดำ
  9. สบู่ดํา สรรพคุณของใบช่วยลดอาการไข้ (ใบ)
  10. ใบใช้ทำเป็นยาชงกินแก้อาการไอ (ใบ)
  11. แก้อาการลิ้นเป็นฝ้าขาว ละออง โดยใช้ยางจากก้านใบนำมาผสมกับน้ำนมมารดาแล้วนำมาป้ายลิ้น (ยางจากก้านใบ
  12. สรรพคุณต้นสบู่ดำ ลำต้นนำมาตัดเป็นท่อนแล้วต้มกับน้ำให้เด็กใช้กินแก้ซางตาลขโมย (ลำต้น) ช่วยแก้พิษซานซาง ถอนพิษที่ทำให้ตัวร้อน (ใบ,เนื้อไม้)
  13. รากสบู่ดํา สรรพคุณช่วยทำให้อาเจียน (ราก)
  14. รากสบู่ดำ ต้มกับน้ำดินเป็นยาแก้ท้องเสีย (ราก,ผล) ส่วนใบมีสรรพคุณช่วยแก้ท้องร่วง และแก้ท้องเสียได้เช่นกัน (ใบ)
  15. ผลใช้รับประทานเป็นยาแก้บิด และช่วยแก้ท้องเสียได้ด้วยเช่นเดียวกับรากและใบ (ผล)

ขอขอบคุณ ที่มา : หนังสือสมุนไพรพื้นบ้าน และ วิกิพีเดีย ภาพประกอบอินเตอร์เน็ต

airban-300x250
0
Shares