สมุนไพร โลดทะนงแดง

สมุนไพร โลดทะนงแดง

สมุนไพร โลดทะนงแดง ชื่อวิทยาศาสตร์ Trigonostemon reidioides (Kurz) Craib จัดอยู่ในวงศ์ EUPHORBIACEAE

สมุนไพรโลดทะนงแดง มีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ ว่า ทะนง รักทะนง (นครราชสีมา), นางแซง (อุบลราชธานี), โลดทะนงแดง (บุรีรัมย์), ดู่เบี้ย ดู่เตี้ย (เพชรบุรี), ทะนงแดง (ประจวบคีรีขันธ์), ข้าวเย็นเนิน หัวยาเข้าเย็นเนิน (ราชบุรี ประจวบคีรีขันธ์), หนาดคำ (ภาคเหนือ) เป็นต้น

ลักษณะของโลดทะนงแดง

ต้นโลดทะนงแดง จัดเป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก มีความสูงได้ถึง 1 เมตร มีรากสะสมอาหารพองโต ผิวสีแดงอมสีม่วง เนื้อสีขาว ส่วนลำต้นมีขนาดเรียวเล็ก ขึ้นเป็นกอ โดยทุกส่วนของต้นจะมีขนขึ้น โดยลำต้นจะมีขนสั้นนุ่มขึ้นหนาแน่น สามารถพบได้ตามป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ และตามป่าดิบแล้ง

ใบโลดทะนงแดง ใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับกัน เนื้อใบหนามีขนนุ่มขึ้นหนาแน่นบนผิวใบทั้งสองด้าน ลักษณะใบเป็นรูปขอบขนาน หรือเป็นรูปขอบขนานแกมรูปใบหอก มีความกว้างประมาณ 2-4 เซนติเมตร และยาวประมาณ 6-10 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบมน มีต่อมเล็กๆ อยู่ 2 ต่อม ส่วนขอบใบเรียบ สามารถเห็นเส้นใบย่อยได้ชัดเจน และมีก้านใบยาวประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร

ดอกโลดทะนงแดง ออกดอกเป็นช่อแบบกระจะ ดอกมีสีขาว สีชมพู สีม่วงเข้มหรือเกือบดำ โดยช่อดอกจะออกบริเวณซอกใบและบริเวณกิ่งก้าน มีความยาวประมาณ 7-10 เซนติเมตร ดอกเป็นแบบแยกเพศอยู่บนต้นเดียวกัน โดยจะมีดอกตัวผู้จำนวนมากกว่าอยู่ที่บริเวณโคนของช่อ มีลักษณะตูมกลม และดอกตัวผู้จะมีกลีบเลี้ยงอยู่ 5 กลีบ ก้านดอกมีขน มีกลีบดอก 5 กลีบ และไม่มีขน มีเกสรตัวผู้จำนวน 6 อัน ก้านเกสรจะเชื่อมติดกันเป็นแท่งเดียว ส่วนดอกตัวเมียจะมีลักษณะตูมเป็นรูปไข่ มีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ และมีขน ที่จานฐานดอกล้อมรอบฐานของรังไข่ มีรังไข่อยู่เหนือวงกลีบ กลีบดอกเป็นสีขาว โดยสามารถออกดอกได้ตลอดทั้งปี

ผลโลดทะนงแดง ลักษณะของผลค่อนข้างกลม ผลแห้งแตกได้ มีขนสั้นนุ่มขึ้นปกคลุมผลอยู่หนาแน่น ผลแบ่งออกเป็นพู 3 พู เห็นได้ชัดเจน ผลมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 12 มิลลิเมตร มีก้านผลสีแดงมีความยาวประมาณ 3-5 เซนติเมตร ภายในผลมีเมล็ดลักษณะค่อนข้างกลมหรือเป็นรูปไข่แกมรูปสามเหลี่ยม สีเหลือง ยาวประมาณ 5-6 มิลลิเมตร ผิวเรียบ

สรรพคุณของโลดทะนงแดง

  1. โลดทะนงแดง สรรพคุณของรากใช้ต้มกับน้ำดื่ม ช่วยแก้วัณโรค
  2. ช่วยแก้หืด
  3. ช่วยทำให้อาเจียน โดยใช้รากนำมาต้มกับน้ำดื่ม ใช้ฝนกับน้ำกิน หรือใช้รากเข้ายากับน้ำมะนาว ฝนกับน้ำกินก็ได้
  4. ใช้เป็นยาระบาย
  5. ช่วยในการคุมกำเนิด
  6. ช่วยถอนพิษคนกินยาเบื่อยาเมา ด้วยการใช้รากนำมาต้มน้ำดื่ม หรือใช้ฝนกับน้ำกิน ใช้รากเข้ายากับน้ำมะนาว ฝนกับน้ำกินก็ได้
  7. ช่วยแก้เสมหะเป็นพิษ หรืออาการเสมหะหรืออุจจาระเป็นมูกเลือด
  8. รากใช้เข้ายากับน้ำมะนาว ใช้ฝนกับน้ำกิน ช่วยแก้อาการผิดสำแดง
  9. แก้อาการเมาพิษเห็ดและหอย
  10. ช่วยแก้พิษแมงมุม

ขอขอบคุณ ที่มา : หนังสือสมุนไพรพื้นบ้าน และ วิกิพีเดีย ภาพประกอบอินเตอร์เน็ต

airban-300x250
0
Shares