นำเสนอสาระน่ารู้ บทความดีๆ เกี่ยวกับพัฒนาการของทารกตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 1 ปี เพื่อคุณพ่อคุณแม่จะได้เตรียมพร้อมรับมือกับพัฒนาการของลูกน้อยได้อย่างชาญฉลาด และมีสติ พร้อมที่จะแก้ไขและส่งเสริมให้ลูกน้อยมีพัฒนาการที่ดีสมวัย และสามารถเจริญเติบโตต่อไปได้อย่างมีความสุข สุขภาพแข็งแรง ร่าเริงสดใส ทาง Pstip หวังเป็นอย่างยิ่งว่าสาระความรู้ต่างๆ ในหมวดนี้จะสามารถเป็นแนวทางที่ดี สำหรับคุณพ่อคุณแม่คนใหม่นำไปปฏิบัติเพื่อลูกน้อยที่คุณรักได้อีกทางหนึ่งค่ะ

Written by on

ภาวะปกติในทารกแรกเกิด (2)

ตัวเหลือง

ทารกที่ได้รับนมแม่ มีโอกาสเกิดตัวเหลืองได้ 2 ลักษณะ

  1. breastfeeding Jaundice พบใน 2-4 วันหลังคลอด เกิดจาก การได้ รับนมแม่ไม่พอ เพราะจำกัดจำนวนครั้ง ของการดูด ร่วมกับการให้ดูดน้ำเปล่า หรือน้ำกลูโคล การป้องกันภาวะนี้คือ ให้ทารกอยู่กับมารดาตลอดเวลา (rooming-in หรือ bed-in ) ให้ดูดนมแม่บ่อย (มากกว่า 8 มื้อ/วัน) งดน้ำเปล่าหรือน้ำกลูโคล
  2. breastmilk jaundice ซึ่งเริ่มปรากฏ ปลายสัปดาห์แรก (4-7 วัน ) บิลิรูบิน สูงสุดได้ถึง 10-30 มก./ดล. ใน สัปดาห์ที่2-3 หลังคลอด เมื่อให้นมแม่ ต่อไปจะค่อย ๆ ลดลง จนอยู่ในเกณฑ์ปรกติ เมื่ออายุ 3-12 สัปดาห์ กลไกลการเกิด breastmilk jaundice ยังไม่ทราบ แน่นอน การแยกภาวะนี้จากภาวะเหลือง ที่เกิดจากสาเหตุอื่น ๆ ที่สำคัญคือ โรคฮัยโปไธรอยด์แต่กำเนิด ทารกมีอาการ นอนเก่ง ร้องน้อย ต้องปลุก เพื่อให้นม ดูดนมได้ ไม่ดี และช้ามีผลให้ น้ำหนักเพิ่มน้อย ลิ้นโต ซึ่งอาจทำให้ หายใจลำบาก หายใจมีเสียงดัง อาจมีการ คัดจมูก ท้องผูก ท้องโตกว่าปกติ มีไส้เลื่อน ที่สะดือ ผิวหนังเย็น และลาย คล้าย ร่างแห วัดอุณหภูมิกายได้ ต่ำกว่าปรกติ (มักต่ำกว่า 35 ซ ) อาจมีบวมที่ อวัยวะเพศ และแขนขา ภาวะฮัยโปไธรอยด์ ต้องได้รับการรักษาโดยเร็ว เพื่อไม่ให้ทารก ปัญญาอ่อน หากเป็น breastmilk jaundice ไม่จำเป็นต้องให้การรักษาใด ๆ ผู้เขียนเคยพบมารดาที่ที่ลูกมีภาวะเหลืองจาก breastmilk jaundice และได้รับคำแนะนำว่า เกิดจากน้ำนม แม่เป็นพิษ ทำให้แม่ตกใจ และงดนมแม่ทันที หรือบอกให้ป้อนน้ำทารกมาก ๆ หรือ นำทารกตากแดดตอนเช้า ๆ

ผิวหนังลอก (Desquamation หรือ Peeling of the skin )

  • ขบวนการสร้าง Keratin ของผิวหนัง แสดงถึงภาวะการเจริญเต็มที่ (muturity) ของผิวหนัง โดย ทารกในครรภ์ ต้องมีภาวะโภชนาการปกติ เมื่อขบวนการสร้างเจริญเต็มที่แล้ว และทารก ในครรภ์มี ภาวะโภชนาการปรกติจากรก ทำหน้าที่ได้อย่างปรกติ ผิวหนังจะมีการลอก ปรกติ ผิวหนังของทารก ครบกำหนดใน 1-2 วันแรกจะยังไม่ลอก ภายหลังอายุ 24-28 ชั่วโมง จึงเริ่มปรากฏ มักพบที่มือ และเท้า ผิวหนังที่ลอก จะหายไปในเวลา 2-3 วัน โดยไม่ต้องให้ การรักษาใดๆ ในทารกเกิดก่อนกำหนด ผิวหนังจะลอกช้ากว่า โดยจะปรากฏเมื่อ 2-3 สัปดาห์ หลังคลอด และอาจลอกมาก ในทารกอายุครรภ์น้อย มาก ๆ การมีผิวหนังลอก เมื่อคลอดออก มาทันที พบในทารกครรภ์เกินกำหนดที่มี dysmaturity เนื่องจาก สมรรถภาพ การทำงาน ของรก เสื่อมลง และทารกที่ขาดออกซิเจนชนิด acute ขณะอยู่ ในมดลูก

ปานแดงชนิดเรียบ (Macular hemangiomas)

  • ปานแดง ที่เปลือกตาบน หน้าผาก และท้ายทอย พบได้ประมาณร้อยละ 50 ของทารก แรกเกิด ปานชนิดนี้ จะมีขอบเขต ไม่ชัดเจน และจะแดงขึ้น เวลาทารกร้อง ปานแดงที่ เปลือกตา มักหายไป เมื่อทารก มีอายุหนึ่งปี ปานแดงที่หน้าผาก มักพบร่วมกับ ปานแดง ที่ท้ายทอยและมีชื่อว่าเฉพาะว่า stork mark ปานแดงที่หน้าผาก มีรูปร่างเป็น สามเหลี่ยม โดยมีฐานอยู่ที่ชายผม และมุมชี้ไปทางจมูก stork mark ปรากฏนานกว่าหนึ่งปี และอาจคง อยู่ให้เห็น ในเด็กโต หรือผู้ใหญ่เป็นครั้งคราวเวลาโกรธ Traumatic cyanosi เป็นภาวะเขียวคล้ำที่ใบหน้า เกิดจากการมีเลือดคั่ง และ มีจุดห้อเลือด (petechiae) จำนวนมาก เกิดจากการถูกบีบรัด โดย การคลอดตามธรรมชาติ หรือจากสายสะดือพันคอ จุดห้อเลือดมัก หายอย่างรวดเร็วใน 2-3 วัน

ผิวหนังลายเหมือนร่างแห (Cutis marmorata)

  • ผิวหนังมีลวดลาย เหมือนร่างแห (reticulation หรือ netlikepattern) หรือ เหมือนลายหินอ่อน (marbling ) เกิดจากการขยายตัวของหลอดเลือด ฝอย (capillaries) และ หลอดเลือดดำย่อย (venules) สาเหตุของ ภาวะนี้ เกิดจากความไม่สมบูรณ์ ในการทำงาน ของศูนย์ควบคุมหลอด เลือด (vasomotor center )นอกจากพบในทารกแรกเกิด ที่ปรกติแล้ว ยังพบในทารก ที่อยู่ในที่ ๆ มีอุณหภูมิสิ่งแวดล้อม เย็น หรือ ร้อนไป และทารกที่มีการกำซาบของผิวหนัง (skin perfusion ) ลดลงจากหัวใจ ทำงานผิดปรกติ หรือ ช็อคจากหัวใจ หรือการติดเชื้อ

ภาวะเขียวที่มือและเท้า (Acrocyanosis หรือ Peripheral cyanosis)

  • ภาวะเขียวที่มือ และที่เท้าพบได้บ่อยในทารก 24-48 ชั่วโมงแรก หลังคลอด เกิดจากการ ไหลเวียนเลือดที่มือ และเท้าช้าลง เนื้อเยื่อบริเวณดังกล่าว จะสกัดออกซิเจนจาก oxygenated hemoglobin เพื่อนำไปหล่อเลี้ยงเนื้อเยื่อ เป็นผลให้มี Reduced hemoglobin เพิ่มขึ้น ภาวะนี้อาจพบในทารก ที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เย็น ฉะนั้น หากเห็นภาวะนี้ ให้ระลึกเสมอว่า ทารก อาจอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เย็นไป และหรืออาจมีภาวะอุณหภูมิกายต่ำ

Subconjunctival hemorrhage

  • เลือดออกที่ตาขาว (sclera) หรือรอบๆ แก้วตา (cornea) เป็นภาวะที่พบได้บ่อย และหายเอง ภายใน2-3 สัปดาห์ Milia หรือ Epidermal inclusion cyst
  • ภาวะนี้ มีลักษณะเป็นตุ่มนูนจากพื้นผิว (papule) มีสีนวลหรือสีขาวขนาด 1 มม.พบที่แก้ม ดั้งจมูก หน้าผาก nasolabialfolds เพดานแข็ง เหงือก หัวนม และปลายอวัยวะเพศ ของทารก เพศชาย ภาวะนี้พบร้อยละ 40 ของทารกครบกำหนด มักแตก และหายไปเมื่ออายุ 2-3 สัปดาห์ หรือ อยู่ได้นานถึง 2 เดือน

ตุ่มขาวในปาก

  • ที่กลางเพดานปากของทารกแรกเกิด อาจมีเม็ดสีขาวขนาดเท่า หัวเข็มหมุด (เส้นผ่าศูนย์ กลาง 1มม.) เรียกว่า epithelial pearl หรือ Epstein pearl
  • ซึ่งเป็นของปรกติ ในทารกแรก เกิด อาจมีจำนวนมาก น้อยต่างกัน ตุ่มเล็ก ๆ นี้ไม่ทำให้ ทารกไม่ดูดนม และจะหลุดไปเอง อาจพบตุ่มขาว ลักษณะนี้ที่เหงือก ซึ่งเรียกชื่อต่างกันว่า Bohn nodule ที่หัวนม และปลาย อวัยวะเพศชาย ซึ่งเรียกว่า epidermal inclusion cyst คนสูงอายุเรียก สิ่งใดที่มีสีขาวในปาก ของทารก ว่า หละ และเชื่อว่าทำให้ทารกไม่ดูดนม และ ต้องรักษา หากเป็น epithelial pearl จะให้การ รักษา โดยการขยี้ หรือบ่งออก โดยใช้นิ้ว หรือ เข็มที่ไม่สะอาด ซึ่งอาจทำให้เกิดการ ติดเชื้อ หากเป็นเชื้อรา (oralmoniliasis ) มักเชื่อว่า ต้องใช้ผ้าอ้อม ที่เปียกปัสสาวะของ ทารกเช็ด

ลิ้นขาว(White tongue)

  • ลิ้นขาว พบได้ในทารกแรกเกิด โดยปรากฏสีขาวกระจายเท่า ๆ กัน บริเวณกลางลิ้น ซึ่งหาย เอง เมื่อทารกมีอายุมากขึ้น จึงไม่จำเป็นต้องให้ การรักษาใด ๆ ผู้สูงอายุมักแนะนำให้ทา 1 % gentian violet การวินิจฉัยแยกโรคจากเชื้อรา (moniliasis ) พบมีแผ่นสีขาว (white patch) เป็นหย่อม ๆ ที่ลิ้น และพบร่วมกับที่เพดานปาก กระพุ้งแก้ม หรือที่ริมฝีปากด้วย Sebaceous gland hyperplasia เป็นจุดขนาดเล็กกว่า 0.5 มม. มีสีนวลหรือขาว พบที่จมูก ริมฝีปาก และบริเวณแก้ม การคลำบริเวณผิวหนังที่เป็น จะพบ ว่าเรียบ ภาวะนี้พบใน ทารกครบกำหนด เป็นส่วนใหญ่ เกิดจาก การงอก เกินของต่อมไขมัน (hyperplastic sebaceous gland) จะมีขนาดเล็กลง และหายไป ภายหลังคลอด 1-2 สัปดาห์

ริมฝีปากแห้งและลอกเป็นแผ่น

  • ขอบริมฝีปากของทารก อาจมีเม็ดพอง ขนาดเส้นผ่าศุนย์กลาง ประมาณ 5 - 8 มม. อาจพบตลอดขอบริมฝีปากบน หรือ ล่าง หรือ พบ เฉพาะที่กลางริมฝีปากบน เม็ดนี้จะแห้งและลอกหลุด เป็นแผ่นแล้วขึ้นมา ใหม่ เม็ดพองชนิดนี้มีชื่อว่า sucking blister Miliaria
  • ภาวะนี้เกิดจากการคั่งของเหงื่อ เนื่องจากมี keratin อุดท่อ ของต่อมเหงื่อ และทารกอยู่ใน สิ่งแวดล้อมที่ร้อน และความชื้น สูง ภาวะนี้จะหายไป เมื่อจัดให้ทารกอยู่ในที่เย็น Miliaria ที่พบมี 3 ลักษณะคือ ผดแดง (Miliaria rubra ) เป็นตุ่มนูนสีแดง ที่มีขนาดเล็ก อยู่เป็นกลุ่ม พบในทารก ที่อยู่ใน สิ่งแวดล้อมที่ร้อน และมีความ ชื้นสูง มักพบผดแดงในทารกที่มีอายุมากกว่า 1 สัปดาห์ Miliaria crystallina (sudaminarash)
  • เป็นตุ่มพองภายในเป็นน้ำใส (vesicle)ขนาด 1-2 มม. บางครั้งอาจพบโตกว่า 1-2 มม. เกิดจากการ มีเหงื่อคั่งอยู่ใต้ ชั้น corneum พบบ่อย ที่ หน้าผาก อาจอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม เต็มหน้าผาก หรืออยู่กระจายกันเพียงไม่กี่ตุ่ม อาจพบเมื่อ แรกเกิดทันที โดยเฉพาะในกรณีที่มารดามีไข้ ที่หน้าผาก จะ ทิ้งร่องรอย ให้เห็นผิวหนังเป็นขุย ภายหลังตุ่มพองแตก Miliaria pustulosa เป็นตุ่มหนองขนาดไม่เกิน 1 มม. ผิวหนังที่อยู่รอบ ๆ ตุ่ม หนองจะไม่แดง และตุ่มหนอง มีขนาดเท่า ๆ กัน ไม่ว่าจะขึ้น ก่อนหรือหลัง เมื่อนำหนองไปย้อมสีแกรม พบแต่เม็ดเลือดขาว ชนิดนิวโตรฟิว และ ไม่พบแบคทีเรีย การวินิจฉัยแยกโรค จากผิวหนังติดเชื้อ Staphylococus พบว่า ตุ่มหนองที่เกิดจากการ ติดเชื้อ มีขนาด แตกต่างกัน ตุ่มที่ขึ้นก่อน มีขนาดใหญ่กว่าตุ่มที่ขึ้นทีหลัง ผิวหนังที่อยู่รอบ ๆ ตุ่มหนองมีสีแดง ซึ่งแสดงว่า มีการอักเสบ ของผิวหนัง การย้อมสีแกรมจะพบเม็ดเลือดขาว และแบคทีเรีย Erythema toxicum
  • มีลักษณะเป็นผื่นแดง (erythematous macule) ตรงกลางผื่นแดง มีตุ่มนูน ขนาดเท่า หัวเข็มหมุด ซึ่งมีสีนวล หรือซีด บางครั้งอาจเป็นตุ่มน้ำ (vesicle) หรือตุ่มหนอง (pustule) อาจอยู่รวม กันเป็นกลุ่ม กระจาย พบได้ตาม ผิวหนังทั่วไป ภาวะนี้พบร้อยละ 50-70 ของทารก ครบกำหนด อาจพบหลังคลอดทันที พบบ่อยที่สุดอายุ 24-48 ชั่วโมง และ อาจพบได้จนกว่า ทารกมีอายุ 1-2 สัปดาห์ ในทารกบางราย อาจพบได้จนถึงอายุ 3 สัปดาห์ Mongolian spot
  • เป็นสีของผิวหนัง ที่มีสีเขียวเทา หรือสีน้ำเงินดำมีขอบเขตไม่ชัดเจน เกิดจากการมีเซลล์ เมลานินแทรกซึมอยู่ในชั้นผิวหนังมาก พบที่บริเวณก้นกบ ก้น และหลังส่วนเอว อาจพบได้ ที่หลัง ส่วนบนหัวไหล่ แขนและขา ภาวะนี้พบร้อยละ 90 ของทารกแรกเกิด โดยพบตั้งแต่ ทารก คลอดออกมา และมักหายไปก่อน พ้นวัยทารก

นมเป็นเต้า (Breast engorgement)

  • นมมีลักษณะเป็นเต้า พบได้ทั้งเพศหญิง และชาย บางครั้งอาจมีน้ำนม ซึ่งเรียกว่า with s milk ภาวะนี้จะปรากฏจนอยู่หลายสัปดาห์ ในทารกเพศหญิง อาจปรากฏจนถึงขวบปีแรก ภาวะนี้เป็นลักษณะเฉพาะของทารกครบกำหนด อาจเป็นผลของฮอร์โมนที่ผ่านรกมาสู่ทารก กลไกลของการเกิด ยังไม่ทราบ คนสูงอายุมีความเชื่อว่า ต้องบีบให้นมแห้ง และเต้านมยุบ จึงต้องแนะนำให้หลีกเลี่ยง การบีบเค้น เพราะอาจทำให้เต้านมอักเสบ เป็นฝีจาก Staphylococcus aureus

ถุงอัณฑะยาน

  • ถุงอัณฑะ อาจยาน จนเกือบสัมผัสที่นอน คนสูงอายุมีความเชื่อว่าเป็นสิ่งผิดปรกติ และให้การ รักษา โดยการประคบถุงอัณฑะด้วยใบพลูลนไฟ ถุงอัณฑะยานมาก หรือน้อย ใช้เป็นลักษณะ หนึ่งในการประเมินอายุครรภ์ของทารก ถุงอัณฑะยาน พบในทารกที่อายุครรภ์ ครบกำหนด หรือเกินกำหนดเรียก ลักษณะถุงอัณฑะเช่นนี้ว่า pendulous scrotum

ถุงอัณฑะโตผิดปรกติ

  • ถุงอัณฑะของทารกบางคน อาจโตกว่าอีกข้าง หรือโตกว่าปรกติ จากการมีถุงน้ำ (hydrocele) อยู่ภายใน ถุงนี้เป็นส่วนที่ค้างอยู่ ตั้งแต่เป็นทารกในครรภ์ ซึ่งควรปิดก่อนคลอด ถุงน้ำนี้ต้องแยกจากไส้เลื่อน หากเป็นถุงน้ำ จะสามารถใช้นิ้วหัวแม่มือ และนิ้วชี้ จับขั้วของ อัณฑะ โดยไม่มีลำไส้เข้ามา แทรกระหว่างนิ้วมือ ซึ่งเรียกว่า positive sign of getting above ในตำราแนะนำ ให้วินิจฉัยแยกโรค จากไส้เลื่อน โดยการส่องไฟถุงอัณฑะ (transillumination test) ซึ่งจะให้ผลบวกในถุงน้ำ ของเหลวไหลออกทางช่องคลอดVaginal discharge และ Vaginal bleeding ทารกมีเมือกสีขาวข้น ออกมาทางช่องคลอด บางครั้งอาจมีเลือด ที่มาจากหลุดของเยื่อบุ มดลูกปน ออกมามากที่สุด ในระหว่างวันที่ 3-5 หลังคลอด และหายไปภายใน 2 สัปดาห์ กลไกที่ทำให้เกิด ยังไม่ทราบ Hymenal tag เป็นส่วนของ hymen ที่ยื่นพ้น ออกนอกปาก ช่องคลอด ซึ่งจะแห้งหายไปภายใน 2 - 3 สัปดาห์

* เรียบเรียงจากเอกสารเรื่อง "ภาวะปรกติในทารกแรกเกิด"โดยศาสตราจารย์ น.พ. เกรียงศักดิ์ จีะแพทย์ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ของบริษัท ไวเอท-เอเยิร์สท์ (ประเทศไทย) จำกัด

 

Written by on

Written by on

ภาวะปกติในทารกแรกเกิด

ทารกแรกเกิด หมายถึง ทารกอายุ 4 สัปดาห์หลังคลอด เป็นวัยที่มีภาวะ หรือสิ่งปรกติที่ ไม่พบในวัยอื่น ภาวะหรือสิ่งปรกตินี้ อาจทำให้พ่อแม่ วิตกกังวลได้บ่อยครั้ง ที่พ่อแม่ พาทารก ไปพบบุคลากร ทางการแพทย์ ซึ่งก็ไม่ทราบว่า เป็นภาวะปรกติ และได้รับคำแนะนำ หรือการ รักษาที่ไม่จำเป็น หรือรับตัวไว้ รักษาในโรงพยาบาล หรือหาหยูกยามารักษาเอง ซึ่งอาจก่อ อันตราย แก่ทารกได้ ภาวะปรกติเหล่านี้ ไม่ต้อง ให้การรักษาใด ๆ ภาวะปรกติ ที่พบได้ใน ทารกแรกเกิดได้แก่สิ่งต่อไปนี้

การสะดุ้งหรือผวา (Moro reflex) การสะดุ้ง หรือการผวา เวลามีเสียงดัง หรือเวลาสัมผัสทารก เป็นสิ่งที่ทารกทุกคนต้องมี เพราะแสดง ถึงระบบประสาทที่ปรกติ และเป็นการทดสอบ อย่างหยาบ ๆ ว่าทารกได้ยินเสียง ทารกตอบสนองโดย การยกแขน และยกขา แบมือ และกางแขนออก แล้วโอบแขนเข้าหากัน การตอบสนอง แบบนี้พบเมื่อทารก หลับสนิท (quiet sleep) การผวา พบได้จนถึง อายุ 6 เดือน
 
การกระตุก (Twitching) หากทารกหลับ ในระดับที่ลูกตามีการกรอก (rapid eye movement) ทารกมีกระตุก เล็กน้อย ที่แขน หรือที่ขา เวลาตื่นไม่มีกระตุก ผู้ใหญ่บางครั้งก็มี การกระตุก ก่อนรู้สึกตัวตื่น เช่นเดียวกัน พ่อแม่มักพา ทารกมาปรึกษา โดยบอกว่าลูกชัก หากบุคลากรทางการแพทย์ ไม่มีความรู้เรื่องนี้ ทารกมักถูกรับ ไว้ในโรงพยาบาล

การบิดตัว
ทารกครบกำหนด มีการเคลื่อนไหว เวลาตื่นนอนคล้ายผู้ใหญ่บิดขี้เกียจ ทารกยกแขนเหนือ ศีรษะ งอ ข้อตะโพก และข้อเข่า และบิดลำตัว ลักษณะเคลื่อนไหวแบบนี้ พบในทารกที่ปรกติ และอาจพบมาก ในทารกบางคน อาจบิดตัวจนหน้าแดง

การสะอึก
อาจพบภายหลังดูดนม เนื่องจากการทำงาน ของกะบังลมยังไม่ปรกติ หรือส่วน ยอดของ กระเพาะอาหาร ที่ขยายตัวจากน้ำนม และลมที่กลืนลงกระเพาะ สัมผัสกะบังลม หากทำการไล่ลม โดยจับทารก นั่งหรืออุ้มพาดบ่าสัก 5-10 นาที ภายหลัง ทารกดูดนมจนอิ่ม แล้ว ยังมีอาการสะอึกอีก ถือว่าเกิดจากกะบังลม ทำงานไม่ปรกติ ซึ่งไม่ต้องการรักษาใด ๆ

การแหวะนม
หูรูด กระเพาะอาหาร ของทารกแรกเกิด ยังทำงานได้ไม่ดี ทำให้รูดปิดไม่สนิท มีผลให้ ทารก แหวะนม เล็กๆ น้อย ๆ หลังมื้อนม และอาจออกมาทางจมูก และปาก น้ำนมที่ออกมา อาจมีลักษณะ เป็นลิ่ม คล้ายเต้าหู้ เนื่องจากถูกกับน้ำย่อย ในกระเพาะอาหาร ซึ่งเป็นขั้นตอน ของการย่อย พ่อแม่เข้าใจผิดว่า น้ำนมไม่ย่อย และนมที่ให้ลูกไม่ดี การแก้ไขการแหวะนม คือการไล่ลม ร่วมกับการจัดให้ ทารกนอน ศีรษะสูง และตะแคงขวา หลังดูดนม ประมาณ ครึ่งชั่วโมง ท่านอนดังกล่าว หูรูดของ กระเพาะอาหาร จะอยู่สูง ทำให้น้ำนมไหลย้อนแรงดึงดูด โลก ไม่ได้

ทารกบางคน ได้รับการป้อนนม โดยปล่อยให้นอนราบ แล้วใช้ผ้า หนุนขวดนม โดยเกิดจาก ความเชื่อว่า หากอุ้มทารก และถือขวดนมให้ จะทำให้ทารก ติดมือ หรืออาจเพราะ ผู้ดูแล ไม่มีเวลา การปฏิบัติเช่นนั้น ทำให้น้ำนม ไม่ท่วมจุกนม เวลาทารก ดูดนม จะกลืนน้ำนม และลม เมื่ออิ่มแล้ว ทารกจะเรอ และแหวะ น้ำนมออกมาด้วย หากการแหวะนม เกิดขณะที่ ทารกนอนราบ ทารกอาจสูดสำลักนม เข้าปอดได้ การป้อนนม ที่ถูกต้องจะต้องอุ้มทารก ให้อยู่ในท่าครึ่งนั่ง ครึ่งนอนเสมอ และถือขวดนม ให้น้ำนมท่วมจุก นมตลอดเวลา ภายหลัง ดูดนมหมดแล้ว ต้องจับทารกนั่ง หรืออุ้มพาดบ่า เพื่อไล่ลม

ทารกไม่ดูดน้ำ น้ำนมมารดา มีน้ำเป็นส่วนประกอบอยู่ถึง 88% นมผงก่อนที่จะป้อนทารก ก็ต้องผสมน้ำ ในอัตราส่วน ที่พอเหมาะ เพื่อให้มีส่วนประกอบ ใกล้เคียงกับนมมารดา ทารกจึงได้น้ำ อย่างเพียงพอ จากน้ำนม และไม่ จำเป็นต้องดูดน้ำเปล่าเพิ่มเติม เพื่อแก้หิวน้ำ โดยเฉพาะ ทารกที่เลี้ยงด้วยนมแม่ การดูดน้ำ หรือการ ป้อนน้ำ เป็นสิ่งที่ต้องหลีกเลี่ยง ตามคำแนะนำ ขององค์การอนามัยโลก ที่ว่าทารกควรได้รับ นมแม่อย่างเดียว (exclu sive breastfeeding ) 4-6 เดือน หากพ่อแม่ไม่เข้าใจจุดนี้ จะวิตกกังวล ที่ทารกไม่ดูดน้ำ เวลาให้น้ำเปล่า และแก้โดย ผสมกลูโคส หรือน้ำผึ้ง เพื่อให้ทารกดูดน้ำ อันตรายของการ ผสมกลูโคส หรือน้ำผึ้ง คืออาจทำ ให้ทารกดูดนม น้อยลง เป็นเหตุให้น้ำหนักตัวขึ้น ช้ากว่าปรกติ และเกิด ท้องร่วง เพราะน้ำที่ เจือกลูโคล หรือน้ำผึ้ง อาจมี เชื้อโรคปนเปื้อน นอกจากนี้ การให้ทารกดูดน้ำเพิ่ม ไม่ได้ช่วย แก้ปัญหาทารกเหลือง แต่กลับทำให้ทารกเหลือง มากขึ้นจากการได้น้ำนมไม่พอ

การถ่ายอุจจาระบ่อย
ทารกแรกเกิด
ที่เลี้ยงด้วยนมแม่อย่างเดียว อาจถ่ายอุจจาระกะปริดกะปรอย ขณะดูดนมแม่ บิดตัว หรือผายลม จะมีอุจจาระเล็ด ออกมาด้วย ทำให้เข้าใจผิดว่า ทารกท้องเดิน เพราะอาจ นับการถ่าย อุจจาระได้ถึง 10-20 ครั้งต่อวัน อุจจาระมีสีเหลืองเข้มคล้ายสีทองคำใหม่ ๆ และ มีกลิ่นเปรี้ยว สาเหตุเกิด จากนมแม่มีนมน้ำเหลือง (colostrum) เจือปน ซึ่งช่วยระบายท้อง นมน้ำเหลือง จะหมดไปเหลือแต่ น้ำนมแม่แท้เมื่อ เข้าสู่ปลายสัปดาห์ที่ 4 หลังคลอด รักษาโดย เปลี่ยนจากนมแม่ เป็นนมผง บางรายได้ รับตัวไว้ในโรงพยาบาล เพื่อให้สารน้ำทางหลอดเลือด และงดนมแม่

การไม่ถ่ายทุกวัน ภายหลังคลอด 4 สัปดาห์
น้ำนมแม่ จะเป็นน้ำนมแท้ ที่ไม่มีนมน้ำเลืองเจือปน (transitional milk) หากทารก ยังคง ได้นมแม่ต่อไป ทารกอาจไม่ถ่ายอุจจาระทุกวัน อาจถ่ายวันเว้นวัน ผู้เขียนเคยพบ ทารกหนึ่งราย ถ่ายทุก 12 วัน โดยไม่มีอาการท้องอืด และอึดอัด ไม่อาเจียน อุจจาระออกมาเป็นก้อน เหนียวคล้ายยาสีฟันที่ถูกบีบ ออกจากหลอด ทารกที่ได้รับนมแม่ ไม่ถ่ายทุกวัน เกิดจากน้ำนมแม่ย่อยง่าย ส่วนประกอบของ น้ำนมแม่จึงถูกดูดซึม โดยลำไส้ เพื่อใช้ในการเติบโต ทำให้เหลือกาก ที่กลายเป็น อุจจาระน้อย ท้องผูก ทางการแพทย์ตัดสิน จากความแข็งของอุจจาระ ไม่ได้ดูที่ความถี่ของการถ่าย ท้องผูก หมายถึง การถ่ายอุจจาระ เป็นก้อนแข็งทั้งกอง ท้องผูกพบบ่อย ในทารกที่เลี้ยงนมผสม ชงนมไม่ถูกสัดส่วน อาจจางไป หรือข้นไป หรือใช้นมที่ไม่เหมาะกับวัยโดยให้ นมผงสำหรับเด็กโต
 
ร้องเวลาถ่ายปัสสาวะ เมื่ออายุใกล้หนึ่งเดือน ทารกบางรายเริ่มรับรู้ ความรู้สึกปวดปัสสาวะ ทำให้ทารกร้อง เหมือนมีการ เจ็บปวด ก่อนถ่ายปัสสาวะ ภาวะนี้เป็นเฉพาะเวลา ที่ทารกถ่ายปัสสาวะขณะตื่น หากถ่ายปัสสาวะขณะนอน หลับทารกจะไม่ร้อง ทารกจะไม่มีอาการถ่ายปัสสาวะเป็นหยด ๆ หรือเบ่ง อาการนี้จะหายเอง ภายใน 1 เดือน

* เรียบเรียงจากเอกสารเรื่อง "ภาวะปรกติในทารกแรกเกิด"โดยศาสตราจารย์ น.พ. เกรียงศักดิ์ จีะแพทย์ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลของบริษัท ไวเอท-เอเยิร์สท์ (ประเทศไทย) จำกัด

 

Written by on

Written by on

การเช็ดตัวลูกน้อย

เมื่อดิฉันพาลูกกลับมาจากโรงพยาบาล สะดือยังไม่แห้ง ผู้ใหญ่แนะนำว่าให้เช็ดตัวลูกไปก่อน คุณพยาบาลแนะนำว่า ควรอาบน้ำให้ลูกเหมือนตอนอยู่โรงพยาบาล ดิฉันไม่แน่ใจ จึงเลือกทำตามที่คุณแม่บอกคือเช็ดตัว มีวิธีเช็ดตัวให้ลูกอย่างไรจึงจะสะอาดพอ ดิฉันเกรงว่าผิวหนังลูกจะติดเชื้อ เพราะขณะนี่มีตุ่ม แดง ๆ ขึ้นตามตัวและแขนขาอยู่เหมือนกัน"

การเช็ดตัวลูกน้อยตามบันได 5 ขั้น

เด็กแดง ๆ หรือทารกแรกเกิดที่สะดือยังไม่แห้งดี ก็อาบน้ำในอ่างได้แต่ต้องเช็ดรอบสะดือให้แห้ง หลังอาบน้ำด้วยสำลีที่ผ่านการฆ่าเชื้อมาแล้ว บางโรงพยาบาลอาจให้น้ำยาเช็ดสะดือ มาให้เช็ดต่อที่บ้านด้วย

วิธีเช็ดตัว หรืออาบแห้ง (sponge bath) คุณแม่นั่งบนเก้าอี้ อุ้มลูกให้นอนบนตักคุณแม่หันหัวลูกไปทางเข่าของคุณแม่ ใช้สำลีชุบน้ำอุ่นเช็ดหน้าลูก โดยมีขั้นตอนดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 มีสำลี 2 ก้อนชุบน้ำอุ่น บีบน้ำออกแห้งมาด ๆ ใช้สำลีเช็ดรอบตาลูก ก้อนแรกเช็ดข้างขวา ก้อนที่ 2 เช็ดข้างซ้าย ป้ายจากหัวตาไปทางหางตา

ขั้นตอนที่ 2 ใช้สำลีที่เช็ดตา แล้วเลยมาเช็ดตรงจมูกออกไปทางแก้ม และรอบปาก หลายครั้งเพื่อเช็ดคราบนม คราบน้ำลายออกให้หมด

ขั้นตอนที่ 3 เช็ดใบหู และหลังหูทั้งสองข้าง ด้วยลำสีชุมน้ำอุ่น

ขั้นตอนที่ 4 นำผ้าขนหนูผื่นเล็กที่เนื้ออ่อนนุ่ม ชุบน้ำอุ่นบิดพอหมาด ๆ เช็ดตามตัว รักแร้ แขน ขา มือ แล้วตะแคงตัวลูกเช็ดด้านหลังให้ทั่วตัว

ขั้นตอนที่ 5 ล้างก้นฟอกสะบู่ ล้างด้วยน้ำให้สะอาด เช็ดให้แห้งคราวนี้หนูน้อยจะสะอาดทั้งตัว ก็จัดการใส่ผ้าอ้อมได้ ถ้าแม่อยากทาแป้งก็โรยแถวบริเวณขาหนีบ ก้น รักแร้ และซอกคอนิดหน่อย อย่าโรยแป้งมากนัก แป้งฟุ้งกระจายเข้าจมูกลูก เกิดอาการระคายได้

ขอขอบคุณ ที่มา : นิตยสาร Modern Mom ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต

Written by on

Written by on

เลี้ยงลูกอย่างไร ไม่ อ้วน-เตี้ย-ล่ำ

คุณพ่อคุณแม่มักจะกังวลเสมอเวลามีใครมาถามว่าทำไมถึงเลี้ยงลูกให้ผอม ทั้งที่ความจริงแล้วความอ้วนมีผลเสียหลายอย่าง นอกจากนี้ยังมีคำถามอีกว่าถ้าไม่อยากให้ลูกเตี้ยจะต้องเลี้ยงดูอย่างไร พ.ญ.อนุตรา โพธิกำจร ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคระบบต่อมไร้ท่อในเด็ก โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล มีคำแนะนำในงานสัมมนาเรื่อง "ไม่อยากให้ลูกอ้วน ไม่อยากให้ลูกเตี้ย จะเลี้ยงดูอย่างไร" ที่ชั้น 12 โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล ถ.สุขุมวิท 3

พ.ญ.อนุตรากล่าวว่า เด็กที่อ้วนมักเกิดจากสาเหตุหลายอย่าง ทั้งการรับประทานอาหารผิดประเภท หรือออกกำลังกายน้อย สังเกตเด็กอ้วนได้จากขาที่โก่ง เนื้อจ้ำม้ำ เนื้อมีรอยพับ เหนื่อยง่าย พอเข้าโรงเรียนก็มีปัญหาเพราะวิ่งก็เหนื่อย เล่นกับเพื่อนก็เหนื่อย นอกจากนี้ยังมีอาการนอนกรน หยุดหายใจเป็นพักๆ ซึ่งจะทำให้สมองขาดออกซิเจน นานๆ ไปจะทำหัวใจล้มเหลวผลเสียของความอ้วนก็คือการเป็นโรคเบาหวาน ไขมันในเลือดสูง (คอเรสเตอรอล) และโรคความดันโลหิต บางคนคิดว่าพอเด็กโตขึ้นก็หาย แต่ความจริงไม่เป็นเช่นนั้น เพราะจะติดนิสัยพอโตเป็นผู้ใหญ่ก็จะอ้วน พออายุมากก็จะเป็นโรคเบาหวานและโรคความดัน ดังนั้นเราต้องส่งเสริมนิสัยการกินอาหารกันตั้งแต่เด็ก

เริ่มจากเด็กแรกเกิด-6 เดือน ควรให้ดื่มนมแม่ดีที่สุด หลังจาก 6 เดือนแล้วสามารถเริ่มอาหารเสริมพวกข้าว หรือข้าวบด อายุ 9 เดือนเพิ่มอาหารเสริมเป็น 2 มื้อ อายุ 1 ขวบเพิ่มอาหารเสริมเป็น 3 มื้อ โดยอาหารเสริมต้องมีคุณค่าสารอาหารครบ 5 หมู่ หลังจากนั้นก็ลดการดื่มนมให้น้อยลง พออายุครบ 1 ขวบอาหารจะเป็นมื้อเช้า กลางวัน เย็น และนมคือของว่างในมื้อสาย บ่าย ก่อนนอน วิธีนี้จะทำให้ลูกไม่มีเวลาไปกินขนมคุณพ่อคุณแม่ต้องพยายามบอกลูกว่าการกินข้าวให้คาร์โบไฮเดรต เนื้อสัตว์ให้โปรตีน ผักให้วิตามินและแคลเซียม พูดไปเรื่อยๆ เดี๋ยวลูกจะเข้าใจเอง หากเขาขอกินขนมก็ให้ได้ในโอกาสพิเศษ แต่ถ้าลูกขอมากไปก็ต้องอธิบายให้เขาทราบถึงผลดีผลเสียของการกินขนม

นอกจากนี้พ่อแม่ต้องหัดใจแข็ง สอนให้ลูกรู้ว่าอะไรได้ อะไรไม่ได้ ไม่ใช่ลูกร้องไห้แล้วก็จะได้ทุกสิ่ง บางครั้งการมีญาติผู้ใหญ่ให้ท้ายก็เป็นผลเสีย พ่อแม่ควรอธิบายให้ท่านทราบ แต่หากยังไม่ประสบผลก็หันไปให้ข้อมูลกับลูกแทน เมื่อเขาโตขึ้นจะทราบเหตุผลเองว่าสิ่งไหนดี สิ่งไหนไม่ดีสำหรับเด็กที่มีอาการอ้วนแล้ว คุณพ่อคุณแม่จะเป็นกุญแจสำคัญในการแก้ไข คือต้องสอนหรือบอกให้ลูกทราบ เช่น นมควรให้ดื่มเฉพาะนมจืด เวลาไปซื้อของต้องไปกับลูกเพื่อแนะนำให้เขาทราบถึงผลดีผลเสีย

มาถึงเรื่องความสูง คุณหมอแนะว่า "ปัจจัยที่มีส่วนเกี่ยวกับความสูงของลูกคือกรรมพันธุ์ และวิธีการเลี้ยงดู คือต้องกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ การปล่อยให้ลูกอ้วนในตอนแรกดูเหมือนจะทำให้ลูกสูงได้ แต่ความจริงแล้วจะทำให้การเจริญเติบโตของลูกชะงัก นอกจากนี้การออกกำลังกายก็สำคัญ คุณพ่อคุณแม่ควรทำเป็นตัวอย่างให้ลูกเห็น การนอนหลับอย่างเพียงพอก็เป็นสิ่งสำคัญ เพราะเด็กๆ ควรนอนหลับแต่หัวค่ำ สำหรับอาหารเสริมนั้น หากลูกดื่มนมจืดวันละ 3 มื้อก็ไม่จำเป็นต้องกินแคลเซียม หัดกินผลไม้ให้มากก็ไม่จำเป็นต้องกินวิตามินใดเสริมเลย

สนใจข้อมูลข่าวสารเพื่อการเลี้ยงลูกและดูแลสุขภาพ ติดตามรายละเอียดได้ที่โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล ถนนสุขุมวิท 3 โทรศัพท์ 0-2667-1000 หรือที่ www.bumrungrad.com

 

Written by on

Written by on

การเลือกผ้าอ้อม

ขณะนี้ดิฉันอยู่โรงพยาบาลหลังคลอด ลูกส่วนใหญ่อยู่ในห้องเด็ก คุณพยาบาลนุ่งผ้าอ้อมเยื่อกระดาษให้ตลอดเวลา ดิฉันกำลังจะนำลูกกลับบ้าน ต้องตระเตรียมผ้าอ้อมสำหรับลูก ควรใช้ผ้าอ้อมที่เป็นผ้าซักได้ หรือใช้ผ้าอ้อมเยื่อกระดาษใช้แล้วทิ้งดีคะ ช่วยบอกวิธีทำความสะอาดเวลาเปลี่ยนผ้าอ้อมด้วยค่ะ"คุณแม่คนใหม่บางคนไม่แน่ใจว่าจะใช้ผ้าอ้อมที่เป็นผ้า หรือเยื่อกระดาษที่ใช้แล้วทิ้งดี ผ้าอ้อมที่ทำด้วยผ้า จะมีงานซักฟอกทำความสะอาด และสถานที่ตากพึ่งให้แห้ง การใช้ผ้าอ้อมซักได้จะถูกกว่าในระยะยาว ผ้าอ้อมใช้แล้วทิ้งก็สะดวกดีแต่ค่าใช้จ่ายสูง การตัดสินใจขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อมและเศรษฐานะ ถ้ามีเครื่องซักผ้าและอบแห้งได้ การใช้ผ้าอ้อมซักได้ก็ดีกว่า แต่ถ้าไม่มีเครื่องซักผ้า และไม่มีเวลาซักผ้าอ้อม เพราะวันหนึ่งอาจใช้ผ้าอ้อมถึง 3-4 โหล ฝนตกแห้งไม่ทันก็ลำบาก จึงอาจจะใช้ร่วมกันได้คือ ใช้ผ้าอ้อมที่ทำด้วยผ้าในเวลากลางวัน และใช้ผ้าอ้อมใยกระดาษเวลากลางคืน เพื่อจะได้ไม่ต้องเปลี่ยนบ่อย อย่าลืมว่าบ้านเรามีอากาศร้อน ใส่ผ้าอ้อมตลอดเวลาอบมาก บางคนเกิดผิวหนังอักเสบควรงดใช้ชั่วคราวจนกว่าจะหาย

วิธีทำความสะอาดเวลาเปลี่ยนผ้าอ้อม

เตรียมสำลีชุบน้ำสะอาด ครีม หรือขี้ผึ้งสังกะสี (Zine Paste) สำหรับทาป้องกันผิวหนังมิให้แฉะ เปื่อย-แดง เข็มกลัดผ้าอ้อม และถังใส่ผ้าอ้อมที่ใช้แล้ว ให้พร้อมไว้ถอดผ้าอ้อมที่เปียกออก

 
 
 

ใช้สำสีชุบน้ำเช็ดบริเวณก้น ให้ทั่วรวมทั้งซอกขาหนีบ ทวารหนัก และอวัยวะขับถ่ายด้วย ถ้าเป็นเด็กผู้หญิง ควรเช็ดจากด้านหน้าไปด้านหลัง เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อจากทวารหนัก มาเปื้อนเปอระด้านหน้า ซึ่งมีท่อเปิดของท่อปัสสาวะ และช่องคลอดอยู่ จะทำให้เกิดการติดเชื้อทางระบบปัสสาวะ และหรือช่องคลอดถ้าผิวหนังแดงให้ทาด้วยวาสลินครีม หรือครีมสังกะสี หรือโลชั่นที่ใช้เพื่อป้องกันผิวอักเสบแต่ไม่ดีขึ้น หรือลุกลามอาจต้องปรึกษากุมารแพทย์

ใส่ผ้าอ้อมผื่นใหม่ติดเข็มกลัด หรือติดเทปให้กระชับจะได้เข้าที่ไม่หลุด เวลาเด็กเคลื่อนไหวตัว

*เข็มกลัดซ่อนปลายต้องใช้ชนิดที่ทำไว้กลัดผ้าอ้อมนะคะ

ขอขอบคุณ ที่มา : นิตยสาร Modern Mom ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต

Written by on

Written by on

วิธีอาบน้ำลูก บทความอธิบายถึง ขั้นตอนในการอาบน้ำทารกแรกเกิด ก่อนจะอาบน้ำ ควรเตรียมอุปกรณ์ต่างๆ ไว้ข้างๆตัวให้พร้อม น้ำควรจะอุ่นพอสมควร (ทดสอบโดยใช้หลังมือ)

ล้างมือด้วยสบู่

  • วางเด็กบนโต๊ะที่ปูผ้าเช็ดตัวไว้แล้ว ควรจะอยู่ใกล้ๆกับอ่าง ใช้ผ้าขนหนูเล็กหรือฟองน้ำชุบน้ำเช็ดศีรษะเด็ก แล้วจึงใช้สบู่ฟอกให้ทั่ว เสร็จแล้วจึงอุ้มตัวเด็กไว้แล้วจึงล้างสบู่ออก โดยใช้ผ้าขนหนูเล็กหรือฟองน้ำเช็ดออกจนสะอาด ใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วกลางผลักใบหูมาปิดรูหูไว้
  • วางเด็กไว้บนโต๊ะเช่นเดิม ใช้สบู่ฟอกหน้าบริเวณแก้ม ระวังอย่าให้เข้าตาหรือจมูก เสร็จแล้วจึงใช้ผ้าขนหนูชุบน้ำเช็ดออก
  • ใช้สบู่ถูตัวเด็กให้ทั่วรวมทั้งแขนขา เสร็จแล้วจึงอุ้มลงอ่าง โดยใช้ 2 มือและจับให้มั่นพอที่เด็กจะไม่ดิ้นตกไปได้ ใช้ทั้งตัวแช่น้ำยกเว้นบริเวณศีรษะและหน้า ล้างสบู่ออกให้หมด แล้วจึงยกขึ้นมาวางบนผ้าเช็ดตัวอีกผืนหนึ่ง เพื่อ  ซับน้ำให้แห้ง เมื่อผิวหนังแห้งดีแล้ว จึงทำความสะอาดส่วนต่างๆ ดังในหัวข้อกิจวัตรประจำวัน ทาแป้ง แต่งตัวและหวีผมให้ การอาบน้ำนี้ควรทำก่อนการให้นมมื้อใดมื้อหนึ่ง

ขอขอบคุณ ที่มา : นิตยสาร Modern Mom ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต

Written by on

Written by on

อาบน้ำ ช่วงเวลาสนุกของลูกน้อย

ลูกไม่ชอบอาบน้ำเลยค่ะ อาบน้ำทีไรร้องจ้าทุกครั้ง ตอนนี้อายุเกือบ 3 สัปดาห์แล้วค่ะ จะมีวิธีอะไร ที่ทำให้ลูกไม่ร้องเวลาอาบน้ำไหมคะ

เวลาอาบน้ำสำหรับเด็ก มักเป็นเวลาแห่งความสุข Happy Time เพราะเป็นเวลา ที่เขาสามารถจะเคลื่อนไหวแขนขา ออกกำลังกายได้อย่างสนุกนาน จนบางรายมีความลำบากที่จะขึ้นจากน้ำ

ทารกแรกเกิดบางคน ยังไม่คุ้นเคยกับการอาบน้ำ ในช่วงที่สะดือยังไม่แห้ง ก็มักใช้วิธีเช็ดตัวเอา คุณแม่คนใหม่ ที่ยังไม่ค่อยชำนาญในการจับตัวลูก ก็เกร็ง กลัวลูกจะลื่นตกสำลักน้ำบ้าง น้ำจะเข้าหูบ้าง

การอาบน้ำให้ลูก ให้เตรียมอ่างอาบน้ำที่มีรูปร่างยาวรี ดีกว่ากลมกว้าง ผสมน้ำให้อุ่นพอเหมาะโดยการจุ่มข้อศอกลงไปทดสอบก่อน

 
 
 

ถ้าจะสระผม ให้ห่อตัวลูกด้วยผ้าเช็ดตัว สระผมด้วยแชมพู ล้างออกให้หมด โดยวักน้ำมาล้างผม แต่ต้องจับหูลูกพับปิดรูหูไว้ก่อน ซับผมให้แห้ง

เมื่อสระผมแล้ว จึงเอาน้ำลูบตัวลูก ให้ลูกรู้สึกตัวไว้ขั้นหนึ่งก่อน แล้วจึงค่อยจุ่มขาลูกลงในอ่างน้ำ ประคองไหล่ คอ และหัวลูกไว้ ให้ลูกใช้แขนขาตีน้ำเล่นสัก 2-3 นที แล้วจึงฟอกสบู่ ล้างสบู่ออกให้หมด แล้วนำตัวลูกขึ้นจากน้ำ ห่อตัวและหัวลูกด้วยผ้าเช็ดตัวทันที เพื่อให้ตัวลูกอบอุ่น เมื่อตัวลูกแห้งแล้วให้โรยแป้งที่ แขน คอ และขาหนีบ แต่ถ้าเด็กเป็นโรคภูมิแพ้ไม่ควรใช้แป้ง ใช้สำลีพันปลายไม้เช็ดใบหูให้สะอาด แต่อย่าแหย่รูหู นุ่งผ้าอ้อมแล้วจึงใส่เสื้อผ้า

 

 

ถ้าคุณอาบน้ำให้ลูกอย่างนุ่มนวล มั่นคง ลูกก็จะไม่กลัว และชอบเล่นน้ำในช่วงอาบน้ำในที่สุด

ขอขอบคุณ ที่มา : นิตยสาร Modern Mom ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต

Written by on