ภาวะปกติในทารกแรกเกิด

ภาวะปกติในทารกแรกเกิด

ทารกแรกเกิด หมายถึง ทารกอายุ 4 สัปดาห์หลังคลอด เป็นวัยที่มีภาวะ หรือสิ่งปรกติที่ ไม่พบในวัยอื่น ภาวะหรือสิ่งปรกตินี้ อาจทำให้พ่อแม่ วิตกกังวลได้บ่อยครั้ง ที่พ่อแม่ พาทารก ไปพบบุคลากร ทางการแพทย์ ซึ่งก็ไม่ทราบว่า เป็นภาวะปรกติ และได้รับคำแนะนำ หรือการ รักษาที่ไม่จำเป็น หรือรับตัวไว้ รักษาในโรงพยาบาล หรือหาหยูกยามารักษาเอง ซึ่งอาจก่อ อันตราย แก่ทารกได้ ภาวะปรกติเหล่านี้ ไม่ต้อง ให้การรักษาใด ๆ ภาวะปรกติ ที่พบได้ใน ทารกแรกเกิดได้แก่สิ่งต่อไปนี้

การสะดุ้งหรือผวา (Moro reflex) การสะดุ้ง หรือการผวา เวลามีเสียงดัง หรือเวลาสัมผัสทารก เป็นสิ่งที่ทารกทุกคนต้องมี เพราะแสดง ถึงระบบประสาทที่ปรกติ และเป็นการทดสอบ อย่างหยาบ ๆ ว่าทารกได้ยินเสียง ทารกตอบสนองโดย การยกแขน และยกขา แบมือ และกางแขนออก แล้วโอบแขนเข้าหากัน การตอบสนอง แบบนี้พบเมื่อทารก หลับสนิท (quiet sleep) การผวา พบได้จนถึง อายุ 6 เดือน
 
การกระตุก (Twitching) หากทารกหลับ ในระดับที่ลูกตามีการกรอก (rapid eye movement) ทารกมีกระตุก เล็กน้อย ที่แขน หรือที่ขา เวลาตื่นไม่มีกระตุก ผู้ใหญ่บางครั้งก็มี การกระตุก ก่อนรู้สึกตัวตื่น เช่นเดียวกัน พ่อแม่มักพา ทารกมาปรึกษา โดยบอกว่าลูกชัก หากบุคลากรทางการแพทย์ ไม่มีความรู้เรื่องนี้ ทารกมักถูกรับ ไว้ในโรงพยาบาล

การบิดตัว
ทารกครบกำหนด มีการเคลื่อนไหว เวลาตื่นนอนคล้ายผู้ใหญ่บิดขี้เกียจ ทารกยกแขนเหนือ ศีรษะ งอ ข้อตะโพก และข้อเข่า และบิดลำตัว ลักษณะเคลื่อนไหวแบบนี้ พบในทารกที่ปรกติ และอาจพบมาก ในทารกบางคน อาจบิดตัวจนหน้าแดง

การสะอึก
อาจพบภายหลังดูดนม เนื่องจากการทำงาน ของกะบังลมยังไม่ปรกติ หรือส่วน ยอดของ กระเพาะอาหาร ที่ขยายตัวจากน้ำนม และลมที่กลืนลงกระเพาะ สัมผัสกะบังลม หากทำการไล่ลม โดยจับทารก นั่งหรืออุ้มพาดบ่าสัก 5-10 นาที ภายหลัง ทารกดูดนมจนอิ่ม แล้ว ยังมีอาการสะอึกอีก ถือว่าเกิดจากกะบังลม ทำงานไม่ปรกติ ซึ่งไม่ต้องการรักษาใด ๆ

การแหวะนม
หูรูด กระเพาะอาหาร ของทารกแรกเกิด ยังทำงานได้ไม่ดี ทำให้รูดปิดไม่สนิท มีผลให้ ทารก แหวะนม เล็กๆ น้อย ๆ หลังมื้อนม และอาจออกมาทางจมูก และปาก น้ำนมที่ออกมา อาจมีลักษณะ เป็นลิ่ม คล้ายเต้าหู้ เนื่องจากถูกกับน้ำย่อย ในกระเพาะอาหาร ซึ่งเป็นขั้นตอน ของการย่อย พ่อแม่เข้าใจผิดว่า น้ำนมไม่ย่อย และนมที่ให้ลูกไม่ดี การแก้ไขการแหวะนม คือการไล่ลม ร่วมกับการจัดให้ ทารกนอน ศีรษะสูง และตะแคงขวา หลังดูดนม ประมาณ ครึ่งชั่วโมง ท่านอนดังกล่าว หูรูดของ กระเพาะอาหาร จะอยู่สูง ทำให้น้ำนมไหลย้อนแรงดึงดูด โลก ไม่ได้

ทารกบางคน ได้รับการป้อนนม โดยปล่อยให้นอนราบ แล้วใช้ผ้า หนุนขวดนม โดยเกิดจาก ความเชื่อว่า หากอุ้มทารก และถือขวดนมให้ จะทำให้ทารก ติดมือ หรืออาจเพราะ ผู้ดูแล ไม่มีเวลา การปฏิบัติเช่นนั้น ทำให้น้ำนม ไม่ท่วมจุกนม เวลาทารก ดูดนม จะกลืนน้ำนม และลม เมื่ออิ่มแล้ว ทารกจะเรอ และแหวะ น้ำนมออกมาด้วย หากการแหวะนม เกิดขณะที่ ทารกนอนราบ ทารกอาจสูดสำลักนม เข้าปอดได้ การป้อนนม ที่ถูกต้องจะต้องอุ้มทารก ให้อยู่ในท่าครึ่งนั่ง ครึ่งนอนเสมอ และถือขวดนม ให้น้ำนมท่วมจุก นมตลอดเวลา ภายหลัง ดูดนมหมดแล้ว ต้องจับทารกนั่ง หรืออุ้มพาดบ่า เพื่อไล่ลมBaby-n5

ทารกไม่ดูดน้ำ น้ำนมมารดา มีน้ำเป็นส่วนประกอบอยู่ถึง 88% นมผงก่อนที่จะป้อนทารก ก็ต้องผสมน้ำ ในอัตราส่วน ที่พอเหมาะ เพื่อให้มีส่วนประกอบ ใกล้เคียงกับนมมารดา ทารกจึงได้น้ำ อย่างเพียงพอ จากน้ำนม และไม่ จำเป็นต้องดูดน้ำเปล่าเพิ่มเติม เพื่อแก้หิวน้ำ โดยเฉพาะ ทารกที่เลี้ยงด้วยนมแม่ การดูดน้ำ หรือการ ป้อนน้ำ เป็นสิ่งที่ต้องหลีกเลี่ยง ตามคำแนะนำ ขององค์การอนามัยโลก ที่ว่าทารกควรได้รับ นมแม่อย่างเดียว (exclu sive breastfeeding ) 4-6 เดือน หากพ่อแม่ไม่เข้าใจจุดนี้ จะวิตกกังวล ที่ทารกไม่ดูดน้ำ เวลาให้น้ำเปล่า และแก้โดย ผสมกลูโคส หรือน้ำผึ้ง เพื่อให้ทารกดูดน้ำ อันตรายของการ ผสมกลูโคส หรือน้ำผึ้ง คืออาจทำ ให้ทารกดูดนม น้อยลง เป็นเหตุให้น้ำหนักตัวขึ้น ช้ากว่าปรกติ และเกิด ท้องร่วง เพราะน้ำที่ เจือกลูโคล หรือน้ำผึ้ง อาจมี เชื้อโรคปนเปื้อน นอกจากนี้ การให้ทารกดูดน้ำเพิ่ม ไม่ได้ช่วย แก้ปัญหาทารกเหลือง แต่กลับทำให้ทารกเหลือง มากขึ้นจากการได้น้ำนมไม่พอ

การถ่ายอุจจาระบ่อย
ทารกแรกเกิด
ที่เลี้ยงด้วยนมแม่อย่างเดียว อาจถ่ายอุจจาระกะปริดกะปรอย ขณะดูดนมแม่ บิดตัว หรือผายลม จะมีอุจจาระเล็ด ออกมาด้วย ทำให้เข้าใจผิดว่า ทารกท้องเดิน เพราะอาจ นับการถ่าย อุจจาระได้ถึง 10-20 ครั้งต่อวัน อุจจาระมีสีเหลืองเข้มคล้ายสีทองคำใหม่ ๆ และ มีกลิ่นเปรี้ยว สาเหตุเกิด จากนมแม่มีนมน้ำเหลือง (colostrum) เจือปน ซึ่งช่วยระบายท้อง นมน้ำเหลือง จะหมดไปเหลือแต่ น้ำนมแม่แท้เมื่อ เข้าสู่ปลายสัปดาห์ที่ 4 หลังคลอด รักษาโดย เปลี่ยนจากนมแม่ เป็นนมผง บางรายได้ รับตัวไว้ในโรงพยาบาล เพื่อให้สารน้ำทางหลอดเลือด และงดนมแม่

การไม่ถ่ายทุกวัน ภายหลังคลอด 4 สัปดาห์
น้ำนมแม่ จะเป็นน้ำนมแท้ ที่ไม่มีนมน้ำเลืองเจือปน (transitional milk) หากทารก ยังคง ได้นมแม่ต่อไป ทารกอาจไม่ถ่ายอุจจาระทุกวัน อาจถ่ายวันเว้นวัน ผู้เขียนเคยพบ ทารกหนึ่งราย ถ่ายทุก 12 วัน โดยไม่มีอาการท้องอืด และอึดอัด ไม่อาเจียน อุจจาระออกมาเป็นก้อน เหนียวคล้ายยาสีฟันที่ถูกบีบ ออกจากหลอด ทารกที่ได้รับนมแม่ ไม่ถ่ายทุกวัน เกิดจากน้ำนมแม่ย่อยง่าย ส่วนประกอบของ น้ำนมแม่จึงถูกดูดซึม โดยลำไส้ เพื่อใช้ในการเติบโต ทำให้เหลือกาก ที่กลายเป็น อุจจาระน้อย ท้องผูก ทางการแพทย์ตัดสิน จากความแข็งของอุจจาระ ไม่ได้ดูที่ความถี่ของการถ่าย ท้องผูก หมายถึง การถ่ายอุจจาระ เป็นก้อนแข็งทั้งกอง ท้องผูกพบบ่อย ในทารกที่เลี้ยงนมผสม ชงนมไม่ถูกสัดส่วน อาจจางไป หรือข้นไป หรือใช้นมที่ไม่เหมาะกับวัยโดยให้ นมผงสำหรับเด็กโต
 
ร้องเวลาถ่ายปัสสาวะ เมื่ออายุใกล้หนึ่งเดือน ทารกบางรายเริ่มรับรู้ ความรู้สึกปวดปัสสาวะ ทำให้ทารกร้อง เหมือนมีการ เจ็บปวด ก่อนถ่ายปัสสาวะ ภาวะนี้เป็นเฉพาะเวลา ที่ทารกถ่ายปัสสาวะขณะตื่น หากถ่ายปัสสาวะขณะนอน หลับทารกจะไม่ร้อง ทารกจะไม่มีอาการถ่ายปัสสาวะเป็นหยด ๆ หรือเบ่ง อาการนี้จะหายเอง ภายใน 1 เดือน

* เรียบเรียงจากเอกสารเรื่อง "ภาวะปรกติในทารกแรกเกิด"โดยศาสตราจารย์ น.พ. เกรียงศักดิ์ จีะแพทย์ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลของบริษัท ไวเอท-เอเยิร์สท์ (ประเทศไทย) จำกัด

 

airban-300x250
0
Shares