นำเสนอสาระน่ารู้ บทความดีๆ เกี่ยวกับพัฒนาการของทารกตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 1 ปี เพื่อคุณพ่อคุณแม่จะได้เตรียมพร้อมรับมือกับพัฒนาการของลูกน้อยได้อย่างชาญฉลาด และมีสติ พร้อมที่จะแก้ไขและส่งเสริมให้ลูกน้อยมีพัฒนาการที่ดีสมวัย และสามารถเจริญเติบโตต่อไปได้อย่างมีความสุข สุขภาพแข็งแรง ร่าเริงสดใส ทาง Pstip หวังเป็นอย่างยิ่งว่าสาระความรู้ต่างๆ ในหมวดนี้จะสามารถเป็นแนวทางที่ดี สำหรับคุณพ่อคุณแม่คนใหม่นำไปปฏิบัติเพื่อลูกน้อยที่คุณรักได้อีกทางหนึ่งค่ะ

Written by on

พัฒนาการที่ควรสงสัยว่าผิดปกติ เด็กอายุ 1-3 เดือน

เด็กอายุ 1 เดือนขึ้นไป จะเริ่มตื่นขึ้นมาเล่นมากขึ้นในตอนกลางวัน กลางคืนอาจไม่ตื่นมากินนมหลังมื้อ 4 ทุ่ม กินได้มื้อละ 4-5 ออนซ์ 5-6 มื้อ มีการเคลื่อนไหวมือ แขน ขา พัฒนาการเล่นขึ้นเรื่อย ๆ จนกระทั่งอายุ 3-4 เดือน นอกจากจะเคลื่อนไหวไปมา คอแข็ง แล้วยังเริ่มหัดคว่ำ แล้วคว่ำได้ตอนอายุ 4 เดือน

พัฒนาการปกติของการเคลื่อนไหว

  • นอนคว่ำ ยกหัวขึ้นเมื่อใกล้ 4 เดือน ยันยกหน้าอกเหนือขึ้นได้
  • นอนหงาย ยืดขาออก แตะเท้าไปมาได้ มือกำและแบออกได้
  • ท่ายืน ก้าวขาวางเท้าลงบนพื้นได้ มือจับของเล่นเขย่าเล่นได้ เอามือเข้าปาก

สงสัยพัฒนาการผิดปกติมีอาการดังนี้

  • ไม่ตอบสนองต่อ การกระตุ้นด้วยเสียงดัง
  • ไม่มองมือตนเองเลย
  • ไม่ยิ้มเมื่อพูดด้วย หลังอายุ 2 เดือนไปแล้ว
  • ไม่มองตามของเล่นเมื่ออายุ 2-3 เดือน
  • ไม่ยอมจับถือของเล่นเมื่ออายุ 3 เดือน
  • คอยังไม่แข็งเมื่ออายุ 3 เดือน
  • ไม่ยื่นมือไปจับของเมื่ออายุ 3-4 เดือน
  • ไม่ทำเสียงเมื่ออายุ 3-4 เดือน
  • ไม่เอาของเข้าปากเมื่ออายุ 4 เดือน
  • ไม่ยอมเอาเท้าแตะพื้น เมื่อจับให้ยืนเมื่ออายุ 4 เดือน
  • อายุ 4 เดือนแล้วยังผวา เมื่อได้ยินเสียงดัง

พัฒนาการปกติของการเห็น

  • เมื่ออายุ 2 เดือน มองตามของเล่นโดยตา 2 ข้าง เคลื่อนประสานกันได้ประมาณครึ่งวงกลม จำสิ่งของหรือหน้าคนในระยะใกล้ได้ ใช้มือประสานกับสายตาได้ จับสิ่งของได้

สงสัยพัฒนาการผิดปกติ มีอาการดังนี้

  • ตาเคลื่อนไหวไม่ได้ทุกทิศทาง
  • ตาเขตลอดเวลา (ตาเข - บางครั้งยังนับว่าปกติ)

พัฒนาปกติของสังคมและอารมณ์

  • ยิ้มตอบกับคนรอบข้าง
  • เล่นไม่ยอมหยุดง่าย ๆ
  • อาจร้องเลียนแบบท่าทาง และการทำหน้าตา

สงสัยพัฒนาการผิดปกติ มีอาการดังนี้

  • ไม่สนใจคนแปลกหน้า หรือแสดงอาการหวาดหลัว คนแปลกหน้าหรือ สิ่งแวดล้อมใหม่ ๆ มาก

ขอขอบคุณ ที่มา : นิตยสารเรื่องผู้หญิง ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต

Written by on

Written by on

พัฒนาการที่ควรสงสัยว่าผิดปกติ เด็กอายุ 4-7 เดือน

ตอนนี้คุณพ่อ คุณแม่ คนเลี้ยงรู้จักคุ้นเคยกับลูกดี และสามารถดูเวลาให้ลูกกิน นอน อาบน้ำ พาไปเดินเล่น ตามเวลา เป็นวัยที่ลูกยิ้มเล่น เป็นช่วงที่ดูลูกมีความสุขที่สุด ถ้าไม่มีคนเล่นด้วย ลูกก็จะยกมือตัวเองขึ้นมาดู คล่ำ ท่านั่ง ก็พอพยุงตัวนั่งได้โดยใช้มือ 2 ข้างยันพื้น พัฒนาการในช่วงต่างๆ มีดังนี้

พัฒนาการปกติของการเคลื่อนไหว
  • พลิกคว่ำ พลิกหงายได้เอง จับให้นั่งพยุง ตัวด้วยมือ ยันพื้น 2 ข้างระยะสั้น ๆ
  • ยื่นมือข้างเดียวไปหยิบของ
  • ย้ายของเล่นจากมือข้างหนึ่ง ไปอีกข้างหนึ่ง
  • จับของโดยใช้นิ้วทั้ง 4-5 นิ้ว
สงสัยพัฒนาการผิดปกติ มีอาการดังนี้
  • เคลื่อนไหวแขนขาไม่คล่อง ดูเหมือนกล้ามเนื้อแข็งเกร็ง
  • ดูเหมือนอ่อนปวกเปียก ยกตัวมาอยู่ในท่านั่ง แล้วศีรษะตกไปด้านหลัง
  • ใช้มือได้ข้างเดียว
  • เอาของใส่ปากด้วยความลำบาก
  • ไม่พลิกคว่ำ หรือพลิกหงายเมื่ออายุ 5 เดือน
  • จับนั่งแล้วยังพยุงตัวไม่ได้ เมื่ออายุ 6 เดือน
  • ไม่เคลื่อนมือไปคว้าของ เมื่ออายุ 6-7 เดือน
พัฒนาการปกติของการเห็น
  • มองเห็นไกลขึ้น
  • มองตามของเล่นที่เคลื่อนที่ได้
สงสัยพัฒนาการผิดปกติ มีอาการดังนี้
  • ตาข้างหนึ่ง หรือ 2 ข้าง เบนเข้าในหรือออกนอก
  • น้ำตาไหลตลอดเวลา หรือน้ำตาไหลตอนถูกแสงจ้า
พัฒนาการปกติด้านภาษา
  • รู้จักชื่อตนเอง
  • หยุด เมื่อบอกว่า อย่า หรือ ไม่ค่ะ?
  • เริ่มทำเสียงหัวเราะเมื่อดีใจ
  • ทำเสียง อือออคุยเมื่อพบหน้าแม่
สงสัยพัฒนาการผิดปกติ มีอาการดังนี้
  • ไม่หันตามเสียง
  • ไม่หัวเราะเสียงดัง เมื่ออายุ 6 เดือน
  • ไม่ทำเสียง อือออเมื่ออายุ 8 เดือน
พัฒนาการปกติด้านความจำ
  • หาของที่ซ่อนได้
  • สำรวจด้วยการใช้มือคลำ หรือเอาเข้าปาก
  • ลูกขึ้นคว้าของเล่นที่เอื้อมไม่ถึง
สงสัยพัฒนาการผิดปกติ มีอาการดังนี้
  • ไม่ยอมให้อุ้ม
  • ไม่แสดงว่ารัก หรือจำคนเลี้ยง ได้
  • ไม่ชอบอยู่ต่อหน้าคน
พัฒนาการปกติด้านสังคม
  • ชอบเล่นกับคนรอบข้าง
  • สนใจภาพตัวเองในกระจกเงา
  • ตอบสนองต่อการแสดงอารมณ์ ของผู้อื่น เช่น เมื่อพ่อแม่หน้าบึ้ง เด็กจะหน้าสลดลง
สงสัยพัฒนาการผิดปกติ มีอาการดังนี้
  • ไม่มองตามของเล่น หรือไฟฉายที่ระยะใกล้ 30 เซนติเมตร และระยะไกล 180 เซนติเมตร เมื่ออายุ 7 เดือน
  • ไม่สนใจเล่นจ๊ะเอ้ เมื่ออายุ 8 เดือน
  • ไม่ตอบสนองต่อคนรอบข้าง

ขอบคุณ ที่มา : นิตยสารรักลูก ภาพจาก : mamaexpert

Written by on

Written by on

น้ำหนัก ส่วนสูงและพัฒนาการ ของทารกอายุ 9-12 เดือน

เด็กวัยนี้เริ่มหัดเดิน หัดก้าว แต่ยังไม่มั่นคง เด็กเคลื่อนไหวมากขึ้น และสำรวจภายในบ้านมากขึ้น บางคนอาจมีน้องใหม่ ซึ่งจะต้องเตรียมตัวให้เด็กรู้จักเรื่องการมีน้อง เมื่อน้องเกิดจะได้ไม่มีปัญหาด้านอารมณ์

น้ำหนักและความยาวโดยประมาณ
  • อายุ 9 เดือน น้ำหนัก 8 กิโลกรัม ความยาวตัว 72 เซนติเมตร
  • อายุ 10 เดือน น้ำหนัก 8.5 กิโลกรัม ความยาวตัว 73 เซนติเมตร
  • อายุ 11 เดือน น้ำหนัก 8.8 กิโลกรัม ความยาวตัว 74 เซนติเมตร
  • อายุ 12 เดือน น้ำหนัก 9 กิโลกรัม ความยาวตัว 75 เซนติเมตร

พัฒนาการ

การทรงตัวและเคลื่อนไหว เด็กสามารถนั่งได้มั่นคง คลาน เกาะยืน หัดตั้งไข่ ยืนเองได้-ชั่วครู่ เมื่ออายุ 12 เดือน จูงมือเดินได้ บางคนเดินได้เองอย่างมั่นคง

การใช้ตาและมือ เด็กใช้นิ้วหยิบของได้ เริ่มหยิบของเล็กโดยใช้ นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ได้ มองตามของที่ตกจากมือ เปิดหาของที่ซ้อนไว้ได้

การสื่อความหมายและภาษา เด็กฟังรู้ภาษาและเข้าใจสีหน้าท่าทางได้ ให้ของเวลาพ่อแม่หรือผู้เลี้ยงขอ เปล่งเสียงเลียนแบบพยัญชนะ แต่ไม่มีความหมาย

อารมณ์และสังคม วัยนี้จะเล่นจ๊ะเอ๋ได้ ตามไปเก็บของที่ตก รู้จักแปลกหน้า และร้องตามแม่ เมื่อแม่จะออกไปจากห้อง ใช้มือหยิบอาหารกินได้*การเติบโตของร่างกาย และพัฒนาการของเด็กแต่ละคนอาจเร็ว ช้าแตกต่างกันได้บ้าง หากสงสัยควรถามแพทย์

พ่อแม่ต้องเอาใจใส่ในเรื่องต่อไปนี้
  • ให้อาหารเพิ่มเป็น 3 มื้อ และบดอาหารให้หยาบขึ้นเป็นชิ้นเล็ก ๆ ที่อ่อนนุ่ม เพื่อให้เด็กหัดเคี้ยว
  • เริ่มให้เด็กถือช้อนเล็กที่ปลายมน หัดตักของข้น ๆ บ้างและให้หัดดื่มจากถ้วย
  • ให้หยิบจับเล่นสิ่งของในบ้านที่ไม่มีอันตราย
  • พ่อแม่และผู้เลี้ยงดูควรเล่นกับเด็กบ่อย ๆ พูดคุยด้วย และทำท่าทางเล่นกับเด็ก เช่น จ๊ะเอ๋ จับปูดำ แมงมุม จ้ำจี้ ตบมือ
  • ให้เด็กมีส่วนร่วมในกิจกรรมครอบครัว เช่น มีเก้าอี้นั่งร่วมโต๊ะอาหารและให้โอกาสเด็กเล่นเองบ้าง แต่ต้องมีผู้ดูแลตลอดเวลา
  • ระวังอุบัติเหตุในบ้าน เช่น พลัดตกจากบันได ปลั๊กไฟ การสำลักเม็ดผลไม้ ถั่ว และเม็ดยา
  • พ่อแม่ควรสอนเด็กให้รู้ว่าสิ่งใดควรทำหรือไม่ควรทำ โดยบอกหรือทำท่าทางให้เด็กรู้ เช่น เมื่อเด็กทำสิ่งที่ไม่สมควรควรจับตัวไว้ มองหน้าและห้าม แต่เมื่อเด็กทำสิ่งที่ดีควรจะยิ้มกล่าวชมหรือกอดตบมือ
  • ควรเว้นช่วงการมีลูกคนต่อไปประมาณ 2-3 ปี เพื่อให้แม่มีสุขภาพดีและลูกแต่ละคนได้รับการเอาใจใส่ดูแลอย่างเต็มที่
  • บันทึกน้ำหนักความยาว และพัฒนาการของเด็กลงในสมุดสุขภาพ และนำติดตัวไป เมื่อพาเด็กไปรับการตรวจสุขภาพทุกครั้ง
กิจกรรมที่คุณพ่อคุณแม่ต้องฝึกให้ลูกวัยนี้
  • หัดเคี้ยวอาหารที่หยาบขึ้น
  • หัดดื่มน้ำ ดื่มน้ำผลไม้จากถ้วย
  • หัดระเบียบ วินัย
  • หัดให้เล่นกับพี่ ๆ

ขอขอบคุณ ที่มา : นิตยสาร Modern Mom ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต

Written by on

Written by on

 

พัฒนาการที่ควรสงสัยว่าผิดปกติ เด็กอายุ 8-12

ช่วงนี้ลูกจะเคลื่อนไหวมากขึ้นทุกวัน คุณพ่อคุณแม่จะเห็นลูกพัฒนาขึ้น จนสุดจะปลาบปลื้มและท้าทาย ลูกจะเคลื่อนไหวจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง เขาจะสนุกและภูมิใจที่สามารถควบคุมการเคลื่อนไหวตามที่อยากจะไปได้ตามใจ แต่ก็ยังอยากให้มีแม่อยู่ใกล้ และแม่ก็ยังจะต้องดูแลใกล้ชิด พร้อมที่จะช่วยเหลือประคับประคองให้ลูกปลอดภัย

พัฒนาการปกติการเคลื่อนไหว หรือ การเปลี่ยนท่า

  • นั่งเองได้อย่างมั่นคง
  • คลานไปข้างหน้าได้ หรือกระเถิบไปได้
  • วางตัวในท่าคุกเข่า เอามือยันพื้นได้
  • เปลี่ยนท่าจากท่านั่งเป็นท่าคลานได้
  • เกาะยืนได้
  • เดินโดยการเกาะจับได้
  • เดิน 2-3 ก้าว ได้เอง

สงสัยพัฒนาการผิดปกติ มีอาการดังนี้

  • ยังไม่คลาน
  • ลากขาข้างใดข้างหนึ่งเวลาคลาน แสดงว่าขาข้างนั้นเคลื่อนไหวได้ไม่ดี
  • ยังไม่ยอมยืน เมื่อจับให้ยืน
  • ไม่ค้นหาของเล่นเมื่อนำไปซ่อน ในขณะที่เด็กเห็นแล้วว่าซ่อนที่ไหน
  • ไม่เรียกพ่อแม่ เมื่ออายุ 1 ปี
  • ไม่เรียนการทำท่าทาง เช่น โบกมือ บ๊ายบาย สั่นศีรษะ
  • ไม่ชี้ที่รูป หรือสิ่งของ

พัฒนาการด้านอื่นๆที่ปกติมีดังนี้

การใช้มือและนิ้ว

  • หยิบของโดยใช้นิ้วโป้งและนิ้วชี้
  • เอาแท่งเหลี่ยมมาตีกระทบกันได้
  • ใส่ของลงในกล่องได้
  • เอาของออกจากกล่องได้
  • ปล่อยของออกจากมือโดยสมัครใจ
  • เอานิ้วชี้แหย่รูได้ (ซึ่งต้องระวังอย่าให้แหย่ปลั๊กไฟ)

ด้านภาษา

  • สนใจฟังเวลาแม่พูด
  • ตอบสนองต่อคำสั่งง่าย
  • หยุดเมื่อบอกว่า ?อย่า?
  • สั่นศีรษะปฏิเสธได้เมื่อไม่ต้องการ
  • ทำเสียงที่ยังไม่มีความหมาย
  • เรียก พ่อ แม่ได้
  • พยายามพูดตามบางคำ

ด้านความจำและการเรียนรู้

  • ทดสอบของด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น เขย่า โยน หรือปล่อยของให้หล่น
  • ค้นหาของที่ซ่อนไว้ได้โดยง่าย
  • มองหรือชี้รูปได้ถูกต้องเมื่อบอกชื่อ
  • เริ่มใช้ของใช้ต่าง ๆ ได้ถูก เช่น แปรงใช้แปรงฟัน ถ้วยมีไว้สำหรับดื่มน้ำ
  • ยกโทรศัพท์มาแนบที่หู

ด้านสังคมและอารมณ์

  • ขี้อายหรือตื่นตระหนก เมื่อพบคนแปลกหน้า
  • ร้องตาม พ่อ แม่
  • แสดงให้เห็นว่า ติดคนเลี้ยงหรือชอบของเล่นเฉพาะ
  • ทดสอบว่า พ่อแม่ จะตอบสนองอย่างไร ถ้าเขาไม่กินอาหาร หรือร้องตาม
  • แสดงอาการติดแม่หรือร้องตามเสียง
  • ทำเสียงหรือแสดงท่าทาง ให้พ่อแม่สนใจ
  • ใช้นิ้วหยิบอาหารกินเอง
  • ยืดแขน ขา เวลาแม่ใส่เสื้อกางเกงให้ ใส่เสื้อผ้า

ขอขอบคุณ ที่มา : นิตยสารรักลูก ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต

Written by on

Written by on

น้ำหนัก ส่วนสูงและพัฒนาการ ของทารกอายุ 6-9 เดือน

การทรงตัวและเคลื่อนไหว เด็กอายุ 6 เดือน คว่ำและหงายได้เอง ถ้าวางในท่าคว่ำใช้ข้อมือยันตัวขึ้นได้ นั่งเองได้ชั่วครู่ ตอนแรกอาจต้องเอามือพยุงตัวไว้ ต่อมาราวอายุ 8 เดือนจะนั่งเองได้มั่นคง เมื่อจับให้อยู่ท่าจับยืนเริ่มลงน้ำหนักที่เท้าได้ ต่อมาจะซอยเท้า

น้ำหนักและความยาวโดยประมาณ
  • อายุ 6 เดือน น้ำหนัก 7 กิโลกรัม ความยาว 66 เซนติเมตร
  • อายุ 7 เดือน น้ำหนัก 7.5 กิโลกรัม ความยาว 68 เซนติเมตร
  • อายุ 8 เดือน น้ำหนัก 7.8 กิโลกรัม ความยาว 70 เซนติเมตร

การเติบโตของร่างกาย และพัฒนาการของเด็กแต่ละคนอาจเร็ว ช้า แตกต่างกันได้บ้าง หากสงสัยควรถามแพทย์หรือพยาบาล

การใช้ตาและมือ เด็กสามารถคว้าของด้วยฝ่ามือ เอื้อมหยิบของด้วยมือข้างเดียว และเปลี่ยนมือถือของได้ อายุ 8-9 เดือน เริ่มใช้หัวแม่มือและนิ้วชี้หยิบส่งของ มองเห็นทั้งไกล และใกล้ใช้สองตาประสานกันได้ดี

การสื่อความหมายและภาษา เด็กจะหันหาเสียงเรียกชื่อ พ่นเล่นน้ำลายได้ ส่งเสียงหลายพยางค์ซ้ำ ๆ เล่น หม่ำ ๆ

อารมณ์และสังคม รู้จักแปลกหน้า เด็กสามารถกินอาหารที่ป้อนด้วยช้อนเล็ก จะร้องเมื่อถูกขัดใจ และรู้จักแสดงท่าทางดีใจด้วยการ หัวเราะหรือตบมือ

พ่อแม่ควรเอาใจใส่ให้อาหารกาย และใจแก่ลูกอย่างต่อเนื่อง และปฎิบัติตามเสนอ แนะต่อไปนี้

  • ล้างมือเด็กให้สะอาด ใส่อาหารชิ้นเล็กในจาน หัดลูกให้หยิบอาหารด้วยมือ หัดถือช้อน ถึงแม้เด็กจะทิ้งบ้างกินบ้างก็ควรฝึกหัด
  • หาของเล่นที่ปลอดภัยให้ลูกหยิบจับ และเคาะเขย่าเล่น
  • ระวังเรื่องความสะอาดและของชิ้นเล็กที่อาจหลุดติดคอได้
  • ควรอุ้มให้น้อยลง เพื่อให้เด็กคืบคลาน นั่งด้วยตัวเองและหัดเกาะยืน แต่พ่อแม่ต้องดูแลโดยใกล้ชิด
  • ระวังอุบัติเหตุจากการโหนตัวยืน เหนี่ยวของ ปลั๊กไฟ การสำลักเมล็ดผลไม้ ถั่วและเม็ดยา พ่อแม่และผู้เลี้ยงดูหมั่นพูดคุยกับเด็ก ชี้ชวนให้สนใจสิ่งแวดล้อม ร้องเพลง พูดถึงสิ่งที่กำลังทำอยู่กับเด็ก เช่น อาบน้ำ กินข้าว แต่งตัว
  • ควรเว้นช่วงการมีลูกคนต่อไปประมาณ 2-3 ปี เพื่อให้แม่มีสุขภาพดี และลูกแต่ละคนได้รับการเอาใจใส่ดูแลอย่างเต็มที่
  • บันทึกน้ำหนัก ความยาวและพัฒนาการของเด็กลงในสมุดสุขภาพ และนำติดตัวไปเมื่อพาเด็กไปรับการตรวจสุขภาพทุกครั้ง

ขอขอบคุณ ที่มา : นิตยสารรักลูก ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต

Written by on