นำเสนอสาระน่ารู้ บทความดีๆ เกี่ยวกับพัฒนาการของทารกตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 1 ปี เพื่อคุณพ่อคุณแม่จะได้เตรียมพร้อมรับมือกับพัฒนาการของลูกน้อยได้อย่างชาญฉลาด และมีสติ พร้อมที่จะแก้ไขและส่งเสริมให้ลูกน้อยมีพัฒนาการที่ดีสมวัย และสามารถเจริญเติบโตต่อไปได้อย่างมีความสุข สุขภาพแข็งแรง ร่าเริงสดใส ทาง Pstip หวังเป็นอย่างยิ่งว่าสาระความรู้ต่างๆ ในหมวดนี้จะสามารถเป็นแนวทางที่ดี สำหรับคุณพ่อคุณแม่คนใหม่นำไปปฏิบัติเพื่อลูกน้อยที่คุณรักได้อีกทางหนึ่งค่ะ

Written by on

ของเล่นเสริมสร้างพัฒนาการเด็ก

ของเล่นเด็กเป็นอุปกรณ์อีกอย่างหนึ่งที่สำคัญต่อพัฒนาการของลูก การเลือกของเล่นเพื่อเสริมสร้างพัฒนาการของลูกได้ถูกต้องตามวัยเป็นสิ่งสำคัญ วันนี้เรามีคำแนะนำในการเลือกของเล่นที่เหมาะกับเด็กวัยต่างๆ มาฝากกันค่ะ ของเล่นเพื่อพัฒนาการลูกน้อยวัยแรกเกิดถึง 6 เดือน ในวัยนี้จะเรียนรู้โลกรอบข้างด้วยการมอง การได้ยิน และการสัมผัสเป็นส่วนใหญ่ โดยเด็กจะชอบวัตถุหรือสิ่งของที่มีสีสดใส เคลื่อนไหวได้ และมีเสียง ได้แก่

  • กล่องดนตรี คุณพ่อคุณแม่เลือกกล่องดนตรีที่มีเสียงนุ่มฟังสบายๆ อาจจะเปิดในช่วงเวลาที่ลูกเข้านอน จะช่วยฝึกพัฒนาการด้านการฟังเสียงของลูก เพื่อสัมผัสถึงความรู้สึก
  • โมบายล์ แขวนไว้บริเวณเหนือเตียงนอนของลูก หรือบริเวณที่สามารถมองเห็นได้ถนัดชัดเจน หากเป็นชนิดที่สามารถหมุนได้ยิ่งดีเพราะจะช่วยพัฒนาในด้านประสาทสัมผัสทางตาของลูกได้
  • ของเล่นยาง ให้ลูกนำเข้าปาก เป็นการฝึกเคี้ยว และช่วยพัฒนาทางระบบสัมผัสและการรับรู้รส ลูกน้อยจะเริ่มรับรู้ และสนใจสิ่งต่างๆ ของตนเอง
  • ของเล่นเคลื่อนที่ เช่น สัตว์นานาชนิด หรือรถไขลาน หรือรถที่ใช้มือไถไปกับพื้น ซึ่งจะช่วยฝึกกล้ามเนื้อมือ และการเคลื่อนไหวของลูกน้อยได้ดี
  • หนังสือ เลือกหนังสือที่มีภาพประกอบง่ายๆ มีสีสันสดใส เพื่อฝึกพัฒนาการการเรียนรู้ และสร้างนิสัยรักการอ่านให้กับลูก
  • ของเล่นทรงเหลี่ยม เลือกที่มีพื้นผิวเรียบเนียน นุ่ม ฝึกให้ลูกวางสิ่งของซ้อนกัน หรือบีบเล่น ขว้างปา เพื่อฝึกกล้ามเนื้อมือและนิ้วมือ
  • ของเล่นเคาะ เขย่า เป่า เด็กวัยนี้จะรู้สึกสนุกสนานที่ได้เคาะ เขย่า หรือเป่า หรือทำอย่างไรก็ได้ให้เกิดเสียง ซึ่งจะพัฒนาในด้านประสาทสัมผัสทางหู และฝึกกล้ามเนื้อมือด้วย

คุณพ่อคุณแม่ท่านไหนสนใจลองนำคำแนะนำเหล่านี้ไปใช้ดูก็ได้เลยนะคะ ไม่มีหวงอยู่แล้ว ลูกน้อยจะได้มีพัฒนาการที่ดีตามวัยค่ะ

ขอขอบคุณ นิตยสารเรื่องผู้หญิง

 

Written by on

Written by on

6 สาเหตุต้องสังเกตยามทารกร้องไห้

คุณพ่อคุณแม่หลายท่านก็สงสัยว่าลูกน้อยทำไมถึงร้องไห้กระจองอแง ซึ่งบางคนก็ไม่รู้ว่าลูกเป็นอะไรก็รีบพาลูกไปหาหมอเพื่อดูว่าลูกผิดปกติอะไรรึเปล่า และนี่อาจจะเป็นคำตอบในเบื้องต้น สาเหตุที่ทำให้ลูกน้อยร้องไห้ได้ค่ะ

แหวะนม เป็นอาการของเด็กทารกที่จะแหวะนมหลังจากกินนมเสร็จใหม่ๆ แต่ในทารกบางคนอาการดังกล่าวอาจทำให้รู้สึกไม่สบายตัวหรือเกิดทุพโภชนาการ ซึ่งถ้ารู้สึกเป็นกังวลต่ออาการของลูกก็ควรไปรับคำแนะนำจากแพทย์ได้ค่ะ

หูอักเสบ สังเกตได้จากอาการของลูกที่มักทึ้งที่หูบ่อยๆ และมีกลิ่น ตามีลักษณะบวมแดง ซึ่งอาจเป็นสัญญาณของอาการหูอักเสบที่ต้องได้รับการบำบัดจากแพทย์

เกร็ง ทารกหลายคนมีอาการคอแข็งหรือท้องเกร็งหลังคลอดเลยร้องไห้ออกมา เนื่องจากความเจ็บปวด ควรปรึกษาแพทย์เพื่อเข้ารับการบำบัดเช่นกัน

เป็นเชื้อรา หากสังเกตเห็นว่าลูกมีคราบขาวๆ ที่ลิ้น เมื่อเช็ดออกก็ไม่จางลง ให้สงสัยไว้เลยว่าอาจเป็นอาการของการติดเชื้อยีสต์ และอาจติดเป็นที่ก้นของทารกได้ด้วย ซึ่งต้องได้รับการบำบัดจากแพทย์ค่ะ

ฟันขึ้น แม้ว่าจะมองไม่เห็นฟันที่กำลังงอกออกมา แต่เด็กทารกที่อายุได้ 3 เดือน มักจะใช้มือทึ้งที่บริเวณเหงือก มีน้ำลายยืด ซึ่งอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ลูกร้องโยเยได้เหมือนกัน

คิดถึงแม่ ในวัย 6 เดือนทารกมักร้องไห้ทุกครั้งที่แม่หายตัวไป เรียกว่าเป็นความกระวนกระวายเพราะการพรากจากคนที่รัก อย่ากังวลเพราะเป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่า ลูกกำลังเติบโตและเข้าใจโลกมากขึ้น ที่สำคัญคือแม่มีความสำคัญกับลูกมากเหลือเกิน ให้พูดคุยกับลูกเรียบๆ ว่าคุณกำลังจะออกไปไหนหรือทำอะไร และจะกลับมาเมื่อใด

ขอขอบคุณ นิตยสารเรื่องผู้หญิง

 

Written by on

Written by on

ระวัง ! เขย่าตัวลูกอันตรายกว่าที่คิด

การเขย่าตัวลูกแรงๆ ไม่ว่าจะเกิดจากอารมณ์โกธร หงุดหงิด โมโห หรือความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของพ่อแม่ และ ผู้เลี้ยงทารก สิ่งเหล่านี้ อาจทำให้เกิดอันตรายกับเด็กเล็กๆได้ถ้าไม่ระมัดระวังโดยเฉพาะเด็กแบเบาะที่ มีกล้ามเนื้อคอไม่แข็งแรงไม่สามารถพยุงศีรษะตนเองได้ เพราะสมองมีความอ่อน ถ้ามีการเขย่าหรือกระทบกระเทือนอย่างรุนแรงอาจจะทำให้เนื้อสมองไปกระทบกับ กะโหลกศีรษะทำให้เกิดอันตรายและมีผลกระทบอื่นๆ ตามมา เช่น ทำให้ตาบอดหรือเกิดความผิดปกติกับดวงตา พัฒนาการช้าลงหรืออาจเป็นโรคปัญญาอ่อน เกิดอาการชัก เป็นอัมพาต จนถึงขั้นเสียชีวิตได้

ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ควรระมัดระวังไม่เล่นเขย่าตัวลูกรุนแรง หรือหมั่นดูแลผู้ใกล้ชิด พี่เลี้ยงไม่ให้เขย่าตัวลูกรุนแรง นอกจากนี้ หากลูกน้อยร้องไห้งอแง และร้องไม่หยุดง่ายๆ อาจทำให้ผู้ใหญ่โมโหง่าย ดังนั้น จึงควรพยายามควบคุมอารมณ์ และหาวิธีการให้ลูกน้อยหยุดร้องไห้ เป็นวิธีการที่ดีที่สุดค่ะ

ทำอย่างไรเมื่อลูกร้องไห้ไม่หยุด

  • พยายามอุ้มปลอบโยนและหาสิ่งของมาหลอกล่อ หรือดึงดูดความสนใจของลูก
  • หาสาเหตุที่ทำให้ลูกร้องไห้ เพราะอาจเกิดจากการเจ็บป่วยทางกายของเด็ก หรือหากลูกร้องรุนแรง และพบความผิดปกติใดๆ ควรรีบพาไปพบแพทย์
  • สิ่งสำคัญคือพ่อแม่ต้องไม่แสดงอาการหงุดหงิด และต้องไม่ทุบตีเด็ก แต่หากอดหงุดหงิดโมโหไม่ได้ ควรจะออกมาสงบสติอารมณ์ข้างนอก หรือ หาคนอื่นมาปลอบลูกแทน เพื่อให้ตัวเองได้สงบสติอารมณ์ลงค่ะ

ท่าอุ้มลูกวัยแรกเกิด -3 เดือน
การอุ้ม แม้ไม่ใช่เรื่องยาก แต่การอุ้มลูกน้อยในท่าที่ถูกต้อง นอกจากจะช่วยให้ลูกปลอดภัย และ มีความสุข ยังจะช่วยส่งเสริมพัฒนาการ ดูแลกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ให้แข็งแรง แถมการอุ้มยังเป็นสัมผัสที่แสนจะอ่อนโยน นุ่มนวล เมื่อลูกน้อยได้รับความอบอุ่นจากอกอุ่นๆ ของพ่อแม่เมื่อใด แค่นี้ลูกรักก็มีความสุขที่สุดค่ะ

ท่าอุ้มลูกวัยแรกเกิด - 3 เดือน



ท่าอุ้มลูกแนบอก ท่านี้จะช่วยให้ลูกรู้สึกอบอุ่นปลอดภัย โดยการอุ้มกระชับประคองคอ ศีรษะและหลังของลูกไว้ แล้วกอดลูกไว้ ให้ลูกอยู่บนแขนทั้งสองข้าง 



ท่าอุ้มนั่ง ใช้มือประคองช่วงอกและคอของลูกไว้ จากนั้นอุ้มลูกให้นั่งบนตักแล้วหันหน้าออก ใช้มืออีกข้างหนึ่งคอยประคองขาของลูกไว้ด้วย

ท่าอุ้มพาดบ่า ท่านี้จะช่วยไล่ลมให้ลูกสบายตัวได้ ใช้มือข้างหนึ่งอุ้มพร้อมกับประคองคอและศีรษะของลูก จากนั้นเหยียดตัวให้ศีรษะลูกซบลงที่อกและไหล่ของคุณแม่ข้างใดข้างหนึ่ง แล้วใช้มืออีกข้างคอยรองก้นลูกไว้

ขอขอบคุณ ที่มา : นิตยสารรักลูก ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต

Written by on

Written by on

ลูกวัยเบบี๋...ก็รู้จังหวะแล้วน่ะ

เพราะวารสาร The Journal Proceedings of the National Academy of Science ได้เผยแพร่งานวิจัยชิ้นหนึ่งที่พบว่า สมองลูกน้อยมีการตีความสิ่งต่างๆ ด้วยวิธีการที่มากมาย แถมยังแยกความแตกต่างของจังหวะได้อีก โดยลูกน้อยวัยแค่ 2 วัน จะรู้จักจังหวะและรับรู้เสียงสูงต่ำได้ แต่ยังไม่สามารถเคลื่อนไหวตามได้เท่านั้นเอง

โดยสมองของเด็กจะมีระบบการฟังที่เหมือนกับผู้ใหญ่ มีการตอบสนองกับจังหวะและตีความของเสียงที่ส่งมาได้ด้วย ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ควรสื่อสารหรือพูดคุยกับลูกด้วยน้ำเสียงสูงบ้าง ต่ำบ้าง ให้มีจังหวะต่างๆ สม่ำเสมอ ซึ่งจะทำให้ลูกเรียนรู้และพัฒนาด้านการฟังและภาษาได้รวดเร็ว แถมลูกยังรู้สึกสนุก ตื่นเต้นและมีชีวิตชีวา จากน้ำเสียง จังหวะและการพูดคุยที่หลากหลายของพ่อแม่

อย่าลืมนะคะ แม้เบบี๋ของคุณพ่อคุณแม่จะยังพูดไม่ได้ แต่เขาแยกแยะอารมณ์ความรู้สึกและนิสัยของผู้ใหญ่ จากจังหวะ น้ำเสียงได้ ดังนั้นเมื่อสื่อสารอะไรกับลูกไป อย่าลืมใส่อารมณ์แห่งความรักความสุขลงไปด้วยให้เต็มที่นะคะ ลูกน้อยจะได้รับรู้ถึงความรักของเราค่ะ

ขอขอบคุณ ที่มา : นิตยสารเรื่องผู้หญิง ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต

Written by on

Written by on

ชีวิตน้อยๆ ในสัปดาห์แรก

การคลอดเป็นเรื่องที่ยากสำหรับลูกน้อยพอๆ กับที่ยากสำหรับแม่ กว่าจะผ่านพ้นช่วงความลำบากในระหว่างการคลอดได้ก็กินเวลาตั้ง 4-24 ชั่วโมง (แล้วแต่ปัญหาของแต่ละคน) และเมื่อลูกคลอดออกมา ลูกก็ไม่ได้มาโดดๆ หากแต่มาพร้อมกับสีเลือดฉานของแม่ และเคลือบไขมันอยู่ตามผิวที่เรียกว่า 'เวอร์นิกซ์' (Vernix) ซึ่งช่วยหล่อลื่นให้ลูกไหลเลื่อนออกมาจากช่องคลอดของแม่ได้ง่ายขึ้น

ภาวะตกใจระหว่างคลอดของเด็ก เมื่อถูกเปลี่ยนสภาพแวดล้อมอย่างฉับพลันทันใดจากโลกที่มืด อบอุ่นและชุ่มชื้นในท้องแม่มาเป็นโลกที่สว่างไสวและมีอากาศถ่ายเทซึ่งแตกต่างกันไปอย่างสิ้นเชิง ย่อมจะทำให้ลูกน้อยของคุณตื่นตกใจอย่างที่สุด เพราะนับได้ว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพครั้งนี้เป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพครั้งใหญ่ ที่สุดในชีวิตของลูกก็ว่าได้แต่โชคดีที่ธรรมชาติเข้ามามีส่วนช่วยหลังคลอดและได้รับการดูแลจากพยาบาลจนกระทั่งมานอนในเปลอย่างเรียบร้อย ทารกก็มักจะหลับสนิทไปเป็นเวลานานโดยไม่ตื่นเลย นอกจากจะถูกรบกวนจากภายนอกเท่านั้น และส่วนมากหากจะตกใจเมื่อถูกรบกวนขณะนอน ลูกก็เพียงส่งเสียงร้องครางหรือถอนหายใจเบาๆ เท่านั้น

การฟื้นตัว เจ้าตัวน้อยจะเริ่มฟื้นตัวจากความอ่อนเพลียและความแปลกใหม่ต่อโลกภายในท้อง แม่ในระยะ 2-3 แรกนี้ ส่วนต่างๆของร่างกายน้อยๆ ของลูกพร้อมทำหน้าที่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นระบบการหมุนเวียนโลหิต ระบบการหายใจ ระบบการย่อยอาหาร การขับถ่ายของเสีย การควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย และระบบการทำงานของฮอร์โมนต่างๆ ฯลฯ ล้วนแต่สร้างขึ้นและพัฒนาอย่างรวดเร็ว เพื่อให้รับการดำรงชีวิตในโลกใบใหม่ของลูกน้อย

แรกคลอดก็มีความสามารถ ลูกที่ตัวเล็กกระจ้อยร่อยนี้หาใช่บุคคลที่ช่วยตัวเองไม่ได้อย่างที่เราคิดเห็น หากแต่ทำอะไรได้หลายอย่างลูกแรกคลอดสามารถหายใจได้ ดูดนมได้ กลืนนมลงคอได้และขับถ่ายของเสียได้ลูกสามารถกวาดสายตาไปยังสิ่งต่างๆ ได้แม้จะจับจ้องสิ่งใดสิ่งหนึ่งไม่ได้ ลูกมองเห็นได้ ได้ยิน ลิ้มรส ได้กลิ่น มีความรู้สึกบางอย่างเกิดขึ้น สามารถหันหัวไปได้เล็กน้อย และที่สำคัญลูกสามารถส่งสัญญาณเพื่อของความช่วยเหลือจากพ่อแม่ได้ (ตั้งแต่วินาทีแรกที่คลอดออกมาทีเดียว)

ทารกน้อยชอบดูดกำปั้นของตัวเองจนเสียงดัง จุ๊บๆ เป็นเวลานานๆ บางทีตั้ง 15 นาที หรือบางคนอาจจะนานกว่านั้นเสียอีก การที่ลูกดูดเสียงดังอย่างนั้นต้องใช้แรงอย่างมากจนทั่วทั้งตัวของลูกเกร็ง ไปหมด และเนื้อตัวของลูกก็จะเปลี่ยนสีไปด้วย (สีจะเข้มขึ้นเนื่องจากการไหลเวียนของโลหิตแรงขึ้น)

ขอขอบคุณ คู่มือพัฒนาการเด็ก บริษัท รักลูกแฟมิลี่กรุ๊ป จำกัด

 

Written by on

Written by on

  โรคเท้าของลูกน้อย ที่พ่อแม่ควรรู้

คุณพ่อคุณแม่ส่วนใหญ่มักจะใส่ใจในทุกเรื่องของลูกทั้งพัฒนาการสมองและร่างกาย แต่อวัยวะหนึ่งของลูกรักที่หลายคนละเลยไปคือ เท้า ซึ่ง หากเท้าน้อยๆ ทั้งสองข้างของลูก มีปัญหาตั้งแต่ยังเด็กขึ้นมาแล้ว จะทำให้รักษาได้ยากเมื่อลูกมีอายุที่มากขึ้น ดังนั้นมาทำความรู้จักกันดีกว่าว่า เด็กๆ ในช่วงวัยแรกเกิดถึง 1 ปี มีโรคที่เกี่ยวกับเท้าอะไรบ้าง

โรคเท้าปุก คือ โรคที่เท้าของเด็กจะมีลักษณะบิดและงอผิดรูปมาตั้งแต่กำเนิด โดยรูปเท้าของเด็กจะงอคล้ายๆ กับหัวไม้กอล์ฟ โดยเด็กสามารถเป็นโรคเท้าปุกได้เพียง 1 ข้าง หรือทั้ง 2 ข้างก็ได้ ซึ่งหากคุณพ่อคุณแม่สังเกตเห็นตั้งแต่เนิ่นๆ และพาลูกไปเริ่มการรักษาได้เร็วก็จะทำให้รักษาหายหรือได้ผลดีขึ้น

โรคกระดูกหน้าแข้งหรือฝ่าเท้าบิดงอผิดรูปตั้งแต่กำเนิด มีลักษณะของฝ่าเท้าที่งอผิดปกติ โดยหากได้รับการรักษาที่รวดเร็วและถูกต้องจะช่วยแก้ไขลักษณะผิดปกติได้ดี กว่า และลดการเกิดปัญหาที่ทำให้เด็กมีขายาวไม่เท่ากันได้

โรคส้นเท้าบิดงอออกด้านนอก โรคนี้จะเกิดจากเท้าของเด็กวางผิดท่าตั้งแต่อยู่ในครรภ์ของคุณแม่ ซึ่งหากลูกเป็นโรคนี้ก็จะสามารถรักษาได้ไม่ยาก ด้วยการดัดเท้าอย่างถูกต้อง

โรคเท้าแบนจากกระดูกฝ่าเท้าเรียงตัวผิดรูป ลักษณะเท้าจะโค้ง ฝ่าเท้าอาจนูนหรือแบนคล้ายลักษณะของกล้วยหอม ซึ่งหากสังเกตเห็นควรรีบพาลูกไปพบแพทย์

โรคนิ้วเท้าบิดงอหรือเชื่อมติดกัน มีลักษณะนิ้วเท้าบิดงอผิดปกติ หรือนิ้วเท้าเชื่อมติดกันกับนิ้วข้างๆ

โรคที่เกี่ยวกับเท้าในเด็กในบางโรคนั้น สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ ซึ่งวิธีการที่ดีที่สุดที่จะช่วยแก้ไขโรคเหล่านี้ คือการสังเกตเท้าลูกน้อยตั้งแต่แรกเกิด หากพบว่ามีลักษณะผิดปกติเพียงนิดหน่อย ควรรีบพาลูกไปปรึกษาแพทย์ โดยไม่ต้องรอให้ลูกโตหรือเดินได้ก่อนค่ะ

ขอขอบคุณ ที่มา : นิตยสารเรื่องผู้หญิง ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต

Written by on

Written by on

ให้ลูกน้อยนอนเตียงเด็กเถอะ

เนื่องจากมีผลวิจัยจากต่างประเทศที่ชี้ว่า การที่ลูกรักวัยเบบี๋นอนร่วมร่วมเตียงกับพ่อแม่ มีโอกาสเสี่ยงที่ลูกจะถูกทับจนหายใจไม่ออก หากผู้เลี้ยงดูเมา กินยาบางชนิด หรืออ่อนเพลียจากการทำงาน ดังนั้นจึงแนะนำให้แยกลูกน้อยไปนอนในเตียงเด็กจะทำให้ลูกปลอดภัยกว่าค่ะ

ผลการวิจัยที่ว่านี้มาจาก ภาควิชาการพัฒนาทางกายภาพและสุขภาพของทารก มหาวิทยาลัยบริสตอลและวอริกประเทศอังกฤษที่ได้ศึกษาการเสียชีวิตอย่างไม่คาดคิดของเด็กน้อยวัยทารกที่มีอายุตั้งแต่ แรกเกิดถึง 2 ปี ในแคว้นอิงแลนด์ เขตตะวันตกเฉียงใต้ โดยทำการศึกษาในช่วงระหว่างเดือนมกราคม 2546 จนถึงเดือนธันวาคม 2549 โดยทีมวิจัยได้เปรียบเทียบกรณีการเสียชีวิตของเด็กทารกเหล่านี้เป็น 2 กลุ่ม กลุ่มหนึ่งคือกลุ่มความเสี่ยงสูง จากการที่เด็กเหล่านี้มีแม่เป็นวัยรุ่น สูบบุหรี่ และมีปัญหาการเข้าสังคม อีกกลุ่มได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ

ผลจากการวิจัย ในกลุ่มเปรียบเทียบทั้งสองพบว่า พ่อแม่ที่นอนร่วมเตียงกับลูกมี 20% ในจำนวนกรณีการเสียชีวิต 80 รายนั้น ซึ่งเป็นการเสียชีวิตขณะนอนร่วมเตียงกับพ่อแม่ถึง 54% โดยส่วนใหญ่เกิดขึ้นเพราะพ่อแม่ดื่มแอลกอฮอล์ หรือกินยาก่อนเข้านอน การเสียชีวิตของกรณีเหล่านี้มี 31% ขณะที่ในกลุ่มเปรียบเทียบมี 3% นอกจากนี้หัวหน้าทีมวิจัยยังได้บอกว่า การให้ลูกนอนบนโซฟาร่วมกันมีความเสี่ยงมากกว่าการนอนบนเตียงร่วมกันถึง 25 เท่า ดังนั้นเมื่อคุณแม่ป้อนนมลูกในตอนกลางคืนแล้วก็ควรนำลูกไปนอนบนเตียงเด็ก เพื่อป้องกันปัญหาดังกล่าว

แต่แม้ให้ลูกนอนเตียงก็เกิดปัญหาได้ เนื่องจากพบว่า 1 ใน 5 ของทารกที่เสียชีวิตขณะนอนหลับบนเตียง เกิดจากมีหมอนผ้าห่ม หรือผ้าอ้อมอุดปากและจมูก คุณพ่อคุณแม่จึงควรหมั่นใส่ใจดูแล ให้ลูกนอนหงาย ไม่ให้มีผ้ามากมายบนเตียง รวมทั้งจัดเตียงลูกให้ตั้งอยู่ใกล้ๆ กับเตียงของพ่อแม่ด้วย ยิ่งจะช่วยให้สามารถดูแลลูกได้ใกล้ชิดขึ้นค่ะ

ขอขอบคุณ ที่มา : นิตยสาร Modern Mom ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต

Written by on