ระวัง ! เขย่าตัวลูกอันตรายกว่าที่คิด

ระวัง ! เขย่าตัวลูกอันตรายกว่าที่คิด

การเขย่าตัวลูกแรงๆ ไม่ว่าจะเกิดจากอารมณ์โกธร หงุดหงิด โมโห หรือความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของพ่อแม่ และ ผู้เลี้ยงทารก สิ่งเหล่านี้ อาจทำให้เกิดอันตรายกับเด็กเล็กๆได้ถ้าไม่ระมัดระวังโดยเฉพาะเด็กแบเบาะที่ มีกล้ามเนื้อคอไม่แข็งแรงไม่สามารถพยุงศีรษะตนเองได้ เพราะสมองมีความอ่อน ถ้ามีการเขย่าหรือกระทบกระเทือนอย่างรุนแรงอาจจะทำให้เนื้อสมองไปกระทบกับ กะโหลกศีรษะทำให้เกิดอันตรายและมีผลกระทบอื่นๆ ตามมา เช่น ทำให้ตาบอดหรือเกิดความผิดปกติกับดวงตา พัฒนาการช้าลงหรืออาจเป็นโรคปัญญาอ่อน เกิดอาการชัก เป็นอัมพาต จนถึงขั้นเสียชีวิตได้

ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ควรระมัดระวังไม่เล่นเขย่าตัวลูกรุนแรง หรือหมั่นดูแลผู้ใกล้ชิด พี่เลี้ยงไม่ให้เขย่าตัวลูกรุนแรง นอกจากนี้ หากลูกน้อยร้องไห้งอแง และร้องไม่หยุดง่ายๆ อาจทำให้ผู้ใหญ่โมโหง่าย ดังนั้น จึงควรพยายามควบคุมอารมณ์ และหาวิธีการให้ลูกน้อยหยุดร้องไห้ เป็นวิธีการที่ดีที่สุดค่ะ

ทำอย่างไรเมื่อลูกร้องไห้ไม่หยุด

  • พยายามอุ้มปลอบโยนและหาสิ่งของมาหลอกล่อ หรือดึงดูดความสนใจของลูก
  • หาสาเหตุที่ทำให้ลูกร้องไห้ เพราะอาจเกิดจากการเจ็บป่วยทางกายของเด็ก หรือหากลูกร้องรุนแรง และพบความผิดปกติใดๆ ควรรีบพาไปพบแพทย์
  • สิ่งสำคัญคือพ่อแม่ต้องไม่แสดงอาการหงุดหงิด และต้องไม่ทุบตีเด็ก แต่หากอดหงุดหงิดโมโหไม่ได้ ควรจะออกมาสงบสติอารมณ์ข้างนอก หรือ หาคนอื่นมาปลอบลูกแทน เพื่อให้ตัวเองได้สงบสติอารมณ์ลงค่ะ

ท่าอุ้มลูกวัยแรกเกิด -3 เดือน
การอุ้ม แม้ไม่ใช่เรื่องยาก แต่การอุ้มลูกน้อยในท่าที่ถูกต้อง นอกจากจะช่วยให้ลูกปลอดภัย และ มีความสุข ยังจะช่วยส่งเสริมพัฒนาการ ดูแลกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ให้แข็งแรง แถมการอุ้มยังเป็นสัมผัสที่แสนจะอ่อนโยน นุ่มนวล เมื่อลูกน้อยได้รับความอบอุ่นจากอกอุ่นๆ ของพ่อแม่เมื่อใด แค่นี้ลูกรักก็มีความสุขที่สุดค่ะ

ท่าอุ้มลูกวัยแรกเกิด - 3 เดือน


Baby-n7-3
ท่าอุ้มลูกแนบอก ท่านี้จะช่วยให้ลูกรู้สึกอบอุ่นปลอดภัย โดยการอุ้มกระชับประคองคอ ศีรษะและหลังของลูกไว้ แล้วกอดลูกไว้ ให้ลูกอยู่บนแขนทั้งสองข้าง 

Baby-n7-2

ท่าอุ้มนั่ง ใช้มือประคองช่วงอกและคอของลูกไว้ จากนั้นอุ้มลูกให้นั่งบนตักแล้วหันหน้าออก ใช้มืออีกข้างหนึ่งคอยประคองขาของลูกไว้ด้วย
Baby-n7-4
ท่าอุ้มพาดบ่า ท่านี้จะช่วยไล่ลมให้ลูกสบายตัวได้ ใช้มือข้างหนึ่งอุ้มพร้อมกับประคองคอและศีรษะของลูก จากนั้นเหยียดตัวให้ศีรษะลูกซบลงที่อกและไหล่ของคุณแม่ข้างใดข้างหนึ่ง แล้วใช้มืออีกข้างคอยรองก้นลูกไว้

ขอขอบคุณ ที่มา : นิตยสารรักลูก ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต

airban-300x250
0
Shares