Written by on

พระบรมธาตุเจดีย์ วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร นครศรีธรรมราช วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร ตั้งอยู่ริมถนนราชดำเนิน ตำบลในเมือง วัดพระมหาธาตุเป็นพระอารามหลวงชั้นเอกชั้นวรมหาวิหาร เดิมชื่อวัดพระบรมธาตุ เป็นปูชนียสถานที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของ ภาคใต้และประเทศไทย ตามตำนานพระบรมธาตุนครศรีธรรมราช

ตามตำนานกล่าวว่า พระบรมสารีริกธาตุเสด็จมาสู่หาดทรายแก้ว โดยนางเหมชาลาฒ และพระธนกุมาร เมื่อประมาณปี พ.ศ.๘๓๔ จึงได้สร้างพระบรมธาตุ เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ผู้ปกครองเมืองนครศรีธรรมราช จะก่อสร้างตกแต่งเพิ่มเติมอยู่เสมอ เพื่อสร้างสมความเลื่อมใสศรัทธาของประชาชน ที่มีต่อองค์พระบรมธาตุเช่น สมัยศรีวิชัยได้สร้างเป็นเจดีย์ทรงศรีวิชัย ต่อมาในรัชสมัยพระเจ้าจันทรภาณุ เมื่อประมาณปี พ.ศ.๑๗๙๐ ได้ทรงสร้างเป็นเจดีย์ทรงลังกาครอบองค์เจดีย์เดิมแบบศรีวิชัยไว้ภายใน

พระบรมธาตุเจดีย์ ประดิษฐานอยู่ภายในวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร เป็นปูชนียสถานอันเป็นที่เคารพสักการะอย่างสูงสุดของชาวนครศรีธรรมราช และชาวใต้ทั้งปวง ไม่ปรากฎหลักฐานที่แน่นอนเกี่ยวกับประวัติการสร้างตามตำนานกล่าวว่า พระเจดีย์องค์เดิมสร้างตามความเชื่อของพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน เมื่อประมาณปี พ.ศ.๑๓๐๐ สมัยอาณาจักรตามพรลิงค์ ลักษณะเป็นสถาปัตยกรรมแบบศรีวิชัย ต่อมาเมื่อได้มีการติดต่อสัมพันธ์กับพระภิกษุลังกา โดยเฉพาะในสมัยพระเจ้าจันทรภาณุศรีธรรมราช ได้นิมนต์พระภิกษุลังกามาตั้งคณะสงฆ์ในเมืองนครศรีธรรมราชเป็นการสถาปนาพระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ ในระยะนั้นพระบรมธาตุองค์เดิมชำรุดทรุดโทรมมาก พระภิกษุลังกาจึงได้ช่วยกันบูรณะปฏิสังขรณ์ให้เป็นสถาปัตยกรรมแบบลังกา โดยสร้างพระสถูปแบบลังกาครอบองค์พระเจดีย์เดิม เป็นพระสถูปทรงโอคว่ำปากระฆังติดกับพื้นกำแพงแก้ว ที่มุมกำแพงแก้วมีพระบรมธาตุจำลองประดิษฐานอยู่ทั้งสี่มุม พระพุทธสิหิงค์ เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่เมืองนครศรีธรรมราช ตามประวัติกล่าวว่า เมื่อประมาณปี พ.ศ.๑๗๙๓ พระเจ้าจันทรภาณุศรีธรรมราช ได้ยกกองทัพเรือไปตีเมืองลังกาครั้งที่ ๑ ได้พระพุทธสิหิงค์มา จึงได้ฉลองสมโภชรวมกับพระบรมธาตุเจดีย์ เมื่อปี พ.ศ.๑๗๙๓ โดยมีนางพญาเลือดขาวนำเสด็จแทนพระเจ้าจันทรภาณุจากลังกา

พระพุทธสิหิงค์ มีลักษณะทางศิลปกรรมอยู่ในตระกูลช่างแบบนครศรีธรรมราชที่เรียกกันว่า แบบขนมต้ม ประดิษฐานอยู่ในหอพระพุทธสิหิงค์ ในบริเวณวังเจ้านครเก่า ปัจจุบันเป็นศาลากลางจังหวัด เปิดให้ประชาชนได้เข้าไปสักการะบูชาในเวลาราชการทุกวัน

ในวันสงกรานต์ ชาวนครศรีธรรมราชจะอัญเชิญพระพุทธสิหิงค์แห่ไปยังสนามหน้าเมือง เพื่อให้ประชาชนได้สรงน้ำ เพื่อความเป็นสิริมงคลเป็นประจำทุกปี

ขอขอบคุณ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต

 

Written by on

Written by on

พระพุทธสิหิงค์ นครศรีธรรมราช ประดิษฐานภายในหอพระพุทธสิหิงค์บริเวณศาลากลางจังหวัด เป็นพระพุทธรูปสำคัญที่ตามตำนานกล่าวว่า พระมหากษัตริย์ลังกาโปรดให้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 700 และมาอยู่ประเทศไทยในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ปัจจุบันพระพุทธสิงหิงค์ในประเทศไทยมีอยู่ 3 องค์ คือ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร พระวัดพระสิงห์ จังหวัดเชียงใหม่ และหอพระพุทธสิหิงค์ จังหวัดนครศรีธรรมราชหอพระพุทธสิหิงค์นี้เดิมเป็นหอพระประจำวังของเจ้าพระยานคร (น้อย) ภายในหอแบ่งเป็นสองตอน ตอนหน้าเป็นที่ประดิษฐานองค์พระพุทธสิหิงค์และพระลากเงิน พระลากทอง ส่วนหอ ตอนหลังเป็นที่บรรจุอัฐิของสกุล ณ นคร

ขอขอบคุณ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต

 

Written by on

Written by on


วัดท้าวโคตร นครศรีธรรมราช
เป็นวัดเก่าแก่แห่งหนึงของเมืองนครฯ ภายในวิหารมีจิตรกรรมบนแผ่นไม้ประดับอยู่ด้านบนของวิหารทั้งสองด้าน เป็นศิลปะต้นสมัยรัตนโกสินทร์ ภายในบริเวณวัด มีเจดีย์ปรักหักพังสมัยศรีวิชีย ด้านหลังหอระฆังมีกุฏิไม้ตกแต่งด้วยลายฉลุที่งดงามน่าชมวัดท้าวโคตรเป็นวัดที่อยู่คู่นครศรีธรรมราชมานาน สมัยที่ฉันเริ่มมาอยู่ที่นครศรีธรรมราชก็ไม่ได้เห็นความพิเศษใดๆนอกจากเป็นวัดเก่าแห่งหนึ่ง มีตลาดตอนบ่ายที่มีของขายเยอะ มีขนมแบบเดิมๆให้เลือกซื้อหา ฉันมาสนใจวัดท้าวโคตรเพราะพ่อบอกว่าสมัยพ่อเด็กๆต้องมาเรียนหนังสือที่นครและได้พักที่วัดท้าวโคตรนี่เอง ความทรงจำของพ่อจึงเป็นภาพของวัดท้าวโคตรเมื่อ 70 ปีก่อน ตอนนั้นพ่อเข้ามาเรียนชั้น ม.1 - ม.3(แบบเก่า) ที่โรงเรียนวัดบูรณและโรงเรียนประจำจังหวัดชาย

พ่อบอกว่าโบสถ์หลังเก่าเป็นโบสถ์ทีพ่อคุ้นเคย ปัจจุบันข้างในมีพระพุทธรูปปูนปั้นขนาดใหญ่ซึ่งเป็นของมีมาแต่เดิม มีตู้เก็บของวางอยู่ทางซ้ายขององค์พระซึ่งพ่อบอกว่าแต่เดิมเป็นตู้หนังสือพระ ตัวโบสถ์ยังเหมือนเดิม แต่หลังคาคงบูรณะใหม่ ของเดิมเป็นหลังคาสีดำๆ ฉันพยายามถามว่าเมื่อก่อนจะเดินขึ้นโบสถ์อย่างไรเพราะจะเห็นว่าโบสถ์ตั้งอยู่บนเนิน พ่อบอกว่าจำไม่ได้ แต่ไม่รู้สึกว่าต้องขึ้นบันไดเหมือนปัจจุบัน อาจจะเป็นเนินลาดขึ้นเฉยๆ ในความทรงจำของพ่อโบสถ์อยู่ไกลจากถนนมาก เทียบกับปัจจุบันที่อยู่ชิดถนน ก็ต้องเดาว่าเดิมถนนมีขนาดเล็ก และตัวถนนอาจจะอยู่ชิดไปอีกด้านหนึ่งไม่ได้ชิดด้านวัดขนาดนี้

ภายในโบสถ์หลังเก่า พระพุทธรูปปูนปั้น หลังชิดขอบผนัง มีค้างคาวมาอยู่บนเพดานเต็มไปหมด กุฏิหลังที่พ่อเคยอยู่ ตอนนี้เป็นกุฏิเจ้าอาวาสที่ก่อสร้างใหม่แล้ว ของเดิมจะเป็นคล้ายกับกุฏิข้างๆคือเป็นไม้ มีบันไดปูน หลังที่ยังเหลืออยู่สภาพทรุดโทรมมากแล้ว พ่อบอกว่าหอฉันยังอยู่ที่เดิม

ขอขอบคุณ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต

 

Written by on

Written by on

พระวิหารสูง นครศรีธรรมราช พระวิหารสูง หรือหอพระสูง เป็นปูชยสถานที่สำคัญแห่งหนึ่งของเมืองนครศรีธรรมราช ตั้งอยู่นอกกำแพงเมืองโบราณนครศรีธรรมราชด้านทิศเหนือในบริเวณสนามหน้าเมือง ถนนราชดำเนิน เรียกชื่อตามลักษณะของการ ก่อสร้างของพระวิหารซึ่งสร้างบนเนินดินที่สูงกว่าพื้นปกติดถึง2.10 เมตร สันนิฐานว่าสร้างในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ภายในพระวิหารมีพระพุทธรูปปูนปั้นแกนดินเหนียวสร้างสมัยอยุธยาตอนปลาย

พระวิหารสูง หรือหอพระสูง ไม่ปรากฏหลักฐานแสดงประวัติอย่างแท้จริง แต่สามารถสันนิษฐานจากลักษณะของ สถาปัตยกรรม และจิตรกรรมฝาผนังว่าสร้างในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ภายในพระวิหารประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นแกนดินเหนียว สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยพุทธศตวรรษที่ 23?24 หรือในสมัยอยุธยาตอนปลาย

ขอขอบคุณ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต

Written by on

Written by on


วัดสวนป่าน นครศรีธรรมราช
อยู่ใกล้สามแยกหอนาฬิกา ภายในโบสถ์มีจิตรกรรมแบบตะวันตกงดงามมาก เป็นผลงานของ แนบ ทิชินพงศ์ ผู้มีผลงานดีเด่นด้านศิลปของนครศรีธรรมราชวัดสวนป่าน ตั้งอยู่ที่ตำบลในเมือง อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช เป็นวัดธรรมยุต สร้างเมื่อปี พ.ศ.2442 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อเดือนกันยายน พ.ศ.2525เดิมวัดสวนป่านเป็นวัดที่สำคัญวัดหนึ่ง ตั้งอยู่ในตำบลพระเสื้อเมือง

ต่อมาทางการได้ยุบเข้ารวมกับตำบลในเมือง อยู่ในเขตเทศบาลนคร จ.นครศรีธรรมราช ที่ตั้งเดิมของวัดสวนป่าน เป็นส่วนหนึ่งของบริเวณวังกษัตริย์ หรือเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช มีสภาพเป็นเนินสูงมาก่อน อันเป็นส่วนหนึ่งของภูมิประเทศ ซึ่งเดิมเรียกว่า "กระหม่อมโคก" มีลักษณะเป็นเนินสูงคล้ายภูเขาเล็กๆ ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เมื่อประมาณ 900 กว่าปีมาแล้ว กษัตริย์ผู้ตั้งเมืองใหม่ได้ปรับที่เนินนี้ให้ราบเรียบเพื่อตั้งเป็นวัง ส่วนที่ตั้งของวัดไม่ได้ปรับที่เนินให้ราบเรียบ ยังคงรักษาให้เป็นเนินอยู่ตามเดิม เพื่อใช้เป็นที่เลี้ยงช้างหลวง มีเนื้อที่ประมาณ 50 ไร่ มีโรงเลี้ยงช้างอยู่ 3 โรง จึงไม่มีผู้ใดแม้แต่ลูกหลานหรือเชื้อสายของกษัตริย์ ประสงค์จะใช้เป็นที่อยู่อาศัย เพราะความเชื่อที่ว่า ที่นี่ช้างอยู่ ช้างเกิด ช้างตาย มาก่อน คนจะไปอยู่อาศัยไม่ได้ มักจะมีอันต้องเสียชีวิตหรือไม่ก็ทำให้เดือดร้อนต่างๆ

บริเวณเนินสวนป่านจึงถูกทอดทิ้งให้รกร้างว่างเปล่าอยู่เป็นเวลานาน ต่อมาท่านเจ้าคุณพระรัตนธัชมุนี (ม่วง เปรียญ) ในสมัยรัชกาลที่ 5 เห็นว่าที่ดินบริเวณโรงเลี้ยงช้างหลวงเป็นที่รกร้างอยู่ และอยู่ใกล้กับศาลากลางจังหวัดและศาลจังหวัด ดูไม่เป็นที่เจริญตา ประกอบกับทางราชการฝ่ายอาณาจักรก็มิได้คิดที่จะใช้ที่ดินบริเวณนั้นให้เป็นประโยชน์ ท่านเจ้าคุณพระรัตนธัชมุนีจึงจัดตั้งวัดขึ้นเป็นวัดของธรรมยุตนิกาย แล้วตั้งชื่อวัดที่ตั้งใหม่ว่า "วัดสวนป่าน"

หลังจากที่เจ้าคุณพระรัตนธัชมุนี (ม่วง เปรียญ) ผู้ก่อตั้งวัดสวนป่านได้ถึงแก่มรณภาพไปเมื่อปี พ.ศ.2477 แล้ว ศิษยานุศิษย์ของท่านเจ้าคุณฯ ได้สร้างเจดีย์แบบลังกาย่อส่วนขึ้นไว้เป็นที่ระลึกถึงท่านเจ้าคุณด้วยความกตัญญูกตเวที ให้เป็นอนุสรณ์ของท่าน ซึ่งเจดีย์นี้ก็ยังคงปรากฏให้เห็นอยู่ในวัดสวนป่านตลอดมาจนถึงทุกวันนี้

วัดสวนป่านเป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้เพื่อสืบสานพระศาสนา และยังมีสถานที่สำคัญๆ ปรากฏเด่นเป็นสง่าอยู่ 2 อย่างคือ ศาลาการเปรียญ และอุโบสถ ศาลาการเปรียญ ตั้งอยู่ทางทิศเหนือ นอกจากภายนอกจะมีรูปทรงที่งดงามตามแบบศาสนสถานของไทยแล้ว ภายในยังมีพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่วัด ที่มีชื่อเรียกว่า "พระหมิด" เป็นพระพุทธรูปสำริดปางประทับยืน โดยรอบองค์พระพุทธรูปมีทองคำเปลวปิดทับซ้อนกันชั้นแล้วชั้นเล่า แสดงให้เห็นพลังศรัทธาของเหล่าชาวพุทธศาสนิกชน ที่มีต่อ "พระหมิด" พระพุทธรูปประจำวัดนี้ ส่วนอุโบสถ ตั้งอยู่ทางทิศใต้ เป็นศาสนสถานที่วิจิตรงดงามมาก ภายในมีภาพจิตรกรรมฝาผนัง ฝีมือชั้นบรมครูของเมืองนครศรีธรรมราช เพราะนอกจากจะมีภาพพุทธประวัติของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว ยังมีภาพประวัติเรื่องราวแสดงถึงความเป็นอยู่ของชาวเมืองนครศรีธรรมราชในสมัยนั้นรวมอยู่ด้วย โดยเฉพาะในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 พระองค์เคยเสด็จประทับที่วัดนี้ด้วย เนื่องในวโรกาสที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเจริญพระชนมพรรษา ครบ 80 พรรษา พระครูพิศิษฎ์คณาทร (ท่านมนต์) เจ้าอาวาสวัดสวนป่าน อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช จัดสร้างวัตถุมงคล "จตุคามรามเทพ รุ่นหัวใจเศรษฐี" (เทิดไท้องค์ราชันย์) พร้อมทั้งได้ประกอบพิธีบวงสรวงและเททองเป็นปฐมฤกษ์แล้ว ณ มณฑลพิธีหน้าวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร เมื่อวันที่ 22 ธ.ค.2549 โดยมี พระมงคลพุทธิญาณ วัดรามประดิษฐ์ เป็นประธานในพิธีเททอง นายสมศักดิ์ ขำทวีพรหม รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นประธานฝ่ายฆราวาส พระสงฆ์ 10 รูป เจริญพระพุทธมนต์ พระเกจิคณาจารย์ดังสายใต้ จำนวน 9 รูป นั่งอธิษฐานจิตภาวนา ได้แก่ หลวงพ่อชม วัดโพธิ์เสด็จ, หลวงพ่อเชื่อง วัดรัตนาราม, หลวงพ่อบุญให้ วัดท่าม่วง, หลวงพ่อชม วัดปากน้ำละแม, หลวงปู่เอื้อม วัดบางเนียน, หลวงพ่อคล้อย วัดภูเขาทอง, หลวงพ่อท้วม วัดศรีสุวรรณ, พระอาจารย์แดง วัดไร่ และหลวงปู่ไข่ วัดลำนาว พร้อมทั้งได้กำหนดพิธีพุทธาภิเษก ณ ศาลหลักเมือง ในวันที่ 16 มี.ค.2550 และพิธีมหาเทวาภิเษก ณ วิหารหลวงวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร ในวันที่ 17 มี.ค. 2550 โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อนำเงินรายได้สร้างอาคารสอนศีลธรรมและจริยธรรมวัดสวนป่าน และเพื่อถวายเป็นพระราชกุศล เนื่องในวโรกาสที่ทรงเจริญพระชนมพรรษา ครบ 80 พรรษา

ขอขอบคุณ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต

 

Written by on

Written by on

พิพิธภัณฑ์เมืองนครศรีธรรมราช ตั้งอยู่ในอาคารวีรไทย ในสวนสาธารณะสมเด็จพระศรีนครินทร์ 84 (ทุ่งท่าลาด) ถนนราชดำเนิน จัดแสดงเกี่ยวกับเมืองนครฯ ตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ถึงยุคปัจจุบัน ความรู้เรื่องชื่อเมือง ตรา 12 นักษัตร (ตราประจำเมือง) การตั้งถิ่นฐานของผู้คน การรับอิทธิพลด้านวัฒนธรรมจากต่างแดน ความสำคัญของนครฯ ในฐานะเมืองท่า ประวัติสังเขปของบุคคลสำคัญเมืองนครฯ เรื่องราวทางศาสนา เช่นศาสนสถานต่างๆ เรื่องราววิถีชีวิต วัฒนธรรม ประเพณี การละเล่น เหตุการณ์สำคัญของชาวเมืองนครฯ และนิทรรศการหมุนเวียน

ในปี 2546 เทศบาลนครนครศรีธรรมราช ได้ปรับปรุงอาคารวีรไทย และจัดทำเป้นพิพิธภัณฑ์เมือง เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้เชิงประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมของเมือง โดยได้รับความร่วมมือจากทั้งหน่วยงานราชการและเอกชน ตลอดจนประชาชนในท้องถิ่น และเมื่อเปิดทำการก็ได้กระแสตอบรับดีเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้น เพื่อให้พิพิธภัณฑ์เมืองนครศรีธรรมราชมีความสมบูรณ์ เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ประวัติเมืองและวิถีชีวิตครบถ้วน จึงได้จัดสร้างอาคารพิพิธภัณฑ์เพิ่มเติม โดยวิธีจัดแสดงด้วยสื่อทันสมัย เพื่อสร้างความน่าสนใจ ให้ผู้ชมได้เรียนรู้และจดจำได้ง่าย อันจะเป้นประโยชน์ต่อผู้ชมและบรรลุวัตถุประสงค์ของพิพิธภัณฑ์เมือง

พิพิธภัณฑ์ เมืองนครศรีธรรมราช ตั้งอยู่ที่ สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ 84 (ทุ่งท่าลาด) ถนนราชดำเนิน ตำบลนาเคียน เวลาทำการ อังคาร-อาทิตย์ (ปิดวันจันทร์) เวลา 09.00-17.00 น. โทรศัพท์ 0 7535 8261 โทรสาร 0 7535 6164

ขอขอบคุณ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต

 

Written by on

Written by on


วัดสวนหลวง นครศรีธรรมราช
ตั้งอยู่ริมถนนราชดำเนิน ตรงข้ามกับพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช อยู่ ภายในเขตเมืองพระเวียงอันเป็นเมืองโบราณ วัดแห่งนี้เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะงดงาม นามว่า สมเด็จเจ้าแม่ลาวทอง ปางอุ้มบาตร และเป็นพระพุทธรูปสำคัญในงานประเพณีลากพระในเทศกาลออกพรรษา โดยจะอัญเชิญสมเด็จเจ้าแม่ลาวทองประดิษฐานบน "นมพระ" หรือ "พนมพระ" (บุษบก) และชักลากไปทั่วเมืองเพื่อให้พุทธศาสนานิกชนได้ร่วมบุญด้วยการ ลากพระ" ตามประเพณีโบราณที่สืบทอดกันมา และพระอุโบสถในวัดสวนหลวงนั้นเป็นพระอุโบสถสมัยอยุธยา โดยมีภาพปูนปั้นฝีมือช่างท้องถิ่นเกี่ยวกับพุทธประวัติประดับอยู่ผนังภายในพระอุโบสถ

ขอขอบคุณ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต

 

Written by on