นำเสนอสาระน่ารู้ บทความดีๆ เกี่ยวกับพัฒนาการของลูกน้อยในวัยเรียน เพราะวัยนี้เป็นวัยที่ลูกๆ เริ่มเข้าสู่สังคมภายนอก ลูกๆ ของเราจะต้องเรียนรู้เกี่ยวกับการปรับตัว ให้เข้ากับสังคมภายนอกที่อาจจะแตกต่างจากที่เป็นอยู่อย่างมาก จะต้องออกไปอยู่ในสถานที่ใหม่ๆ อย่างโรงเรียน มีทั้งครูและเพื่อนๆ ที่เขาอาจจะไม่คุ้นเคย คุณพ่อคุณแม่จึงต้องเตรียมพร้อมรับมือกับพัฒนาการของลูก และความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ทั้งด้านร่างกายและจิตใจ พร้อมที่จะแก้ไขและส่งเสริมให้ลูกน้อยมีพัฒนาการที่ดีสมวัย และสามารถเจริญเติบโตต่อไปได้อย่างมีความสุข สุขภาพแข็งแรง ร่าเริงสดใส

Written by on

เรียนรู้สู่การเป็นคนรู้ใจลูกรัก

เทคนิคที่เราได้นำมาแนะนำในครั้งนี้ เป็นคำชี้แนะจากคุณหมอผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับเด็กซึ่งจะช่วยตอบปัญหาของคุณพ่อคุแม่ได้ว่าทำไมลูกถึงทำแบบนั้น ทำไมถึงทำแบบนี้ ให้กระจ่างจนหายข้องใจ และทำให้คุณเข้าถึงความคิดของลูกรักได้ดีขึ้นอีกด้วยค่ะ

เทคนิคที่ว่านี้คือการสื่อสารแบบสองทางค่ะคือถ้าคุณพ่อคุณแม่อยากรู้ว่าลูกคิดอะไรอยู่ก็ให้ถามลูกตรง ๆ อยากรู้ว่าลูกทำแบบนั้นเพราะอะไร ก็ให้ถามไปเลย ซึ่งลูกก็จะพูดออกมาให้ฟังว่าเหตุผลที่เขาต้องทำแบบนั้นเพราะอะไร เป็นวิธีที่ง่ายมาก ๆ วึ่งคุณพ่อคุณแม่อาจมองข้ามไป ถึงแม้ว่าจะสนิทชิดเชื้อกันเพียงใดแต่เรื่องของจิตใจนั้นบางครั้งบางคราวก็ไม่ใช่เรื่องที่คาดจะเดาหรือรู้ล่วงหน้ากันได้ง่าย ๆ และเพื่อให้เทคนิคนี้ได้ผลเต็มร้อยนอกจากจะถามแล้ว ขอให้คุณพ่อคุณแม่เพิ่มความพิเศษเป็นขันแอดวานซ์ใส่เข้าไปอีกนิด นั้นคือต้องฟังลูกด้วยค่ะ เป็การถามและฟังเพื่อสร้างความเข้าใจ ซึ่งจะเป็นเทคนิคพิเศษที่จะทำให้คุณพ่อคุณแม่ล่วงรู้ความในใจ ความคิด อันนำมาไปสู่พฤติกรรมที่แสดงออกมาของคุณลูก จนพัฒนาไปเป็นคนที่รู้ใจลูกมากที่สุดต่อไปค่ะ

อีกอย่างคุณพ่อคุณแม่ควรฝึกให้ลูกเป็นคนเลือก หรือตัดสินใจอะไรเป็นได้ด้วยตัวเอง ลองเปิดโอกาสให้คุณลูกได้แสดงความคิดเห็นได้บอกเล่าความรู้สึกและความต้องการ ซึ่งการเปิดโอกาสนี้จำเป็นนะคะเพราะนี่คือกระบวนการของการเติบโต เพราะเด็กที่ไม่เคยได้คิดไม่เคยได้สำรวจที่มาที่ไปของความรู้สึกของตนเองไม่เคยได้ตัดสินใจเองไม่เคยได้ทำอะไรเองนอกจากเป็นผู้รอรับคำสั่งของคุณพ่อคุณแม่ สมองของเขาก็ไม่ได้พัฒนาเท่าที่ควร ไม่ได้เรียนรู้การแยกแย่ะเหตุผล และนั่นจะทำให้เขาพลาดอะไรไปหลายอย่างในชีวิตทีเดียวค่ะ

ขอขอบคุณ นิตยสารเรื่องผู้หญิง ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต

 

Written by on

Written by on

เรียนรู้สู่วัยของลูกรัก

หากลูกของคุณอยู่ในวัย 8-12 ปี และกำลังมีนิสัยที่ก้าวร้าว เอาแต่ใจตัวเองหรือชอบทะเลาะกับคนอื่นๆ ไปทั่วแบบว่าแม้ด้วยเรื่องเพียงเล็กน้อยก็ไม่ยอมคน ชอบเอาชนะมากๆอะไรทำนองนั้น อย่าเพิ่งตกใจไปค่ะ เพราะนั่นเป็นพัฒนาการของเด็กในวัยนี้ ที่กำลังพัฒนานิสัยที่สำคัญในอนาคต นั่นคือ ทักษะการต่อรอง นั่นเอง

ดังนั้นหากไม่มีเด็กคนไหนได้รับบาดเจ็บหรือเรื่องไม่ได้บานปลายจนเกินไปล่ะก็ คุณก็ควรจะปล่อยให้ลูกได้เรียนรู้ด้วยตัวเอง อย่าคิดว่าจะเข้าไปช่วยลูกเด็ดขาด ปล่อยให้แกได้รู้จักแก้ปัญหา รู้จักที่จะเรียนรู้ในการตัดสินใจบ้าง คุณควรจะเฝ้ามองอยู่ห่างๆ จะดีกว่า เพราะอีกไม่นานลูกของคุณก็จะต้องออกไปเผชิญโลกแห่งความเป็นจริง ที่คุณเองก็ไม่สามารถที่จะโอบอุ้มและช่วยเหลือแกได้ตลอดเวลา

ขอขอบคุณ นิตยสาร เรื่อง ผู้หญิง

Written by on

Written by on

เชื่อหรือไม่..สีและดนตรีช่วยในการเรียนรู้ของลูกได้

คุณพ่อคุณแม่ทราบไหมคะว่า สีที่เป็นกลางและเป็นธรรมชาติ จะช่วยสร้างสมาธิ ขณะที่เสียงดนตรีก็สามารถส่งผลดีต่อการเรียนวิทย์ คณิต ภาษา ศิลปะ และความคิดที่สร้างสรรค์ของลูกได้วันนี้มีข้อมูลน่าสนใจเกี่ยวกับเรื่องของสีและดนตรีที่ช่วยเพิ่มศักยภาพการเรียนรู้ของเด็กค่ะ เป็นข้อมูลจากคำสัมภาษณ์ของ ผศ.ดร.อุษณีย์ อนุรุทธ์วงศ์ รองประธานโครงการจัดตั้งสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้ที่มีความสามารถพิเศษ และผู้เชี่ยวชาญด้านเด็กอัจฉริยะ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว.) ที่เผยแพร่ทางสำนักข่าวไทย เห็นว่าน่าจะเป็นประโยชน์ เลยนำมาเล่าสู่กันฟังนะคะ 

ดร.อุษณีย์ ให้คำแนะนำว่าสังคมไทยควรจะดึงศาสตร์ต่างๆ เช่นศาสตร์ด้านประสาทวิทยา หรือการศึกษาด้านสมอง เข้ามาช่วยการเรียนรู้ของเด็กให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพราะเด็กนั้นเรียนรู้จากการซึมผ่าน เห็นตัวอย่างจากความรู้สึก ประสบการณ์ แรงจูงใจ ประสาทสัมผัสหลายๆ ส่วน และพลังงานรอบตัวมากมายที่เรามองข้าม ยกตัวอย่างเช่น สีบำบัด ซึ่งสามารถนำมาใช้ในชั้นเรียน เริ่มตั้งแต่การทาสีห้องเรียน ซึ่งจะมีผลต่อการเรียนรู้ของเด็ก เช่น สีฟ้า ทำให้การเต้นของหัวใจลดลง ช่วยลดความดันโลหิต ทำให้เกิดความสงบ เกิดสมาธิ ส่งผลที่ดีต่อการเรียนรู้ นอกจากนี้ ยังมีเรื่องชุดนักเรียน เก้าอี้ โต๊ะ ซึ่งล้วนแล้วแต่มีผลต่อการเรียนรู้แทบทั้งสิ้น "อย่างเสื้อสีขาวที่ไม่เจิดจ้ามากนัก จะช่วยดึงพลังต่าง ๆ ให้ส่งผ่านมาที่สมองได้ดีขึ้น หรือห้องเรียนที่เป็นสี่เหลี่ยมจะปิดกั้นการเรียนรู้ของเด็ก ห้องเรียนที่มีความโค้งจะส่งผลดีต่อการเรียนรู้ของเด็กได้ดีกว่า ซึ่งห้องเรียนสี่เหลี่ยมนั้นสามารถแก้ไขได้โดยนำกระถางต้นไม้ไปวางไว้บริเวณมุมห้อง นอกจากนี้ยังพบอีกว่าเสียงดนตรีช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของสมอง แต่ต้องเป็นดนตรีที่มีจังหวะ ความถี่ที่พอเหมาะ ในต่างประเทศเขามีการวิจัยเสียงดนตรี จังหวะดนตรีแบบไหนส่งผลดีต่อการเรียนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษา ศิลปะ ความคิดสร้างสรรค์ ขณะที่สังคมไทยยังไม่เคยทำ ถ้าเราเข้าใจศาสตร์เหล่านี้ เวลาที่เราออกแบบโรงเรียน หรือสถานศึกษา มันจะส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กได้เป็นอย่างดี ดังนั้น การออกแบบโรงเรียน ห้องเรียนจึงต้องมีความพิถีพิถันและมีหลักการเหล่านี้เข้าไปเกี่ยวข้องด้วย จึงจะดี"

ผศ.ดร.อุษณีย์ กล่าวอีกว่า ศาสตร์ด้านการแพทย์และจิตวิทยาก็สามารถช่วยให้เด็กก้าวผ่านความยากลำบากในการเรียนรู้ได้ "มีเด็กคนหนึ่งมาปรึกษาว่าสอบตกทุกวิชา พ่อ แม่ บอกว่าเด็กดูฉลาด แต่ทำไมสอบตก พูดแล้วฟังไม่รู้เรื่อง ทำให้สันนิษฐานว่าเด็กมีปัญหาเรื่องการได้ยิน แต่พอไปตรวจวัดหูก็ปรากฏว่าได้ยินปกติ แต่เมื่อสังเกตจะพบว่าเด็กมีการรับรู้ทางการได้ยินไม่สมบูรณ์ ถ้าพูดใกล้ ๆ เห็นหน้าชัด ๆ เด็กเข้าใจรู้เรื่อง แต่เมื่อใดที่ครูหันหลังเด็กจะไม่รู้เรื่องไม่เข้าใจ สุดท้ายจึงรู้ว่าเมื่อเด็กได้รับคลื่นเสียงมาแล้วกว่าจะส่งไประบบประมวลผลของเขาช้ากว่าคนอื่นถึง 1 เท่าตัว เด็กจึงแสดงอาการออกมาเหมือนฟังได้ไม่หมด วิธีแก้ไขให้เขานั่งเรียนโต๊ะหน้า และครูต้องพูดให้ช้าลง จะเห็นว่าปัญหาการเรียนรู้ของเด็กแต่ละคนแตกต่างกัน เด็กเรียนไม่เต็มศักยภาพ เนื่องมาจากมีสิ่งปิดกั้นการเรียนรู้ของเด็ก พ่อ แม่ครู ต้องสังเกต และร่วมแก้ไข ถ้าเรานำศาสตร์ต่าง ๆ เข้ามาช่วยในการวินิจฉัยปัญหาการเรียนรู้จะทำให้เด็กเรียนรู้ได้ดีและเต็มศักยภาพมากขึ้น"

ผศ.ดร.อุษณีย์ กล่าวอีกว่าเครื่องแบบ หรือชุดนักเรียนของเด็ก ๆ ผู้ใหญ่มักคิดแทนเด็ก โดยเฉพาะโรงเรียนอนุบาล ใช้สีสันฉูดฉาด อย่างสีแดง สีม่วง ส้ม เป็นต้น ซึ่งสีเหล่านั้นไม่ใช่สีกลาง และจะไปตัดพลังการเรียนรู้ของ เด็กคนใดคนหนึ่งในชั้นเรียน ดังนั้น ชุดนักเรียน หรือสีโต๊ะเก้าอี้ ควรเป็นสีธรรมชาติอย่างสีไม้ สีนวล ๆ อย่างสีขาว ถ้าเป็นชุดนักเรียน เสื้อนั้นควรเป็นสีขาว และกางเกงเป็นสีน้ำเงิน สีเขียว หรือสีในกลุ่มเอิร์ธโทน จะช่วยในเรื่องการเรียนรู้ของเด็กได้เป็นอย่างดี

ขอขอบคุณ ที่มา : นิตยสารรักลูก ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต

Written by on

Written by on

ปัญหาที่คุณแม่ไม่ควรละเลย

เด็กๆ อาจจะมีข้ออ้างโดยการปวดหัวตัวร้อนไปเรื่อยเปื่อย ก็ต่อเมื่อเค้าไม่อยากไปโรงเรียน เพราะอาจต้องไปสอบหรือทำกิจกรรมบางอย่างที่แกไม่อยากทำเอาซะเลย...หรืออาจจะมีปัญหากับเพื่อนๆ หรือครูที่โรงเรียนก็ได้ เมื่อคุณแม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดแล้ว อย่าปล่อยให้เป็นปัญหาเรื้อรังนะคะ

คุณควรจะต้องพูดคุยกับลูกทุกวันโดยพยายามไต่ถามเรื่องราวต่างๆ ที่ลูกไปพบเจออย่างห่วงใย ย้ำ ! ว่าอย่าให้ลูกรู้สึกว่ากำลังถูกสอบสวนเด็ดขาดเชียว เพราะบางทีแกก็สะสมความเครียดมาจากที่โรงเรียนเยอะมากพออยู่แล้ว หากลูกบอกอะไรก็ไม่ควรโกรธนะคะ และหากมีปัญหาที่ต้องแก้ไขก็ควรจะต้องพูดคุยกับครูประจำชั้นเพิ่มเติม เพื่อช่วยกันทั้งสองฝ่ายจะเป็นทางออกที่ดีที่สุดค่ะ

ขอขอบคุณ นิตยสาร เรื่อง ผู้หญิง

Written by on

Written by on

โฆษณาหลอกเด็ก..เรื่องที่คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรมองข้าม

คงปฏิเสธไม่ได้ว่าปัจจุบันนี้โฆษณารุกคืบ เข้ามามีบทบาทกับชีวิตของเรามากขึ้น พร้อมกับที่ต้องตกเป็น จำเลย ของการวิพากษ์วิจารณ์ในสังคมเสมอว่า มีอิทธิพลในด้านลบกับเด็กๆ คุณสมศักดิ์ กัณหา หัวหน้าโครงการเด็กไทยรู้ทันแห่งสถาบันศิลปะวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนา (มายา) ได้แสดงความกังวลถึงผลกระทบของโฆษณาที่มีต่อเด็กๆ ทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยเทคนิคที่ใช้กันบ่อยๆ ก็คือ ให้ใช้อารมณ์เหนือเหตุผล หลอกให้รัก หลอกให้หลง มีของแถม ดูแล้วทันสมัยคุณสมศักดิ์ เล่าให้ฟังถึงผลกระทบของโฆษณาที่เห็นได้ชัดเจน อย่างเช่นในเรื่องขนมที่เด็กบริโภคกันในปริมาณมากขึ้น ซึ่งต่างจากในอดีตที่เด็กกินขนมแค่ 10% เท่านั้น และขนมที่กินก็ไม่ใช่อย่างทุกวันนี้ ฉะนั้นสารอาหารที่ไปเลี้ยงร่างกายก็จะพอเพียง แต่ปัจจุบันนี้พบว่าปริมาณขนมที่เด็กบริโภคนับได้เป็น 25% ของอาหารที่กินเข้าไปทั้งหมด ฉะนั้นสารอาหารที่มีประโยชน์ที่จะไปเลี้ยงสมองหรือร่างกายจึงลดลง 

นี่คือประเด็นที่ 1 ที่เห็นง่ายๆ เกี่ยวกับเรื่องนี้ก็คือเรื่องสุขภาพ เราจะเห็นเด็กอ้วนและฟันผุกันเยอะขึ้น ส่วนประเด็นที่ 2 ซึ่งคุณพ่อคุณแม่อาจจะยังไม่เห็นก็คือ เป็นการบังคับหรือปลูกฝังวิธีการบริโภค เช่น ต้องซื้อของยี่ห้อนี้เพราะว่าอยากได้ของแถม ไม่อยากกินแต่อยากได้ของแถมก็ต้องซื้อ แล้วพอเด็กใช้เงินแบบนี้บ่อยๆ เข้าก็ทำให้เกิดพฤติกรรมการบริโภคที่ไม่ชาญฉลาดอย่างไรก็ตาม มีผู้ปกครองจำนวนไม่น้อยแสดงความเป็นห่วงว่า การควบคุมสื่อมากๆ จะทำให้เด็กไทยไม่รู้จักคิด ซึ่งคุณสมศักดิ์แสดงทัศนะเรื่องนี้ว่าจริงๆ แล้วการที่เด็กจะคิดได้นั้นจำเป็นที่จะต้องมีทักษะ เป็นสิ่งที่จะต้องค่อยๆ ฝึกฝน บ่มเพาะ แล้ววัยของเด็กก็เป็นช่วงที่จะต้องฝึกฝน เด็กถูกรุมเร้าด้วยโฆษณาที่หลอกหรือเกินจริง โดยไม่เปิดโอกาสให้เด็กได้คิดเลยคงไม่ดี ต้องฟูมฟักเด็กก่อน แต่ถ้าเล่นมอมเมากันตั้งแต่แรกก็คงแย่เหมือนกัน เขาก็อาจจะบอกได้ว่า ถ้าทำอย่างนี้มันก็ไม่ต้องขายของกันพอดีสิ แต่ประเทศอื่นเขาก็ยังมีวิธีการโฆษณาที่สร้างสรรค์กว่านี้ ไม่ใช่หลอกขายของ

กฎหมายสื่อเด็กสำหรับเด็ก : สิ่งสำคัญที่ควรพิจารณา คุณสมศักดิ์กล่าวว่า ในต่างประเทศมีกฎหมายควบคุมโฆษณาอย่างชัดเจน โฆษณาหลายประเภทอย่างเช่นที่ใช้พรีเซ็นเตอร์คนดังที่เด็กรักมาถือสินค้าโฆษณาหรือเชิญชวนเด็กๆ หรือโฆษณาที่เน้นของแถมมากกว่าตัวสินค้าล้วนถูกห้ามอย่างเด็ดขาด โฆษณาพวกที่ใช้อารมณ์เหนือเหตุผล หลอกให้รัก หลอกให้หลง มีของแถม ถ้าใช้มาตรฐานของต่างประเทศมาวัดคงไม่ผ่าน โดยเฉพาะมาตรฐานเรื่องความถี่ รายการเด็กหนึ่งรายการไม่สามารถโฆษณาสินค้าชิ้นหนึ่งซ้ำได้เกิน 4 ครั้ง แต่บ้านเราทำไมไม่มีใครเข้ามาดูแลเรื่องนี้เลย เพราะฉะนั้นรัฐบาลเองก็น่าจะเข้ามาตรวจสอบ รัฐบาลอาจจะบอกว่าสินค้าพวกนี้ในแง่ของตัวสินค้าไม่มีปัญหา ไม่มีอันตราย แต่ WHO (World Health Organization) บอกว่าเมื่อบริโภคในระยะยาวจะทำลายสุขภาพ แต่ถ้าบริโภคต่อหน่วยยังไม่เห็นผลสิทธิเด็กข้อหนึ่งก็คือเด็กจะต้องได้รับสิทธิในการรับข่าวสารที่เป็นประโยชน์และป้องกันจากข่าวสารที่ไม่เป็นประโยชน์ ต้องมีการเลือกข่าวสาร แต่สำหรับประเทศไทยกฎหมายที่ใช้ควบคุมโฆษณาเด็กกับผู้ใหญ่ยังเป็นฉบับเดียวกันอยู่เลย ซึ่งคงเป็นเรื่องที่รัฐบาลต้องมาพิจารณาว่าเด็กต้องได้รับการคุ้มครองไหม? ถึงเวลาหรือยังที่จะถามว่าจะใช้กฎหมายฉบับเดียวกันหรือคนละฉบับ?อย่างไรก็ตาม เมื่อยังไม่มีใครตอบคำถามเหล่านี้ได้อย่างเต็มปากเต็มคำ บทบาทสำคัญที่สุดตอนนี้ก็คงอยู่ที่พ่อแม่ ที่จะช่วยควบคุมและเลือกสรรสื่อที่เหมาะสมให้ลูกด้วยตัวเอง...เสียงจากคนทำงานโฆษณาคุณปารเมศวร์ รัชไชยบุญ นายกสมาคมโฆษณาแห่งประเทศไทย ในฐานะตัวแทนทางฝั่งฟากผู้ทำงานโฆษณา กล่าวยอมรับว่าโฆษณาหลอกเด็กนั้นมีจริง แต่โฆษณาต้องผ่านทางหลักเกณฑ์ของการตรวจพิจารณาด้วย ในขั้นตอนของการตรวจก็มีทั้งภาครัฐและภาคเอกชนร่วมมือกัน ถ้าเป็นเรื่องของขนมของขบเคี้ยว ขบวนการก็เริ่มที่ อย.(องค์การอาหารและยา) จากนั้นเอกชนก็จะร่วมกับทางสถานีโทรทัศน์ต่างๆ ในการตรวจพิจารณาภาพยนตร์ทั้งก่อนและหลังผลิต แล้วในด้านของการคุ้มครองผู้บริโภค หรือ Consummer Protection สคบ.(สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค) ก็ดูแลอีกครั้งหนึ่งว่ามีอะไรผิดพลาดหรือเปล่า

คุณปารเมศวร์กล่าวเพิ่มเติมว่า โจทย์และหน้าที่อันแรกของโฆษณาก็คือ การตอบเป้าหมายทางการตลาด โดยไม่ละเลยถึงจรรยาวิชาชีพ ซึ่งทางสมาคมได้ย้ำเตือนกับผู้ประกอบการอยู่ตลอด โฆษณาที่ดีสร้างสรรค์สำหรับเด็กและครอบครัวก็มีอยู่ อย่างเช่นโฆษณาที่สนับสนุนสถาบันครอบครัว โฆษณารณรงค์เชิญชวนหรือเตือนให้แปรงฟัน หรือเตือนให้ดูแลสังคม ซึ่งเป็นคนละแนวกับโฆษณาขายสินค้าคุณปารเมศวร์ ย้ำว่าการป้องกันที่ดีที่สุด ก็คือ การปลูกฝังเรื่องของค่านิยมและเรื่องของการรับผิดชอบ โดยเริ่มตั้งแต่พ่อแม่ไปเลย
สสส. (สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ) เคยบอกว่ามีพ่อแม่ออกมาเรียกร้องว่า ลูกชายคนเดียวกินแต่น้ำอัดลมแล้วก็ขนมหวานจนฟันผุไปทั้งปาก คำถามคือใครผิดล่ะครับอันนี้? ..... เป็นหน่วยสังคมที่อยู่ใกล้กับเด็กที่สุดไม่ใช่เหรอครับ

ผมไม่ได้พูดว่าขนมเป็นของดี แต่เราทุกคนถ้าบอกว่าไม่เคยกินขนมเนี่ย ... ผมก็ว่าโกหก กินขนมแต่ก็เห็นออกมาเป็นคนดีกันได้ทั้งนั้นใช่ไหมครับ ผมว่ามันอยู่ที่การรู้จักประมาณว่ายังไงคือความพอดี หน่วยสังคมก็ต้องรับผิดชอบกันด้วย ผมก็เป็นพ่อและผมก็เคยกินขนม แต่เราก็ต้องรู้ด้วยว่าความพอดีอยู่ตรงไหน ผมเห็นด้วยกับทาง อย. ในการที่จะทำเรื่องเด็กไทยไม่กินหวาน คือให้รู้กันว่าภัยพวกนี้มันเป็นอย่างไร แต่ถ้าจะพูดว่าโฆษณามีอิทธิพลมากขนาดนั้น ถ้าทางด้านของ สสส. มีเงินอยู่ ทำไมไม่ทำแคมเปญรณรงค์สร้างจิตสำนึกกับพ่อแม่ผู้ปกครองให้หันกลับมาดูแลลูก เพราะถ้าบอกว่ายุ่งมากปล่อยลูกให้อยู่หน้าจอแล้วให้ทีวีเลี้ยงลูก ผมคงต้องบอกว่าความรับผิดชอบส่วนหนึ่งก็ต้องเป็นของพ่อแม่ในเรื่องของการเรียกร้องให้ออกกฎหมายควบคุมสื่อโฆษณาสำหรับเด็กโดยเฉพาะ คุณปารเมศวร์แสดงความเห็นว่า ในเรื่องของจรรยาวิชาชีพการทำงานในวงการโฆษณา สมาคมโฆษณาไม่สามารถรับผิดชอบอะไรได้ทั้งหมด มีโฆษณาบางตัวที่ผู้ประกอบการทำเองหรือทำร่วมกับบริษัทโปรดักชั่นเฮ้าส์ ทำกับบริษัทโฆษณาเล็กๆ โดยเป็นบริษัทเหล่านี้ไม่ได้ขึ้นกับสมาคมโฆษณา สมาคมพยายามเคร่งครัดมากขึ้น มีการประชุมกันตลอดเกี่ยวกับเรื่องนี้ แต่มันมีอีกมากนักที่ทำกันเองโดยที่ไม่แน่ใจว่าไม่รู้หรือตั้งใจที่จะทำให้ผิด บิดเบือน ผมพยายามพูดกับสมาชิกของสมาคมตลอดว่าเราก็เคยเป็นเด็กมาก่อน แล้ววันนี้เราก็เป็นพ่อเป็นแม่กันแล้ว เรามีหน้าที่ที่จะต้องรับผิดชอบต่อสังคมในฐานะที่เราเป็นผู้ประกอบการด้วย

คุณปารเมศวร์เสนอแนะ สสส. ให้ทำแคมเปญรณรงค์สร้างจิตสำนึกให้พ่อแม่ เพื่อให้มีความรับผิดชอบมากขึ้น ดูแลลูกมากขึ้น ซึ่งน่าจะเป็นวิธีที่ช่วยได้มากอีกทางหนึ่ง
อย่างที่ผมบอกว่าถ้าคุณปล่อยให้ลูกดูทีวีแล้วกินขนมกับน้ำอัดลมจนฟันผุคุณก็เป็นพ่อแม่ที่ไม่ได้รับผิดชอบเท่าไหร่นัก เพราะนี่คือการรักลูกที่ไม่ถูกทาง ดังนั้นก็อย่าโทษคนอื่นเลย ฟังแล้วคุณพ่อคุณแม่คิดอย่างไรกันบ้างคะ

ข้อมูล จาก นิตยสารดวงใจพ่อแม่

Written by on

Written by on

วิธีเสริมสร้างความภูมิใจในตนเอง (Self-esteem) ให้กับลูกของคุณ

ความภูมิใจในตนเอง (Self-esteem) เป็นสิ่งสำคัญ ที่มีอิทธิพล ต่อแนวคิด ในการ ดำเนินชีวิต แต่คุณรู้ไหมว่า ความภูมิใจในตนเอง เป็นสิ่งที่ต้องค่อยๆ สร้างสมมา ตั้งแต่เด็ก เด็กที่มีความภูมิใจในตนเอง รู้ในคุณค่าของตนเองจะเป็น เด็กที่มี ความมั่นใจ สามารถแก้ปัญหา ปรับตัว หรือ อดทนต่อ ความกดดัน ความเครียด และข้อขัดแย้งในชีวิตได้ดี เขาสามารถยิ้ม ให้กับชีวิตได้ และ เป็นคนมองโลกในแง่ดีในทางกลับกัน เด็กที่ขาดความมั่นใจ และ ความภูมิใจในตนเอง มักจะเป็น คน วิตกกังวล เกิดความเครียด ต่อปัญหาต่างๆ ที่ผ่านมาในชีวิตได้ง่าย ไม่สามารถหา ทางแนวคิด ที่เหมาะสมต่อปัญหาต่างๆ เด็กเหล่านี้ มักมีความคิด เกี่ยวกับตัวเองว่า "เราเป็นคนไม่เก่ง" หรือ "เราไม่เคยทำอะไรถูกเลย" เด็กมักจะมีลักษณะเงียบๆ ไม่ค่อยมีเพื่อนฝูง หรืออาจจะเก็บกดได้แล้วเราในฐานะพ่อ แม่ หรือ ผู้ปกครอง จะปลูกฝัง และ เสริมสร้างความมั่นใน และ ความภูมิใจให้กับเด็กๆ ของเราได้อย่างไร

ความภูมิใจในตนเอง (Self-esteem) คือ อะไร

ก่อนที่เรา จะเสริมสร้าง ความภูมิใจในตนเอง ให้กับเด็ก เรามีรู้จักกับคำว่า ความภูมิใจ ในตนเอง กันก่อน คำจำกัดความของความภูมิใจในตนเอง ทางการแพทย์นั้น คือ "ความเชื่อ หรือ ความรู้สึก ที่มีต่อตัวเอง ซึ่งมีอิทธิพลต่อ พฤติกรรม เจตคติ และแรงจูงใจในการดำเนินชีวิต" เป็นสิ่งที่น่าสนใจว่า การจะก่อให้เกิด ความภูมิใจ ในตนเองนั้น จะต้องสะสม ความรู้สึก ทีละเล็ก ทีละน้อยตั้งแต่เด็ก เราไม่สามารถ สร้างความรู้สึก ได้ในเวลาอันรวดเร็วการสะสม ความรู้สึกต่อตัวเองนั้น เริ่มตั้งแต่ อายุขวบปีแรก เด็กจะเริ่มสะสม ความรู้สึกว่า "ตัวเองทำได้" โดยที่เขาไม่รู้ตัว เช่น การที่เขาสามารถ พลิกตัวนอน คว่ำได้ หลังจากที่ พยายามมาเป็นสิบสิบครั้ง หรือ การที่เขาสามารถ บังคับช้อน ตักอาหารเข้าปาก ได้ด้วย ตนเองทุกครั้งที่กินอาหาร พฤติกรรมเหล่านี้ จะเป็น ตัวสอนให้เขามีความรู้สึกว่า เขาประสบความสำเร็จ และสอนตัวเองว่า "เราทำได้ ถ้าเราพยายาม" จากนั้น เขาจะเริ่มพัฒนา จริงจังเมื่ออายุ 3-4 ปี เขาจะเริ่มรับรู้ ถึงความรู้สึกชนิดต่างๆ สำรวจ ความคิดนั้น และสะสมความคิดจนได้ข้อสรุป ตกผลึก ออกมาเป็นความรู้สึกโดยรวม ต่อตนเอง แต่ในความเป็นจริง

เมื่อเด็กพยายามทำสิ่งหนึ่ง แล้วทำไม่ได้ พยายามใหม่ ทำไม่ได้ พยายาม ต่อไป เรื่อยๆ จนทำได้ในที่สุด จะเป็นการก่อกำเนิดความคิดต่อตนเอง และ รู้ถึงความ สามารถของตัวเอง นอกจากการเรียนรู้ จากการกระทำของตนเองแล้ว เด็กก็จะเรียนรู้ ความภูมิใจในตนเอง จากคนรอบข้างด้วย ด้วยเหตุนี้ พ่อแม่ และ ผู้ปกครอง จึงมี อิทธิพลต่อการ พัฒนาความภูมิใจในตนเองของเด็กความภูมิใจในตนเอง จะต้องเกิดควบคู่ไปกับความรัก จะมีเพียงอย่างหนึ่ง อย่างใดไม่ได้ เด็กที่มีความภูมิใจในตนเอง สามารถทำสิ่งต่างๆ ได้ประสบ ความสำเร็จ แต่ขาด ความรัก ในที่สุดเขาก็จะหมดความภูมิใจในตัวเอง ส่วนเด็ก ที่ได้รับความรัก แต่ไม่ภูมิใจในตนเอง ทำอะไรไม่ค่อย ประสบ ความสำเร็จ ก็จะ ไม่รักตัวเอง ดังนั้น ความภูมิใจ และ ความรักจึงต้องมีอยู่ด้วยกันอย่างสมดุลเปรียบเทียบลักษณะของ เด็กที่มีความภูมิใจในตนเอง กับ เด็กที่ขาดความภูมิใจในตนเองการสะสมความภูมิใจในตนเอง จะเริ่มสะสมมากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อเด็กโตขึ้น โดยขึ้น กับสถานการณ์รอบข้าง และสิ่งต่างๆ ที่ผ่านเข้ามาในชีวิต ความรู้สึก ภูมิใจจะมีช่วงๆ ภูมิใจมาก ภูมิใจน้อย เปลี่ยนแปลงไปมา พ่อแม่ และ ผู้ปกครอง จึงจำเป็นต้องเรียนรู้ ที่จะสังเกต ลักษณะของเด็กว่า ช่วงไหนเขาเป็นอย่างไร เขามีความภูมิใจในตนเอง และมีความรู้สึกต่อตัวเอง อยู่ในระดับใด

เด็กที่ขาดความภูมิใจในตนเอง จะไม่ชอบเรียนรู้ หรือ ทดลอง ประสบการณ์ ใหม่ๆ เขามักจะพูดเกี่ยวกับตัวเองในทางลบ เช่น เราเป็นคนไม่เก่ง เราเป็นคน ไม่ฉลาด เราไม่สามารถทำสิ่งนี้ได้ ไม่มีใครมาสนใจเรา ฯลฯ เด็กจะมีความ อดทนต่อความกดดันน้อย ไม่มีความพยายาม ยอมแพ้ได้ง่าย หรือมักชอบ ให้คนอื่นมาทำ แทนตนเองส่วนเด็กที่มีความภูมิใจในตนเอง จะมีความรู้สึกมั่นใจ ชอบพบปะผู้คน มีความสุข ที่จะได้ร่วมกิจกรรมกลุ่มกับเพื่อนๆ หรือผู้ใหญ่ ในขณะเดียวกันเขา ก็สามารถอยู่ คนเดียวได้ โดยที่ไม่มีความรู้สึกว่าต้องพึ่งพา เช่น สามารถกิน อาหารคนเดียวได้ เป็นต้น เด็กจะชอบทดลอง ค้นหาสิ่งใหม่ๆที่เขาสนใจ เมื่อมีความท้าทายเข้ามา เขาจะคิดหาทางแก้ปัญหา หรือทางออก ถ้าจะสังเกต คำพูดบางคำ ก็จะรู้ถึงความมั่นใจ ในตนเอง เช่น แทนที่เขาจะพูดว่าฉันทำไม่ได้ ก็จะพูดว่าฉันจะหาทางอย่างไร เพื่อที่ จะทำให้ได้ เขาจะรู้ถึงจุดเด่น และ จุดด้อย ของตนเอง และยอมรับมันได้ .. อ่านต่อหน้าสอง


บทบาทของพ่อแม่และผู้ปกครอง จะช่วยได้อย่างไร มีข้อแนะนำดังนี้

พูดให้กำลังใจเด็กอย่างสร้างสรรค์ เด็กๆ นั้นมักจะมีความรู้สึกอ่อนไหวได้ง่าย ต่อคำพูดของพ่อแม่ คุณต้องพูดจา ชมเชยลูกไม่เพียงแต่เมื่อลูก ประสบความสำเร็จ แต่ควรจะพูดส่งชมเชยลูกด้วย เมื่อลูก ได้ใช้ความพยายามของตนเอง (แต่ไม่ประสบความสำเร็จ) ยกตัวอย่างเช่น เมื่อลูกแข่งกีฬาแต่ไม่ชนะ พยายามเลี่ยงคำพูดว่า "คราวหน้าซ้อมให้หนักขึ้นนะลูก" แต่ควรจะพูดว่า "ถึงแม้ว่าลูกจะไม่ชนะ แต่แม่ก็ภูมิใจในความพยายามของลูก" เราควรพูดชมเชย ต่อความพยายามของลูก มากกว่า พูดถึงผลลัพธ์ที่ออกมา การพูด ชมเชยนั้น ต้องพูดออกมาจากใจ เด็กจะรับรู้ได้ว่า คุณพูดออกมาจากใจ หรือ พูดเกินจริง

ทำตัวเป็นแบบอย่างที่ดีแก่เด็ก ถ้าคุณเป็นคนเกรี้ยวกราด เจ้าอารมณ์ มองโลกในแง่ร้าย หรือ ขาดความภูมิใจ ในตนเอง เด็กก็จะเลียนแบบพฤติกรรมของคุณ อย่างแน่นอน ดังนั้น คุณจะต้องสำรวจ ตนเองว่า คุณเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ลูกๆของคุณหรือไม่

สังเกตและแก้ไขความรู้สึกที่ผิดๆของเด็ก เป็นบทบาทสำคัญของพ่อแม่ และ ผู้ปกครองที่จะสังเกตว่า เด็ก หรือลูกๆ ของคุณ มีความรู้สึกต่อตนเองเป็นอย่างไร ความรู้สึกที่ผิดๆ บางอย่าง ถ้าไม่ได้รับ การแก้ไข ในทางที่เหมาะสมแล้ว อาจจะฝังลึก กลายเป็นความรู้สึกถาวรได้ เช่น ถ้าเด็กสามารถ เรียนที่โรงเรียนได้ดี ยกเว้นแต่วิชาคณิตศาสตร์ เด็กอาจจะพูดว่า "เขาไม่สามารถ คิดเลขได้ เขาเป็นเด็กโง่" ความรู้สึกเช่นนี้ ไม่เพียงแต่เป็นความคิดที่ผิด แต่อาจจะ เป็นการฝังราก ของความรู้สึกล้มเหลว และขาดความภูมิใจในตนเองได้ คุณจะต้องพูด กับเด็กให้เขารับรู้ ถึงแง่คิดในการมอง ที่ถูกต้อง การตอบสนองต่อสถานการณ์ ข้างต้น อาจจะเป็นว่า "ลูกสามารถเรียนวิชาอื่นๆ ที่โรงเรียนได้ดี เลขเป็นเพียงวิชาหนึ่ง เท่านั้น ไม่ได้หมายถึงทั้งหมด ลูกไม่ได้เป็นเด็กไม่ฉลาด เพียงแต่ว่า ลูกต้องให้เวลา ทำการบ้านในวิชาเลข และ ทบทวนบทเรียนให้มากขึ้นเท่านั้น"

ให้ความรักให้พอเพียง การให้ความรัก เป็นสิ่งที่สร้างความภูมิใจแก่ตนเองอย่างแน่นอน การกอด สัมผัส พูดชมเชย พูดว่าคุณภูมิใจในตัวเขา เป็นสิ่งที่ควรทำ แม้ว่ามันอาจจะ ไม่ได้เป็นวัฒนธรรมเดิมของคนไทยเราก็ตาม แต่เป็นสิ่งที่ดี ที่ควรทำโดย เฉพาะกับลูกๆของคุณ และอย่าลืมอย่างที่บอกเอาไว้ว่า ต้องทำออกมาจากหัวใจ อย่าทำเกินจริง เพราะเด็กสามารถรับรู้ได้

ให้การตอบสนองต่อพฤติกรรมอย่างถูกต้อง การตอบสนองต่อ พฤติกรรมของลูกๆ จะเป็นตัวสะท้อน ถึงผลของการกระทำ ของเขา การตอบสนองที่ดี จะทำให้เขารับรู้ว่า การกระทำนั้นๆเป็นสิ่งที่ดี เช่น เมื่อลูกคุณไปทะเลาะกับเพื่อน แทนที่คุณจะบอกลูกว่า "ห้ามทะเลาะกับเพื่อนอีกนะลูก การทะเลาะเป็นนิสัยของเด็กเกเร" เด็กอาจจะ รู้สึกว่าเขาไม่ดี ไม่สามารถควบคุมตนเองได้ คุณอาจจะพูดว่า "ลูกทะเลาะกับ เพื่อนมา แต่แม่ก็เห็นว่า ยังดีที่ลูกไม่ได้ลงมือ ลงไม้กัน" การพูดเช่นนี้ เหมือน เป็นการให้รางวัลแก่เด็ก ว่าเขาสามารถควบคุมตนเอง และ เลือกทางออก ที่เหมาะสมได้ และจะสามารถเลือกได้อีก เมื่อเกิดเหตุการณ์ซ้ำในคราวต่อไป

สร้างบรรยากาศที่ดีในบ้าน เด็กที่รู้สึกว่า อยู่บ้านแล้วไม่มีความสุข หรือ รู้สึกไม่ปลอดภัย จะมีระดับ ความภูมิใจในตนเองต่ำ บ้านที่พ่อแม่ทะเลาะกันบ่อยๆ จะทำให้ลูกๆ เป็นเด็ก เก็บกด ดังนั้นคุณควรสร้างบรรยากาศในบ้านให้ดี ปรองดองกัน เมื่อมีข้อขัดแย้ง ในชีวิตคู่ ควรจะหาสถานที่ที่มิดชิดพูดคุยกัน ไม่ควรทะเลาะกันต่อหน้าเด็กๆ นอกจากนั้น คุณต้องสังเกตว่าลูกคุณ มีความสุขที่โรงเรียนด้วยหรือไม่ สังเกตว่า ตามแขนขา มีรอยฟกช้ำจากการโดนทำร้ายร่างกายหรือเปล่า

ส่งเสริมให้เด็กได้เข้าร่วมกิจกรรมที่สร้างสรรค์ กิจกรรมที่เสริมสร้าง การทำงานเป็นทีม ทำงานร่วมกัน เพื่อประสบ ความสำเร็จ จะเป็นกิจกรรมที่ดี ในการสร้างความมั่นใจ และ ความภูมิใจ ในตนเอง เช่น กิจกรรมที่ให้พี่สอนน้องอ่านหนังสือ จะเป็นผลดีต่อ ความภูมิใจ ในตนเองทั้งสองฝ่าย เป็นต้น ส่วนกิจกรรมที่เน้นการแข่งขัน และ ผลลัพธ์ของ การแข่งขัน จะไม่ค่อยเป็นผลดีนัก เพราะจะทำให้เด็กเคร่งเครียดจนเกินไป

จากข้อแนะนำ ที่กล่าวมานี้คงจะเป็นแนวทางให้ คุณได้สังเกต และ เสริมสร้าง ความภูมิใจในตนเอง ให้กับลูกๆหรือเด็กๆของคุณ แต่ถ้าเกินความสามารถ ของ คุณในการแก้ไข คุณสามารถพาเด็กไปพบจิตแพทย์เด็ก จิตแพทย์ จะซักประวัติ เด็ก และ พ่อแม่ มีการทดสอบเพื่อให้ทราบว่า เด็กคิดอย่างไร และอะไร เป็น สาเหตุ ที่ทำให้เขามีความภูมิใจในตนเองต่ำ และ สามารถสร้างกิจกรรม ในการแก้ไขที่เหมาะสม ทำให้เด็กมองโลกในแง่ของความเป็นจริง มองโลก ในแง่ดี และรักตัวเอง

ขอขอบคุณ ที่มา : นิตยสารรักลูก ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต

Written by on

Written by on

การดูแลลูกวัยเรียน (7-9 ปี)

หลักการดูแลลูกในวัยเรียนให้รับประทานอาหาร พักผ่อน ออกกำลังกาย และรักษาความสะอาด

เด็กวัยเรียนซึ่งร่างกายเริ่มพัฒนาเป็นวัยรุ่นตอนต้น เด็กรับผิดชอบมากขึ้น ชอบเล่นกับเพื่อนเพศเดียวกัน เริ่มมีเพื่อนสนิท วัยนี้ยังปฎิบัติตามคำสั่งของผู้ใหญ่และกฎเกณฑ์ ชอบการชมเชย พ่อแม่ต้องดูแล เรื่องการรับประทานด้วย ให้เขาได้รับอาหารให้เพียงพอกับ ความต้องการของร่างกาย เพราะมีการใช้กำลังงานมาก ให้ลูกกินอาหารครบ 5 หมู่ เด็กอาจจะชอบรับประทานอาหารพวกฟาสฟู๊ด ซึ่งมีเนื้อสัตว์และไขมันไม่มาก ไม่ค่อยมีแป้งและผัก รับประทานบ่อย ๆ จะทำให้เป็นโรคอ้วน จึงควรให้รับประทานนาน ๆ ครั้ง นมยังเป็นประโยชน์สำหรับเด็กวัยนี้ เพื่อให้ได้แร่ธาตุและแคลเซียม ควรให้ดื่มนมวันละ 2 ถ้วย 

การผักผ่อน ให้เด็กได้นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ นอนแต่หัวค่ำ ตื่นเช้าจะได้สดชื่น ไม่ง่วงเหงาหาวนอน เรียนหนังสือไม่รู้เรื่อง ในวันหยุดควรได้นอนหลับตอนกลางวันบ้าง

การออกกำลังกาย ดูแลให้ออกกำลังกายจนเหงื่อออกทุกวัน เด็กบางคนเล่นเกมกดหรือคอมพิวเตอร์ หรืออ่านหนังสือการ์ตูนตลอดเวลาที่ไม่เรียนหนังสือ ทำให้ไม่ได้ออกกำลังกาย เครียดปวดศีรษะบ่อย ๆ การดูโทรทัศน์หรือวีดีโอไม่ควรเกิน 1 ชั่วโมงในวันธรรมดา และไม่ควรเกิน 2 ชั่วโมงในวันหยุด

การเรียนรู้จากธรรมชาติ ให้เด็กร่วมกิจกรรมครอบครัว ไปสวน ป่า เขา ทะเล เด็กจะได้สัมผัสธรรมชาติ เป็นโอกาสดีที่พ่อแม่จะสอนให้เด็ก รู้จักรักธรรมชาติ อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

การรักษาความสะอาด ดูแลให้ลูกอาบน้ำชำระร่างกาย ฟอกสบู่ สระผม ตัดเล็บให้สะอาด ที่นอนเครื่องใช้ ซักฟอกสะอาดและจัดให้เป็นระเบียบ สอนให้เก็บที่นอนของตนเมื่อตื่นขึ้น และสอนให้ซักถุงเท้าหรือชุดชั้นในของตนเอง เป็นการมอบความรับผิดชอบให้โดยมีพ่อแม่ดูแลตลอด

การเติบโต เด็กวัยนี้เป็นช่วงโตช้า เด็กจะน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นปีละ 2 กิโลกรัม และสูงเฉลี่ยปีละ 5 เซนติเมตร วัยรุ่นหญิงจะเข้าสู่ช่วงโตเร็ว สูงใหญ่กว่าเด็กชายวัยเดียวกันหรือพี่ชายที่มีอายุมากกว่า 1 ปีด้วยซ้ำ

ขอขอบคุณ ที่มา : นิตยสารรักลูก ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต

Written by on