การให้นมในทารกแรกเกิดถึง 3 เดือนแรก

การให้นมในทารกแรกเกิดถึง 3 เดือนแรก

ในช่วงแรกน้ำนมแม่อาจจะออกมาไม่เพียงพอสำหรับลูกน้อย ถ้าจะให้นมผสมสำหรับทารก เสริมควรป้อนด้วยถ้วยเล็กให้ลูกดื่ม ไม่ควรให้ดูดจุกนม เพราะเด็กจะไม่ยอมดูดนมแม่อีก การเลี้ยงดูในช่วงแรกนี้ง่ายเพราะ ลูกจะกินอิ่มแล้วนอนหลับไปเป็นส่วนใหญ่

หลักการให้นม

  • ควรเลี้ยงทารกแรกเกิดถึงอายุ 3 เดือน ด้วยนมแม่เพียงอย่างเดียว เพราะนมแม่เป็นอาหารทีดี่ที่สุด มีสารอาหารครบถ้วนทางโภชนาการ รวมทั้งให้จุลินทรีย์สุขภาพซึ่งช่วยให้ภูมิต้านทานโรคติดเชื้อ และป้องกันการดูดซึมสารแปลกปลอมต่างๆ ซึ่งคุณสมบัติเหล่านี้ไม่มีอยู่ในนมชนิดอื่น ลดความเสี่ยงของโรคภูมิแพ้ และเพิ่มความผูกพันใกล้ชิดระหว่างแม่กับลูก รวมทั้งช่วยสะอาดและประหยัด แม่ทุกคนจึงควรเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ให้นานที่สุดเท่าที่จะทำได้
  • การเริ่มให้นมลูกนั้นจะประสบความสำเร็จด้วยดีโดย ให้ลูกดูดนมแม่บ่อย ๆ ทุก 2-3 ชั่วโมง 3-4 สัปดาห์ต่อมาให้นมทุก 3-4 ชั่วโมง แต่ละครั้งประมาณ 5-15 นาที เราจะรู้ได้ว่ามีน้ำนมแม่ให้ลูกเพียงพอ โดยสังเกตเห็นว่าขณะที่ลูกดูดนมข้างหนึ่ง จะมีน้ำนมพุ่งออกจากหัวนมอีกข้างหนึ่ง เมื่อลูกกินอิ่มจะหลับสบาย กินนมแม่จะถ่ายบ่อย อุจจาระสีเหลืองทอง ลักษณะเหลวเป็นฟองมีกลิ่นเหม็นเปรี้ยว เติบโตดี
  • แม่ที่ทำงานนอกบ้านควรให้นมแม่ อย่างเต็มที่ในระยะพักหลังคลอด เมื่อกลับไปทำงานก็จะให้นมแม่ได้ ในเวลาเช้ากับกลางคืน และบีบนมใส่ขวดสะอาดไว้ให้ลูก สำหรับช่วงกลางวัน หากจำเป็นต้องใช้นมผงดัดแปลง สำหรับทารกจะต้องผสมให้ถูกส่วน และดูแลทำความสะอาดด้วยการนึ่งหรือต้มขวดนม และจุกในน้ำเดือดนาน 10 นาที
  • เมื่อทารกอายุครบ 3 เดือน แล้วจึงเริ่มให้อาหารอื่นนอกจากนม เพื่อให้เกิดความคุ้นเคยกับอาหารกึ่งแข็งกึ่งเหลว เริ่มให้ข้าวบดใส่น้ำแกงจืด สลับกับกล้วยครูดครั้งละประมาณ 1-6 ช้อนชา วันละครั้งแล้วให้ดูดนมตามจะอิ่ม

การให้นมและอาหารเสริมในทารกอายุ 3-6 เดือน

  • การให้นม ทารกที่กินนมแม่ ควรจะให้นมแม่ต่อไป สำหรับทารกที่กินนมผสม ก็ยังคงใช้นมดัดแปลงสำหรับทารกที่มีธาตุเหล็ก ซึ่งอาจจะให้มื้อละ 4-6 ออนซ์ วันละ 5-6 มื้อ หรือทุก 3-4 ชม. หลังอายุ 4 เดือน ควรจะค่อย ๆ ลดนมมื้อกลางคืนในช่วงตี 2 ถ้าลูกไม่ตื่นให้นอนจนถึงเช้า และเพิ่มปริมาณนมในแต่ละมื้อ อย่าใช้นมข้นหวานหรือนมวัวธรรมดาเลี้ยงทารกตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ 1 ปี
  • อาหารตามวัย ระยะนี้ทารกต้องการอาหารที่มีธาตุเหล็กและวิตามินต่าง ๆ เพิ่มขึ้น เมื่อทารกอายุครบ 4 เดือน ควรเริ่มให้ข้าวบดกับกล้วย ไข่แดงต้มสุก หรือข้าวบดกับตับ สลับกับข้าวบดกับถั่วต้มเปื่อยหรือเต้าหู้ขาว โดยเริ่มให้มื้อละ 2-3 ช้อนโต๊ะ ควรให้อาหารวันละมื้อเพิ่มจากนม ทารกควรได้รับอาหารมื้อหลัก 1 มื้อ แทนนมเมื่ออายุ 6 เดือนอาหารสำหรับทารกวัยนี้ควรทำให้อ่อน สับ บดละเอียด ต้ม และควรมีรสจืด ไม่ควรเติมสาร ปรุงรสใด ๆอาหารชนิดใหม่ ควรเริ่มที่ละชนิดเดียวและค่อย ๆ เพิ่มปริมาณขึ้น เพื่อดูว่าลูกมีอาการแพ้ เช่น ผื่นขึ้น ถ่ายเหลวหรือไม่ ถ้าทารกปฎิเสธเพราะไม่คุ้นเคย ควรจะงดไว้ก่อน แล้วลองให้ใหม่ที่ละน้อย อีกใน 3-4 วันต่อมาจนทารกยอมรับ
  • เมื่อทารกอายุครบ 5 เดือน เริ่มข้าวบดกับเนื้อปลา อาจเติมฟักทอง หรือ ผักใบเขียว เช่นตำลึงหรือผักบุ้งที่ล้างให้สะอาดสับละเอียดต้มสุก สัดส่วนของอาหารเด็กประมาณอย่างคร่าว ๆ ว่าให้มีข้าว 3 ส่วน เนื้อสัตว์หรือถั่ว 1 ส่วน ( เช่นข้าว 3 ช้อน ไก่บด 1 ช้อน ) เมื่อเริ่มป้อนอาหารมื้อแรกลูกอาจใช้ลิ้นดุนออกไม่ยอมกลืน ความจริงแล้วลูกอยากกิน แต่ตะหวัดลิ้นไปด้านหลังให้ลงสู่คอยังทำไม่เป็น จึงกลายเป็นดุนอาหารออก ควรป้อนต่อไปโดยใช้ช้อนเล็กป้ายไปที่เพดานปาก จะได้ฝึกกลืน

ขอขอบคุณ ที่มา : นิตยสาร Modern Mom ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต

airban-300x250
0
Shares