ประวัติจังหวัด หนองคาย

ตราประจำจังหวัดหนองคาย

รูปกอไผ่ริมหนองน้ำ

ตราประจำจังหวัด หนองคาย

คำขวัญประจำจังหวัดหนองคาย

วีรกรรมปราบฮ่อ หลวงพ่อพระใส สะพานไทย-ลาว

ประวัติจังหวัด หนองคาย กับศึกฮ่อ ครั้งที่ ๑ และ๒ ในรัชกาลที่ ๕ ชื่อเมืองหนองค่ายถูกเรียกเพี้ยนเป็นเมืองหนองคายแทน เจ้าเมืองคือ พระปทุมเทวาภิบาล (ท้าวเคน) สืบต่อจากพระปทุมเทวาภิบาล (ท้าวสุวอ) ในปี พ.ศ. ๒๓๘๑ต่อมาเกิดศึกฮ่อที่ชายแดนติดต่อ กับญวน เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๘ ขณะนั้นพระปทุมเทวาภิบาล (ท้าวเคน) ลงไปราชการที่เมืองอุบลราชธานี ต้อนรับพระยา มหา อำมาตย์ (ชื่น กัลยาณมิตร) ซึ่งไปตั้งกองสักเลกและเร่งรัดเงินส่วยที่หัวเมืองพอดี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดเกล้าฯ ให้พระยามหาอำมาตย์ (ชื่น กัลยาณมิตร) เกณฑ์ทัพไปปราบฮ่อทันที พอไปถึงหนองคาย ทราบว่ากรมการ เมืองหนองคายและโพนพิสัยกลัวฮ่อจนหลบหนีไปไม่ยอมสู้รบ ปล่อยให้ฮ่อบุกเข้ามาจนถึงเวียงจันทน์ จึงสั่งให้หาตัวกรมการ เมืองที่หลบหนีศึกฮ่อในครั้งนั้นทั้งเมืองหนองคายและโพนพิสัยมาประหารชีวิต เพื่อมิให้เป็นเยี่ยงอย่างอีกต่อไป ฝ่ายกองทหาร ฮ่อฮึกเหิมบุกเวียงจันทน์จุดไฟเผาลอกเอาทองจากองค์พระธาตุหลวงได้ แล้วยังบุกข้ามโขงจะตีเมืองหนองคาย แต่ถูกกองทัพ เมืองหนองคายตีกลับอยู่ที่บริเวณตำบลมีชัยปัจจุบัน ซึ่งได้เรียกบริเวณไทยรบชนะฮ่อในครั้งนั้นว่า "ตำบลมีชัย" เป็นอนุ สรณ์ แล้วขึ้นไปตีศึกฮ่อจนถอยร่นไปทางทุ่งเชียงคำ (ทุ่งไหหิน) เหตุการณ์ก็สงบลงจนกระทั่ง พ.ศ. ๒๔๒๘ จึงเกิดศึกฮ่อครั้งที่ ๒ คราวนี้มีพวกไทดำ พวน ลาว ข่า เข้าสมทบกับโจรฮ่อฉวยโอกาสปล้นทรัพย์สิน เสบียงอาหาร และเผาเรือนราษฎร โดยบุกยึด มาตั้งแต่ทุ่งเชียงขวางจนเข้าเวียงจันทน์

การปราบศึกฮ่อครั้งที่ ๒ รัชกาลที่ ๕ โปรดเกล้าฯ ให้ทัพฝ่ายเหนือและทัพฝ่ายใต้ ยกเข้าตีขนาบฮ่อทั้งทางหลวงที่หลวง พระบางและเวียงจันทน์ โดยทัพฝ่ายใต้ให้พันเอกพระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม (ยศในขณะนั้น) คุมทัพมา ทางนครราชสีมา เข้าเมืองหนองคายแล้วทวนแม่น้ำโขงเข้าทางแม่น้ำงึมโดยเรือ

คำหยาด บุกค่ายฮ่อ เมื่อวันที่ ๕ มีนาคม จนมีชัยชนะ จากนั้นคุมเชลยฮ่อมาขังไว้ที่ระหว่างวัดศรีสุมังค์และวัดลำดวน จึงเรียก "ถนนฮ่ฮ" มาถึงทุกวันนี้ และโปรดเกล้าฯ ให้สร้าง "อนุสาวรีย์ปราบฮ่อ" เพื่อบรรจุอัฐิผู้เสียชีวิตในสงครามปราบฮ่อ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๙ ไว้ที่เมืองหนองคายด้วย

ขอบคุณที่มา : การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
ภาพจาก : wikipedia

airban-300x250
0
Shares