ประวัติจังหวัด เชียงใหม่

ตราประจำจังหวัดเชียงใหม่

ตราประจำจังหวัดเชียงใหม่

รูปช้างเผือกยืนอยู่ในเรือนแก้ว

คำขวัญประจำจังหวัดเชียงใหม่

ดอยสุเทพเป็นศรี ประเพณีเป็นสง่า บุปผชาติล้วนงามตา นามล้ำค่านครพิงค์

ประวัติจังหวัด เชียงใหม่ อาณา บริเวณของเมืองเชียงใหม่ในอดีตเป็นที่ตั้งของเมืองเก่าซึ่งเป็นศูนย์กลางขอ อาณาจักรล้านนาไทย อันมีนามว่า "นพบุรีศรีนครพิงค์" กษัทตริย์ผุ้สร้างนครเชียงใหม่ พ่อขุนเม็งรายมหาราชพระองค์ทรงรวบรวม บ้านเล็ก เมืองน้อยบนแผ่นดิน ล้านนาไทย ให้เป็นปฐพี เดียวกัน รวมเป็นอาณาจักรล้านนาไทยอันกว้างใหญ่ไพศาลพระองค์เป็น พระโอรส ผุ้สืบเชื้อสายมา จากพระเจ้าลาวจักราช ซึ่งเป็นผุ้สร้างอาณาจักรโยนก ในระยะที่พ่อขุนเม็งรายกำลังเรืองอำนาจอยู่ในอาณาจักรล้านนาไทย พ่อขุนรามคำแหงมหาราชกำลังเรืองอำนาจในอาณาจักรสูโขทัยพ่อขุนงำเมือง กำลังเป็นใหญ่อยู่ที่เมืองพะเยากษัตริย์ทั้งสาม พระองค์นี้เป็นพระสหายสนิทร่วมน้ำสาบานมาด้วยกัน ฉะนั้นเมื่อพ่อขุน เม็งรายรวบรวมเมืองต่าง ๆในอาณาจักรล้านนาไทย เป็นปึกแผ่นแน่นหนา หลังจากนั้น พ.ศ. 1824 พระองค์ก็เสด็จ กรีธาทัพเข้าตี นครหริภุญไชย ซึ่งมีพญายีบาครองอยู่และเป็น นครที่มั่นคงที่สุดทางตอนใต้ได้สำเร็จสมพระราชประสงค์แล้ว เสด็จเข้าประทับอยู่ในนครหริภุญไชยเป็นเวลาสองปี จึงทรง มอบให้อ้ายฟ้าอำมาตย์ ครองนครหริภุญไชยแทน ส่วนพ่อขุนเม็งรายได้เสด็จสร้างเมืองใหม่ทางทิศตะวัน ออกของนคร หริภุญไชย ครองอยู่ได้สามปีทรางเห็นว่าเมืองใหม่ทำเลไม่เหมาะสมจึงโปรดย้ายราชธานีมา ตั้งอยู่ที่แห่งใหม่ริมฝั่งแม่น้ำ ระมิงค์ มีชื่อว่า "เวียงกุมกาม" (ปัจจุบันอยู่ในตำบล ท่าวังตาล อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่) ครองราชย์อยู่จนถึง พ.ศ. 1835 ก็เกิดนิมิตรประหลาดดลพระทัย ให้พ่อขุนเม็งรายไปประพาสป่า ทอดพระเนตรพบชัยภูมิที่จัดสร้างเมืองเชียงใหม่ พระองค์โปรดให้สร้างที่ประทับชั่วคราว ณ เวียงเล็ก (เมืองเล็ก) หรือ เวียงเชียงมั่น (คือ บริเวณวัดเชียงมั่นในปัจจุบัน) จากนั้นก็โปรดให้ไพร่พลถางป่า และปรับ พื้นที่บริเวณเชิงดอยอ้อยช้าง หรือ ดอยสุเทพในปัจจุบัน แล้วโปรดให้เชิญ เสด็จพ่อขุนรามคำแหง แห่งกรุงสุโขทัยและพญางำเมือง แห่งนครพะเยา พระสหายร่วมน้ำสาบานมาช่วยพิจารณาการสร้าง เมืองใหม่ เมื่อพระสหายทั้ง 2 พระองค์ เสด็จมาถึงและได้เห็นชัยภูมิที่ราบอันสมบูรณ์ริมฝั่งแม่น้ำปิง ตรงเชิงดอยสุ เท ก็พอ พระทัย พ่อขุนรามคำแหง ถึงกับทรง มีพระดำรัสว่า "เมืองนี้ข้าศึกจะเบียบดเบียนกระทำร้ายมิได้ คนไหนมีเงินพันมาอยู่ก็จะ มีเงินหมื่น ครั้นมีเงินหมื่นมาอยุ่จะมีเงินแสน" ส่วนพระยางำเมืองถวายความเห็นว่า "เขตเมืองนี้ดีจริง เพราะเหตุว่าเนื้อดิน มีพรรณรังสี 5 ประการ มีชัย 7 ประการ เมืองนี้มีสิทธิ์นักแล" ในที่สุดพ่อขุนเม็งรายก็ทรงดำเนินการสร้างเมืองใหม่โดยให้ ขุดคูและสร้างกำแพงเมืองเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า พร้อมทั้งโปรดให้สร้างปราสาท ราชมณเทียรและบ้านเรือนในปี พ.ศ.1839 พ่อขุนเม็งราย พ่อขุนรามคำแหง และพญางำเมือง ก็พร้อมใจกันขนานนาม พระนครแห่งใหม่ว่า "นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่" เรียกกันเป็นสามัญว่า "นครพิงค์เชียงใหม่" ต่อจากนั้น พ่อขุนเม็งรายก็ทรง ประกอบพิธีปราบ ดาภิเษกเป็นกษัตริย์ ปกครองอาณาจักรล้านนาไทย ราชธานีอยู่ที่ นครเชียงใหม่ ทรงเป็นต้นราชวงค์เม็งรายครองราชย์ อยู่จน พ.ศ.1860 วันหนึ่งขณะที่พ่อขุนเม็งรายกำลังเสด็จประพาสตลาดกลางนครเชียงใหม่ ได้เกิดฝนตกอย่างหนัก จนอัสนีบาตได้ตกต้อง พระองค์สิ้น พระชนม์เมื่อพระชนมายุได้ 79 พรรษา และมีเชื้อสายของพ่อขุนเม็งรายได้ปกครอง อาณาจักล้านนาไทย ต่อเนื่องกันมา

เชียงใหม่เป็นศูนย์กลางของอาณาจักรล้านนาไทยสืบต่อกันมาเป็นเวลานาน ตกเป็นเมืองขึ้นของกรุงศรีอยุทธยา และประเทศพม่าอยู่หลายยุคหลายสมัย จนครั้งสุดท้ายในสมัยกรุงธนบุรี พระเจ้าตากสินมหาราชทรงตีนครเชียงใหม่ ได้จากประเทศพม่า เมื่อปี พ.ศ. 2317 แล้วทรงกวาดล้างอิทธิพลของพม่าจากล้านนาไทยได้สำเร็จ เมืองเชียงใหม่ จึงกลับมาเป็นประเทศราชของกรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์ จนสมัยสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้ทรงสถาปนา "พญากาวิละ" (กาวิละ ณ เชียงใหม่)ขึ้น เป็นเจ้าครองนครเชียงใหม่ ซึ่งเป็นต้นตระกูล ณ เชียงใหม่ 9 พระองค์มีเจ้านวรัฐ เป็นองค์สุดท้ายถึงสมัยสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พ.ศ. 2440 ทรงยุบเมืองประเทศราชเข้ากับอาณาจักรไทย แข่งการปกครองราชอาณาจักรออกเป็นมณฑล ได้ยกเมืองเชียงใหม่ขึ้นเป็นมณฑลพายัพและต่อมาภายหลังได้ยกเลิก เมืองเชียงใหม่ จึงเป็นจังหวัดมาจนถึงปัจจุบันนี้ รวมระยะเวลาที่เชียงใหม่ได้เป็นราชธานีอาณาจักรล้านนาไทย ตั้งแต่ พ.ศ. 1839 จนถึง พ.ศ. 2540 ได้ 700 ปี

ขอบคุณที่มา : การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
ภาพจาก : wikipedia

airban-300x250
0
Shares