ปลากระแห

ปลากระแห

ชื่อสามัญ ปลากระแห Tinfoil barb

ชื่อวิทยาศาสตร์ ปลากระแห Barbonymus schwanenfeldii (Bleeker, 1853)

ลักษณะทั่วไปของ ปลากระแห

ปลากระแห มีถิ่นอาศัยในแม่น้ำ ลำคลอง หนองบึงทั่วทุกภาคทำให้มีชื่อเรียกแตกต่างกันไปตามภาษาท้องถิ่น เช่น พบในภาคกลางเรียกกระแห ตะเพียนหางแดงหรือกระแหทอง ภาคใต้เรียกปลาลำปำ ส่วนภาคอีสานเรียกปลาเลียนไฟ ปลากระแหมีรูปร่างคล้ายปลาตะเพียน แต่ป้อมสั้นกว่า ลำตัวแบนข้าง ส่วนหลังยกสูง หัวค่อนข้างเล็ก ตาโต มีหนวด 2 คู่ที่ริมฝีปาก ปากเล็กอยู่สุดของจะงอยปาก เกล็ดเล็กมีสีเงินวาวเหลือบเหลืองทอง สีพื้นของลำตัวเป็นสีขาวเงินหรือสีเหลืองปนส้ม ด้านหลังสีเทาปนเขียว ขอบตาดำเป็นสีเหลือง แก้มเหลืองปนแดง ขอบบนและล่างของครีบหางมีแถบสีดำข้างละแถบ ครีบอื่น ๆ มีสีส้มสดยกเว้นขอบบนของครีบอกและขอบล่างของครีบหางที่มีแถบสีดำยาว มีขนาดประมาณ 15 ซ.ม. ถึง 25 ซ.ม. อาหารกินพรรณไม้น้ำ ตัวอ่อนแมลงน้ำ ซากสัตว์และพืชที่เน่าเปื่อยเป็นอาหารครีบหลังสีส้มมีแต้มสีดำชัดที่ด้านบนสุด พบอาศัยอยู่เป็นฝูงในแม่น้ำและหนองบึงทุกภาคของประเทศไทย หรือตามหน้าวัดที่อยู่ติดริมแม่น้ำต่าง ๆ โดยมักจะอาศัยอยู่รวมกับปลาตะเพียน ตะเพียนทอง แก้มช้ำ หรือปลาในตระกูลปลาตะเพียนชนิดอื่นด้วยกันเสมอ

การแพร่กระจาย

ปลากระแหอาศัยอยู่ในแม่น้ำ ลำธาร และทะเลสาบ นอกจากนี้ยังพบแพร่กระจายอยู่ ลาว กัมพูชา มลายู และ อินโดนิเซีย

ขอบคุณข้อมูล ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืด ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต

airban-300x250
0
Shares