ปลาจูบ(ปลาหมอตาล)

ปลาจูบ (ปลาหมอตาล)

ชื่อสามัญ ปลาจูบ(ปลาหมอตาล) Kissing gourami, Temminck's kissing

ชื่อวิทยาศาสตร์ ปลาจูบ(ปลาหมอตาล) Helostoma temminkii Cuvier, 1829

ลักษณะทั่วไปของปลาจูบ

ปลาหมอจูบ (ปลาหมอตาล) เป็นปลาไทยพันธุ์แท้ที่ปัจจุบันใกล้ที่จะสูญพันธุ์ เป็นปลาที่มีรูปร่างป้อมสั้น ลำตัวแบนข้าง หัวเล็ก จะงอยปากสั้นทู่ ปากเล็ก ยืดหดได้ ริมฝีปากหนา นัยน์ตาอยู่ระดับเดียวกับมุมปาก เกล็ดขนาดปานกลาง ปกคลุมหัว และลำตัว ครีบหลัง และครีบก้นยาว ส่วนที่เป็นครีบอ่อนมีขนาดใกล้เคียงกับครีบหาง ครีบอกยาว ปลายมน ครีบท้องมีปลายเรียวแหลม พื้นลำตัวเป็นสีเขียวปนเทา หลังมีสีเทาปนดำ ท้องขาว ข้างตัวมีลายดำพาดตามยาว กินอาหารพวกแพลงก์ตอนพืช และสัตว์ และแมลงต่าง ๆ โตเต็มที่มีขนาดประมาณ 20 เซนติเมตร เป็นปลาที่เลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วยเช่นกัน และเป็นปลาที่มีลักษณะพิเศษ คือ เมื่อกินอาหารจะยื่นริมฝีปากออกมาคล้ายกับการจูบของคน นอกจากการกินอาหารแล้ว ปลาชนิดนี้มักเข้ามาใกล้กัน และเอาปากยื่นออกมาชนกัน (ในกรณีที่เลี้ยงตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไป) บ่อยครั้งเหมือนกับการจูบกัน คนจึงเรียกชื่อตามพฤติกรรมนี้ว่าปลาจูบ

การแพร่กระจาย ปลาจูบ(ปลาหมอตาล)

มีถิ่นกำเนิดจากลุ่มน้ำเจ้าพระยา บึงบอระเพ็ด ภาคใต้ พบที่จังหวัดนครศรีธรรมราช และสุราษฎร์ธานี

ขอบคุณข้อมูล ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืด ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต

airban-300x250
0
Shares