ปลาหมูข้างลาย

ปลาหมูข้างลาย

ชื่อสามัญ ปลงหมูข้างลาย Tiger botia

ชื่อวิทยาศาสตร์ ปลงหมูข้างลาย Syncrossus hymenophysa (Bleeker, 1852)

ลักษณะทั่วไปของปลาหมูลาย

เป็นปลาน้ำจืดที่มีความสำคัญชนิดหนึ่ง มีชื่อเรียกแตกต่างกันออกไป เช่น ปลางวง เป็นปลาที่ชอบอาศัยอยู่ตามดินดาน หรือ ดินทราย ที่มีกระแสน้ำไหลเอื่อย ๆ ชอบอยู่ตามซอกหรือตามโพรง ลำตัวมีสีสันสวยงดงาม ลำตัวป้อม ด้านข้างแบน จะงอยปากเล็กเรียว ตรงปลายมีหนวดเป็นกระจุก ปากมีขนาดเล็ก ตาเล็ก มีเงี่ยงแหลม ปลายแยกเป็นสองแฉก ครีบหางปลายแยกเป็นแฉกลึก ครีบหลังอยู่กึ่งกลางลำตัว ขนาดของครีบหู ครีบท้อง และครีบก้นมีขนาดใกล้เคียงกัน ลำตัวมีสีเหลืองแกมเขียวมีริ้วสีน้ำเงินเข้มพลาดขวางลำตัวประมาณ 11 แถบ ครีบหู และครีบก้นเป็นสีเหลือง ขนาดใหญ่ที่พบมีความยาวประมาณ 30 เซนติเมตร ขนาดที่พบส่วนมากมีขนาด 12-15 เซนติเมตร

การแพร่กระจาย

ปลาหมูข้าลาย พบแพร่กระจายทั้งใน ภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำน่าน แม่น้ำยม บึงบอระเพ็ด เป็นต้น นอกจากนี้ยังพบในแม่น้ำโขง

การเพาะพันธุ์ปลาหมูข้างลาย

ปลาหมูข้างลายพบว่ามีฤดูว่างไข่อยู่ในเดือน มิถุนายน-กันยายน ลักษณะเพศที่เห็นชัดเจนได้ในฤดูวางไข่ผสมพันธุ์ คือ เพศเมียท้องอูมเป่ง ช่องเพศมีสีชมพูเรื่อ ส่วนเพศผู้เมื่อใช้มือรีดที่บริเวณช่วงท้องใกล้ทางออกน้ำเชื้อ พบว่ามีน้ำเชื้อไหลออกมา การเพาะโดยการฉีดฮอร์โมนสังเคราะห์ buserelin acetate ในอัตรา 20 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัม ร่วมกับ ยาเสริมฤทธิ์ domperidone ในปริมาณ 10 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม สามารถกระตุ้นให้แม่ปลาว่างไข่ได้ภายใน 6 ชั่วโมง ไข่มีสีเทาอมเขียว ลักษณะครึ่งลอยครึ่งจม ไข่ฟักออกเป็นตัวใช้เวลาประมาณ 12-13 ชั่วโมง ที่อุณหภูมิน้ำ 28 องศาเซลเซียส

การอนุบาล

เมื่อลูกปลาฟักออกเป็นตัวแล้ว ลูกปลาอายุ 3 วัน ถุงอาหารยุบจึงเริ่มให้ไข่ต้มสุกบดละเอียดละลายน้ำสาดให้กินวันละ 5 ครั้ง ถ้าสามารถเพาะโรติเฟอร์ใช้ได้ก็ควรอนุบาลลูกปลาด้วยโรติเฟอร์ เพราะในระยะแรกลูกปลายังมีระบบการย่อยอาหารที่ยังไม่สมบรูณ์ จึงจำเป็นต้องใช้อาหารมีชีวิตช่วยในการอนุบาล เพื่อที่ลูกปลาจะได้มีอัตราการรอดตายที่สูงขึ้น การเปลี่ยนถ่ายน้ำโดยถ่ายน้ำ 1 ใน 3 ของบ่อทุกวัน เมื่ออนุบาลจนลูกปลามีอายุ 10 วัน จึงเริ่มให้ไรแดงมีชีวิตเป็นอาหารวันละ 3 ครั้ง โดยใช้แก้วใสตักน้ำในมุ้งอนุบาลตรวจความหนาแน่นของไรแดงอยู่เสมอ เพื่อให้พอเพียงกับความต้องการของลูกปลา

ขอบคุณข้อมูล ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืด ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต

airban-300x250
0
Shares