ปลาเล็บมือนาง

ปลาเล็บมือนาง

ชื่อสามัญ ปลาเล็บมือนาง Siamese algae-eater

ชื่อวิทยาศาสตร์ ปลาเล็บมือนาง Crossocheilus siamensis (Smith, 1931)

ลักษณะทั่วไปของปลาเล็บมือนาง

ปลาเล็บมือนางเป็นปลาที่ไม่ค่อยพบบ่อยนัก และค่อนข้างหายากแล้วในปัจจุบัน มีขนาดเล็ก ขนาดที่มีพบทั่วไป มีขนาด 10 เซนติเมตร และขนาดใหญ่ที่พบมีขนาดประมาณ 16 เซนติเมตร รูปร่างเพรียวยาว ลำตัวค่อนข้างกลมหัวแหลม เป็นทรงกระบอก มีแผ่นหนังคลุมด้านริมฝีปากบน ครีบหลังยกสูง ครีบหางเว้าลึก ลำตัวมีสีน้ำตาลอ่อนเหลือบทอง จับได้ครั้งแรกที่ ลำท่าดี ตอนเหนือ ในจังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อปี พ.ศ. 2471 หลังและด้านข้างลำตัวมีสีเขียว และจุดสีน้ำเงินอ่อนหรือม่วงประปราย หัวเขียวสด แถบข้างตัวจากหัวถึงระหว่างกลางหางดำ ครีบหลัง ครีบหาง และครีบอกเป็นสีเขียวอ่อน ครีบก้น และครีบท้องไม่มีสี อาศัยเป็นฝูงใหญ่ในแม่น้ำ โดยเฉพาะบริเวณที่เป็นแก่ง และมีพรรณไม้น้ำหนาแน่น พบในที่น้ำหลากเป็นฤดูกาล พบตั้งแต่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาถึงแม่น้ำโขง เป็นปลาสวยงามที่นิยมจับมาขายในท้องตลาด ชาวท้องถิ่นนำมารับประทานเป็นอาหาร กินอาหารจำพวก สาหร่ายและตะไคร่น้ำ

การแพร่กระจาย ปลาเล็บมือนาง

ปลาเล็บมือนาง พบที่แม่น้ำเจ้าพระยา และแม่น้ำโขง

ขอบคุณข้อมูล ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืด ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต

airban-300x250
0
Shares