น้ำหนัก ส่วนสูง และพัฒนาการของเด็กอายุ 2-3 ปี

น้ำหนัก ส่วนสูง และพัฒนาการของเด็กอายุ 2-3 ปี

เด็กวัยนี้เป็นวัยที่สำรวจโลกภายนอกมากขึ้น ขึ้นบันได แตะลูกบอลได้ และถีบสามล้อ ผู้ดูแลจึงต้องป้องกันอุบัติเหตุให้เด็ก เมื่อไปในที่ชุมชน ศูนย์การค้า ต้องระวังอย่าให้พลัดหลง เด็กบางคนเริ่มเข้าโรงเรียนก่อนอนุบาล อาจเจ็บป่วยบ่อย ๆ เพราะติดเชื้อ

จากเพื่อน พ่อแม่อาจต้องทำใจรับเรื่องนี้และให้ไปพบกุมารแพทย์เมื่อเจ็บป่วยเท่าที่จำเป็น

น้ำหนักและส่วนสูง

  • อายุ 2 ปี น้ำหนัก 11.8 กิโลกรัม ส่วนสูง 85 เซนติเมตร
  • อายุ 2 ปีครึ่ง น้ำหนัก 12.8 กิโลกรัม ส่วนสูง 88 เซนติเมตร
  • อายุ 3 ปี น้ำหนัก 13.8 กิโลกรัม ส่วนสูง 92 เซนติเมตร

พัฒนาการ

การทรงตัวและเคลื่อนไหว เด็กสามารถเตะลูกบอลและขว้างลูกบอลไปข้างหน้า กระโดดอยู่กับที่ได้ เดินขึ้นบันไดสลับเท้า ขี่รถจักรยานสามล้อได้เมื่อายุ 3 ปี

การใช้ตาและมือ/สติปัญญา เด็กสามารถเปิดหนังสือที่ละแผ่นต่อชั้นไม้สูง 8 ชั้น เขียนกากบาด และวงกลมได้ตามตัวอย่างการสื่อความหมายและภาษา เด็กอายุ 2 ปี พูดได้ 2-3 คำ ต่อกันต่อมาพูดเป็นประโยชน์ และโต้ตอบได้ตรงเรื่อง ร้องเพลงง่าย ๆ บอกชื่อตัวเองได้ อาจพูดบางคำยังไม่ชัด

อารมณ์และสังคม เด็กที่ได้รับการฝึกการขับถ่ายแล้ว จะบอกเวลาจะถ่ายอุจจาระ ถอดเสื้อผ้าได้ และใส่ได้เอง อายุ 3 ปี บอกเพศของตัวเองได้ เล่นเข้ากลุ่มเด็ก รู้จักขอ และแบ่งปันได้ รู้สึกมั่นใจในตนเองมากขึ้น เล่นเองได้นานขึ้น อายุ 3 ปีจะแยกจากแม่ได้ จึงเป็นช่วงเหมาะที่จะเริ่มเข้าอนุบาล เมื่ออายุประมาณ 3 ขวบครึ่ง การเติบโตของร่างกาย และพัฒนการของเด็กแต่ละคนอาจเร็ว ช้าแตกต่างกันได้บ้าง หากสงสัยควรถามแพทย์ พ่อแม่ควรให้ลูกช่วยเหลือตัวเอง และฝึกความพร้อมที่จะเข้าสังคม เพื่อนวัยเดียวกัน ดังนี้

  • ฝึกการช่วยเหลือตัวเอง เช่น กิน่ข้าว แปรงฟัน แต่งตัว โดยให้เด็กลองทำเอง ชี้แนะช่วยเหลือเท่าที่จำเป็น
  • เปิดโอกาส ให้เล่นกับเด็กอื่นในวัยเดียวกันและเล่นกลางแจ้งโดยคอยดูแลใกล้ชิด
  • พูดคุยและรับฟังเด็ก พยายามอธิบายโดยใช้เหตุผล และเลือกรายการโทรทัศน์ที่เหมาะสมกับเด็กให้ดูไม่เกินวันละ 1-2 ชั่วโมง
  • อายุ 3 ปี เริ่มเข้าโรงเรียนอนุบาล ซึ่งไม่ควรเน้นเรื่องการเรียนอย่างท่องจำ หรืออ่านเขียนแต่ควรเตรียมความพร้อม เสริมพัฒนาการทุกด้าน ได้แก่ การเคลื่อนไหว สติปัญญา การสื่อภาษา ด้านอารมณ์และสังคม
  • ระวังอุบัติเหตุ พลัดตกจากที่สูง สารพิษ ของมีคม จมน้ำ ไช้เข็มขัดนิรภัยเวลานั่งรถยนต์ หลีกเลี่ยงการเอาเด็กนั่งมอเตอร์ไซด์
  • พาไปตรวจสุขภาพ และพบทันตแพทย์เพื่อเคลือบฟลูโอไรด์
  • บันทึกน้ำหนัก ความยาว และพัฒนการของเด็กลงในสมุดสุขภาพ และนำติดตัวไปเมื่อพาเด็กไปรับการตรวจสุขภาพครั้งต่อไป

ขอขอบคุณ ที่มา : นิตยสารเรื่องผู้หญิง ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต

airban-300x250
0
Shares