สมอง กับการเรียนรู้

สมอง กับการเรียนรู้

การเลี้ยงดูลูกน้อยช่วงอายุ 0-3 ขวบปี นับว่าเป็นช่วงสำคัญยิ่ง คุณพ่อคุณแม่ต้องเอาใจใส่เป็นพิเศษ เพราะเป็นช่วงที่ลูกน้อยมีการพัฒนาสมองให้เกิดการเรียนรู้ต่อสิ่งต่างๆ รอบตัว

 

เด็กบางคนที่ถูกทอดทิ้งตั้งแต่เกิด ไม่ได้รับการเลี้ยงดูด้วยความรัก ความอ่อนโยนจากพ่อแม่ ทำให้ใยประสาทของเซลล์สมองเกิดน้อย ส่งผลให้เด็กคนนั้นมีการเรียนรู้ในสิ่งต่างๆ ได้ช้า ทำอะไรไม่ค่อยเป็น เฉื่อยชา ขาดเหตุผล แต่ในทางตรงกันข้ามเด็กที่ได้รับการดูแลเอาใจใส่ด้วยความรัก ความอบอุ่นจากพ่อแม่ ลูกน้อยจะได้รับการกระตุ้นทางตา หู ลิ้น จมูก และกาย อยู่เป็นประจำตลอดเวลา ซึ่งลูกจะได้รับการได้เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ได้รส และที่สำคัญได้รับการสัมผัสแห่งรักจากพ่อแม่ ซึ่งจะทำให้ใยประสาทของเซลล์สมองงอกงาม เกิดการเรียนรู้ในสิ่งต่างๆ ได้ง่าย ฉลาดที่จะจดจำ เป็นเด็กที่มีชีวิตชีวา รู้เหตุรู้ผล อันจะส่งผลให้ลูกน้อยเกิดการพัฒนา สามารถเรียนรู้คิดเป็นทำเป็น เป็นบุคคลที่มีคุณภาพ ในอนาคตไม่เป็นปัญหาของสังคม (อ้างอิงจากหนังสือ YOCHIEN EDVA OSOSUGIRU, การบริหารสมองของ ดร.พัชรีวัลย์ เกตุแก่นจันทร์)การเรียนรู้จะเกิดประสิทธิภาพสูงสุดได้นั้น เมื่อใช้สมองแบบ Whole Brain การบริหารสมอง จะทำให้สมองทั้ง 2 ซีกทำงานไปพร้อมๆ กันและเพิ่มความแข็งแรงในการทำงานให้ประสานกันอีกด้วย

การดื่มน้ำสะอาดบริสุทธิ์ก่อน และหลังการบริหารสมองจะช่วยให้การทำงานของสมองดีขึ้น เช่นเดียวกับการหายใจที่ถูกต้อง คือ การหายใจเข้าลึกๆ ช้าๆ และหายใจออกช้าๆ ให้ช้ากว่าการหายใจเข้าเพื่อให้สมอง ได้รับออกซิเจนอย่างเต็มที่รวมทั้งการบริโภคอาหารที่ถูกสุขลักษณะ จะทำให้สมองมีพลังงานทำงานได้เต็มศักยภาพ

การบริหารสมอง (Brain Gym) ทำได้ด้วยท่าง่ายๆ 4 ท่า คือ

  1. การเคลื่อนไหวสลับข้าง (Cross-Over Movement) ทำให้การทำงานของสมองสองซีกถ่ายโยงข้อมูลกันได้ เช่น การวิ่งเหยาะอยู่กับที่ช้าๆ กำมือซ้าย-ขวา ไขว้กันระดับหน้าอก กางแขนทั้งสองออกห่างกันเป็นวงกลม แล้วเอามือกลับมาไขว้กันเหมือนเดิม
  2. การยืดส่วนต่างๆ ของร่างกาย (Lengthening Movement) ทำให้ผ่อนคลายความตึงเครียดของสมองส่วนหน้าและส่วนหลัง มีสมาธิในการเรียนรู้และทำงาน เช่น การยกมือสองข้างดันฝาผนังงอขาขวา ขาซ้ายยืดตรงยกส้นเท้าซ้าย เอนตัวไปข้างหน้าเล็กน้อยพร้อมหายใจเข้าช้าๆ ลึกๆ แล้ววางส้นเท้าลงตัวตรง หายใจออกช้าๆ งอขาซ้าย ทำเหมือนขาขวา ใช้มือทั้งสองข้างทำท่ารูดซิบขึ้น หายใจเข้าช้าๆ ทำท่ารูดซิบลง หาใจออกช้าๆ
  3. การเคลื่อนไหวเพื่อกระตุ้น (Energising Movement) ทำให้เกิดการกระตุ้นความรู้สึกทางอารมณ์ เกิดแรงจูงใจ เพื่อช่วยให้เรียนรู้ได้ดีขึ้น เช่น การใช้นิ้วชี้นวดขมับเบาๆ ทั้งสองข้างวนเป็นวงกลม ใช้มือทั้งสองเคาะที่ตำแหน่งกระดูกหน้าอกโดยสลับมือกันเคาะเบาๆ
  4. ท่าบริหารร่างกายง่ายๆ (Useful Exercises) เช่น การกำมือสองข้าง ยกขึ้นไขว้กับระดับตา ตามองมือที่อยู่ด้านนอก เปลี่ยนมือทำเช่นกัน, ใช้มือทั้งสองปิดตาที่ลืมอยู่เบาๆ ให้สนิท จนมองเป็นสีดำมือสนิทสักพัก แล้วค่อยๆ เอามือออก แล้วเริ่มปิดตามใหม่ ควรจะทำก่อนอ่านหนังสือ ใช้นิ้วมือทั้งสองข้างเคาะเบาๆ ทั่วศีรษะออกมาจากด้านซ้ายและขวาพร้อมๆ กันการบริหารสมองอย่างถูกต้อง ถูกวิธีจะให้ผลดีกับทุกๆ คนในครอบครัว และที่สำคัญสมองกับการเรียนรู้ของลูกคุณ จะพัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพได้นั้น คุณพ่อคุณแม่ต้องเป็นตัวจักรที่สำคัญในการใส่ใจ และส่งเสริมลูกน้อยของคุณตั้งแต่เยาว์วัยค่ะ

ข้อมูลจาก วารสาร Kid's guide

airban-300x250
0
Shares