เด็กก้าวร้าว จะแก้นิสัยเด็กก้าวร้าว

เด็กก้าวร้าว จะแก้นิสัยเด็กก้าวร้าว กัด ตี เพื่อนๆ ได้อย่างไร

ลูกชายอายุ 2 ขวบแล้ว เกเรมากค่ะเห็นเด็กรุ่นราวคราวเดียวกันไม่ได้ต้องเข้าไปตีเค้า ทั้งๆที่เค้าไม่ได้ทำอะไรให้เลย บางทีคนที่บ้านนั่งอยู่ดีๆ ก็อมน้ำมาบ้วนใส่เค้าบ้างล่ะ บางทีตัวเองเล่นของเล่นอยู่ก็เอาของเล่นนั้นไปตีคนอื่นเค้า พอไม่มีใครยอมเล่นด้วยก็กรี๊ด บางทีก็หวงของเล่นไม่ยอมให้คนอื่นเล่นด้วย หนักๆเข้าปาของใส่ซะเลย เด็กเป็นอย่างนี้จะแก้ไขอย่างไรดีคะ

เด็กก้าวร้าว จะแก้นิสัยเด็กก้าวร้าว กัด ตี เพื่อนๆ ได้อย่างไร

พิมนิสัยก้าวร้าว กัดหรือตีเด็กรุ่นราวคราวเดียวกันนั้นเป็นเรื่องที่พบได้ปกติในเด็กอายุ 2 ขวบค่ะ คุณอาจจะเแปลกใจว่าความจริงแล้วความก้าวร้าวเป็นส่วนหนึ่งของพัฒนาการ เด็กอายุ 2 ขวบจะมีความรู้สึกเป็นเจ้าข้าวเจ้าของสูงมาก เขาจะรู้สึกว่าตัวเองเป็นศูนย์กลางของทุกๆสิ่ง (self center) เขาจะทำร้ายคนรอบๆข้างเพราะเข้าใจว่าการทำร้ายจะทำให้เขาได้ในสิ่งที่ต้องการ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งของหรือความรักจากพ่อแม่ คุณพ่อคุณแม่จะมีบทบาทในการแสดงให้เข้ารู้ว่า นิสัยก้าวร้าวนั้นเป็นนิสัยที่รับไม่ได้และมีทางออกทางอื่นที่เขาจะทำได้ในการระบายอารมณ์

แก้นิสัยลูกก้าวร้าวได้อย่างไร ความก้าวร้าวของเด็กวัย 2 ขวบนั้น ไม่ได้เป็นนิสัยที่จะติดตัวไปจนถึงตอนโต พ่อแม่หรือผู้ปกครองควรต้องใช้ความอดทนและพยายามให้ความเอาใจใส่พยายามอธิบายเหตุผลเมื่อแกมีพฤติกรรมก้าวร้าวขึ้นมา เช่น เมื่อพี่น้องแย่งของเล่นกัน ถ้าน้องเอามือไปตีพี่ คุณจะต้องแยกน้องออกมาทันที มานั่งคุยกันถึงการแบ่งของเล่น พี่น้องไม่ควรจะทะเลาะกัน และให้แกกลับไปเล่นของเล่นต่อเมื่อแกหายอามรณ์เสียและมีความรู้สึกอยากเล่นต่อ วิธีการนี้จะได้ผลดีกว่าการเข้าไปตีเขาหรือดุว่า เพราะเขายังเด็กอยู่และอาจจะไม่เข้าใจว่าที่เราดุเขานั้นมีสาเหตุมาจากอะไร นอกจากนั้นวิธีการแสดงตัวอย่างการตีหรือกัดตัวเขาเพื่อแสดงให้รู้ว่าที่ ฝ่ายตรงข้ามที่โดนเขากัดหรือตีนั้นมีความรู้สึกอย่างไรนั้น เป็นวิธีการที่ไม่ถูกต้องเพราะจะทำให้เขารับรู้อย่างผิดๆว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ เพราะว่าพ่อแม่ยังทำเช่นนั้นกับเขา

พยายามแก้ไขทันทีเมื่อเขาเริ่มก้าวร้าว เมื่อคุณเห็นลูกคุณเริ่มแสดงอาการก้าวร้าว คุณควรจะรีบแยกตัวเขาออกมาทันที ไม่ควรรอให้เขาตีหรือกัดเพื่อนเป็นครั้งที่สองหรือสามแล้วค่อยเริ่มห้าม การแยกตัวเขาออกมานั่งเฉยๆอธิบายให้เขาฟังและให้เขานั่งอยู่คนเดียวเป็นเวลา 1-2 นาที จะทำให้เขาสงบสติอารมณ์ลงและเรียนรู้ว่าเมื่อเขามีพฤติกรรมก้าวร้าวเขาจะต้องโดนทำโทษด้วยการนั่งเฉยๆ คุณอาจจะเรียกวิธีการนี้ง่ายๆว่า ?การขอเวลานอก?

คุณจะทำอะไรบ้างเมื่อถึงเวลา ?ขอเวลานอก? หลังจากแยกเขาออกมา คุณค่อยๆคุยกับเขาอธิบายย้อนหลังถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมที่เขาแสดงออกต่อเหตุการณ์นั้นๆ ถามเขาถึงสาเหตุที่กระตุ้นทำให้เขาโมโห คุณอาจจะแนะนำว่า ?การโมโหเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้เป็นธรรมดาของทุกคน แต่ว่าการแสดงออกของการโมโหเป็นไปได้หลายทาง ไม่จำเป็นจะต้องไปทำร้ายผู้อื่น เช่น การตะโกนออกไปว่า ?เราโมโหแล้วนะ? การเตะฟุตบอลแรงๆ การทุบหมอน หรือถ้าแก้ไม่ได้จริงๆให้มาบอกพ่อกับแม่? หลังจากนั้นกำชับให้เขาไปขอโทษคนที่เขามีพฤติกรรมก้าวร้าวด้วย ตอนแรกๆการขอโทษของเขาอาจจะดูไม่จริงใจ แต่ว่าการบังคับให้เขาทำขอโทษจะเป็นการกำชับให้แกเรียนรู้ว่าความก้าวร้าวเป็นสิ่งที่คนอื่นไม่ต้องการ และจะสร้างนิสัยให้แกรู้จักขอโทษเมื่อเผลอก้าวร้าวต่อคนอื่นในอนาคตการปรับปรุงนิสัยด้วยการ ขอเวลานอก นั้น ถ้าทำอย่างสม่ำเสมอ เด็กจะเริ่มโยงความคิดและเรียนรู้ได้ว่า พฤติกรรมก้าวร้าวนั้นเป็นสิ่งที่พ่อแม่ไม่ต้องการ และเมื่อเขาแสดงอาการก้าวร้าว เขาจะต้องโดนขอเวลานอก

พูดชมเชยเมื่อแกมีพฤติกรรมที่เหมาะสม ถ้าลูกของคุณมีการแก้ปัญหาที่สร้างสรรค์ ไม่ได้ใช้ความก้าวร้าว การพูดชมเชยจะส่งเสริมให้นิสัยก้าวร้าวลดลงเร็วขึ้น เช่น เมื่อน้องมาแย่งลูกฟุตบอลไปจากมือของแก แทนที่จะหวงของเอาไว้ แกเปลี่ยนไปเล่นของเล่นอย่างอื่น คุณอาจจะพูดชมเชยว่า ?น่ารักมากเลยลูก แบ่งของให้น้องเล่น?

ดูแลการดูโทรทัศน์อย่างใกล้ชิด ปัจจุบันเราสามารถเห็นพฤติกรรมก้าวร้าวได้มากมายในโทรทัศน์ พ่อแม่ควรจะต้องดูแลการดูโทรทัศน์ของลูกอย่างใกล้ชิด เด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบ ไม่ควรดูรายการโทรทัศน์ที่มีการทำร้ายกัน เพราะเขาไม่สามารถแยกแยะความจริงกับละครได้ พ่อแม่ควรจะต้องนั่งดูกับเด็กและคอยอธิบายถึงพฤติกรรมต่างๆที่ตัวละครแสดงออกมา เช่น ?ลูกเห็นไหมว่ามันไม่ดีเลยนะ ที่เขาแกล้งเพื่อน เพื่อให้คุณครูให้ความสนใจ?

ขอบคุณ ที่มา : Lisa 
ภาพจาก : abnormalbehaviorchild

airban-300x250
0
Shares