เด็กขี้อาย

เด็กขี้อาย

ลูกอายุ 2 ขวบ เป็นเด็กที่มีลักษณะขี้อาย ไม่ค่อยเข้าไปเล่นกับเพื่อนๆ จะอายมากเวลาเจอคนแปลกหน้า เป็นลักษณะของเด็กที่ผิดปกติหรือเปล่า และจะส่งเสริมให้แกมีความกล้าแสดงออกได้อย่างไร

เด็กบางคนสามารถเข้าสังคมกับเด็กอื่นๆได้ดี แต่บางคนอาจจะค่อนข้างเก็บตัว ต้องใช้เวลาในการทำตัวให้คุ้นเคยก่อน คุณอาจจะสังเกตว่าเมื่อเด็กต้องพบปะกับคนแปลกหน้าหรือสถานที่ใหม่ๆ (แม้ว่าจะเป็นของขวัญ เกม อาหาร หรือเสื้อผ้า) เขาจะคอยดูอยู่ห่างๆก่อนจนกว่าเขาจะรู้สึกสบายใจจึงจะเข้าไปพูดคุยหรือเล่นด้วย ความขี้อายของเด็กแต่ละคนนั้นแตกต่างกัน ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการพัฒนาการศึกษาพบว่า ความอายนั้นมีสาเหตุมาจากทั้งพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม หมายถึง เด็กบางคนเกิดมามีนิสัยขี้อายที่ติดมากับตัว ขณะที่บางคนชอบพบปะกับคนรอบข้าง การเลี้ยงดูและประสบการณ์จะเป็นตัวปรับเปลี่ยนนิสัยของเขาให้ดีขึ้น อย่างไรก็ตามก่อนที่คุณจะตัดสินใจว่าลูกของคุณเป็นเด็กที่ขี้อาย ควรจะต้องดูก่อนว่า ความขี้อายของเขาเกิดเนื่องจาก ความอายเพราะ ?ช่วงอายุที่กลัวการพลัดพราก? หรือ มีนิสัยขี้อายจริงๆ

ช่วงอายุที่กลัวการพลัดพราก เป็นอย่างไร ถ้าลูกของคุณเคยเป็นเด็กที่เล่นกับเด็กคนอื่นๆหรือพูดคุยกับคนรอบข้างได้ดีแล้วเปลี่ยนเป็นเด็กที่ขี้อาย กังวลใจ ไม่ยอมพูดคุยกับคนแปลกหน้า ไม่ยอมให้คุณอยู่ห่างหรือพรากไปจากสายตา อาการเหล่านี้คืออาการที่เกิดจากที่เขามีความรู้สึกกลัวการพลัดพรากจากคุณ

อาการกลัวการพลัดพรากจะเกิดเมื่อเด็กเริ่มโตขึ้น สามารถเดินไปไหนมากไหนได้อย่างอิสระมากขึ้น เด็กส่วนใหญ่จะเกิดความรู้สึกนี้อย่างน้อย 1 ครั้ง ในช่วงอายุระหว่าง 9-18 เดือน และจะหายไปเมื่ออายุ 3 ขวบ เด็กจะมีอาการมากเมื่อคุณพ่อคุณแม่ไปต่างจังหวัด พบสถานะการณ์ที่ไม่คุ้นเคย หรืออยู่ในที่มืด

เราจะมีวิธีส่งเสริมให้เด็กกล้าแสดงออกได้อย่างไร

คราวนี้ถ้าคุณสรุปได้ว่าลูกคุณมีนิสัยขี้อายก็ไม่ต้องกังวลมากจะเกินไปนะคะ ความขี้อายไม่ได้เป็นผลเสียที่ร้ายแรงและไม่ได้มีผลต่อพัฒนาการของเขา เรามาดูกันค่ะว่ามีวิธีช่วงส่งเสริมการแสดงออกให้แก่เขาอย่างไรบ้าง

1. อย่าพูดว่า เด็กขี้อาย สิ่งแรกที่คุณทำได้ก็คือ พยายามหลีกเลี่ยงคำพูดที่ทำให้เขารู้สึกว่าเขาเป็นเด็กขี้อาย คำพูดว่า เขาเป็นเด็กขี้อาย นั้นจะทำให้เขามีความคิดฝังใจว่าเขาขี้อายจริงๆ หรือ อาจจะเป็นคำที่ทำให้เขาให้เป็นข้อแก้ตัวในการไม่เข้าสังคมคุณควรจะพูดว่า ?ให้เวลาเขาหน่อย ให้เขาคุ้นเคยกับคนที่เพิ่งเจอ? และคุณพยายามเตือนตัวของคุณเองด้วยไม่ให้คิดว่าเขาเป็นเด็กขี้อาย เพราะ ความคิดของคุณอาจจะมีอิทธิพลต่อตัวเขาได้โดยที่คุณไม่รู้ตัว

2. แสดงความเห็นใจกับเขา พูดให้เขารับรู้ว่า ถ้าเราเจอสถานการณ์แบบเขา เราก็อาจจะรู้สึกตื่นเต้นเหมือนกัน เด็กจะรู้สึกว่าเขาไม่ได้มีความรู้สึกนั้นอยู่คนเดียว จะทำให้คลายความตื่นเต้นกังวลไปได้ เช่น ถ้าเขาจะต้องไปโรงเรียนวันแรก พบกับเพื่อนใหม่ คุณอาจจะพูดว่า ?วันนี้แม่ต้องตื่นเต้นแน่ๆเลย เพราะได้ไปพบเพื่อนใหม่ๆของลูก?

3. ส่งเสริมให้เขาเข้าสังคมหรือแสดงออก ให้คำชมเชยทุกครั้งที่เขาเข้ากับญาติๆหรือเพื่อนๆได้ดี กล้าแสดงออกในสิ่งที่เคยกลัวมาก่อน แต่ไม่ควรจะบังคับหรือกระตุ้นให้เขาแสดงออกมากเกินไปหรือใช้เวลาเป็นตัวกำหนด เพราะจะทำให้เขาเกิดความเครียดและกังวล คุณควรจะให้เวลาเขาในการปรับตัวคุ้นเคยด้วยตนเอง เพราะว่าเด็กแต่ละคนนั้นจะใช้เวลาไม่เท่ากัน ชมเชยเมื่อเขามีความก้าวหน้าในการแสดงออก เช่น ถ้าเขาส่งยิ้มให้ญาติผู้ใหญ่ที่ไม่คุ้นเคยเป็นครั้งแรกหลังจากที่เจอกันมานานกว่า 15 นาที คุณก็ให้คำชมกับเขาว่า ?น้องยิ้มให้คุณยายแล้ว คุณยายจะต้องดีใจแน่ๆเลย? และคุณควรจะต้องคุยกับญาติของคุณด้วยว่า จะต้องใช้ความอดทนเล็กน้อย

4. อย่าตำหนิติเตียน การพูดตำหนิว่า ขี้อาย มีแต่ผลเสีย แม้เพียงเป็นการล้อเล่น คุณควรจะไว้เสมอว่า มันไม่มีประโยชน์อะไรเลยที่จะทำให้เด็กรู้สึกแย่ แม้ว่าจะทำให้คุณเกิดความบันเทิงระยะสั้นๆ

5. อย่าหลีกเลี่ยงการเข้าสังคม การให้เขาเข้าพบปะเด็กๆหรือคนอื่นๆ จะเป็นการลดความกลัวหรือความขี้อายลง มีเคล็ดลับนิดหนึ่ง คือ ถ้าจะพาเขาไปเข้ากิจกรรมเด็กๆ หรืองานเลี้ยงสังสรรค์ ควรจะพาเขาไปก่อนเวลาเล็กน้อย ก่อนที่เด็กคนอื่นๆจะมา เพื่อนให้เขาคุ้นเคยกับสถานที่ และคลายความกังวลลง

6. เริ่มจากหากิจกรรมง่ายๆ กลุ่มเล็กๆก่อน การเริ่มจากกลุ่มเล็กๆ กิจกรรมง่ายๆ จะทำให้เขาปรับตัวได้ง่ายกว่า มีความกังวลน้อยกว่า เมื่อคุณพาเขาไปเข้ากิจกรรม ไม่ควรบังคับให้เขาลงไปร่วมกิจกรรมโดยที่เขาไม่สมัครใจ ให้เวลานั่งอยู่บนตักของคุณ สังเกตสิ่งรอบข้าง เมื่อเขารู้สึกคุ้นเคย สบายใจเขาจะเข้าไปร่วมกิจกรรมด้วยตัวเอง

โดยสรุปแล้ว คุณสามารถส่งเสริมให้บุตรหลานของคุณมีความกล้าแสดงออก ลดความขี้อายลงได้ด้วยวิธีที่ไม่ยาก คุณไม่ควรจะกังวลกับอนาคตจนเกินไปเพราะส่วนใหญ่แล้วประสบการณ์และการเลี้ยงดูจะทำให้เขาเลิกขี้อายได้ในที่สุด สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ การที่การส่งเสริมมั่นใจแลความสามารถที่มีอยู่ในตัวเขา

ขอขอบคุณ ที่มา : นิตยสารเรื่องผู้หญิง ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต

airban-300x250
0
Shares