ตะค้านเล็ก สรรพคุณ-ประโยชน์ 10 อย่าง

สมุนไพร ตะค้านเล็ก

สมุนไพรตะค้านเล็ก มีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ ว่า ตะค้านหยวก (นครราชสีมา), จะขัด, จะค้าน, จัดค่าน, จั๊กค่าน, ตะค้าน, สะค้าน, หนาม, หนามแน เป็นต้น

สมุนไพร ตะค้านเล็ก ชื่อวิทยาศาสตร์ Piper ribesoides Wall., บางตำราใช้คำว่า Piper ribesioides Wall. จัดอยู่ในวงศ์ PIPERACEAE

ลักษณะของตะค้านเล็ก

ต้นตะค้านเล็ก จัดเป็นไม้เถาขนาดกลางเลื้อยพาดพันกับต้นไม้อื่น มีรากงอกออกตามข้อ ไม่มีเนื้อไม้ มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 4-5 เซนติเมตร เถายาวประมาณ 5-6 เมตร เนื้อเถามีหน้าตัดเป็นรัศมี ส่วนเปลือกเถาค่อนข้างอ่อนเนื้อสีขาว

ใบตะค้านเล็ก ใบเป็นใบเดี่ยวเดียว ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปแกมรูปรี ปลายใบแหลม โคนใบแหลมหรือเป็นรูปหัวใจ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 5-10 เซนติเมตร และยาวประมาณ 10-15 เซนติเมตร แผ่นใบเรียบทั้งสองด้าน

ดอกตะค้านเล็ก ออกดอกเป็นช่อยาวห้อยลงตามซอกใบ ดอกมีขนาดเล็กมาก เรียงอัดกันแน่นบนแกนช่อดอก

ผลตะค้านเล็ก ผลเป็นผลสดขนาดเล็กมา มีลักษณะกลม

สรรพคุณของตะค้านเล็ก

  1. เถาตะค้านเล็กมีสรรพคุณเป็นยาบำรุงกำลัง (เถา)
  2. เถาใช้ปรุงร่วมกับยาธาตุ เป็นยาแก้บำรุงธาตุ แก้ธาตุพิการ เป็นยาประจำธาตุลม ส่วนผลก็มีสรรพคุณเป็นยาบำรุงธาตุเช่นกัน (เถา,ผล)
  3. ใบมีรสเผ็ดร้อน มีสรรพคุณเป็นยาแก้ธาตุพิการ (ใบ)
  4. ใช้เป็นยาแก้ลมในกองเสมหะโลหิต (ใบ)
  5. ดอกมีรสเผ็ดร้อน มีสรรพคุณเป็นยาแก้ลมอัมพฤกษ์ ลมปัตคาดที่เกิดจากพิษพรรดึก (ดอก)
  6. ผลมีรสร้อนเล็กน้อย ใช้เป็นยาแก้ลมแน่นในทรวงอก (ผล)
  7. เถาและใบมีสรรพคุณเป็นยาขับลมในลำไส้ ทำให้ผายลมและเรอ แก้แน่นจุกเสียด (เถา,ใบ)
  8. รากมีสรรพคุณเป็นยาแก้ไข้ (ราก)
  9. รากใช้เป็นยาแก้หืด (ราก)

ขอขอบคุณ ที่มา : หนังสือสมุนไพรในอุทยานแห่งชาติภาคเหนือ ภาพประกอบอินเตอร์เน็ต

airban-300x250
0
Shares