แนะผู้สูงอายุเดินเร็วลดโรค

แนะผู้สูงอายุเดินเร็วลดโรค

นักวิจัยฝรั่งเศสแนะผู้สูงอายุออกกำลังกายด้วยการเดินเร็ว ๆ จะช่วยให้อายุยืนมากขึ้น และมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจต่ำ ขณะที่นักวิจัยเมืองลุงแซมก็เปิดเผยผลการวิจัยเตือนภัยผู้สูงอายุที่มีอาการ กล้ามเนื้ออ่อนแรง เนื่องจากพบว่ามีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคอัลไซเมอร์

การเดินเร็ว ๆ เพื่อออกกำลังกายกลายเป็นผลดีสำหรับผู้สูงอายุ เมื่อนักวิจัยชาวฝรั่งเศสได้ทำการศึกษาผู้สูงอายุทั้งชายและหญิงจำนวน 3,208 คนที่มีอายุระหว่าง 65 - 85 ปี และมีการติดตามผลสุขภาพเป็นช่วง ๆ ตลอดระยะเวลา 5 ปี พบว่า ผู้สูงอายุที่ออกกำลังกายด้วยการเดินเร็ว ๆ นั้นจะมีอายุยืนมากกว่าผู้สูงอายุที่ไม่ค่อยได้เดินเหินมากนัก หรือเดินออกกำลังแต่เดินช้า ๆ

โดยผู้สูงอายุที่เดินออกกำลังกาย ด้วยอัตราความเร็วต่ำมีโอกาสเสียชีวิต มากกว่าผู้ที่เดินเร็ว ๆ ประมาณ 44 เปอร์เซ็นต์ และมีความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตด้วยโรคหลอดเลือดหัวใจมากขึ้นถึง 3 เท่า

อย่างไรก็ดี ความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจนั้นยังพบได้ในเด็กวัยรุ่นที่ไม่ค่อยได้ออกกำลังกายด้วยเช่นกัน

ส่วนผู้สูงวัยที่มีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง ก็อย่านิ่งนอนใจ เมื่อนักวิจัยจากชิคาโก สหรัฐอเมริกาพบว่า อาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงในผู้สูงอายุมีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงต่อการเป็น โรคอัลไซเมอร์ด้วย

โดยในกรณีนี้เป็นงานวิจัยจาก Medical Center ของมหาวิทยาลัย Rush ในชิคาโก ซึ่งได้ทำการติดตามผู้สูงอายุจำนวน 970 คนที่มีอายุเฉลี่ย 80 ปี และไม่มีอาการความจำเสื่อมแต่อย่างใด โดยในช่วง 3 ปีของการวิจัย ได้มีการทดสอบเกี่ยวกับการทำงานของกระบวนการคิด และความแข็งแรงของกล้ามเนื้ออยู่ตลอดเวลา และพบว่า เมื่อ 3 ปีผ่านไป มีผู้สูงวัยที่เข้าร่วมการทดลองจำนวน 14.2 เปอร์เซ็นต์เป็นโรคอัลไซเมอร์ในทางตรงกันข้าม ผู้สูงอายุอีก 61 เปอร์เซ็นต์ที่กล้ามเนื้อยังแข็งแรงนั้น กลับมีความเสี่ยงต่ำที่จะเป็นโรคดังกล่าว

แพทริเซีย เอ. บอยล์ ผู้ทำการวิจัยได้กล่าวว่า "จากภาพรวมของงานวิจัยพบว่า ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อมีความเกี่ยวโยงกับการเกิดโรคอัลไซเมอร์ในผู้สูง วัย"

แม้นักวิจัยจะยังไม่สามารถหาคำตอบได้ว่า ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อกับการเกิดโรคอัลไซเมอร์มีความสัมพันธ์กันในรูปแบบ ใด แต่ผู้วิจัยก็ระบุความเป็นไปได้เอาไว้ว่ามีหลายประการ เช่น การที่ mitochondria ซึ่งเป็นแหล่งสร้างพลังงานของเซลล์เสียหาย หรือเสื่อมลงตามอายุขัย จนทำให้กล้ามเนื้อและกระบวนการคิดของผู้สูงอายุท่านนั้นต้องสูญเสียความ สามารถในการทำงานไปด้วย หรือเป็นผลมาจากระบบการทำงานของประสาทส่วนกลางผิดปกติก็เป็นไปได้เช่นกัน

ขอขอบคุณ ที่มา : นิตยสาร Spicy ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต

airban-300x250
0
Shares