นำเสนอสาระน่ารู้ บทความดีๆ เกี่ยวกับพัฒนาการของทารกตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 1 ปี เพื่อคุณพ่อคุณแม่จะได้เตรียมพร้อมรับมือกับพัฒนาการของลูกน้อยได้อย่างชาญฉลาด และมีสติ พร้อมที่จะแก้ไขและส่งเสริมให้ลูกน้อยมีพัฒนาการที่ดีสมวัย และสามารถเจริญเติบโตต่อไปได้อย่างมีความสุข สุขภาพแข็งแรง ร่าเริงสดใส ทาง Pstip หวังเป็นอย่างยิ่งว่าสาระความรู้ต่างๆ ในหมวดนี้จะสามารถเป็นแนวทางที่ดี สำหรับคุณพ่อคุณแม่คนใหม่นำไปปฏิบัติเพื่อลูกน้อยที่คุณรักได้อีกทางหนึ่งค่ะ

Written by on

ให้ลูกน้อยนอนเตียงเด็กเถอะ

เนื่องจากมีผลวิจัยจากต่างประเทศที่ชี้ว่า การที่ลูกรักวัยเบบี๋นอนร่วมร่วมเตียงกับพ่อแม่ มีโอกาสเสี่ยงที่ลูกจะถูกทับจนหายใจไม่ออก หากผู้เลี้ยงดูเมา กินยาบางชนิด หรืออ่อนเพลียจากการทำงาน ดังนั้นจึงแนะนำให้แยกลูกน้อยไปนอนในเตียงเด็กจะทำให้ลูกปลอดภัยกว่าค่ะ

ผลการวิจัยที่ว่านี้มาจาก ภาควิชาการพัฒนาทางกายภาพและสุขภาพของทารก มหาวิทยาลัยบริสตอลและวอริกประเทศอังกฤษที่ได้ศึกษาการเสียชีวิตอย่างไม่คาดคิดของเด็กน้อยวัยทารกที่มีอายุตั้งแต่ แรกเกิดถึง 2 ปี ในแคว้นอิงแลนด์ เขตตะวันตกเฉียงใต้ โดยทำการศึกษาในช่วงระหว่างเดือนมกราคม 2546 จนถึงเดือนธันวาคม 2549 โดยทีมวิจัยได้เปรียบเทียบกรณีการเสียชีวิตของเด็กทารกเหล่านี้เป็น 2 กลุ่ม กลุ่มหนึ่งคือกลุ่มความเสี่ยงสูง จากการที่เด็กเหล่านี้มีแม่เป็นวัยรุ่น สูบบุหรี่ และมีปัญหาการเข้าสังคม อีกกลุ่มได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ

ผลจากการวิจัย ในกลุ่มเปรียบเทียบทั้งสองพบว่า พ่อแม่ที่นอนร่วมเตียงกับลูกมี 20% ในจำนวนกรณีการเสียชีวิต 80 รายนั้น ซึ่งเป็นการเสียชีวิตขณะนอนร่วมเตียงกับพ่อแม่ถึง 54% โดยส่วนใหญ่เกิดขึ้นเพราะพ่อแม่ดื่มแอลกอฮอล์ หรือกินยาก่อนเข้านอน การเสียชีวิตของกรณีเหล่านี้มี 31% ขณะที่ในกลุ่มเปรียบเทียบมี 3% นอกจากนี้หัวหน้าทีมวิจัยยังได้บอกว่า การให้ลูกนอนบนโซฟาร่วมกันมีความเสี่ยงมากกว่าการนอนบนเตียงร่วมกันถึง 25 เท่า ดังนั้นเมื่อคุณแม่ป้อนนมลูกในตอนกลางคืนแล้วก็ควรนำลูกไปนอนบนเตียงเด็ก เพื่อป้องกันปัญหาดังกล่าว

แต่แม้ให้ลูกนอนเตียงก็เกิดปัญหาได้ เนื่องจากพบว่า 1 ใน 5 ของทารกที่เสียชีวิตขณะนอนหลับบนเตียง เกิดจากมีหมอนผ้าห่ม หรือผ้าอ้อมอุดปากและจมูก คุณพ่อคุณแม่จึงควรหมั่นใส่ใจดูแล ให้ลูกนอนหงาย ไม่ให้มีผ้ามากมายบนเตียง รวมทั้งจัดเตียงลูกให้ตั้งอยู่ใกล้ๆ กับเตียงของพ่อแม่ด้วย ยิ่งจะช่วยให้สามารถดูแลลูกได้ใกล้ชิดขึ้นค่ะ

ขอขอบคุณ ที่มา : นิตยสาร Modern Mom ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต

Written by on

Written by on

ลูกน้อยร้องไห้ บอกอะไรพ่อแม่

หากคุณพ่อคุณแม่หมั่นสังเกตเสียงร้องของลูก ก็จะสามารถรู้ได้ว่าลูกวัยเบบี๋ต้องการอะไร รวมถึงสามารถตอบสนองลูกให้ทันทีทันใจ ลูกรักก็หายหงุดหงิดใจและอารมณ์ดีบอกความลองมาดูกันว่าลักษณะเสียงร้องแบบ ไหนบอกอะไรเราบ้าง

  • หนูหิว ร้อง เสียงต่ำ ถี่และสั้น ร้องซ้ำกัน ขึ้นและลงเป็นจังหวะ เป็นช่วงๆ ยิ่งหากลูกแสดงท่าทางออกมา เช่น ดูดนิ้ว ทำปากจ๊วบจาบออกมานั่นแสดงว่าหิวแน่
  • หนูเจ็บ ไม่สบาย ร้องไห้ แบบกรีดร้องเสียงแหลมสูง ร้องแบบทันทีทันใด หน้าแดง เห็นอย่างนี้ต้องรีบตรวจทันทีว่ามีอะไรทำให้ลูกเจ็บปวด เช่น มีมดกัด มีเข็มทิ่มตำ เสื้อผ้ารัดผิวหนัง หรือแม้กระทั่งเจ็บแสบจากผดผื่นผ้าอ้อมต่างๆ เป็นต้น
  • หนูเปียกแฉะ ไม่สบายตัว ร้องไห้จ้า เสียงดัง และจะดังขึ้นเรื่อยๆ อาจมีเสียงร้องครางขึ้นจมูก พร้อมกับมีอาการไม่อยู่นิ่งหงุดหงิดงอแง
  • หนูเบื่อแล้วจ๊ะแม่ เริ่ม จากสียงอ้อแอ้ ตามมาด้วยเสียง ร้องดังกึกก้อง เพราะไม่มีใครสนใจ รวมทั้งอาจมีเสียงร้องปนสลับกับเสียงบ่นงึมงำ ไม่เป็นภาษา นั่นแสดงว่าเบื่อ ซึ่งหากมีใครอุ้มลูกน้อยขึ้นมาก็จะทำให้เขาดีขึ้น
  • หนูง่วงนอน ร้องไห้งอแง ขยี้ตา ส่งเสียงอาวคล้ายหาว จึงควรอุ้มลูกน้อยมากล่อมนอนให้เขาสบายที่สุดแต่หากลูกน้อยของคุณแม่ร้องไห้โดยไม่มีทีท่าว่าจะหยุด หรือร้องมากผิดปกติ ควรรีบพาไปปรึกษาแพทย์ทันทีค่ะ

ขอขอบคุณ ที่มา : นิตยสาร Modern Mom ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต

Written by on

Written by on

5 โรคร้ายที่ควรระวังในเด็กแรกเกิด

สิ่งหนึ่งที่คู่รักหลายคู่ ได้ให้ความสนใจและเล็งเห็นถึงความสำคัญก็คือ ปัญหาการมีบุตรยาก และปัญหาการติดเชื้อและเกิดโรคในเด็กแรกเกิด ซึ่งปัญหาดังกล่าว เป็นสิ่งที่พ่อแม่มือใหม่ควรศึกษาและหาวิธีแก้ไข รวมทั้งการป้องกันโรคร้ายที่จะมาเยือนตัวเด็ก ดังนั้น คอลัมน์หมอรามาฯ ไขปัญหาสุขภาพ จึงขอนำเสนอ "5 โรคร้ายที่ควรระวังในเด็กแรกเกิด"

1.ภาวะตัวเหลืองในทารก ตามปกติทารกแรกเกิดทุกคนจะมีตัวเหลืองมากบ้างน้อยบ้างเป็นปกติ โดยทั่วไปจะพบว่าตัวเหลืองมากที่สุดช่วง 3-4 วันหลังเกิด ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ทารกและมารดาออกจากโรงพยาบาลแล้ว ซึ่งมารดาจะต้องสังเกตว่า ลูกตัวเหลืองมากจนต้องกลับมาพบแพทย์ เพื่อทำการประเมินและตรวจร่างกายซ้ำว่า ไม่เป็นอันตรายต่อทารกหรือไม่ทารกที่มาพบแพทย์เมื่อตัวเหลืองมากจนถึงขั้นเป็นพิษกับเนื้อสมอง อาจจะสายเกินไป เพราะภาวะดังกล่าวได้ส่งผลเสียหายกับสมองที่เรียกว่าเป็น "สมองพิการ" ทำให้ทารกมีอาการบิดเกร็งแขนขา หลังแอ่น ชัก และอาจเสียชีวิตได้ หรือถ้ารอดชีวิตก็อาจมีผลในระยะยาว เช่น ปัญญาอ่อน การได้ยินบกพร่อง แขนขาเกร็งผิดปกติ เป็นต้นปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะตัวเหลืองมากในทารกจนอาจเป็นอันตราย ได้แก่ ทารกที่เกิดก่อนกำหนด, ทารกที่กรุ๊ปเลือดแม่และลูกไม่เข้ากัน เช่น แม่มีเลือดกรุ๊ปโอ ลูกมีเลือดกรุ๊ปเอหรือบี, ภาวะหรือโรคที่ทำให้เม็ดเลือดแดงแตกง่าย ที่พบบ่อย เช่น ภาวะพร่อง จี 6 พีดี (G-6PD deficiency) หรือมีประวัติเคยมีบุตรที่ต้องส่องไฟรักษาตัวเหลืองมาก่อน รวมทั้งลูกได้น้ำนมไม่เพียงพอและมีน้ำหนักตัวลดลงมากดังนั้นหากทารกที่เพิ่งเกิดและมีปัจจัยเสี่ยงดังกล่าว พ่อแม่ควรหมั่นสังเกตอาการตัวเหลืองในลูก หากไม่แน่ใจว่าตัวเหลืองมากผิดปกติหรือไม่ ควรนำทารกไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจประเมิน ทั้งนี้ในปัจจุบันการรักษาภาวะตัวเหลืองมากผิดปกติทำได้ง่ายๆ โดยการส่องไฟ ซึ่งมีประสิทธิภาพสูง สามารถลดระดับตัวเหลืองได้ นอกจากนี้ หากตัวเหลืองมากจนอาจเป็นอันตราย ก็สามารถให้การรักษาด้วยวิธีการเปลี่ยนถ่ายเลือดได้

2.ภาวะติดเชื้อในทารก เนื่องจากทารกแรกเกิดยังมีภูมิต้านทานไม่มากพอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทารกที่มีน้ำหนักตัวน้อยหรือเกิดก่อน กำหนดทำให้มีโอกาสติดเชื้อได้ง่ายและลุกลามไปยังอวัยวะสำคัญ เช่น ติดเชื้อในกระแสเลือด เยื่อหุ้มสมอง ปอดอักเสบ ทารกที่มีภาวะติดเชื้ออาจมีอาการแสดงได้หลายอย่าง เช่น ซึม ดูดนมน้อย นอนนิ่งๆ ไม่ค่อยขยับแขนขาหรือร้อง ตัวเย็น ตัวลาย หายใจเร็วผิดปกติ หยุดหายใจจนตัวเขียวหรือซีด บางรายอาจมีอาการเกร็งกระตุก หรือมีไข้ ทารกที่มีภาวะติดเชื้อรุนแรงอาจถึงกับช็อก ความดันเลือดต่ำ และเสียชีวิตได้ ดังนั้นหากท่านสังเกตเห็นอาการผิดปกติดังกล่าว ควรรีบนำทารกมาพบแพทย์เพื่อให้การตรวจวินิจฉัย และให้การรักษาตามความเหมาะสม

3.โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด ทารกที่มีโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดแบ่งได้เป็น 2 ชนิด ได้แก่ หัวใจพิการชนิดมีภาวะตัวเขียว และชนิดไม่มีภาวะตัวเขียว อาการที่พบและทำให้สงสัยว่าอาจมีโรคหัวใจ เช่น ริมฝีปากเขียว หายใจแรงเร็ว ซี่โครงบาน หน้าอกบุ๋ม จมูกบาน ดูเหนื่อย ดูดนมไม่นานก็หยุดเป็นพักๆ หายใจแรง ตัวเย็น มือเท้าเย็น ซีดแบบเฉียบพลัน ทารกบางรายแพทย์อาจตรวจพบว่ามีโรคหัวใจตั้งแต่ก่อนออกจากโรงพยาบาล และตรวจพบว่ามีเสียงหัวใจผิดปกติ ซึ่งอาจตรวจไม่พบ และแสดงอาการชัดเจนในช่วงหลังก็ได้

4.ภาวะลำไส้ขาดเลือดจากการบิดขั้ว เนื่องจากการจัดเรียงตัวของลำไส้ผิดปกติแต่แรกเกิด (malrotation)เป็นภาวะที่พบไม่บ่อย แต่ถ้าเป็นแล้วให้การวินิจฉัยและรักษาล่าช้า จะทำให้ทารกเสียชีวิตได้ สาเหตุเกิดจากลำไส้เล็ก และลำไส้ใหญ่มีการจัดเรียงตัวผิดปกติตั้งแต่เกิด ทำให้เกิดการบิดขั้วของเส้นเลือดแดงที่ไปเลี้ยงผนังลำไส้ ทำให้ลำไส้ขาดเลือด ทารกจะปกติดีทุกอย่างเมื่อแรกเกิด แต่ต่อมามีอาการอาเจียน ท้องอืด ถ่ายเป็นเลือดหรือสีน้ำหมาก หากปล่อยไว้ จะซึม ตัวซีด มีภาวะช็อก และเสียชีวิตได้ ทารกที่มีภาวะดังกล่าวต้องรีบให้การรักษาโดยการผ่าตัดอย่างรีบด่วน เพื่อไม่ให้ลำไส้ขาดเลือดจนไม่สามารถแก้ไขได้

5.ภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมนแต่กำเนิดเป็นภาวะที่พบได้บ่อยพอสมควรในประเทศไทย โดยทั่วไปประมาณ 1 ต่อ 3,000-4,000 จะพบอุบัติการณ์ได้มากในบางพื้นที่ของประเทศไทย ที่มีการบริโภคธาตุไอโอดีนน้อย เช่น ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ถึง 1 ต่อ 1,900 ทารกเกิดมีชีพ ภาวะนี้เป็นภาวะซ่อนเร้นอยู่ในตัวทารก เนื่องจากไม่สามารถบอกความผิดปกติได้จากการดูภายนอก เนื่องจากทารกจะดูเป็นปกติทุกอย่าง แต่หากไม่ให้การรักษาตั้งแต่ในระยะแรก (ภายใน 2 เดือน) จะส่งผลเสียรุนแรงต่อพัฒนาการเจริญเติบโตและสมอง ทำให้ปัญญา อ่อน อันที่จริงเราสามารถตรวจได้ง่าย เพียงตรวจเลือดทารกก่อนออกจากโรงพยาบาล เช่น หยดเลือดบนกระดาษกรองส่งตรวจ ซึ่งปัจจุบันโรงพยาบาลเกือบทุกแห่งทำการตรวจคัดกรองภาวะดังกล่าว ดังนั้นหากท่านได้รับการติดต่อจากทางโรงพยาบาล หรือจากกระทรวงสาธารณสุขว่า สงสัยทารกจะมีภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมน ต้องรีบนำทารกกลับมาพบแพทย์เพื่อตรวจซ้ำ และให้การรักษาในทันที เพื่อป้องกันภาวะปัญญาอ่อนแม้ว่า 5 อันดับโรคร้ายที่มักพบในเด็กแรกเกิด จะเป็นปัญหาใหญ่สำหรับพ่อแม่หรือผู้ปกครอง แต่ก็เชื่อว่าความรัก ความเอาใจใส่ การเลี้ยงดูเด็กทารก ก็คงจะมีอยู่อย่างเต็มเปี่ยม เพียงเพื่อให้เด็กเติบโตมามีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีในสังคม

ขอบคุณข้อมูลจาก

โดย รศ.นพ.ประชา นันท์นฤมิตหน่วยทารกแรกเกิด ภาควิชากุมารเวชศาสตร์คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ภาพประกอบทางอินเทอร์เน็ต

 

Written by on

Written by on

รู้จัก...ลูกรักแรกเกิด

คุณแม่หลายท่านอาจไม่เคยทราบว่าลูกน้อยแรกเกิดมีลักษณะอะไรที่แตกต่างและควร ใส่ใจ วันนี้เราจึงนำความรู้ดีๆ เช่นนี้มาให้คุณแม่ทำความเข้าใจลูกน้อยแรกเกิด

  • กระหม่อมหนูบาง กระหม่อม หน้าที่บุ๋มลงไปของลูก จะปิดได้หมดเมื่ออายุ 18 เดือน ส่วนกระหม่อมหลังของลูกจะปิดเมื่ออายุประมาณ 6 สัปดาห์ หรือในเด็กบางคนอาจใช้เวลาปิดนาน 4 เดือน คุณพ่อคุณแม่จึงควรระมัดระวังกระหม่อมลูกน้อยเป็นพิเศษ
  • อวัยวะเพศ สำหรับลูกชาย อัณฑะจะอยู่ในถุงอัณฑะเรียบร้อย แต่เด็กบางคนอาจมีอัณฑะลงมาเพียงข้างเดียวก่อน หลังจากนั้นจึงจะลงตามมาภายหลัง และปลายอวัยวะเพศก็จะปิด แต่สามารถฉี่ได้ตามปกติ ซึ่งปลายจำปีของลูกชายจะเปิดเองได้ภายหลังสำหรับอวัยวะเพศของลูกสาว อาจบวมเล็กน้อยและมีสีคล้ำ บางคนมีมูกคล้าย ๆ ตกขาวของผู้ใหญ่ ซึ่งเกิดจากฮอร์โมนของแม่ที่ลูกได้รับตั้งแต่อยู่ในท้อง แต่จะหายไปได้เองภายใน 1-2 สัปดาห์
  • จุดขาวๆที่จมูกลูก ดูเหมือนสิวเสี้ยนหัวขาวๆ หรือจุดขาวที่กลางเพดานปาก มักจะพบในลูกวัยแรกเกิดเกือบทุกคน สิ่งสำคัญคือคุณพ่อคุณแม่ต้องไม่บีบ เพราะจุดเล็กๆ นี้จะค่อย ๆ หายไปเองในภายหลัง เพราะการบีบอาจทำให้ผิวลูกอักเสบติดเชื้อได้
  • สะดือ สายสะดือของลูกหลังถูกตัดจะมีลักษณะคล้ายแท่งวุ่น ซึ่งจะค่อย ๆ เหี่ยวแห้ง และหลุดไปเองใน 1-3 สัปดาห์ สะดือของลูกน้อยเป็นจุดที่เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายได้ง่าย จึงควรทำความสะอาดด้วยแอลกอฮอล์ที่ทางโรงพยาบาลให้มา ทารอบ ๆ สะดือวันละครั้ง ไม่โรยแป้งลงสะดือ และควรเปิดสะดือไว้ให้แห้ง ซึ่งจะทำให้สะดือหลุดง่าย แต่หากสะดือของลูกมีเลือดหรือมีหนองไหล ควรรีบพาไปพบแพทย์
  • อุจจาระ ลูกวัยแรกเกิดส่วนใหญ่จะมีการ ขับถ่ายที่เรียกว่า "ขี้เทา" ภายใน 24 ชั่วโมง โดยจะมีสีเขียวดำ มีลักษณะเหนียวๆ และจะมีสีจางลงในวันต่อมา ปกติทารกแรกเกิดจะถ่ายบ่อย วันละ 3 - 5 ครั้ง ซึ่งเด็กที่กินนมแม่จะมีอุจจาระสีเหลืองทอง แต่หากกินนมขวดจะถ่ายมีลักษณะเป็นก้อน อาจมีอาการขับถ่ายยากกว่าเด็กที่กินนมแม่
  • ตัวเหลือง (Jaundice) อาการตัวเหลืองจะปรากฏขึ้นภายใน 3-4 วันหลังคลอด ซึ่งจะค่อยๆ จางหายไปในเวลา 6 - 7 วัน และอาการดังกล่าวจะหายไป เมื่อลูกอายุได้ 1 - 3 สัปดาห์ ถ้าลูกตัวเหลืองมากหรือมีอาการตัวเหลืองนานผิดปกติ ควรรีบปรึกษาแพทย์ ลูกน้อยจะมีพัฒนาการและสุขภาพที่ดีอย่างต่อเนื่อง อยู่ที่คุณแม่หมั่นสังเกตใส่ใจ หากสงสัยว่าลูกมีปัญหาหรือมีอาการผิดปกติเมื่อใดต้องรีบพาไปพบแพทย์เสมอค่ะ

ขอขอบคุณ ที่มา : นิตยสารรักลูก ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต

Written by on

Written by on

ลักษณะทั่วไปของทารกแรกเกิด

บทความกล่าวถึง อวัยวะต่างๆของทารก เช่น ตา หู จมูก ปาก สะดือ อวัยวะเพศ และวิธีการดูแลทำความสะอาด รวมถึงภาวะที่พบได้เป็นปกติในทารกแรกเกิด เช่น เลือดออกทางช่องคลอดที่เป็นผลมาจากฮอร์โมน

  • น้ำหนัก โดยปกติ จะมีน้ำหนักเฉลี่ยประมาณ 3,200 กรัม (สำหรับประเทศไทย) ตัวยาวประมาณ 50 เซนติเมตร ลักษณะศีรษะค่อนข้างโตเมื่อเทียบกับลำตัว สามารถที่จะเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อได้ทุกส่วน ถ้าจับให้นอนคว่ำ ก็สามารถที่จะหันศีรษะไปด้านใดด้านหนึ่งได้ โดยไม่ทำให้หายใจลำบาก ถ้ามีเสียงดังหรือได้รับความกระเทือน ทารกจะรู้สึกสะดุ้งตกใจ พร้อมๆกันก็จะกางแขนออก ต่อจากนั้นจึงงอข้อศอกให้ข้อมือเข้าหากัน แล้วจึงร้องมีเสียงดัง ปฏิกิริยาเช่นนี้ถือว่าเป็นปกติธรรมชาติ ในทางตรงกันข้าม ถ้าทารกนอนเฉยหรือซึม แสดงว่าอาจมีความผิดปกติของสมอง
  • ศีรษะ โดยปกติมักดูใหญ่ตามได้กล่าวแล้ว มีผมปกคลุมเต็ม ในวันแรกๆ อาจมีลักษณะค่อนข้างยาว ทั้งนี้เป็นผลเนื่องจากการคลอด ตรงกลางศีรษะด้านหน้า เหนือหน้าผากขึ้นไปจะมีลักษณะเป็นช่องนุ่มๆ สี่เหลี่ยมเรียกว่า ?ขม่อม? จึงต้องคอยระวังอันตรายที่จะเกิดขึ้นบริเวณนี้ เนื่องจากมีมันสมองอยู่ภายในและไม่มีกระดูกแข็งหุ้ม ขม่อมนี้จะปิดเมื่อทารกอายุประมาณ 1 ปี
  • ผิวหนัง โดยทั่วไปมักบาง จนบางครั้งมองเห็นเส้นเลือดฝอยได้ สีมักจะแดงหรือชมพูเข้ม อาจจะมีขนอ่อนอยู่ตามบริเวณไหล่และหลังก็ได้ ในทารกบางคนที่ไม่ครบกำหนดดี อาจพบขนอ่อนชนิดนี้ทั่วตัวก็ได้ ประมาณวันที่ 3 หลังคลอด ทารกบางคนอาจมีผิวหนังเป็นสีเหลืองได้ เชื่อว่าเพราะตับยังเจริญไม่เต็มที่ ทารกที่มีตัวเหลืองทุกรายจึงควรปรึกษาแพทย์ เพราะบางคราวอาจเป็นโรคร้ายแรงที่รักษาได้ไม่แน่ว่าจะเป็นสิ่งปกติเสมอไป ผิวหนังเป็นส่วนที่ควรระวังรักษาเช่นเดียวกัน ถ้าแตกหรือแห้ง อาจใช้น้ำมันสำหรับเด็กทาภายหลังจากอาบน้ำ ก็จะช่วยไม่ให้แตกมากขึ้น
  • อุจจาระ ทารกปกติจะถ่ายอุจจาระภายใน 24 ชั่วโมงหลังคลอด อุจจาระนี้มีสีเทาปนดำเรียกว่า ?ขี้เทา? (meconium) ไม่มีกลิ่น ต่อมาเมื่อทารกได้รับประทานนมแล้ว ขี้เทาจะค่อยๆเปลี่ยนเป็นสีเทาเข้ม เขียว เขียวเหลือง และเหลืองในที่สุด ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 4-5 วัน โดยปกติทารกจะถ่ายอุจจาระเกือบทุกครั้งที่รับประทานนม จึงอาจจะถ่ายวันละ 3-6 ครั้งก็ได้
  • สะดือ ในวันแรกๆสายสะดือจะมีสีเขียว ต่อมาก็ค่อยๆแห้งลง เปลี่ยนเป็นสีเหลืองและดำในที่สุด และจะหลุดไปในราววันที่ 7-10 หลังคลอด แต่อาจจะหลุดก่อนหรือหลังกว่านี้ก็ได้ ไม่มีอันตรายแต่อย่างใด ความสะอาดเป็นความสำคัญ เพราะสะดือเด็กจะเป็นสถานที่ที่เชื้อโรคจะเข้าไปได้ง่าย คนส่วนมากมักจะกลัวว่าทารกจะเจ็บ ไม่กล้าทำความสะอาดอย่างจริงจัง โดยความจริงแล้วทารกไม่รู้สึกเจ็บ เพราะเส้นประสาทบริเวณนั้นถูกตัด สายสะดือจึงค่อยๆแห้งๆ และตายหลุดไป จึงต้องรักษาความสะอาดและให้แห้งอยู่เสมอ โดยใช้แอลกอฮอล์ 70% เช็ดให้ทั่วทุกครั้งที่อาบน้ำหรือสกปรกจากอย่างอื่น วันละ 2-3 ครั้งจนกว่าจะหลุด
  • การหายใจ เด็กทารกปกติมักหายใจโดยใช้ท้องเป็นหลัก คือมีการเคลื่อนไหวของท้องมากกว่าทรวงอก หายใจประมาณนาทีละ 30-40 ครั้ง ซึ่งมากกว่าเด็กโตๆประมาณเท่าตัว ถ้าไม่มีอาการไอหอบหรือตัวเขียวถือว่าปกติ
  • เต้านม ทารกปกติไม่ว่าชายหรือหญิง ถ้าครบกำหนดมักจะมีเต้านมที่สามารถจะคลำได้ ในบางคนอาจมีน้ำนม 2-3 หยดไหลออกมาก็ได้ เป็นการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติ ไม่ควรไปบีบเล่น เพราะอาจมีอันตรายและเกิดการอักเสบขึ้นได้ ถ้าทิ้งไว้เฉยๆก็จะเล็กลงเป็นปกติได้เอง

การมีโลหิตไหลออกทางช่องคลอด

อาจพบได้ในทารกหญิงที่ครบกำหนด เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงหลังคลอดของฮอร์โมนเมื่ออายุ 3-4 วัน อาจมีโลหิตออกได้เล็กน้อย จะเป็นอยู่ครั้งเดียวและเป็นปกติไม่มีอันตรายหรือต้องรักษาอย่างใด

  • ตา โดยปกติไม่ต้องการยาหรือการรักษาพิเศษ อาจปล่อยไว้เฉยๆหรือเพียงใช้สำลีชุบน้ำสุกเช็ดจากภายนอก ไม่ควรล้างตาถ้าไม่จำเป็น ธรรมชาติสร้างน้ำตาไว้ล้างเรียบร้อยแล้ว มนุษย์ทุกคนไม่ว่าอายุเท่าใดจึงไม่จำเป็นต้องล้างตา ยกเว้นในการรักษาโรคตาบางชนิด
  • หู ไม่ต้องการการรักษาพิเศษอย่างใด อาจใช้สำลีพันปลายไม้เช็ดผง หรือขี้หูออกได้เฉพาะส่วนที่มองเห็น ที่อยู่ภายในไม่จำเป็นต้องล้างแต่อย่างใด
  • จมูก อาจใช้สำลีเช็ดได้เช่นเดียวกัน
  • ปาก ปากทารกในระยะแรกนี้ ไม่ต้องการการทำความสะอาดใดๆทั้งสิ้น ไม่ควรเช็ดหรือล้าง เพราะอาจทำให้เกิดแผลแล้วเป็นฝ้าขาวๆภายหลังได้ การใช้ยาสีม่วง (gentian violet) ทาจึงไม่มีความจำเป็นในทารกปกติ
  • อวัยวะเพศ ไม่ว่าชายหรือหญิง หลังจากอาบน้ำแล้วเพียงแต่เช็ดให้แห้ง ระวังไม่ให้สกปรก โดยเฉพาะภายหลังจากถ่ายอุจจาระหรือปัสสาวะ ใช้สำลีชุบน้ำสุกเช็ดออกก็เป็นการเพียงพอ การขลิบอวัยวะเพศในเด็กชาย ตามปกติไม่มีความจำเป็น นอกจากเป็นธรรมเนียมในบางเชื้อชาติและบางศาสนา ความจำเป็นทางการแพทย์มีน้อยมาก ทารกปกติทั่วไปมักจะร้องเวลาปวดปัสสาวะ เมื่อถ่ายออกมาแล้วจะเงียบ ไม่ได้หมายความว่ามีความผิดปกติ จึงเห็นได้ว่าเมื่อขลิบแล้วก็ยังร้องเช่นเดิม ความเชื่อที่ว่าเมื่อขลิบ แล้วจะทำให้พบโรคมะเร็งน้อยลง ก็ยังไม่มีผู้พิสูจน์ชัดเจน คำอ้างที่ว่าทำความสะอาดง่ายขึ้นก็ดูจะไม่ตรงนัก เพราะทารกและเด็กก็ไม่ได้มีความสกปรก ที่จะต้องทำความสะอาดเป็นพิเศษแต่อย่างใด แพทย์ผู้เชี่ยวชาญส่วนมาก แม้ในประเทศที่ชนบางเผ่านิยมขลิบปลายอวัยวะเพศ ก็ยังแนะนำว่าไม่มีความจำเป็นต้องทำ
  • เล็บ ควรตัดให้สั้นทุก 3-4 วัน เพื่อป้องกันไม่ให้ขีดข่วนลำตัวหรือหน้า อาจป้องกันด้วยการใส่ถุงคลุมมือทั้ง 2 ข้างก็ได้

ขอขอบคุณ ที่มา : นิตยสารรักลูก ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต

Written by on

Written by on

พัฒนาการด้านภาษาของลูกน้อย

ช่วงอายุ 1-6 เดือน พัฒนาการด้านภาษาของเด็กในระยะ 6 เดือนแรกของชีวิตยังมีลักษณะเป็นสากล กล่าวคือเด็กทั่วโลกมักจะมีขึ้นตอนการเปลี่ยนแปลงคล้ายคลึงกัน โดยเริ่มจากการทำเสียงในลำคอคล้ายเสียงสระ เช่น อู อา ในช่วงเดือนแรก เมื่ออายุประมาณ 2-3 เดือน เด็กจะเริ่มมีเสียงสระอื่นๆ เพิ่มมากขึ้น และเข้าใจจังหวะของการผลัดกันพูดคุยกับพ่อแม่หรือผู้เลี้ยงดู บางครั้งเด็กอาจเริ่มส่งเสียงร้องที่บ่งบอกถึงความต้องการที่แตกต่างกันได้ เช่น การร้องซึ่งหมายถึงหิว ร้องเมื่อต้องการให้มีผู้อื่นมาสนใจหรือเล่นด้วย เป็นต้น การส่งเสียงร้องที่แตกต่างกันเหล่านี้เป็นขั้นตอนแรกที่ผู้เลี้ยงดูสามารถ สังเกตและตอบสนองหรือสื่อสารกลับ เพื่อเป็นการเริ่มต้นการสอนวิธีสื่อสารระหว่างบุคคลให้แก่เด็ก นอกจากการทำเสียงคล้ายพูดคุยโต้ตอบกับเด็ก ผู้เลี้ยงดูควรมีปฏิสัมพันธ์อื่นๆ ร่วมไปด้วย ได้แก่ การสัมผัส มองหน้าสบตา สังเกตลักษณะหรือสีหน้าท่าทางของเด็ก เพราะจะช่วยให้การตอบสนองการสื่อสารเป็นไปอย่างเหมาะสมและรอบด้านในช่วงอายุ ประมาณ 4 เดือน เด็กจะเริ่มทำเสียงที่ใช้ริมฝีปาก (babbling) การทำเสียงริมฝีปากจะทำให้เด็กออกเสียงเป็นพยัญชนะอื่นๆ ได้เพิ่มมากกว่าเสียง อ.อ่าง เสียงสากลทั่วไปมักเป็นเสียงพยัญชนะ พ บ ป ม ในระยะแรกที่เด็กทำเสียงจากริมฝีปากเหล่านี้ อาจเกิดขึ้นทีละเสียงและฟังไม่ชัดเจน แต่จะค่อยๆ เพิ่มมากขึ้น และเป็นเสียงซ้ำๆ เช่น ปาปา มามา เป็นต้น พ่อแม่หรือผู้เลี้ยงดูในสังคมต่างๆ จะตอบสอนงต่อเสียงเหล่านี้ ไปตามความเข้าใจของวัฒนธรรมหรือภาษาของตน โดยเข้าใจว่าเด็กออกเสียงฟังดูคล้ายๆ เรียกพ่อหรือแม่ จึงค่อยๆ มีการสอนให้เด็กพูดเรียกพ่อหรือแม่จนกระทั่งเด็กพูดได้เมื่อใกล้อายุ 1 ปี

แม้พัฒนาการทางภาษาโดยเฉพาะภาษาพูดในช่วงวัยนี้ จะมีความเป็นสากล คือ ไม่แตกต่างกันมากนักในทุกสังคมทั่วโลก และเด็กยังพูดสื่อสารไม่ได้ การเลี้ยงดูดอย่างใกล้ชิดและมีการพูดคุยส่งเสริมให้มีพัฒนาการทางภาษาอย่าง เหมาะสมตั้งแต่แรกหลังเกิด ยังคงมีความสำคัญต่อการรับรู้และค่อยๆ เกิดความเข้าใจในภาษาที่ตนได้ยินเป็นประจำ รวมทั้งได้มีโอกาสเรียนรู้ขึ้นตอนการสื่อสารโต้ตอบ ทั้งในด้านภาษาท่าทางและภาษาพูด การเรียนรู้เหล่านี้มีความสำคัญเนื่องจากพัฒนาการทางภาษาในแต่ละสังคมหรือ วัฒนธรรมเป็นสิ่งที่เด็กต้องค่อยๆ เรียนรู้เสียงและการสื่อสารที่เป็นลักษณะเฉพาะทางสังคมนั้นๆ นอกจากนี้เป็นที่ทราบกันดีว่าเด็กสามารถได้ยิน ฟังและทำความเข้าใจสิ่งที่ได้ยินได้มาในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ก่อนที่จะเริ่มพูดที่มีความหมายคำแรก

พ่อแม่หรือผู้เลี้ยงดูควรพูดคุยกับเด็กอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะขณะที่ให้การดูแลเรื่องทั่วๆ ไปในชีวิตประจำวัน เด็กทารกมักมีความสนใจเสียงที่ค่อนข้างแหลม ซึ่งใกล้เคียงกับเสียงผู้หญิงหรือผู้ที่เป็นแม่มากกว่าเสียงทุ้ม ดังจะสังเกตได้ว่า คนโดยทั่วไปมักคุยกับเด็กทารกด้วยโทนเสียงที่ค่อนข้างแหลม และพูดคุยในลักษณะภาษาเหมือนเด็กใช้เพื่อดึงความสนใจจากเด็ก นอกจากคำพูดที่เป็นเสียงสูงมากกว่าปกติแล้วการทำเสียงสูงๆ ต่ำๆ ตลอดจนมีน้ำเสียงที่มีลักษณะแตกต่างกันไปบ้างตามสถานการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น จะทำให้เด็กได้เรียนรู้ความหมายของการสื่อสารที่บอกถึงอารมณ์ความรู้สึกแตก ต่างกันไปของผู้พูด มีคำแนะนำว่าการใช้ภาษาเด็กพูดคุยกับเด็กควรจะค่อยๆ ลดลงภายหลังช่วงอายุ 6 เดือน การสื่อสารด้วยคำพูดอย่างชนิดที่ใช้กับเด็กโตหรือผู้ใหญ่เพิ่มมากขึ้นจะ ค่อยๆ ช่วยให้เด็กเรียนรู้ภาษาในระยะต่อไปได้อย่างดี


โดย นิชรา เรืองดารกานนท์

 

Written by on

Written by on

การเลือกเสื้อผ้าให้กับทารกแรกเกิด

ดิฉันไม่ได้เตรียมเสื้อผ้าสำหรับลูกเท่าไร เพราะผู้ใหญ่บอกว่ายังไม่ให้เตรียม จนกว่าลูกจะเกิดและกลับบ้านแล้ว เพราะทางญาติสามีดิฉัน ถือ ตอนนี้ลูกกลับบ้านมาแล้ว ดิฉันคงต้องไปเลือกซื้อเสื้อผ้า ควรเลือกชนิดไหนดี ดิฉันควรเลือกเสื้อผ้าสำหรับลูกสักกี่ชุดจึงจะพอ เสื้อสำหรับทารกถ้าเป็นเสื้อที่ผ่าหน้า และใช้เชือกผูกไว้ด้านข้าง เป็นเสื้อผ้าที่ใส่ง่าย เสื้อที่ผ้าฝ้ายจะดีกว่าใยสังเคราะห์ อาจใช้เป็นเสื้อแขนยาวในช่วงทารกแรกเกิด เพื่อให้ลูกอบอุ่น เสื้อหลวม ๆ ทั้งตัวและแขนเสื้อ สวมใส่ได้ง่ายและสบายตัว ถ้าเป็นเสื้อสวมหัว ควรจะคอกว้างพอที่จะสวมหัวได้ง่าย ถ้าคอแคบควรมีผ่าตรงไหล่ และมีกระดุมติดด้านบน

เมื่อสวมหัวแล้วค่อยจับแขนลูกเบา ๆ สอดเข้าไปทางแขนเสื้อทีละข้าง ส่วนสีของเสื้อผ้านั้น ฝรั่งมีค่านิยมใช้สีฟ้าสำหรับเด็กผู้ชาย สีชมพูสำหรับเด็กผู้หญิง เรื่องนี้ไม่มีผลต่อเด็กหรอกค่ะ แล้วแต่คุณพ่อ คุณแม่จะชอบ ลูกน้อยคุณต้องการเสื้อผ้า ที่เขาใส่แล้วสบายตัวเวลาสวมเสื้อผ้าให้ลูกอย่างดึงแขน หรือขาแรง ๆ อาจทำให้เคล็ดยอกได้ ควรซื้อเสื้อผ้าที่มีขนาดใหญ่กว่าอยู่สัก 1-2 เบอร์ จะได้ใส่สบาย และใช้ได้นาน

เสื้อผ้าที่ใส่ก็มีเสื้อผ้ายืด พร้อมกางเกงสวมที่ใส่ตลอดเวลาสัก 4-6 ชุด เสื้อบาง ๆ ผ้ามัสลินผูกหลังสัก 4 ตัว เสื้อผ้าที่ใช้สวมหัว
แล้วยาวลงไปติดกระดุมที่หว่างขา ที่เรียกว่า ?ชุดหมี? จะรัดตัวมากกว่าเสื้อผ้า 2 ท่อน ซึ่งเหมาะกับบ้านเราซึ่งมีอาการร้อนตลอดปีมากกว่า ถุงมือถุงเท้าก็ไม่ค่อยจำเป็นเพราะอากาศร้อนอบ ถ้าเกรงว่าเด็กจะข่วนหน้าก็ตัดเล็บให้สั้นไว้

ขอขอบคุณ ที่มา : นิตยสารรักลูก ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต

Written by on