นำเสนอสาระน่ารู้ บทความดีๆ เกี่ยวกับพัฒนาการของทารกตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 1 ปี เพื่อคุณพ่อคุณแม่จะได้เตรียมพร้อมรับมือกับพัฒนาการของลูกน้อยได้อย่างชาญฉลาด และมีสติ พร้อมที่จะแก้ไขและส่งเสริมให้ลูกน้อยมีพัฒนาการที่ดีสมวัย และสามารถเจริญเติบโตต่อไปได้อย่างมีความสุข สุขภาพแข็งแรง ร่าเริงสดใส ทาง Pstip หวังเป็นอย่างยิ่งว่าสาระความรู้ต่างๆ ในหมวดนี้จะสามารถเป็นแนวทางที่ดี สำหรับคุณพ่อคุณแม่คนใหม่นำไปปฏิบัติเพื่อลูกน้อยที่คุณรักได้อีกทางหนึ่งค่ะ

Written by on

 

การเลือกของเล่นสำหรักเด็กขวบปีแรก

บทความ เสนอวิธีการเลือกของเล่นให้เด็กในวัยขวบปีแรก เพื่อส่งเสริมพัฒนาการให้สูงสุด

ของเล่นสำหรับทารกวัย 1 ถึง 3 เดือน รูปภาพหรือหนังสือที่มีสีสรรสดใส พวกปลาตะเพียน, ของเล่นที่จับเคาะได้, กล่องเพลง และเสียงเพลงกล่อมเด็ก ร้องเพลงให้ลูกฟัง เลือกเพลงให้ฟังเป็นเพลง ๆ นะคะ

ของเล่นสำหรับเด็กอายุ 4-7 เดือน

  • ลูกบอลนิ่ม ๆ ใส่ของไว้เมื่อกลิ้งแล้วเกิดเสียง
  • ของเล่นที่มีสีสดใส
  • ของเล่นที่มีที่จับ กล่องดนตรี
  • ของเล่นที่เขย่าได้ ชนิดที่มองเห็นเม็ดลูกปัดสีสวย ที่ทำให้เกิดเสียง
  • นิตยสารที่มีรูปสัตว์ และต้นไม้ที่ชี้ชวนให้ดูได้
  • หนังสือสำหรับเด็กที่มีสามมิติ ของเล่นสำหรับเด็กวัยนี้

ของเล่นที่วางซ้อนกันได้ รูปร่างต่าง ๆ สีสดใส

  • ถ้วย กระป๋องเล็ก ๆ หรือกล่องใส่ของที่ไม่แตก
  • ของเล่นที่ลอยน้ำได้ บีบแล้วเกิดเสียง
  • บล็อกขนาดใหญ่ที่ต่อซ้อนกันได้
  • ตุ๊กตาตัวใหญ่หน่อย
  • รถ รถบรรทุก และรถต่าง ๆ ที่ทำด้วยพลาสติก
  • ลูกบอลขนาดต่าง ๆ
  • กล่องดนตรี
  • ของเล่นที่ลาก หรือดันแล้วเกิดเสียง
  • โทรศัพท์ของเล่น
  • กล่องกระดาษ หนังสือแมกกาซีน กล่องกระดาษใส่ไข่
  • กล่องพลาสติกที่ใส่นมล้างสะอาดแล้ว

ขอขอบคุณ ที่มา : นิตยสาร Modern Mom ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต

Written by on

Written by on

สิ่งที่ควรระมัดระวัง เรื่องความปลอดภัยในขวบปีแรก

ขวบปีแรก เป็นวัยที่กำลังเรียนรู้สิ่งรอบตัว คุณพ่อคุณแม่จึงควรต้องดูแลเป็นพิเศษ เด็กยังไม่รู้ว่าสิ่งใดเล่นได้ สิ่งใดอันตราย สิ่งที่ควรระมัดระวังมีดังนี้

ดูแลลูกให้ปลอดภัยในช่วงวัยก่อนขวบ
  • ใส่ที่นั่งสำหรับเด็กที่มีสายรัดตัวเด็กไว้ทุกครั้งที่ให้ลูกนั่งรถ
  • มีประตูกันพลัดตกหกล้มบันได อย่าให้ลูกปีนป่ายโต๊ะ เก้าอี้ บุมุมโต๊ะ ตู้ ที่มีเหลี่ยมคม

ถูกความร้อนลวก

  • อย่าถือน้ำร้อนหรืออาหารที่ร้อนมาใกล้ ๆ ลูกหรือถือน้ำร้อนในขณะที่อุ้มลูกอยู่
  • อย่าวางกระติกน้ำร้อน ถ้วยกาแฟร้อนที่มุมโต๊ะที่เด็กหยิบถึง
  • อย่าให้เด็กเข้ามาใกล้เตาหุงตุ้มต่าง ๆ

จมน้ำ

  • อย่าทิ้งลูกไว้คนเดียวในอ่างอาบน้ำ หรือบริเวณที่มีถังใส่น้ำ ตุ่มเตี้ย ๆ บ่อน้ำ ส้วม

สารพิษ และสำลัก

  • อย่าทิ้งของชิ้นเล็ก ๆ ไว้ใกล้เด็ก เด็กจะหยิบเข้าปากสำลักได้
  • อย่าให้ลูกกินอาหารที่เป็นเม็ดแข็ง เช่น ถั่วลิสง ผลไม้ที่มีเม็ดเช่น น้อยหน่า
  • เก็บยาและน้ำยาทำความสะอาด น้ำมันก๊าซไว้ในที่เด็กหยิบไม่ถึง
  • ใส่กุญแจลิ้นชัก ตู้ที่มีวัตถุอันตราย เช่น มีด ปืน

ขอขอบคุณ ที่มา : นิตยสาร Modern Mom ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต

Written by on

Written by on

การให้นมลูกมีหลายท่า

การให้นมลูกมีหลายท่าซึ่งแล้วแต่คุณแม่จะถนัดในการให้นมท่าใด มีดังต่อไปนี้ค่ะ

1.การให้นมลูกท่า madonna หรือ cradle แม่นั่งในท่าสบาย มีหมอนหนุนหลัง อุ้มลูกเข้าหาตัว โดยให้ท้องของลูก พาดอยู่ที่หน้าท้องของแม่ ให้แขนข้างที่ติดกับแม่ พาดโอบไปด้านข้างตัวแม่

 
 

2. ถ้าทารกตัวเล็ก แม่ต้องใช้มือที่พยุงเต้านมมาประคองศีรษะ โดยใช้มือซ้ายพยุงก้นลูกขึ้น ให้ตัวลูกสูงขึ้น อยู่ในระดับเดียวกับเต้านมแม่ เรียกว่าท่า cross ? cradle

 
 

3. การให้นมลูกท่าอุ้มลูกฟุตบอล แม่นั่งในท่าสบาย กอดลูกไว้ในอ้อมแขนข้างเดียวกับเต้านมที่ลูกดูด ท่านี้จะทำให้แม่เห็นหน้าลูกได้ชัดขณะดูดนม และเป็นวิธีเดียวที่ลูกแฝด จะสามารถดูดนมแม่ได้พร้อมกัน โดยมีแม่อุ้มกอดเหมือนอุ้มลูกฟุตบอลพร้อมกัน 2 ลูก

 
 

4. การให้นมท่านอน ท่านี้เป็นท่าที่สบาย โดยเฉพาะการให้นมในตอนกลางคืน โดยให้แม่นอนตะแคงข้าง โดยมีหมอนหนุนหลัง และศีรษะเอาไว้ ให้ลูกนอนตะแคง หันหน้าเข้าหาหน้าอกแม่ ให้ได้ระดับปากตรง กับหัวนมแม่ เมื่อลูกอ้าปาก จะได้ดูดหัวนมแม่ได้พอดี

 
 

ข้อควรระวัง การให้นมท่านี้สำหรับแม่ที่มีเต้านมใหญ่มาก อย่าเผลอหลับขณะให้นมลูก เพราะเต้านมแม่อาจจะปิดทับจมูกลูก จนหายใจไม่ออก ถึงขั้นเสียชีวิตได้

รู้ได้อย่างไรว่าลูกได้รับนมแม่เพียงพอหรือไม่

ทารกที่กินนมแม่นั้น ไม่ต้องกลัวว่าจะได้รับนมไม่เพียงพอ ถ้าเขาหิวเขาจะดูดแรง การดูดของลูกจะกระตุ้นให้แม่หลั่งน้ำนมมาก แม่ควรทำใจให้สบาย ดื่มน้ำให้มากและทานอาหารที่มีโปรตีนสูง ถ้าลูกมีผิวหนังอักเสบจากการดูดนม เช่น เป็นขี้กลากน้ำนม แพทย์บางท่านอาจแนะนำให้แม่ งดดื่มนมวัว เพราะโปรตีนจากนมวัวที่แม่ดื่ม ผ่านไปยังลูกซึ่งทำให้ลูกเกิดผื่นแพ้ได้

วิธีดูง่ายๆว่าลูกได้รับน้ำนมแม่เพียงพอก็คือ

  • ลูกตื่นขึ้นมากินนม 8 มื้อขึ้นไป ใน 24 ชม.
  • ดูดนมนานประมาณ 10 นาทีต่อมื้อ
  • แม่ได้ยินเสียงลูกกลืนน้ำนมลงคอได้ชัดเจน
  • หลังจากลูกดูดนมแล้วเขาไม่แสดงอาการหิว เช่น ดูดนิ้ว หันหน้าไซ้นมแม่
  • เต้านมแม่ที่เคยคัดก่อนลูกดูดนม จะรู้สึกยุบลงและนิ่มขึ้น
  • ลูกถ่ายปัสสาวะ วันแรก : 1-2 ครั้ง / วันที่ 3 : 2-3 ครั้ง และหลังจากวันที่ 6 : อย่างน้อย 6 ครั้ง ซึ่งทารกที่กินนมมากอาจจะถ่ายปัสสาวะทุก 1-2 ชม.
  • ลูกถ่ายอุจจาระมีเม็ดสีเหลือง หลังจากถ่ายอุจจาระเขียวๆ เหนียว ( ขี้เทา ) ออกหมดแล้ว
  • ลูกมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นวันละ 20-40 กรัม หรือ 600-1,200 กรัม เมื่อครบ 1 เดือน

ให้นมลูกเมื่อเขาแสดงอาการหิว ซึ่งที่สำคัญคือ เมื่อลูกร้องนั้น ไม่ได้หมายความว่าเขาจะหิวทุกครั้ง เขาอาจจะอ้อนให้อุ้ม ผ้าอ้อมเปียกหรือถูกมดกัดเป็นต้น ดังนั้นแม่ต้องค้นหาสาเหตุดูก่อน ถ้าเขาหิวจริงค่อยให้นมเมื่อลูกโตขึ้น กระเพาะก็จะขยายใหญ่ขึ้น ต้องฝึกให้เขากินเป็นมื้อคือ 8-12 มื้อ/24 ชม. จับให้ลูกเรอ หลังลูกกินนมเสร็จ ให้อุ้มลูกพาดบ่าหรือจับนั่งขึ้น ลูบหลังหรือตบหลังเบาๆ ให้เรอลมออกมา ถึงแม้ว่าบางมื้อเขาจะไม่เรอก็ไม่เป็นไร บางครั้งเรอแรง อาจมีนมไหลตามออกมาได้ เรียกว่า ?แหวะนม? แต่ก็เป็นปกติสำหรับทารก

 

ควรให้ลูกดูดนมจากเต้านมทั้ง 2 ข้าง โดยดูดข้างหนึ่งจนเกือบอิ่ม แล้วจึงเปลี่ยนให้ดูดอีกข้างหนึ่งต่อ การเปลี่ยนให้ลูกดูดเต้านมอีกข้าง จำเป็นต้องทำให้ถูกวิธี เพราะลูกกำลังดูดเพลินๆอยู่ อย่าดึงหัวนมออกอย่างฉับพลัน เพราะจะทำให้แม่เจ็บหัวนมหรือหัวนมแตกได้ ให้ใช้นิ้วสอดเข้าไปในปากระหว่างเหงือกของลูก และสอดให้ลึกพอที่ลูกจะหยุดดูด ปากลูกอ้าจึงค่อยเคลื่อนหัวนมออก

แม่ต้องดูแลตัวเอง แม่ต้องดูแลตัวเองให้สมบูรณ์ด้วยค่ะ จึงจะให้นมลูกได้สำเร็จ ต้องพักผ่อนนอนหลับให้เพียงพอ ในช่วงลูกที่หลับ ให้หาคนมาคอยเฝ้าดูแลลูกไว้ การได้นอนหลับจะช่วยให้คุณรู้สึกดี แข็งแรง ซึ่งเป็นกุญแจสำคัญในการที่จะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ให้ประสบความสำเร็จ ?ลูกหลับแม่หลับด้วย?

สามีต้องสนับสนุ คุณพ่อควรช่วยให้กำลังใจ และแบ่งเบาภาระการดูแลลูก ให้แม่ได้พักผ่อนให้เพียงพอ ช่วยดูแลทำอาหารให้รับประทาน ในช่วงหลังคลอดซึ่งยังไม่ฟื้นตัวจากการคลอดดีนัก แม่ต้องเจ็บหัวนม และอดนอนให้นมลูก ผู้เป็นแม่ต้องอดทนอย่างสูง จึงจะทำได้สำเร็จ ขอให้ภูมิใจที่คุณทั้งสองได้ทำหน้าที่พ่อและแม่สมบูรณ์ในอีกระดับหนึ่ง

ขอขอบคุณ ที่มา : นิตยสารรักลูก ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต

Written by on

Written by on

การให้นมในทารกแรกเกิดถึง 3 เดือนแรก

ในช่วงแรกน้ำนมแม่อาจจะออกมาไม่เพียงพอสำหรับลูกน้อย ถ้าจะให้นมผสมสำหรับทารก เสริมควรป้อนด้วยถ้วยเล็กให้ลูกดื่ม ไม่ควรให้ดูดจุกนม เพราะเด็กจะไม่ยอมดูดนมแม่อีก การเลี้ยงดูในช่วงแรกนี้ง่ายเพราะ ลูกจะกินอิ่มแล้วนอนหลับไปเป็นส่วนใหญ่

หลักการให้นม

  • ควรเลี้ยงทารกแรกเกิดถึงอายุ 3 เดือน ด้วยนมแม่เพียงอย่างเดียว เพราะนมแม่เป็นอาหารทีดี่ที่สุด มีสารอาหารครบถ้วนทางโภชนาการ รวมทั้งให้จุลินทรีย์สุขภาพซึ่งช่วยให้ภูมิต้านทานโรคติดเชื้อ และป้องกันการดูดซึมสารแปลกปลอมต่างๆ ซึ่งคุณสมบัติเหล่านี้ไม่มีอยู่ในนมชนิดอื่น ลดความเสี่ยงของโรคภูมิแพ้ และเพิ่มความผูกพันใกล้ชิดระหว่างแม่กับลูก รวมทั้งช่วยสะอาดและประหยัด แม่ทุกคนจึงควรเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ให้นานที่สุดเท่าที่จะทำได้
  • การเริ่มให้นมลูกนั้นจะประสบความสำเร็จด้วยดีโดย ให้ลูกดูดนมแม่บ่อย ๆ ทุก 2-3 ชั่วโมง 3-4 สัปดาห์ต่อมาให้นมทุก 3-4 ชั่วโมง แต่ละครั้งประมาณ 5-15 นาที เราจะรู้ได้ว่ามีน้ำนมแม่ให้ลูกเพียงพอ โดยสังเกตเห็นว่าขณะที่ลูกดูดนมข้างหนึ่ง จะมีน้ำนมพุ่งออกจากหัวนมอีกข้างหนึ่ง เมื่อลูกกินอิ่มจะหลับสบาย กินนมแม่จะถ่ายบ่อย อุจจาระสีเหลืองทอง ลักษณะเหลวเป็นฟองมีกลิ่นเหม็นเปรี้ยว เติบโตดี
  • แม่ที่ทำงานนอกบ้านควรให้นมแม่ อย่างเต็มที่ในระยะพักหลังคลอด เมื่อกลับไปทำงานก็จะให้นมแม่ได้ ในเวลาเช้ากับกลางคืน และบีบนมใส่ขวดสะอาดไว้ให้ลูก สำหรับช่วงกลางวัน หากจำเป็นต้องใช้นมผงดัดแปลง สำหรับทารกจะต้องผสมให้ถูกส่วน และดูแลทำความสะอาดด้วยการนึ่งหรือต้มขวดนม และจุกในน้ำเดือดนาน 10 นาที
  • เมื่อทารกอายุครบ 3 เดือน แล้วจึงเริ่มให้อาหารอื่นนอกจากนม เพื่อให้เกิดความคุ้นเคยกับอาหารกึ่งแข็งกึ่งเหลว เริ่มให้ข้าวบดใส่น้ำแกงจืด สลับกับกล้วยครูดครั้งละประมาณ 1-6 ช้อนชา วันละครั้งแล้วให้ดูดนมตามจะอิ่ม

การให้นมและอาหารเสริมในทารกอายุ 3-6 เดือน

  • การให้นม ทารกที่กินนมแม่ ควรจะให้นมแม่ต่อไป สำหรับทารกที่กินนมผสม ก็ยังคงใช้นมดัดแปลงสำหรับทารกที่มีธาตุเหล็ก ซึ่งอาจจะให้มื้อละ 4-6 ออนซ์ วันละ 5-6 มื้อ หรือทุก 3-4 ชม. หลังอายุ 4 เดือน ควรจะค่อย ๆ ลดนมมื้อกลางคืนในช่วงตี 2 ถ้าลูกไม่ตื่นให้นอนจนถึงเช้า และเพิ่มปริมาณนมในแต่ละมื้อ อย่าใช้นมข้นหวานหรือนมวัวธรรมดาเลี้ยงทารกตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ 1 ปี
  • อาหารตามวัย ระยะนี้ทารกต้องการอาหารที่มีธาตุเหล็กและวิตามินต่าง ๆ เพิ่มขึ้น เมื่อทารกอายุครบ 4 เดือน ควรเริ่มให้ข้าวบดกับกล้วย ไข่แดงต้มสุก หรือข้าวบดกับตับ สลับกับข้าวบดกับถั่วต้มเปื่อยหรือเต้าหู้ขาว โดยเริ่มให้มื้อละ 2-3 ช้อนโต๊ะ ควรให้อาหารวันละมื้อเพิ่มจากนม ทารกควรได้รับอาหารมื้อหลัก 1 มื้อ แทนนมเมื่ออายุ 6 เดือนอาหารสำหรับทารกวัยนี้ควรทำให้อ่อน สับ บดละเอียด ต้ม และควรมีรสจืด ไม่ควรเติมสาร ปรุงรสใด ๆอาหารชนิดใหม่ ควรเริ่มที่ละชนิดเดียวและค่อย ๆ เพิ่มปริมาณขึ้น เพื่อดูว่าลูกมีอาการแพ้ เช่น ผื่นขึ้น ถ่ายเหลวหรือไม่ ถ้าทารกปฎิเสธเพราะไม่คุ้นเคย ควรจะงดไว้ก่อน แล้วลองให้ใหม่ที่ละน้อย อีกใน 3-4 วันต่อมาจนทารกยอมรับ
  • เมื่อทารกอายุครบ 5 เดือน เริ่มข้าวบดกับเนื้อปลา อาจเติมฟักทอง หรือ ผักใบเขียว เช่นตำลึงหรือผักบุ้งที่ล้างให้สะอาดสับละเอียดต้มสุก สัดส่วนของอาหารเด็กประมาณอย่างคร่าว ๆ ว่าให้มีข้าว 3 ส่วน เนื้อสัตว์หรือถั่ว 1 ส่วน ( เช่นข้าว 3 ช้อน ไก่บด 1 ช้อน ) เมื่อเริ่มป้อนอาหารมื้อแรกลูกอาจใช้ลิ้นดุนออกไม่ยอมกลืน ความจริงแล้วลูกอยากกิน แต่ตะหวัดลิ้นไปด้านหลังให้ลงสู่คอยังทำไม่เป็น จึงกลายเป็นดุนอาหารออก ควรป้อนต่อไปโดยใช้ช้อนเล็กป้ายไปที่เพดานปาก จะได้ฝึกกลืน

ขอขอบคุณ ที่มา : นิตยสาร Modern Mom ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต

Written by on

Written by on

การฝึกนิสัยการกิน

เคล็ดลับในการฝึกให้เด็กมีนิสัยการกินอาหารที่ดี

  • ควรจัดเวลาการกินอาหารให้แน่นอน อย่าให้ตรงกับเวลาที่เด็กง่วงนอน ถ้าเป็นเด็กโตต้องกำหนดช่วงเวลากินไว้ เช่น อาหารเช้าประมาณ 20-30 นาที อาหารเย็นประมาณ 30-40 นาที
  • ห้องที่รับประทานอาหารควรสงบ ปราศจากสิ่งดึงดูดความสนใจจากการกิน ไม่ควรชวนให้เด็กเล่น หรือหัวเราะขณะกินอาหาร
  • อาหาร ควรมีลักษณะสีสันน่ากิน ปริมาณที่ตักในครั้งหนึ่งๆ ไม่มากจนเกินไป
  • ภาชนะที่ใส่อาหารควรมีสีสันชวนมอง ในระยะแรกที่เด็กหัดกินเอง ควรใช้ภาชนะที่มีขอบสูง เวลาเด็กใช้ช้อนตัก จะได้ไม่หกง่าย และไม่แตกง่าย ช้อนต้องมีด้ามยาวพอให้เด็กถือได้
  • การให้อาหารใหม่แก่เด็ก ถ้าเป็นเด็กเล็ก ผู้ใหญ่ควรป้อนคำแรกแต่น้อย พอให้เด็กรู้รส ในบางครั้งเด็กอาจบ้วนทิ้ง ให้ลองพยายามป้อนดูใหม่
  • ถ้าเด็กเล่นอาหาร ขว้างปาช้อนหรือถ้วย หรือร่ำไรในการกิน ให้เก็บชามอาหารขึ้น เมื่อถึงเวลาอาหารมื้อต่อไป เด็กก็จะกินอาหารได้มากขึ้น
  • พ่อแม่ ควรใจเย็นเมื่อป้อนอาหารเด็ก อย่าแสดงสีหน้าเป็นกังวลให้ปรากฏ หรือใช้คำพูด หรือทำตัวอย่างการกินที่ไม่ดีให้เด็กเห็น
  • เมื่อเด็กนั่งได้ดี และพอจะตักอาหารเข้าปากตนเองได้ ควรมีโอกาสกินข้าวพร้อมครอบครัวสัก 1 มื้อต่อวัน เพื่อเรียนรู้วิธีการกินจากคนอื่น และให้มีคนหนึ่งคอยช่วยเหลือ และแนะนำอาหารที่เป็นประโยชน์ให้เด็ก
  • ไม่ควรเร่งเด็ก ดุ ว่า หรือให้สินบนเมื่อเด็กกินอาหาร ควรให้คำแนะนำแก่เด็กมากกว่า
  • เวลากินอาหาร ควรเป็นเวลาที่มีความสุข ไม่ควรดุว่าเด็กก่อน หรือระหว่างการกินอาหาร

ขอขอบคุณ ที่มา : นิตยสาร Modern Mom ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต

Written by on

Written by on

การให้นมและอาหารเสริมในทารก อายุ 6-12 เดือน

การให้นมและอาหารเสริมในทารกอายุ 6-9 เดือน

การให้นม

ทารกที่กินนมแม่ ควรจะให้นมแม่ต่อไป ทารกที่กินนมผสมอาจจะใช้นมดัดแปลงสำหรับทารก ( Infant formula ) ต่อไปก็ได้ หรือจะเปลี่ยนเป็นนมสูตรต่อเนื่อง ( Follow ? on formula ) ซึ่งเป็นนมวัวดัดแปลงสำหรับเด็กอายุ 6 เดือน ? 3 ปีก็ได้ ควรผสมให้ถูกต้องตามคำแนะนำข้างกระป๋องหรือคำแนะนำของแพทย์ พยาบาล ให้นมมื้อละ 6-8 ออนซ์ ให้นมวันละ 4-5 มื้อ เมื่อรวมทั้งวัน 24 ชม. แล้วทารกไม่ควรได้รับนมวัวดัดแปลงเกิน 32 ออนซ์ ในระยะนี้ทารกส่วนใหญ่จะหลับตลอดคืน อาจงดดื่มนมมื้อดึกได้

อาหารตามวัย

  • ทารกอายุ 6 เดือน ควรได้อาหารมื้อหลัก 1 มื้อ ซึ่งเป็นข้าวบดใส่ไข่แดง เนื้อปลา ตับ ถั่วต้มเปื่อยหรือเต้าหู้ขาวอย่างใดอย่างหนึ่งผสมผักใบเขียว รวมหนึ่งถ้วยเล็ก ก็จะทำให้ทารกอิ่มพอดี ควรใช้ช้อนเล็ก ๆ ขอบมนตักป้อนให้ช้า ๆ
  • เมื่อทารกอายุได้ 7 เดือน เริ่มให้เนื้อสัตว์ เช่น ไก่ หมู หรือเนื้อปลา บดหรือสับละเอียดต้มสุกผสมกับข้าวและผักใบเขียว หรือฟักทอง 1-2 ช้อน นอกจากจะได้อาหารมื้อหลัก 1 มื้อ แล้วอาจให้อาหารว่างแก่ทารกได้อีก 1 มื้อ เช่น กล้วยสุกครูด มะละกอสุกในปริมาณ 2-4 ช้อนโต๊ะ
  • ทารกอายุ 8 เดือน ควรได้อาหารมื้อหลัก 2 มื้อโดยให้อัตราส่วน ข้าว 3 ส่วน เนื้อสัตว์ หรือถั่ว เต้าหู้ 1 ส่วน ผักอีกต่างหาก 1-2 ช้อนโต๊ะ

การให้นมและอาหารเสริมในทารกอายุ 9-12 เดือน

  • การให้นมนมแม่ในระยะนี้จะมีปริมาณลดลงแต่คุณภาพยังดีอยู่ จึงควรจะให้ทารกกินนมแม่ต่อไป สำหรับทารกที่กินนมผสมนั้นใช้นมวัวดัดแปลงสำหรับเด็กอายุ 6 เดือน ? 3 ปี ( Follow-on formula) ในปริมาณไม่เกินวันละ 32 ออนซ์ และในระยะนี้ทารกควรจะหลับตลอดคืนโดยไม่ตื่นขึ้นมากินนมมื้อเด็ก เพื่อให้เด็กกินอาหารได้ตามวัย ควรลดมื้อนมลงเพื่อทดแทนด้วยอาหาร รวมทั้งนมและอาหารควรเป็นประมาณ 6 มื้อใน 24 ชั่วโมง เช่น ถ้าให้อาหาร 2 มื้อ ควรให้นมอีก 4 มื้อ
  • อาหารตามวัยอายุ 9 เดือน ทารกในวัยนี้ควรจะได้อาหารมื้อหลัก 2 มื้อมื้อละ 1 ถ้วย โดยเตรียมจากข้าวบดผสมไข่แดงทั้งฟอง ตับ หรือเนื้อสัตว์ ถั่วต้มเปื่อย กับผักใบเขียว นอกจากนี้อาจจะเริ่มให้ไข่ต้มสุกทั้งฟอง บดละเอียดแก่ทารกได้ยกเว้นเด็กที่มีประวัติแพ้อาหาร

อายุ 10-12 เดือน ทารกควรได้อาหารมื้อหลัก 3 มื้อ และให้อาหารว่างวันละ 1 มื้อ เช่น กล้วยสุกครูด มะละกอสุก ฟักทองนึ่งในปริมาณ 3-4 ช้อนโต๊ะ

ขอขอบคุณ ที่มา : นิตยสาร Modern Mom ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต

Written by on

Written by on

การฝึกนิสัยบางอย่างของเด็กเล็ก

กิจวัตรบางอย่างที่เราต้องทำตั้งแต่ยังเล็ก และเป็นเรื่องของสังคม ที่มีระเบียบวินัยเข้าไปเกี่ยวข้องด้วย มี 4 เรื่อง คือ การกิน การนอน การขับถ่าย และการอาบน้ำแต่งตัว การเริ่มฝึกตั้งแต่ลูกยังเป็นทารก จะทำให้สอนง่ายขึ้นเมื่อโตขึ้น

กิจวัตรทั้ง 4 อย่างข้างต้น เมื่อทารกยังเล็กนั้น ก็เป็นเรื่องของพฤติกรรมที่ทำโดยอัตโนมัติ เพื่อสนองความต้องการของร่างกาย แต่เมื่อโตขึ้น กิจวัตรดังกล่าว จะต้องได้รับการปรับปรุง ให้สอดคล้องกับชีวิต และความเป็นอยู่ของแต่ละคน ที่จะต้องเป็นไปตามระเบียบแบบแผนของสังคม

การกิน เมื่อฝึกให้เด็กทำได้เรื่อยๆ ก็จะพัฒนาเป็นนิสัย ทำให้เด็กเป็นคนที่มีระเบียบวินัยในการทำกิจวัตรการกิน ในเรื่องการกิน สิ่งที่จะต้องฝึกได้แก่ การกินเป็นเวลา ตั้งใจกิน รู้จักกินอาหารที่มีประโยชน์ มีมารยาทในการกิน และกินเองได้

  • การนอน สิ่งที่ต้องฝึกได้แก่ การนอนเป็นเวลา รู้จักไปนอนเอง และช่วยตัวเองในเรื่องการนอน
  • การขับถ่าย ได้แก่ การขับถ่ายเป็นเวลา ควบคุมการขับถ่ายได้ และทำความสะอาดตนเองได้
  • การอาบน้ำแต่งตัว ได้แก่ การรู้จักช่วยตนเองได้ และทำได้เรียบร้อย

เมื่อฝึกให้เด็กทำเรื่อยๆ จะเกิดเป็นนิสัยของคนที่มีระเยียบวินัย ในการทำกิจวัตรประจำวันต่อไป

การฝึกนิสัยในเรื่องดังกล่าว ต้องอาศัยความพร้อมทางด้านการเคลื่อนไหว และสติปัญญาของทารกด้วย ดังนั้น การฝึกจึงต้องทำอย่างค่อยเป็นค่อยไป และมีหลักการปฏิบัติดังนี้

  1. พิจารณาเป้าหมาย ของพฤติกรรมที่ต้องการให้เด็กทำ แล้วกำหนดเป้าหมายให้ชัดเจน และทุกคนที่ได้เลี้ยงทารก จะต้องทราบถึงเป้าหมายนั้น
  2. ใช้แรงเสริม ในการกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมซ้ำ หรือไม่เกิดพฤติกรรมอีก
  3. อบรมด้วยความสม่ำเสมอ และคงเส้นคงวา ใช้เหตุผลมากกว่าอารมณ์
  4. วิธีการอบรม อาจยืดหยุ่นได้บ้าง ตามสภาพของตัวเด็กและสิ่งแวดล้อม วิธีการที่ใช้กับเด็กแต่ละคนอาจแตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของผู้ฝึกอบรม

ขอขอบคุณ ที่มา : นิตยสาร Modern Mom ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต

Written by on