Written by on

ตราประจำจังหวัดกำแพงเพชร

รูปกำแพงเมืองมีใบเสมาประดับเพชร

คำขวัญประจำจังหวัดกำแพงเพชร

กรุพระเครื่อง เมืองคนแกร่ง ศิลาแลงใหญ่ กล้วยไข่หวาน น้ำมันลานกระบือ ลื่อเลืองมรดกโลก

ประวัติจังหวัด จังหวัด กำแพงเพชร เป็นเมืองเก่าที่นับว่ามีความสำคัญทางประวัติศาสตร์และเจริญรุ่งเรืองมา ตั้งแต่สมัยทวารวดี เป็นที่ตั้งของเมืองโบราณหลายเมือง เช่น เมืองชากังราว นครชุม ไตรตรึงษ์ เทพนคร และเมืองคณฑี นอกจากนี้เมืองกำแพงเพชรยังเป็นเมืองที่สองที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้ ครองเมือง มีบรรดาศักดิ์เป็น " พระยาวชิรปราการ" ต่อมาในปี พ . ศ. 2459 ได้เปลี่ยนเมืองกำแพงเพชรเป็นจังหวัดกำแพงเพชร ตามประวัติศาสตร์ กล่าวว่า กำแพงเพชรเป็นเมืองหน้าด่านของสุโขทัยมีฐานะเป็นเมืองลูกหลวง เดิมเรียกชื่อว่า " เมืองชากังราว" และมีเมืองบริวารรายล้อมอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น ไตรตรึงษ์ เทพนคร ฯลฯ การที่กำแพงเพชรเป็นเมืองหน้าด่านรับศึกสงครามในอดีตอยู่เสมอ จึงเป็นเมืองยุทธศาสตร์มีหลักฐานที่แสดงให้เห็น ว่าเป็นเมืองที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์มากมาย เช่น กำแพงเมือง คูเมือง ป้อมปราการ วัดโบราณ มีหลักฐาน ให้สันนิษฐานว่าเดิมเคยเป็นที่ตั้งของเมือง 2 เมือง คือ เมืองชากังราว และเมืองนครชุม โดยเมืองชากังราวสร้างขึ้นก่อน ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำปิง พระเจ้าเลอไท กษัตริย์องค์ที่ 4 แห่งราชวงศ์สุโขทัย เป็นผู้สร้างขึ้นเมื่อประมาณ พ. ศ. 1890 ต่อมาสมัยพระเจ้าลิไท กษัตริย์องค์ที่ 5 แห่งราชวงศ์สุโขทัยได้สร้างเมืองใหม่ขึ้นทางฝั่งตะวันตกของลำน้ำปิงคือ " เมืองนครชุม "สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ทรงบันทึกเรื่อง กำแพงเมืองไว้ว่า " เป็นกำแพงเมืองที่เก่าแก่ มั่นคง ยังมีความสมบูรณ์มาก และเชื่อว่าสวยงามที่สุดในประเทศไทย ปัจจุบันจังหวัดกำแพงเพชรเป็นเมืองศูนย์กลางการท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ แห่งหนึ่ง เพราะมีโบราณสถานเก่าแก่ซึ่งก่อสร้างด้วยศิลาแลงหลายแห่งรวมอยู่ใน " อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร" ที่ได้รับการพิจารณาคัดเลือกจากองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสห ประชาชาติ (UNESCO) ให้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2534

ขอขอบคุณ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ภาพประกอบ wikipedia.org

 

Written by on

Written by on

ตราประจำจังหวัดเชียงราย

รูปช้างสีขาวกับเมฆ ลายที่ขอบตรามีรูปนาคเกี้ยว

คำขวัญประจำจังหวัดเชียงราย

เหนือสุดในสยาม ชายแดนสามแผ่นดิน ถิ่นวัฒนธรรมล้านนา ล้ำค่าพระธาตุดอยตุง

ประวัติจังหวัด เชียงรายเมื่อ พญามังรายได้ทรงรวบรวมหัวเมืองฝ่ายเหนือในอาณาเขตรอบ ๆ ได้แล้ว จึงทรงกรีฑาทัพไปแสดงฝีมือ ในการยุทธ ต่อหัวเมืองฝ่ายใต้ลงมา จึงได้ไปรวมพล ณ เมืองลาวกู่เต้า และหมอควาญได้นำช้างมงคลของพญามังราย ไปทอด(ผูก)ไว้ใน ป่าหัวดอยทิศตะวันออกพลัดหายไป พญามังรายจึงได้เสด็จติดตามรอยช้างไปจนถึงดอยทองริมแม่ น้ำกกนัทธีได้ทัศนา การ เห็นภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่ม อุดมสมบูรณ์เป็นชัยภูมิที่ดี จึงได้สร้างเมืองใหม่ ขึ้นในที่นั่นให้ก่อ ปราการโอบเอาดอยจอมทอง ไว้ในท่ามกลางเมือง ขนานนามเมืองว่า "เวียงเชียงราย" ตามพระนามของพญามังราย ผู้สร้าง เมื่อวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 1805 ดังนั้น จึงได้นำรูปช้างสีขาวใต้เมฆแห่งความรุ่งเรือง และอยู่เย็นเป็นสุขบนพื้น สีม่วงของ วันเสาร์ซึ่งตรงกับวันประสูติ ของพญาเม็งราย เป็นสีประจำจังหวัด

ขอขอบคุณ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ภาพประกอบ wikipedia.org

 

Written by on

Written by on

ตราประจำจังหวัดน่าน

รูปพระธาตุแช่แห้งอยู่บนหลังโคอุศุภราช

คำขวัญประจำจังหวัดน่าน

เรือลือเลื่อง เมืองงาช้างดำ จิตรกรรมวัดภูมินทร์ แดนดินส้มสีทอง เรืองรองพระธาตุแช่แห้ง

ประวัติจังหวัด เมือง น่าน ในอดีตเป็นนครรัฐเล็ก ๆ ก่อตัวขึ้นราวกลางพุทธศตวรรษที่ 18 บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำน่าน และแม่น้ำสาขา ในหุบเขา ทางตะวันออกของภาคเหนือประวัติศาสตร์เมืองน่าน เริ่มปรากฏขึ้นราว พ.ศ. 1825 ภายใต้การนำของพญาภูคา ศูนย์การปกครองอยู่ที่เมืองย่าง (เชื่อกันว่าคือบริเวณริมฝั่งด้านใต้ ของแม่น้ำย่าง ใกล้เทือกเขาดอยภูคาในเขตบ้านเสี้ยว ตำบลยม อำเภอท่าวังผา) เพราะปรากฏร่องรอย ชุมชนในสภาพ ที่เป็นคูน้ำ คันดิน กำแพงเมืองซ้อนกันอยู่ ต่อมาพระยาภูคา ได้ขยายอาณาเขตปกครองของตนออกไปให้กว้างขวางยิ่งขึ้น โดยส่งราชบุตรบุญธรรม 2 คน ไปสร้างเมืองใหม่ โดย ขุนนุ่น ผู้พี่ไปสร้างเมืองจันทบุรี (เมืองพระบาง) และ ขุนฟองผู้น้องสร้างเมืองวรนครหรือเมืองปัว

ประชากร 404,560 คน(พ.ศ. 2553)

ภายหลังขุนฟองถึงแก่พิราลัย เจ้าเก้าเถื่อนราชบุตรจึงได้ขึ้นครองเมืองปัวแทน ด้านพญาภูคา ครองเมืองย่างมานานและมีอายุมากขึ้น มีความประสงค์จะให้เจ้าเก้าเถื่อนผู้หลานมาครองเมืองย่างแทน จึงให้เสนาอำมาตย์ไปเชิญ เจ้าเก้าเถื่อนเกรงใจปู่จึงยอมไปอยู่เมืองย่างและมอบให้ชายา คือนางพญาแม่ท้าวคำปิน ดูแลรักษาเมืองปัวแทน เมื่อพญาภูคาถึงแก่พิราลัย เจ้าเก้าเถื่อนจึงครองเมืองย่างแทน ในช่วงที่เมืองปัวว่างจากผู้นำ เนื่องจากเจ้าเก้าเถื่อนไปครองเมืองย่างแทนปู่คือพญาภูคา พญางำเมืองเจ้าผู้ ครองเมืองพะเยา จึงได้ขยายอิทธิพล เข้าครอบครองบ้านเมืองในเขตเมืองน่านทั้งหมด นางพญาแม่เท้าคำปิน พร้อมด้วยบุตรในครรภ์ ได้หลบหนี ไปอยู่บ้านห้วยแร้ง จนคลอดได้บุตรชายชื่อว่าเจ้าขุนใส เติบใหญ่ได้เป็นขุนนาง รับใช้พญาคำเมืองจนเป็นที่โปรดปราน พญางำเมืองจึงสถาปนาให้เป็น เจ้าขุนใสยศ ครองเมืองปราดภายหลังมีกำลังพลมากขึ้นจึงยกทัพ มาต่อสู้ จนหลุดพ้นจากอำนาจเมืองพะเยา และได้รับการสถาปนาเป็นพญาผานอง ขึ้นครองเมือง ปัวอย่างอิสระระหว่างปี 1865 - 1894 รวม 30 ปี จึงพิราลัย

ใน สมัยของพญาการเมือง (กรานเมือง) โอรสของพญาผานอง เมืองปัว ได้มีการขยายตัวมากขึ้น ตลอดจน มีความสัมพันธ์ กับเมืองสุโขทัยอย่างใกล้ชิด พงศาวดารเมืองน่านกล่าวถึงพญาการเมืองว่า ได้รับเชิญจากเจ้าเมืองสุโขทัย (พระมหาธรรมราชาลิไท) ไปร่วมสร้างวัดหลวงอภัย (วัดอัมพวนาราม) ขากลับเจ้าเมืองสุโขทัย ได้พระราชทานพระธาตุ 7 องค์ พระพิมพ์ทองคำ 20 องค์ พระพิมพ์เงิน 20 องค์ ให้กับพญาการเมือง มาบูชา ณ เมืองปัวด้วย พญาการเมือง ได้ปรึกษาพระมหาเถรธรรมบาล จึงได้ก่อสร้างพระธาตุแช่แห้งขึ้นที่บนภูเพียงแช่แห้ง พร้อมทั้งได้อพยพผู้คนจากเมืองปัว ลงมาสร้างเมืองใหม่ที่บริเวณพระธาตุแช่แห้ง เรียกว่า ภูเพียงแช่แห้งในปี พ.ศ. 1902 โดยมีพระธาตุแช่แห้งเป็นศูนย์กลางเมือง

หลังจากพญาการเมืองถึงแก่พิราลัย โอรสคือ พญาผากองขึ้นครองแทนอยู่มาเกิดปัญหาความแห้งแล้ง จึงย้ายเมืองมาสร้างใหม่ที่ริมแม่น้ำน่านด้านตะวันตกบริเวณบ้านห้วยไค้ คือบริเวณที่ตั้งของจังหวัดน่านในปัจจุบัน เมื่อปี พ.ศ. 1911 ในสมัยเจ้าปู่เข่งครองเมืองระหว่างปี พ.ศ. 1950 - 1960 ได้สร้างวัดพระธาตุช้างค้ำ วรวิหาร วัดพระธาตุเขาน้อย วัดพญาภู แต่สร้างไม่ทันเสร็จก็ถึงแก่พิราลัยเสียก่อน พญางั่วฬารผาสุมผู้เป็นหลาน ได้สร้างต่อจนแล้วเสร็จและได้สร้าง พระพุทธรูปทองคำปางลีลา ปัจจุบันคือ พระพุทธนันทบุรีศรีศากยมุนี ประดิษฐานอยู่ในวิหารวัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร

ในปี พ.ศ. 1993 พระเจ้าติโลกราชกษัตริษ์นครเชียงใหม่ มีความประสงค์จะครอบครองเมืองน่านและแหล่งเกลือบ่อมาง (ต.บ่อเกลือใต้ อ.บ่อเกลือ) ที่มีอย่างอุดมสมบูรณ์และหาได้ยากทางภาคเหนือ จึงได้จัดกองทัพ เข้ายึด เมืองน่าน พญาอินต๊ะแก่นท้าว ไม่อาจต้านทาน ได้จึงอพยพหนีไปอาศัยอยู่ ที่เมืองเชลียง (ศรีสัชนาลัย) เมืองน่านจึงถูกผนวกเข้าไว้ในอาณาจักรล้านนาตั้งแต่นั้นมา

ตลอดระยะเวลาเกือบ 100 ปี ที่เมืองน่านอยู่ในครอบครองของ อาณาจักรล้านนา ได้ค่อย ๆ ซึมชับเอาศิลปวัฒนธรรมของล้านนา มาไว้ในวิถีชีวิต โดยเฉพาะการรับเอาศิลปกรรมทางด้านศาสนา ปรากฏศิลปกรรมแบบล้านนาเข้ามาแทนที่ศิลปกรรมแบบสุโขทัย อย่างชัดเจน ดังเช่น เจดีย์วัดพระธาตุแช่แห้ง เจดีย์วัดสวนตาล เจดีย์วัดพระธาตุช้างค้ำ แม้จะเหลือส่วนฐานที่มีช้างล้อมรอบ ซึ่งเป็นลักษณะศิลปะแบบสุโขทัยอยู่ แต่ส่วนองค์เจดีย์ขึ้นไปถึงส่วนยอด เปลี่ยนเป็นศิลปกรรมแบบล้านนาไปจนหมดสิ้น

ในระหว่างปี พ.ศ. 2103 - 2328 เมืองน่านได้ตกเป็นเมืองขึ้นของพม่า อยู่หลายครั้งและต้องเป็นเมืองร้าง ไร้ผู้คนถึง 2 ครา คือ ครั้งแรก ปี พ.ศ. 2247 - 2249 ครั้งที่ 2 ปี พ.ศ2321 - 2344

ปี พ.ศ. 2331 เจ้าอัตถวรปัญโญ ได้ลงมาเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 เพื่อขอเป็น ข้าขอบขันทสีมา เจ้าอัตถวรปัญโญ หลังจากขึ้นครองเมืองน่านยังมิได้เข้าไปอยู่เมืองน่านเสียทีเดียว เนื่องจากเมืองน่าน ยังรกร้างอยู่ ได้ย้ายไปอาศัยอยู่ตามที่ต่างๆ คือ บ้านตึ๊ดบุญเรือง เมืองงั้ว (บริเวณอำเภอนาน้อย) เมืองพ้อ (บริเวณอำเภอเวียงสา) หลังจากได้บูรณะซ่อมแซมเมืองน่านแล้ว พร้อมทั้งได้ขอพระบรมราชานุญาตกลับเข้ามาอยู่ในเมืองน่าน ในปี พ.ศ. 2344 ในยุคสมัยกรุงรัตนโกสินทร์เมืองน่านมีฐานะเป็นหัวเมืองประเทศราช เจ้าผู้ครองนครน่านในชั้นหลังทุกองค์ ต่างปฏิบัติหน้าที่ราชการ ด้วยความเที่ยงธรรม มีความซื่อสัตย์ จงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ราชวงศ์จักรี ได้ช่วยราชการบ้านเมืองสำคัญหลายครั้งหลายคราด้วยกัน นอกจากนี้เจ้าผู้ครองนครน่าน ต่างได้ทำนุบำรุง กิจการพุทธศาสนาในเมืองน่าน และอุปถัมภ์ค้ำจูนพระพุทธศาสนาเป็นสำคัญ ได้สร้างธรรมนิทานชาดก การจารพระไตรปิฎกลงในคัมภีร์ใบลาน นับเป็นคัมภีร์ได้ 335คัมภีร ์นับเป็นผูกได้ 2,606 ผูก ได้นำไปมอบให้ เมืองต่างๆ มีเมืองลำปาง เมืองลำพูน เมืองเชียงใหม่ เมืองเชียงราย และเมืองหลางพระบาง

ในปี พ.ศ. 2446 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงมีพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาให้ เจ้าสุริยพงษ์ผลิตเดชฯ เลือนยศฐานันดรศักดิ์ขึ้นเป็น "พระเจ้านครน่าน" มีพระนามปรากฏตามสุพรรณปัฏว่า "พระเจ้าสุริยพงษ์ผลิตเดช กุลเชษฐมหันต์ ไชยนันทบุรมหาราชวงศา ธิบดี สุริตจารีราชนุภาวรักษ์ วิบูลยศักดิ์กิติไพศาล ภูบาลบพิตรสถิตย์ ณ นันทราชวงษ์" เป็นพระเจ้านครน่านองค์แรก และองค์เดียวในประวัติศาสตร์น่าน ภายหลังได้รับการสถาปนาเป็นพระเจ้าน่าน พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ จึงได้สร้าง หอคำ (คุ้มหลวง) ขึ้นแทนหลังเดิมซึ่งสร้างในสมัยของ เจ้าอนันตวรฤิทธิเดชฯ และด้านหน้าหอคำ มีข่วงไว้ทำหน้าที่คล้ายสนามหลวง สำหรับจัดงานพิธีต่างๆ ตลอดจนเป็นที่จัดขบวนทัพออกสู้ศึก จัดขบวนนำเสด็จหรือขบวนรักแขกเมืองสำคัญ และในปี พ.ศ. 2474 เจ้ามหาพรหมสุรธาดา เจ้าผู้ครองนครน่าน ถึงแก่พิราลัย ตำแหน่งเจ้าผู้ครองนครก็ถูกยุบเลิกตั้งแต่นั้นมา ส่วนหอคำได้ใช้เป็น ศาลากลางจังหวัดน่าน จนปี พ.ศ. 2511 จังหวัดน่าน ได้มอบหอคำให้กรมศิลปากร ใช้เป็นสถานที่จัดตั้ง พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน จนกระทั่งปัจจุบัน

ขอบคุณที่มา : การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
ภาพจาก : wikipedia

Written by on

Written by on

ตราประจำจังหวัดเชียงใหม่

รูปช้างเผือกยืนอยู่ในเรือนแก้ว

คำขวัญประจำจังหวัดเชียงใหม่

ดอยสุเทพเป็นศรี ประเพณีเป็นสง่า บุปผชาติล้วนงามตา นามล้ำค่านครพิงค์

ประวัติจังหวัด เชียงใหม่ อาณา บริเวณของเมืองเชียงใหม่ในอดีตเป็นที่ตั้งของเมืองเก่าซึ่งเป็นศูนย์กลางขอ อาณาจักรล้านนาไทย อันมีนามว่า "นพบุรีศรีนครพิงค์" กษัทตริย์ผุ้สร้างนครเชียงใหม่ พ่อขุนเม็งรายมหาราชพระองค์ทรงรวบรวม บ้านเล็ก เมืองน้อยบนแผ่นดิน ล้านนาไทย ให้เป็นปฐพี เดียวกัน รวมเป็นอาณาจักรล้านนาไทยอันกว้างใหญ่ไพศาลพระองค์เป็น พระโอรส ผุ้สืบเชื้อสายมา จากพระเจ้าลาวจักราช ซึ่งเป็นผุ้สร้างอาณาจักรโยนก ในระยะที่พ่อขุนเม็งรายกำลังเรืองอำนาจอยู่ในอาณาจักรล้านนาไทย พ่อขุนรามคำแหงมหาราชกำลังเรืองอำนาจในอาณาจักรสูโขทัยพ่อขุนงำเมือง กำลังเป็นใหญ่อยู่ที่เมืองพะเยากษัตริย์ทั้งสาม พระองค์นี้เป็นพระสหายสนิทร่วมน้ำสาบานมาด้วยกัน ฉะนั้นเมื่อพ่อขุน เม็งรายรวบรวมเมืองต่าง ๆในอาณาจักรล้านนาไทย เป็นปึกแผ่นแน่นหนา หลังจากนั้น พ.ศ. 1824 พระองค์ก็เสด็จ กรีธาทัพเข้าตี นครหริภุญไชย ซึ่งมีพญายีบาครองอยู่และเป็น นครที่มั่นคงที่สุดทางตอนใต้ได้สำเร็จสมพระราชประสงค์แล้ว เสด็จเข้าประทับอยู่ในนครหริภุญไชยเป็นเวลาสองปี จึงทรง มอบให้อ้ายฟ้าอำมาตย์ ครองนครหริภุญไชยแทน ส่วนพ่อขุนเม็งรายได้เสด็จสร้างเมืองใหม่ทางทิศตะวัน ออกของนคร หริภุญไชย ครองอยู่ได้สามปีทรางเห็นว่าเมืองใหม่ทำเลไม่เหมาะสมจึงโปรดย้ายราชธานีมา ตั้งอยู่ที่แห่งใหม่ริมฝั่งแม่น้ำ ระมิงค์ มีชื่อว่า "เวียงกุมกาม" (ปัจจุบันอยู่ในตำบล ท่าวังตาล อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่) ครองราชย์อยู่จนถึง พ.ศ. 1835 ก็เกิดนิมิตรประหลาดดลพระทัย ให้พ่อขุนเม็งรายไปประพาสป่า ทอดพระเนตรพบชัยภูมิที่จัดสร้างเมืองเชียงใหม่ พระองค์โปรดให้สร้างที่ประทับชั่วคราว ณ เวียงเล็ก (เมืองเล็ก) หรือ เวียงเชียงมั่น (คือ บริเวณวัดเชียงมั่นในปัจจุบัน) จากนั้นก็โปรดให้ไพร่พลถางป่า และปรับ พื้นที่บริเวณเชิงดอยอ้อยช้าง หรือ ดอยสุเทพในปัจจุบัน แล้วโปรดให้เชิญ เสด็จพ่อขุนรามคำแหง แห่งกรุงสุโขทัยและพญางำเมือง แห่งนครพะเยา พระสหายร่วมน้ำสาบานมาช่วยพิจารณาการสร้าง เมืองใหม่ เมื่อพระสหายทั้ง 2 พระองค์ เสด็จมาถึงและได้เห็นชัยภูมิที่ราบอันสมบูรณ์ริมฝั่งแม่น้ำปิง ตรงเชิงดอยสุ เท ก็พอ พระทัย พ่อขุนรามคำแหง ถึงกับทรง มีพระดำรัสว่า "เมืองนี้ข้าศึกจะเบียบดเบียนกระทำร้ายมิได้ คนไหนมีเงินพันมาอยู่ก็จะ มีเงินหมื่น ครั้นมีเงินหมื่นมาอยุ่จะมีเงินแสน" ส่วนพระยางำเมืองถวายความเห็นว่า "เขตเมืองนี้ดีจริง เพราะเหตุว่าเนื้อดิน มีพรรณรังสี 5 ประการ มีชัย 7 ประการ เมืองนี้มีสิทธิ์นักแล" ในที่สุดพ่อขุนเม็งรายก็ทรงดำเนินการสร้างเมืองใหม่โดยให้ ขุดคูและสร้างกำแพงเมืองเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า พร้อมทั้งโปรดให้สร้างปราสาท ราชมณเทียรและบ้านเรือนในปี พ.ศ.1839 พ่อขุนเม็งราย พ่อขุนรามคำแหง และพญางำเมือง ก็พร้อมใจกันขนานนาม พระนครแห่งใหม่ว่า "นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่" เรียกกันเป็นสามัญว่า "นครพิงค์เชียงใหม่" ต่อจากนั้น พ่อขุนเม็งรายก็ทรง ประกอบพิธีปราบ ดาภิเษกเป็นกษัตริย์ ปกครองอาณาจักรล้านนาไทย ราชธานีอยู่ที่ นครเชียงใหม่ ทรงเป็นต้นราชวงค์เม็งรายครองราชย์ อยู่จน พ.ศ.1860 วันหนึ่งขณะที่พ่อขุนเม็งรายกำลังเสด็จประพาสตลาดกลางนครเชียงใหม่ ได้เกิดฝนตกอย่างหนัก จนอัสนีบาตได้ตกต้อง พระองค์สิ้น พระชนม์เมื่อพระชนมายุได้ 79 พรรษา และมีเชื้อสายของพ่อขุนเม็งรายได้ปกครอง อาณาจักล้านนาไทย ต่อเนื่องกันมา

เชียงใหม่เป็นศูนย์กลางของอาณาจักรล้านนาไทยสืบต่อกันมาเป็นเวลานาน ตกเป็นเมืองขึ้นของกรุงศรีอยุทธยา และประเทศพม่าอยู่หลายยุคหลายสมัย จนครั้งสุดท้ายในสมัยกรุงธนบุรี พระเจ้าตากสินมหาราชทรงตีนครเชียงใหม่ ได้จากประเทศพม่า เมื่อปี พ.ศ. 2317 แล้วทรงกวาดล้างอิทธิพลของพม่าจากล้านนาไทยได้สำเร็จ เมืองเชียงใหม่ จึงกลับมาเป็นประเทศราชของกรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์ จนสมัยสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้ทรงสถาปนา "พญากาวิละ" (กาวิละ ณ เชียงใหม่)ขึ้น เป็นเจ้าครองนครเชียงใหม่ ซึ่งเป็นต้นตระกูล ณ เชียงใหม่ 9 พระองค์มีเจ้านวรัฐ เป็นองค์สุดท้ายถึงสมัยสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พ.ศ. 2440 ทรงยุบเมืองประเทศราชเข้ากับอาณาจักรไทย แข่งการปกครองราชอาณาจักรออกเป็นมณฑล ได้ยกเมืองเชียงใหม่ขึ้นเป็นมณฑลพายัพและต่อมาภายหลังได้ยกเลิก เมืองเชียงใหม่ จึงเป็นจังหวัดมาจนถึงปัจจุบันนี้ รวมระยะเวลาที่เชียงใหม่ได้เป็นราชธานีอาณาจักรล้านนาไทย ตั้งแต่ พ.ศ. 1839 จนถึง พ.ศ. 2540 ได้ 700 ปี

ขอบคุณที่มา : การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
ภาพจาก : wikipedia

Written by on

Written by on

ตราประจำจังหวัดพะเยา

รูปพระเจ้าตนหลวงวัดศรีโคมคำ ประทับเหนือกว๊านพะเยา มีช่อรวงข้าวประดับอยู่สองข้าง เบื้องบนมีลายกนกเปลว 7 ลายลอยอยู่

คำขวัญประจำจังหวัดพะเยา

กว๊านพะเยาแหล่งชีวิต ศักดิ์สิทธิ์พระเจ้าตนหลวง บวงสรวงพ่อขุนงำเมือง งามลือเลื่องดอยบุษราคัม

ประวัติจังหวัด พะเยา ใน วันที่ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๒๐ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดชฯ มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งจังหวัดพะเยาตาม พระราชบัญญัติ เรื่อง ตั้งจังหวัดพะเยา พ.ศ. ๒๕๒๐ ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๒๐ จังหวัดพะเยาตั้งขึ้นในวันที่ ๒๐ สิงหาคม ๒๕๒๐ ประกอบด้วยอำเภอ ๗ อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองพะเยา อำเภอจุน อำเภอเชียงคำ อำเภอเชียงม่วน อำเภอดอกคำใต้ อำเภอปง และอำเภอแม่ใจ และมีนายสัญญา ปาลวัฒน์วิไชย เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยาคนแรก ปัจจุบันมีเพิ่มขึ้นอีก ๒ อำเภอ คือ อำเภอภูซาง อำเภอภูกามยาว รวมเป็น ๙ อำเภอ พะเยาเป็นเมืองที่มีประวัติศาสตร์เก่าแก่ เดิมชื่อว่า เมืองภูกามยาว หรือ พยาว มีกษัตริย์ปกครองสืบทอดกันมาอย่างยาวนาน

เมืองพยาวหรือพะเยาในขณะนั้นตั้งอยู่เชิงเขาชมภูหรือดอยด้วน และมีแม่น้ำสายตา (แม่น้ำอิง) ไหลผ่าน เป็นบริเวณที่เรียกว่า ที่ราบลุ่มกว๊านพะเยา ในตำนานประวัติศาสตร์ของเมืองพะเยาระบุว่า บรรพบุรุษของเมืองพะเยาคือ ปู่เจ้าลาวจก หรืออีกชื่อหนึ่งว่า ลวจักราช เคยอาศัยอยู่บนดอยตุง เชียงราย แล้วย้ายลงมาสร้างเมืองหิรัญนครเงินยาง คือเมืองเชียงแสน ในสมัยพระเจ้าลาวเงิน ซึ่งเป็นพระโอรสองค์หนึ่งของลวจักราช พระองค์โปรดให้ขุนจอมธรรม โอรสองค์เล็กมาปกครองเมืองพะเยา ขุนจอมธรรมจัดการปกครองเมืองพะเยาออกเป็น ๓๖ พันนา ผู้ปกครองแต่ละพันนามียศเป็นหมื่น มีการก่อสร้างประตูเมืองถึง ๘ แห่ง ได้แก่ ประตูชัย ประตูหอกลอง ประตูเหล็ก ประตูท่านาง ประตูท่าเหล้า ประตูปราสาท ประตูท่าแป้น และประตูออมปอม ๓๖ พันนา นาละ ๕๐๐ คน มีเขตแคว้นในครั้งกระโน้นดังนี้

ทิศบูรพา จรดขุนผากาดจำบอน ตาดม้าน บางสีถ้ำ ไทรสามต้น สบห้วยปู น้ำพุง สบปั๋ง ห้วยบ่อทอง ตาดซาววา กิ่วแก้ว กิ่วสามช่อง มีหลักหินสามก้อนฝังไว้กิ่วฤาษี แม่น้ำสายตา กิ่วช้าง กิ่วง้ม กิ่วเปี้ย ดอยปางแม่นาค

ทิศตะวันตก โป่งปูดห้วยแก้วดอยปุย แม่คาว ไปทางทิศใต้กิ่วรุหลาว ดอกจิกจ้อง ขุนถ้ำ ดอยตั่ง ดอยหนอก ผาดอกวัว แซ่ม่าน ไปจรดเอาดอยผาหลักไก่ทางทิศหรดีมีเมืองในอำนาจปกครอง คือ เมืองงาว เมืองกาว สะเอียบ เชียงม่วน เมืองเทิง เมืองสระ เมืองออย สะสาว เมืองดอบ เชียงคำ เมืองลอ เมืองเชียงแลง เมืองหงาว แซ่เหียง แซ่ลุล ปากบ่อง เมืองป่าเป้า เมืองวัง แซ่ซ้อง เมืองปราบ แซ่ห่ม

ทิศใต้ สุดจรดนครเขลางค์และนครหริภุญชัย ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือต่อแดนขรนคร (เชียงของ)ขุนจอมธรรมครองราชได้ ๒๑ ปี ก็สิ้นพระชนม์ ขุนเจืองซึ่งเป็นพระโอรสได้ขึ้นครองราชสมบัติแทน ขุนเจืองเป็นกษัตริย์ที่มีความสามารถในการต่อสู้และการใช้อาวุธต่างๆได้เป็น อย่างดี เมื่อพระองค์ครองเมืองพะเยาได้เพียง ๖ ปี ก็สามารถยกทัพไปช่วยปราบแกว (ญวน) ที่ยกมาประชิดเมืองหิรัญนครเงินยางจนสำเร็จ ขุนชินซึ่งครองเมืองหิรัญนครเงินยางในขณะนั้น ทราบเรื่องก็พอพระทัย เลื่อมใสในความสามารถของขุนเจืองเป็นอย่างมาก ทรงยกธิดาชื่อพระนางอั๊วคำคอนให้เป็นพระชายา และสละราชสมบัติเมืองหิรัญนครเงินยางให้ขุนเจืองครองแทน เมื่อขุนเจืองได้ครองราชแล้วทรงพระนามว่า พระยาเจืองธรรมมิกราช ส่วนเมืองพะเยานั้นขุนเจืองโปรดให้โอรสชื่อ ลาวเงินเรือง ครองเมืองพะเยาแทนสืบต่อมา

ต่อมามีกษัตริย์สืบราชวงศ์อีกหลายพระองค์และมีความสัมพันธ์กับเมืองหิรัญนคร เงินยางเป็นอย่างดี เมืองพะเยามีอำนาจมากและเป็นช่วงที่เจริญถึงขีดสุดในสมัยพ่อขุนงำเมือง พระองค์เป็นกษัตริย์องค์แรกของเมืองพะเยา ที่ปรากฏในบันทึกประวัติศาสตร์ของทางเหนือ เป็นเครื่องยืนยันว่ามีตัวตนจริง พ่อขุนงำเมืองครองเมืองพะเยาในช่วงปี พ.ศ. ๑๘๐๑ มีชายาชื่อ นางอั้ว เชียงแสน ธิดาของเจ้าเมืองเชียงแสน พ่อขุนงำเมืองประสูติเมื่อ พ.ศ. ๑๗๘๑ เป็นราชบุตรของพ่อขุนมิ่งเมือง สืบเชื้อสายมาจากท้าวจอมผาเรือง เมื่อพระชนมายุ ๑๔ ปี พระราชบิดาได้ส่งไปศึกษาในสำนักเทพอิสิตน อยู่บนดอยด้วน ๒ ปี จากนั้นพระราชบิดาส่งไปศึกษาต่อในสำนักสุกันตฤาษี ณ กรุงละโว้ ลพบุรี จึงรู้จักคุ้นเคยกับพระร่วง เจ้าแห่งกรุงสุโขทัย สนิทสนมกันอย่างแน่นแฟ้น ศึกษาศิลปะร่วมครูอาจารย์เดียวกัน เมื่อพ่อขุนงำเมืองขึ้นครองราช ขุนเม็งรายเคยยกทัพเข้าบดขยี้เมืองพะเยา พ่อขุนงำเมืองไม่ชอบสงครามจึงสั่งให้อำมาตย์ออกต้อนรับโดยดี เลี้ยงกองทัพให้อิ่ม ขุนเม็งรายจึงเลิกทำสงครามต่อกัน ตั้งแต่นั้นมาพ่อขุนงำเมืองจึงยกเมืองปลายแดน ซึ่งมีเมืองพาน เมืองเชี่ยงเคี่ยน เมืองเทิง และเมืองเชียงของ ให้แก่พระเจ้าเม็งรายและทำสัญญาปฎิญาณกันจะเป็นมิตรกันตลอดไป พระยาร่วงซึ่งเป็นสหายคนสนิทได้ถือโอกาสเยี่ยมพ่อขุนงำเมืองปีละหนึ่งครั้ง ส่วนใหญ่เสด็จในฤดูกาลเทศกาลสงกรานต์ ได้มีโอกาสรู้จักกับขุนเม็งราย ทั้งสามองค์ได้ชอบพอกัน เป็นสหายกัน เคยหันหลังพิงกัน กระทำสัจจะปฏิญานแก่กัน ณ ริมฝั่งน้ำขุนภู ว่าไม่ผูกเวรแก่กัน จะเป็นมิตรสหายกัน กรีดโลหิตออกรวมกันผสมน้ำทรงดื่มพร้อมกัน ภายหลังแม่น้ำนี้มีชื่อว่า แม่น้ำอิง

หลังจากพ่อขุนงำเมืองสิ้นพระชนม์ลง เมืองพะเยากลับมามีบทบาทในประวัติศาสตร์อีกครั้ง ในสมัยพระเจ้าติโลกราชแห่งล้านนา พ.ศ. ๑๙๘๔ ถึง ๒๐๓๐ พระองค์ทรงใช้เมืองพะเยาเป็นฐานกำลัง เพื่อขยายอำนาจเข้าครองเมืองแพร่และเมืองน่าน ทั้งยังเข้ายึดเมืองสุโขทัย จากอยุธยาจนสำเร็จและให้พระยายุทธิษฐิระบุตรของพระยาราม เชื้อสายราชวงศ์พระร่วงแห่งสุโขทัยซึ่งเข้ามาสวามิภักดิ์พระเจ้าติโลกราช เป็นผู้ปกครองเมือง หลังจากนั้นพระยายุทธิษฐิระก็ไปครองเมืองภูคาและเมืองพะเยาด้วย โดยมีเมืองแพร่และเมืองน่านอยู่ในปกครอง นับเป็นยุครุ่งเรืองของเมืองพะเยาอีกยุคหนึ่ง ในปี พ.ศ. ๒๑๐๑ บุเรงนองแห่งพม่าเข้ายึดเมืองเชียงใหม่ ทำให้พะเยาต้องตกเป็นเมืองขึ้นของพม่านานถึงกว่า ๒๐๐ ปี ล่วงถึงสมัยกรุงธนบุรีถึงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ดินแดนล้านนาก็ยังระส่ำระสายเนื่องจากกองทัพพม่าและกองทัพสยาม ที่ต่างช่วงชิงเพื่อจะได้ยึดครองล้านนา ในระหว่างนั้นชาวเมืองพะเยาส่วนหนึ่งได้อพยพไปอยู่ที่เมืองลำปาง (บริเวณบ้านปงสนุกในปัจจุบัน)

สมัยต้นรัตนโกสินทร์ ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เมืองพะเยาขึ้นกับเมืองลำปาง เจ้าเมืองลำปางได้ส่งคนในตระกูลมาปกครองโดยต่อเนื่อง จนถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการปฏิรูปการปกครองเป็นแบบมณฑลเทศาภิบาล เมืองพะเยาจึงได้เป็นส่วนหนึ่งของมณฑลลาวเฉียง ซึ่งต่อมาเปลี่ยนเป็นมณฑลพายัพ การเปลี่ยนแปลงการปกครองครั้งนั้นมีการรวบอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง ก่อให้เกิดปฏิกิริยาต่อต้านจากผู้ปกครองเดิมและคนในท้องถิ่น ที่รู้จักกันในชื่อ "ขบถ ร.ศ. ๑๒๑" นอกจากนี้ยังมีขบถเงี้ยวในเมืองพะเยา รวมไปถึงเมืองแพร่และลำปางด้วย

เมื่อทางส่วนกลางจัดการเหตุการณ์ต่างๆจนสงบแล้ว เมืองพะเยาก็ถูกยกฐานะให้เป็นจังหวัด เรียกว่าจังหวัดบริเวณพะเยา ต่อมาปี พ.ศ. ๒๔๔๘ ถูกลดฐานะเป็นเพียง อ.เมืองพะเยา ให้เจ้าอุปราชมหาชัยศีติสาร รักษาการในตำแหน่งเจ้าเมืองพะเยา จาก พ.ศ. ๒๔๕๗ ถึง ๒๕๒๐ รวมเวลา ๖๓ ปี ได้มีนายอำเภอดำรงตำแหน่งถึง ๒๕ นาย จนถึงวันที่ ๒๐ สิงหาคม ๒๕๒๐ พะเยาได้รับการยกฐานะจากอำเภอขึ้นเป็นจ.พะเยา นับเป็นจังหวัดที่ ๗๒ ของประเทศไทยในขณะนั้น และเป็นจังหวัดตราบเท่าทุกวันนี้

ขอบคุณที่มา : การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
ภาพจาก : wikipedia

Written by on

Written by on

ตราประจำจังหวัดตาก

รูปพระบรมรูปสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงช้างเหนือครุฑหลั่งน้ำทักษิโณฑก

คำขวัญประจำจังหวัดตาก

ธรรมชาติน่ายล ภูมิพลเขื่อนใหญ่ พระเจ้าตากเกรียงไกร เมืองไม้และป่างาม

ประวัติจังหวัด เมืองตากในอดีตเป็นเมืองที่มีชาวมอญอยู่มาก่อน ดังมี หลักฐานศิลปมอญปรากฏอยู่ที่อำเภอบ้านตาก มีประวัติความเป็นมาเก่าแก่ และเป็นหนึ่งในหัวเมืองที่มีอายุขัยเกินกว่าสองพันปีขึ้นไป เมื่อมีการอพยพของชนชาติไทยจากลุ่มน้ำแยงซีเกียงตอนใต้ ลงมาตามแนวลำน้ำดง (ลำน้ำสาละวิน) มีพวกหนึ่งได้ข้ามลำน้ำสาละวิน ผ่านลุ่มน้ำเมยหรือแม่น้ำต่องยินเข้ามาทาง ช่องเขาด้านอำเภอแม่สอดและมาถึงบริเวณที่ปัจจุบันเรียกว่า "เมืองตาก"ผู้นำกลุ่มคนไทยที่อพยพมาตั้งถิ่นฐานที่เมืองตากในยุคนั้น ได้ตั้งตนเป็นกษัตริย์ปกครองสืบทอดต่อเนื่องกันมาจนถึงปีพ.ศ. 560 รัชสมัยพระเจ้าสักดำ ซึ่งเป็นกษัตริย์เมืองตากที่ยิ่งใหญ่มาก มีอาณาเขตที่อยู่ในอำนาจแผ่ไปจนจรดทะเลอันดามันดังมีบันทึกในพงศาวดารเหนือกล่าวว่าในรัชสมัยพระเจ้าสักดำนั้นเมืองตากมีการ ค้าขายกับเมืองอินเดียด้วยเมืองตากคงจะเสื่อมลงในช่วงพุทธศตวรรษที่ 10 พระยากาฬวรรณดิสผู้เป็นกษัตริย์เมืองตากที่อพยพมาจาก ตอนใต้ของลุ่มแม่น้ำแยงซีเกียง ได้โยกย้ายไปสร้างราชธานีขึ้นใหม่ที่เมืองละโว้ทางตอนใต้ของเมืองตากลงไปอีก

มีบางยุคเมืองตากถูกทอดทิ้ง กลายเป็นเมืองร้างดังในพงศาวดารเหนือได้ กล่าวถึงการเสด็จทางชลมารคของพระนางจามเทวี พระราชธิดากษัตริย์ละโว้ (ระยากาฬวรรณดิส) เพื่อไปปกครองแคว้นหริภุญไชย (ลำพูน) ในราว พ.ศ. 1176 โดยทาง ลำน้ำปิง พระนางจามเทวีขึ้นไปสำรวจบนฝั่งแม่น้ำพบร่องรอยกำแพงเมืองเก่าๆ ถูกทิ้งร้าง จึงโปรดให้สร้างเป็นบ้านเมืองใหม่ชื่อว่า "เมืองตาก"

ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 1805 ขุนสามชนเจ้าเมืองฉอดได้ยกทัพ มาประชิดเมืองตาก ซึ่งเป็นเมืองชายแดนของกรุงสุโขทัย พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ทรงจัดกองทัพออกไปรบ โดยมีพระราชโอรสองค์เล็กซึ่งมีพระชนมายุได้ 19 พรรษา ติดตามไปด้วย กองทัพ ทั้งสองฝ่ายปะทะกันที่บริเวณเชิงดอยนอกเมืองตากประมาณกิโลเมตรเศษ ราชโอรสองค์เล็กได้ทรงชนช้าง กับขุนสามชนกระทำยุทธหัตถีกัน ขุนสามชนสู้ไม่ได้แตกพ่ายไป ต่อมาภายหลังทรงพระนามว่า "พ่อขุนรามคำแหงมหาราช" และได้โปรดสร้างเจดีย์ขึ้นเป็นที่ระลึกถึงชัยชนะในการทำยุทธหัตถีครั้งนั้น องค์หนึ่งเป็นศิลปแบบสุโขทัย ซึ่งเจดีย์ยุทธหัตถีนี้อยู่ที่วัดพระบรมธาตุ อำเภอบ้านตาก ห่างจากตัวเมืองไปทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำปิงราว 31 กิโลเมตร

ต่อมาในแผ่นดินมหาธรรมราชา ได้ย้ายเมืองตากลงมาทางตอนใต้ตามลำน้ำปิง ไปตั้งอยู่ที่ป่ามะม่วง ฝั่งตะวันตก ของแม่น้ำปิง ซึ่งอยู่ในเขตตำบลป่ามะม่วง อำเภอเมืองตากในปัจจุบัน

เมืองตากที่ย้ายมาตั้งใหม่นี้มิใช่เมืองหน้าด่าน สำหรับป้องกันกองทัพพม่าที่จะยกเข้ามาทางด่านแม่ละเมาเท่านั้น แต่ยังเป็นเมืองที่กองทัพไทยใช้เป็นที่ชุมนุมพลในเวลา ที่จะยกทัพไปตีเมืองเชียงใหม่อีกด้วย ในรัชสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช สมเด็จพระนารายณ์มหาราช และสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีได้เสด็จมาชุมนุมกองทัพที่เมืองตากนี้ทุกพระองค์

โดยเฉพาะสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ก่อนที่พระองค์จะขึ้นครองราชสมบัตินั้น พระองค์ได้รับแต่งตั้งจากสมเด็จพระที่นั่งสุริยาอมรินทร ให้เป็นข้าหลวงเชิญท้องตราราชสีห์ ไปชำระความหัวเมืองฝ่ายเหนือและต่อมาได้รับการแต่งตั้งเป็นหลวงยกกระบัตร เมืองตาก ปลัดเมืองตาก พระยาวชิรปราการแล้วปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดินโดยลำดับ

กล่าวโดยสรุป จังหวัดตากเป็นจังหวัดที่มีความเป็นมาในประวัติศาสตร์ ควรค่าแก่การสนใจ เป็นเมืองที่พระมหากษัตริย์ในอดีตได้เสด็จมาชุมนุมกองทัพที่เมืองตากนี้แล้ว ถึง 4 พระองค์ คือ พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงชนช้างกับขุนสามชนเจ้าเมืองฉอด สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงประกาศอิสรภาพ ณ เมืองแครง และทรงยกทัพกลับราชอาณาจักรไทยโดยผ่านดินแดนเมืองตากเป็นแห่งแรก สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงนำทัพไปตีหัวเมืองฝ่ายเหนือ และได้สร้างวัดพระนารายณ์ที่เชิงสะพานกิตติขจรปัจจุบัน และสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีเคยได้รับพระบรมราชโองการแต่งตั้งเป็นเจ้าเมือง ตาก และเป็นผู้กอบกู้เอกราชของชาติไทยจากพม่า ครั้งที่ 2

ขอบคุณที่มา : การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
ภาพจาก : wikipedia

Written by on

Written by on

ตราประจำจังหวัดพิจิตร

รูปต้นโพธิ์ริมสระหลวง

คำขวัญประจำจังหวัดพิจิตร

ถิ่นประสูติพระเจ้าเสือ แข่งเรือยาวประเพณี พระเครื่องดีหลวงพ่อเงิน เพลิดเพลินบึงสีไฟ ศูนย์รวมใจหลวงพ่อเพชร รสเด็ดส้มท่าข่อย ข้าวเจ้าอร่อยลือเลื่อง ตำนานเมืองชาละวัน

ประวัติจังหวัด พิจิตร เป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ทางภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนบน มีความหมายว่า "เมืองงาม" ตั้งอยู่ระหว่างจังหวัดนครสวรรค์กับจังหวัดพิษณุโลก มีแม่น้ำน่านและแม่น้ำยมไหลผ่าน ตัวเมืองอยู่ริมฝั่งแม่น้ำน่าน พิจิตรเป็นเมืองเก่าแก่ในสมัยสุโขทัย ปรากฏข้อความในศิลาจารึกหลักที่ 1 ของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช และในศิลาจารึกหลักที่ 8 รัชกาลพระยาลิไท เรียกว่า "เมืองสระหลวง" ซึ่งมีสถานะเป็นหัวเมืองเอกของกรุงสุโขทัย ต่อมาในสมัยอยุธยา รัชสมัยของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถได้เปลี่ยนชื่อเป็น "เมืองโอฆบุรี" ซึ่งแปลว่า "เมืองในท้องน้ำ" ตามตำนานกล่าวว่า พระยาโคตรบองเป็นผู้สร้างเมืองพิจิตร แต่จะสร้างในสมัยใดไม่ปรากฏ นอกจากนี้ เมืองพิจิตรยังเป็นที่ประสูติของพระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยาพระองค์ หนึ่งคือ สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 (พระเจ้าเสือ)

ในสมัยอยุธยา พิจิตรเป็นหัวเมืองชั้นตรี มีตำแหน่งเจ้าเมืองปรากฏตามพระไอยการตำแหน่งนาพลเรือนนาทหารหัวเมืองว่า ออกญาเทพาธิบดีศรีรณรงค์ฤๅไชยอภัยพิรียภาหะ ศักดินา 5,000 ไร่ ซึ่งถือว่าเป็นขุนนางบรรดาศักดิ์ระดับสูง ในสมัยกรุงศรีอยุธยามีหัวเมืองชั้นตรีเพียง 7 เมืองเท่านั้น คือ เมืองพิชัย เมืองพิจิตร เมืองนครสวรรค์ เมืองพัทลุง เมืองชุมพร เมืองจันทบูร และเมืองไชยา จึงนับว่าในสมัยโบราณ พิจิตรเป็นเมืองที่ค่อนข้างจะมีความสำคัญสูง จนตำแหน่งเจ้าเมืองมีการตราไว้ในพระไอยการฯ ซึ่งสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถได้ทรงตราไว้

ในสมัยรัตนโกสินทร์ เมืองพิจิตรเป็นเพียงเมืองขนาดเล็ก แต่ก็ยังมีเจ้าเมืองปกครองดังเช่นเมืองอื่น ๆ เมื่อถึงสมัยรัชกาลที่ 5 ทรงโปรดให้ย้ายเมืองพิจิตรมาตั้งที่บ้านคลองเรียง ซึ่งเป็นคลองขุดใหม่ลัดแม่น้ำน่านที่ตื้นเขิน คลองเรียงจึงกลายเป็นแม่น้ำน่านไป ส่วนบริเวณเมืองพิจิตรเก่ายังปรากฏโบราณสถานอยู่หลายแห่ง ซึ่งมีอายุตั้งแต่สมัยสุโขทัยถึงสมัย อยุธยา

ขอบคุณที่มา : การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
ภาพจาก : wikipedia

Written by on