นำเสนอสาระน่ารู้ บทความดีๆ เกี่ยวกับพัฒนาการของลูกน้อยในวัยเตาะแตะ ลูกน้อยในวัย 2-3 ปี เพื่อคุณพ่อคุณแม่จะได้เตรียมพร้อมรับมือกับพัฒนาการของลูกน้อยได้อย่างชาญฉลาด และมีสติ พร้อมที่จะแก้ไขและส่งเสริมให้ลูกน้อยมีพัฒนาการที่ดีสมวัย และสามารถเจริญเติบโตต่อไปได้อย่างมีความสุข สุขภาพแข็งแรง ร่าเริงสดใส ทาง Pstip หวังเป็นอย่างยิ่งว่าสาระความรู้ต่างๆ ในหมวดนี้จะสามารถเป็นแนวทางที่ดี สำหรับคุณพ่อคุณแม่คนใหม่นำไปปฏิบัติเพื่อลูกน้อยที่คุณรักได้อีกทางหนึ่งค่ะ

Written by on

 

ลูกชอบหวีดร้อง เอาแต่ใจตัวเอง จะแก้ไขอย่างไรดี

ลูกชอบเอาแต่ใจตัว เวลาไม่ได้อะไรดั่งใจก็ลงไปหวีดร้องอยู่กับพื้น กลัวว่าโตขึ้นจะเป็นคนที่เอาแต่ใจตัวเอง จะทำอย่างไรดีคะ

 
ทำไมเด็กวัยนี้จึงหวีดร้อง เวลาเขาแผดเสียงร้องออกมาคุณเคยนึกสงสัยไหมว่า เขาร้องเพราะอะไร เขารำคาญเราหรือเปล่า การร้องของเด็กนั้นมีได้จากหลายสาเหตุ หากเราลองสำรวจดี เราจะพอทราบสาเหตุเหล่านั้นได้ บางทีเขาอาจจะร้องเพราะต้องการเป็นอิสระหรือร้องเพราะต้องการให้คุณแม่เอาใจเขาอยู่ตลอดเวลา ถ้าเป็นอย่างหลังแล้วล่ะก็ คุณคุณควรจะต้องระมัดระวังพฤติกรรมนี้ให้มากขึ้นแล้วล่ะคะ เพราะว่ามันอาจจะพัฒนาให้เขากลายเป็นเด็กที่เอาแต่ใจตัวเองได้ในภายหลัง หากเรารู้แต่เนิ่นๆก็จะสามารถหาทางป้องกันไม่ให้ติดเป็นนิสัยได้

จะแก้ไขอย่างไรดีค่อยๆคุยกัน คนควรมีเวลาให้เขา ลองคุยกัน ใส่ใจกัน ไม่ขู่ตะคอกเวลาที่เขาทำผิด ไม่ควรตามใจเขาเมื่อเขากรีดร้องเอาแต่ใจตัวเอง เช่น กรีดร้องในที่สาธารณะในร้านอาหาร กระทืบเท้า คว้างปาสิ่งของกระจัดกระจาย คุณควรพาเขามานั่งคุยกันว่า ทำแบบนี้แล้วไม่ดีอย่างไรหนูจะได้รับโทษอะไรบ้างหากทำแบบนี้อีกแต่สำหรับเด็กที่กำลังอยู่ในช่วง วัย 12-18 เดือน เขาอาจจะยังไม่เข้าใจความเป็นเหตุเป็นผลได้ คุณควรรีบเบี่ยงเบนความสนใจโดยการใช้ของเล่นเข้าช่วยหรือพาเดินดูสิ่งแวดล้อมต่าง ๆให้เพลินตา

การกระทำที่ไร้ผล ถ้าคุณทำเป็นไม่สนใจต่อพฤติกรรมของเขา ไม่ว่าเขาจะดึงผม หยิก ตี เขาก็จะรู้ว่าทำไปก็ไม่ได้อะไรเลย เจ็บตัว แล้วยังทำให้ไม่มีใครสนใจเลย แต่ต้องรู้ทันเขาให้ได้หากวิธีนี้ไม่ได้ผล เขาอาจจะหันไปแกล้งน้องแทน กวนใจคุณไม่รู้จบ คุณควรเรียกเขามาคุยกัน พาเดินไปในสวนสาธารณะบ้าง ให้เขารู้สึกสบายใจและเกรงใจคุณขึ้นมาบ้าง

ขอขอบคุณ ที่มา : นิตยสารเรื่องผู้หญิง ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต

Written by on

Written by on

เด็กขี้อาย

ลูกอายุ 2 ขวบ เป็นเด็กที่มีลักษณะขี้อาย ไม่ค่อยเข้าไปเล่นกับเพื่อนๆ จะอายมากเวลาเจอคนแปลกหน้า เป็นลักษณะของเด็กที่ผิดปกติหรือเปล่า และจะส่งเสริมให้แกมีความกล้าแสดงออกได้อย่างไร

เด็กบางคนสามารถเข้าสังคมกับเด็กอื่นๆได้ดี แต่บางคนอาจจะค่อนข้างเก็บตัว ต้องใช้เวลาในการทำตัวให้คุ้นเคยก่อน คุณอาจจะสังเกตว่าเมื่อเด็กต้องพบปะกับคนแปลกหน้าหรือสถานที่ใหม่ๆ (แม้ว่าจะเป็นของขวัญ เกม อาหาร หรือเสื้อผ้า) เขาจะคอยดูอยู่ห่างๆก่อนจนกว่าเขาจะรู้สึกสบายใจจึงจะเข้าไปพูดคุยหรือเล่นด้วย ความขี้อายของเด็กแต่ละคนนั้นแตกต่างกัน ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการพัฒนาการศึกษาพบว่า ความอายนั้นมีสาเหตุมาจากทั้งพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม หมายถึง เด็กบางคนเกิดมามีนิสัยขี้อายที่ติดมากับตัว ขณะที่บางคนชอบพบปะกับคนรอบข้าง การเลี้ยงดูและประสบการณ์จะเป็นตัวปรับเปลี่ยนนิสัยของเขาให้ดีขึ้น อย่างไรก็ตามก่อนที่คุณจะตัดสินใจว่าลูกของคุณเป็นเด็กที่ขี้อาย ควรจะต้องดูก่อนว่า ความขี้อายของเขาเกิดเนื่องจาก ความอายเพราะ ?ช่วงอายุที่กลัวการพลัดพราก? หรือ มีนิสัยขี้อายจริงๆ

ช่วงอายุที่กลัวการพลัดพราก เป็นอย่างไร ถ้าลูกของคุณเคยเป็นเด็กที่เล่นกับเด็กคนอื่นๆหรือพูดคุยกับคนรอบข้างได้ดีแล้วเปลี่ยนเป็นเด็กที่ขี้อาย กังวลใจ ไม่ยอมพูดคุยกับคนแปลกหน้า ไม่ยอมให้คุณอยู่ห่างหรือพรากไปจากสายตา อาการเหล่านี้คืออาการที่เกิดจากที่เขามีความรู้สึกกลัวการพลัดพรากจากคุณ

อาการกลัวการพลัดพรากจะเกิดเมื่อเด็กเริ่มโตขึ้น สามารถเดินไปไหนมากไหนได้อย่างอิสระมากขึ้น เด็กส่วนใหญ่จะเกิดความรู้สึกนี้อย่างน้อย 1 ครั้ง ในช่วงอายุระหว่าง 9-18 เดือน และจะหายไปเมื่ออายุ 3 ขวบ เด็กจะมีอาการมากเมื่อคุณพ่อคุณแม่ไปต่างจังหวัด พบสถานะการณ์ที่ไม่คุ้นเคย หรืออยู่ในที่มืด

เราจะมีวิธีส่งเสริมให้เด็กกล้าแสดงออกได้อย่างไร

คราวนี้ถ้าคุณสรุปได้ว่าลูกคุณมีนิสัยขี้อายก็ไม่ต้องกังวลมากจะเกินไปนะคะ ความขี้อายไม่ได้เป็นผลเสียที่ร้ายแรงและไม่ได้มีผลต่อพัฒนาการของเขา เรามาดูกันค่ะว่ามีวิธีช่วงส่งเสริมการแสดงออกให้แก่เขาอย่างไรบ้าง

1. อย่าพูดว่า เด็กขี้อาย สิ่งแรกที่คุณทำได้ก็คือ พยายามหลีกเลี่ยงคำพูดที่ทำให้เขารู้สึกว่าเขาเป็นเด็กขี้อาย คำพูดว่า เขาเป็นเด็กขี้อาย นั้นจะทำให้เขามีความคิดฝังใจว่าเขาขี้อายจริงๆ หรือ อาจจะเป็นคำที่ทำให้เขาให้เป็นข้อแก้ตัวในการไม่เข้าสังคมคุณควรจะพูดว่า ?ให้เวลาเขาหน่อย ให้เขาคุ้นเคยกับคนที่เพิ่งเจอ? และคุณพยายามเตือนตัวของคุณเองด้วยไม่ให้คิดว่าเขาเป็นเด็กขี้อาย เพราะ ความคิดของคุณอาจจะมีอิทธิพลต่อตัวเขาได้โดยที่คุณไม่รู้ตัว

2. แสดงความเห็นใจกับเขา พูดให้เขารับรู้ว่า ถ้าเราเจอสถานการณ์แบบเขา เราก็อาจจะรู้สึกตื่นเต้นเหมือนกัน เด็กจะรู้สึกว่าเขาไม่ได้มีความรู้สึกนั้นอยู่คนเดียว จะทำให้คลายความตื่นเต้นกังวลไปได้ เช่น ถ้าเขาจะต้องไปโรงเรียนวันแรก พบกับเพื่อนใหม่ คุณอาจจะพูดว่า ?วันนี้แม่ต้องตื่นเต้นแน่ๆเลย เพราะได้ไปพบเพื่อนใหม่ๆของลูก?

3. ส่งเสริมให้เขาเข้าสังคมหรือแสดงออก ให้คำชมเชยทุกครั้งที่เขาเข้ากับญาติๆหรือเพื่อนๆได้ดี กล้าแสดงออกในสิ่งที่เคยกลัวมาก่อน แต่ไม่ควรจะบังคับหรือกระตุ้นให้เขาแสดงออกมากเกินไปหรือใช้เวลาเป็นตัวกำหนด เพราะจะทำให้เขาเกิดความเครียดและกังวล คุณควรจะให้เวลาเขาในการปรับตัวคุ้นเคยด้วยตนเอง เพราะว่าเด็กแต่ละคนนั้นจะใช้เวลาไม่เท่ากัน ชมเชยเมื่อเขามีความก้าวหน้าในการแสดงออก เช่น ถ้าเขาส่งยิ้มให้ญาติผู้ใหญ่ที่ไม่คุ้นเคยเป็นครั้งแรกหลังจากที่เจอกันมานานกว่า 15 นาที คุณก็ให้คำชมกับเขาว่า ?น้องยิ้มให้คุณยายแล้ว คุณยายจะต้องดีใจแน่ๆเลย? และคุณควรจะต้องคุยกับญาติของคุณด้วยว่า จะต้องใช้ความอดทนเล็กน้อย

4. อย่าตำหนิติเตียน การพูดตำหนิว่า ขี้อาย มีแต่ผลเสีย แม้เพียงเป็นการล้อเล่น คุณควรจะไว้เสมอว่า มันไม่มีประโยชน์อะไรเลยที่จะทำให้เด็กรู้สึกแย่ แม้ว่าจะทำให้คุณเกิดความบันเทิงระยะสั้นๆ

5. อย่าหลีกเลี่ยงการเข้าสังคม การให้เขาเข้าพบปะเด็กๆหรือคนอื่นๆ จะเป็นการลดความกลัวหรือความขี้อายลง มีเคล็ดลับนิดหนึ่ง คือ ถ้าจะพาเขาไปเข้ากิจกรรมเด็กๆ หรืองานเลี้ยงสังสรรค์ ควรจะพาเขาไปก่อนเวลาเล็กน้อย ก่อนที่เด็กคนอื่นๆจะมา เพื่อนให้เขาคุ้นเคยกับสถานที่ และคลายความกังวลลง

6. เริ่มจากหากิจกรรมง่ายๆ กลุ่มเล็กๆก่อน การเริ่มจากกลุ่มเล็กๆ กิจกรรมง่ายๆ จะทำให้เขาปรับตัวได้ง่ายกว่า มีความกังวลน้อยกว่า เมื่อคุณพาเขาไปเข้ากิจกรรม ไม่ควรบังคับให้เขาลงไปร่วมกิจกรรมโดยที่เขาไม่สมัครใจ ให้เวลานั่งอยู่บนตักของคุณ สังเกตสิ่งรอบข้าง เมื่อเขารู้สึกคุ้นเคย สบายใจเขาจะเข้าไปร่วมกิจกรรมด้วยตัวเอง

โดยสรุปแล้ว คุณสามารถส่งเสริมให้บุตรหลานของคุณมีความกล้าแสดงออก ลดความขี้อายลงได้ด้วยวิธีที่ไม่ยาก คุณไม่ควรจะกังวลกับอนาคตจนเกินไปเพราะส่วนใหญ่แล้วประสบการณ์และการเลี้ยงดูจะทำให้เขาเลิกขี้อายได้ในที่สุด สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ การที่การส่งเสริมมั่นใจแลความสามารถที่มีอยู่ในตัวเขา

ขอขอบคุณ ที่มา : นิตยสารเรื่องผู้หญิง ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต

Written by on

Written by on

 

การปฏิเสธอาหาร ธรรมชาติของเด็กวัย 9-16 เดือน

คุณพ่อคุณแม่ที่เหนื่อยกับปัญหาลูกไม่ยอมกินข้าว หรือ กินน้อยลงเมื่อเทียบกับเมื่อก่อน คุณทราบหรือไม่คะว่า สาเหตุที่เด็กดูเหมือนกินข้าวน้อยลงเมื่อโตขึ้นหลัง 9 เดือน ขึ้นไปนั้น เป็นธรรมชาติของเด็กค่ะ

เด็กวัย 9-16 เดือน เป็นวัยที่เขาเริ่มหัดเดิน หรือ เริ่มเดินได้ เป็นวัยที่เริ่มสำรวจสิ่งรอบตัว ซึ่งประจวบเหมาะกับเวลาที่เขาเริ่มให้ความสนใจในการกินอาหารน้อยลง ก็จะมีเวลากินอาหารได้อย่างไรละคะ เมื่อมีสิ่งรอบกายให้สำรวจเยอะแยะมากมายเต็มไปหมด

ช่วยวัยนี้ เป็นช่วงการการเจริญเติบโตเขาชลอตัวลง ทำให้ให้ความต้องการอาหารลดลงจากเมื่อก่อน เขาดูเหมือนว่ากินอาหารน้อยลง เขาอาจจะกินอาหารได้ดีวันนี้ แต่วันรุ่งขึ้นอาจจะไม่ยอมกินอะไรเลยก็ได้ แต่คุณไม่ต้องกลุ้มใจไปค่ะ ลองคำนวณอาหารที่เขากินรวมกันทั้งอาทิตย์ซิคะ คุณจะแปลกใจที่คุณพบว่า ลูกของคุณกินอาหารได้ตามที่ร่างกายเขาต้องการ การคำนวณนั้น คุณควรจะต้องคำนวณอาหารประเภทของเหลว เช่น นม น้ำผลไม้ ลงไปด้วยเพราะอาหารเหล่านี้ก็ให้พลังงานแก่ร่างกาย

คุณจะทำอย่างไร การเลี้ยงดูลูกในวัยนี้ต้องใช้การเมืองพอสมควรคะ การดุว่า หรือ บังคับให้กินข้าวนั้นจะไม่เกิดประโยชน์ และอาจจะทำให้แกไม่กินหรือท้าทายมากขึ้น การสร้างบรรยากาศในการกินข้าวให้สนุกสนาน หาของกินที่แกชอบมาให้ทาน ให้แกมีโอกาสได้เลือกอาหารที่จะกิน หรือ ใช้มือหยิบอาหารเข้าปากด้วยตนเอง จะมีโอกาสทำให้แกกินข้าวได้มากขึ้น การให้วิตามินเสริมก็อาจจะมีส่วนช่วยเติมวิตามินและเกลือแร่แก่ร่างกาย แต่อย่าลืมว่าวิตามินนั้นเทียบไม่ได้กับการให้รับประทานอาหารที่ครบถ้วน

อย่างไรก็ตาม ถ้าลูกของคุณไม่ยอมกินอาหารเอามากๆ น้ำหนักไม่ขึ้น หรือ ผอมมาก ควรพาไปปรึกษาแพทย์ค่ะ

ขอขอบคุณ ที่มา : นิตยสารเรื่องผู้หญิง ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต

Written by on

Written by on

เด็กก้าวร้าว จะแก้นิสัยเด็กก้าวร้าว กัด ตี เพื่อนๆ ได้อย่างไร

ลูกชายอายุ 2 ขวบแล้ว เกเรมากค่ะเห็นเด็กรุ่นราวคราวเดียวกันไม่ได้ต้องเข้าไปตีเค้า ทั้งๆที่เค้าไม่ได้ทำอะไรให้เลย บางทีคนที่บ้านนั่งอยู่ดีๆ ก็อมน้ำมาบ้วนใส่เค้าบ้างล่ะ บางทีตัวเองเล่นของเล่นอยู่ก็เอาของเล่นนั้นไปตีคนอื่นเค้า พอไม่มีใครยอมเล่นด้วยก็กรี๊ด บางทีก็หวงของเล่นไม่ยอมให้คนอื่นเล่นด้วย หนักๆเข้าปาของใส่ซะเลย เด็กเป็นอย่างนี้จะแก้ไขอย่างไรดีคะ

พิมนิสัยก้าวร้าว กัดหรือตีเด็กรุ่นราวคราวเดียวกันนั้นเป็นเรื่องที่พบได้ปกติในเด็กอายุ 2 ขวบค่ะ คุณอาจจะเแปลกใจว่าความจริงแล้วความก้าวร้าวเป็นส่วนหนึ่งของพัฒนาการ เด็กอายุ 2 ขวบจะมีความรู้สึกเป็นเจ้าข้าวเจ้าของสูงมาก เขาจะรู้สึกว่าตัวเองเป็นศูนย์กลางของทุกๆสิ่ง (self center) เขาจะทำร้ายคนรอบๆข้างเพราะเข้าใจว่าการทำร้ายจะทำให้เขาได้ในสิ่งที่ต้องการ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งของหรือความรักจากพ่อแม่ คุณพ่อคุณแม่จะมีบทบาทในการแสดงให้เข้ารู้ว่า นิสัยก้าวร้าวนั้นเป็นนิสัยที่รับไม่ได้และมีทางออกทางอื่นที่เขาจะทำได้ในการระบายอารมณ์

แก้นิสัยลูกก้าวร้าวได้อย่างไร ความก้าวร้าวของเด็กวัย 2 ขวบนั้น ไม่ได้เป็นนิสัยที่จะติดตัวไปจนถึงตอนโต พ่อแม่หรือผู้ปกครองควรต้องใช้ความอดทนและพยายามให้ความเอาใจใส่พยายามอธิบายเหตุผลเมื่อแกมีพฤติกรรมก้าวร้าวขึ้นมา เช่น เมื่อพี่น้องแย่งของเล่นกัน ถ้าน้องเอามือไปตีพี่ คุณจะต้องแยกน้องออกมาทันที มานั่งคุยกันถึงการแบ่งของเล่น พี่น้องไม่ควรจะทะเลาะกัน และให้แกกลับไปเล่นของเล่นต่อเมื่อแกหายอามรณ์เสียและมีความรู้สึกอยากเล่นต่อ วิธีการนี้จะได้ผลดีกว่าการเข้าไปตีเขาหรือดุว่า เพราะเขายังเด็กอยู่และอาจจะไม่เข้าใจว่าที่เราดุเขานั้นมีสาเหตุมาจากอะไร นอกจากนั้นวิธีการแสดงตัวอย่างการตีหรือกัดตัวเขาเพื่อแสดงให้รู้ว่าที่ ฝ่ายตรงข้ามที่โดนเขากัดหรือตีนั้นมีความรู้สึกอย่างไรนั้น เป็นวิธีการที่ไม่ถูกต้องเพราะจะทำให้เขารับรู้อย่างผิดๆว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ เพราะว่าพ่อแม่ยังทำเช่นนั้นกับเขา

พยายามแก้ไขทันทีเมื่อเขาเริ่มก้าวร้าว เมื่อคุณเห็นลูกคุณเริ่มแสดงอาการก้าวร้าว คุณควรจะรีบแยกตัวเขาออกมาทันที ไม่ควรรอให้เขาตีหรือกัดเพื่อนเป็นครั้งที่สองหรือสามแล้วค่อยเริ่มห้าม การแยกตัวเขาออกมานั่งเฉยๆอธิบายให้เขาฟังและให้เขานั่งอยู่คนเดียวเป็นเวลา 1-2 นาที จะทำให้เขาสงบสติอารมณ์ลงและเรียนรู้ว่าเมื่อเขามีพฤติกรรมก้าวร้าวเขาจะต้องโดนทำโทษด้วยการนั่งเฉยๆ คุณอาจจะเรียกวิธีการนี้ง่ายๆว่า ?การขอเวลานอก?

คุณจะทำอะไรบ้างเมื่อถึงเวลา ?ขอเวลานอก? หลังจากแยกเขาออกมา คุณค่อยๆคุยกับเขาอธิบายย้อนหลังถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมที่เขาแสดงออกต่อเหตุการณ์นั้นๆ ถามเขาถึงสาเหตุที่กระตุ้นทำให้เขาโมโห คุณอาจจะแนะนำว่า ?การโมโหเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้เป็นธรรมดาของทุกคน แต่ว่าการแสดงออกของการโมโหเป็นไปได้หลายทาง ไม่จำเป็นจะต้องไปทำร้ายผู้อื่น เช่น การตะโกนออกไปว่า ?เราโมโหแล้วนะ? การเตะฟุตบอลแรงๆ การทุบหมอน หรือถ้าแก้ไม่ได้จริงๆให้มาบอกพ่อกับแม่? หลังจากนั้นกำชับให้เขาไปขอโทษคนที่เขามีพฤติกรรมก้าวร้าวด้วย ตอนแรกๆการขอโทษของเขาอาจจะดูไม่จริงใจ แต่ว่าการบังคับให้เขาทำขอโทษจะเป็นการกำชับให้แกเรียนรู้ว่าความก้าวร้าวเป็นสิ่งที่คนอื่นไม่ต้องการ และจะสร้างนิสัยให้แกรู้จักขอโทษเมื่อเผลอก้าวร้าวต่อคนอื่นในอนาคตการปรับปรุงนิสัยด้วยการ ขอเวลานอก นั้น ถ้าทำอย่างสม่ำเสมอ เด็กจะเริ่มโยงความคิดและเรียนรู้ได้ว่า พฤติกรรมก้าวร้าวนั้นเป็นสิ่งที่พ่อแม่ไม่ต้องการ และเมื่อเขาแสดงอาการก้าวร้าว เขาจะต้องโดนขอเวลานอก

พูดชมเชยเมื่อแกมีพฤติกรรมที่เหมาะสม ถ้าลูกของคุณมีการแก้ปัญหาที่สร้างสรรค์ ไม่ได้ใช้ความก้าวร้าว การพูดชมเชยจะส่งเสริมให้นิสัยก้าวร้าวลดลงเร็วขึ้น เช่น เมื่อน้องมาแย่งลูกฟุตบอลไปจากมือของแก แทนที่จะหวงของเอาไว้ แกเปลี่ยนไปเล่นของเล่นอย่างอื่น คุณอาจจะพูดชมเชยว่า ?น่ารักมากเลยลูก แบ่งของให้น้องเล่น?

ดูแลการดูโทรทัศน์อย่างใกล้ชิด ปัจจุบันเราสามารถเห็นพฤติกรรมก้าวร้าวได้มากมายในโทรทัศน์ พ่อแม่ควรจะต้องดูแลการดูโทรทัศน์ของลูกอย่างใกล้ชิด เด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบ ไม่ควรดูรายการโทรทัศน์ที่มีการทำร้ายกัน เพราะเขาไม่สามารถแยกแยะความจริงกับละครได้ พ่อแม่ควรจะต้องนั่งดูกับเด็กและคอยอธิบายถึงพฤติกรรมต่างๆที่ตัวละครแสดงออกมา เช่น ?ลูกเห็นไหมว่ามันไม่ดีเลยนะ ที่เขาแกล้งเพื่อน เพื่อให้คุณครูให้ความสนใจ?

ขอบคุณ ที่มา : Lisa 
ภาพจาก : abnormalbehaviorchild

Written by on

Written by on

 

การฝึกนิสัยการนอน

เคล็ดลับในการฝึกให้เด็กทารกและเด็กเล็ก มีนิสัยในการนอนที่ดี นอนเป็นเวลา และนอนได้นาน มีดังนี้

  • กำหนดเวลานอนของเด็กให้เป็นเวลา เวลานอนควรกำหนดให้เป็นระยะหลังกินนม หลังจาก 16.30 น. ไม่ควรให้เด็กนอน แต่ควรหากิจกรรมอื่นๆ ให้เด็กทำ เช่น นอนเล่น พาไปเดินเล่นกลางแจ้ง เป็นต้น

  • จัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะแก่การนอน ห้องนอนต้องสงบเงียบ เด็กส่วนมากจะนอนหลับเมื่อพาเข้านอน ภายในเวลาประมาณ ฝ - 1 ฝ ชั่วโมง

  • ให้เด็กได้เรียนรู้ว่า การนอนเป็นสิ่งที่ดี ไม่ใช่เรื่องฝืนใจกัน ก่อนถึงเวลานอน ผู้ใหญ่ควรเตือนเด็กล่วงหน้า และไม่ปล่อยให้เด็กเถลไถลนาน ควรจูงมือพาไปนอนทันที

  • ก่อนนอนให้เด็กดื่มน้ำ และปัสสาวะให้เรียบร้อย

  • ไม่ควรใช้การนอนเป็นการลงโทษเด็ก

  • ถ้าเด็กชอบบางสิ่งบางอย่างเป็นพิเศษ ก็ให้เอาไปนอนด้วยได้ เพื่อความอบอุ่นทางใจ

  • ไม่ควรให้เด็กตื่นเต้นก่อนนอน และไม่ควรหลอกเด็กหรือเล่าเรื่องน่ากลัว หรือขู่เด็กเกี่ยวกับการนอน เด็ก 1-4 ขวบ ควรมีเวลาพักผ่อนก่อนกินอาหารกลางวัน ควรให้ดูหนังสือเงียบๆ หรือฟังนิทานเบาสมอง เป็นต้น

  • การเลี้ยงทารกในเวลากลางคืน โดยเฉพาะทารกแรกเกิด-6 เดือน ควรเปิดไฟ 5-10 แรงเทียน ไว้ 1 ดวง เพื่อความสะดวก ในการลุกขึ้นดูแลทารกในช่วงกลางดึก

ขอขอบคุณ ที่มา : นิตยสารรักลูก ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต

Written by on

Written by on

 

เจ้าจอมวายร้ายวัย 2 ขวบ

ลูกเพิ่งจะ 2 ขวบกว่าเท่านั้นจะดื้อรั้นที่สุด บางครั้งถ้าจะให้เขาทำอะไรบางอย่าง จะต้องออกคำสั่งในทางตรงกันข้าม เช่น ถ้าจะให้เขานั่ง ต้องบอกว่า อย่านั่งนะ เขานะนั่งทันที

การที่เด็กวัยตั้งแต่ 2 ขวบขึ้นไปเริ่มมีปฏิกริยาต่อต้านนั้น เป็นเรื่องธรรมดามาก เพราะในช่วงปีที่ 2 ของชีวิต พัฒนาการของร่างกาย ถึงระยะที่เด็กสามารถควบคุมกล้ามเนื้อหูรูด ของอวัยวะขับถ่ายได้ทำให้เด็กเกิดความรู้สึกว่า เขามีอิสระในการกระทำบางอย่าง เช่น ควบคุมว่าจะถ่าย หรือไม่ถ่ายปัสสาวะเมื่อใด ที่ไหน ผลที่เกิดขึ้นก็คือ เขาจะเกิดความตั้งใจ ที่จะทำพฤติกรรมบางอย่างให้เป็นไปตามที่เขาต้องการ เราจึงมักพบว่าเด็กมักจะปฏิเสธ และทำในทางตรงกันข้าม กับความต้องการของพ่อแม่เสมอๆ เพราะฉะนั้นการที่พ่อแม่ของเด็กบางคน บังคับและเข้มงวดกับเด็กมากเกินไป จะทำให้เด็กเกิดความคับข้องใจมาก วิธีการแก้ไขก็คือ ควรจะเข้าใจในการเปลี่ยนแปลงของเด็ก และผ่อนปรนบ้างตามความเหมาะสม และเพื่อมิให้เด็กเกิดความรู้สึก คับข้องใจ ควรจะหลีกเลี่ยงคำพูดแกมบังคับเสีย จิตแพทย์ได้พยายาม ที่จะเปลี่ยนความเคยชินของพ่อแม่ จากการใช้คำว่า ?อย่านะ? นี้ให้เป็นอย่างอื่น ที่ไม่มีผลทางจิตใจของเด็ก แต่เป็นการเร้าใจที่จะให้เด็กทำอย่างนั้น เช่น

  • อย่าวิ่ง ควรใช้ เดิน
  • อย่าร้องซิ ควรใช้ เจ็บหรือลูก (จำเป็นต้องโอ๋นิดหน่อย)
  • อย่าเพิ่งไปคนเดียว ควรใช้ คอยแม่ด้วยซิลูก
  • อย่าทำสกปรกนะ ควรใช้ ล้างมือหรือยังลูก
  • อย่าทำแตกเสียล่ะ ควรใช้ ถือดีๆ นะลูก

คุณแม่คงต้องใช้คำให้ถูกต้อง เพราะขาเป็นจอมว้ายร้ายวัย 2 ขวบ (Terrible-two-year old)

ขอขอบคุณ ที่มา : นิตยสารรักลูก ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต

Written by on

Written by on

 

การฝึกการแต่งตัว

การแต่งตัวมีพัฒนาการเป็นขั้นตอน และมีเคล็ดลับการสอนให้เด็กแต่งตัวเป็นด้วยตนเอง ดังนี้

พัฒนาการของการแต่งตัวในวัยต่างๆ

  • ก่อน 1 ขวบทารกแต่งตัวไม่ได้ แต่ให้ความร่วมมือในการแต่งตัว โดยยกแขนยกขาขึ้น ให้ผู้ใหญ่สวมใส่ให้
  • 1-1 1/2ขวบ เริ่มดึงเสื้อผ้า ถุงเท้า ออกจากตัวได้ และถอดเสื้อผ้าได้เอง เมื่ออายุ 2 ขวบ เมื่อทารกเดินได้ ควรให้นำเสื้อผ้าใส่ตะกร้าผ้าเอง
  • 1 1/2 -3 1/2 ขวบ หัดแต่งตัวเองได้ ติดกระดุม รูดซิป หวีผม แปรงฟัน ชอบแต่งตัวเอง
  • 4 1/2 -5 ขวบ ไม่ชอบแต่งตัวเอง ทั้งๆ ที่ทำได้เองแทบทั้งหมด แต่ยังไม่เรียบร้อย
  • 6-7 ขวบ แต่งตัวได้เอง แต่ช้า
  • 8 ขวบ แต่งตัวได้เอง และเร็วขึ้น

วิธีการ

  • ผู้ใหญ่ควรเปิดโอกาสให้เด็กแต่งตัวเองบ้าง เช่น ตั้งแต่ 1-1 1/2 ขวบ ควรให้เด็กหัดถอดเสื้อผ้าเอง วัย 2 1/2 -3 ขวบ ชอบแต่งตัวเอง ทั้งที่ผู้ใหญ่ทำให้จะแต่งเสร็จเร็วกว่า เด็กวัย 4 1/2 -5 ขวบ ซึ่งเป็นวัยที่ผู้ใหญ่ ต้องการให้แต่งตัวเอง กลับไม่ชอบแต่ง ดังนั้นจึงควรให้เด็กแต่งตัวเองบ้าง เมื่อเขาต้องการทำ
  • ผู้ใหญ่ควรให้คำแนะนำสั่งสอน และบอกวิธีทำให้
  • เด็กที่เดินได้คล่องแคล่ว ควรฝึกให้เก็บของ ของตนให้เป็นที่ เช่น เด็ก 18 เดือน ฝึกให้เอาเสื้อผ้าที่ใช้แล้วไปใส่ตะกร้าผ้า เป็นต้น
  • พ่อแม่พี่น้อง ควรทำเป็นตัวอย่างให้เด็กเห็น
  • ทารกและเด็กเมื่อได้รับการฝึกกิจวัตรหลายๆ อย่างโดยใช้หลักการเดียวกัน จึงเกิดการเรียนรู้ในกระบวนการปฏิบัติตามระเบียบวินัย เมื่อเติบโตขึ้น ผู้ใหญ่จึงสามารถอบรมเด็ก ให้มีระเบียบวินัยในเรื่องอื่นๆ ต่อไป เช่น การใช้เวลา การใช้เงิน ตลอดเรื่อยไปจนกระทั่ง การฝึกระเบียบวินัยในเรื่องจริยธรรม ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่งในการอยู่ร่วมกัน และเป็นนามธรรมซึ่งยากแก่การเข้าใจ

ขอขอบคุณ ที่มา : นิตยสารเรื่องผู้หญิง ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต

Written by on