Written by on

ปลาปักเป้าแถบส้ม

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Torquigener hypselogeneion (Bleeker, 1852)

ชื่อสามัญ : Orange-banded blowfish

ลักษณะเด่น : ปากตรงและอยู่กึ่งกลางหัวมีก้านครีบหลัง ๘-๙ อัน ก้านครีบก้น ๗-๘ อัน บริเวณส่วนหลังและข้างลำตัวมีแต้มสีเข้มและจางกระจายถึงแนวข้างตัว

ลักษณะทั่วไปของปลาปักเป้าแถบส้ม : รูปร่างคล้ายกับ Amblyrhynchotes honckeniiบริเวณส่วนหลังมีสีเขียวเข้มและมีจุดสีเข้ม ส่วนท้องมีสีขาวครีม มีแถบสีดำตามขวาง ๓-๕ แถบด้านล่างของตา

การศึกษาพิษ : ยังไม่มีรายงานการศึกษาในประเทศไทย

รายงานในประเทศไทย : ประภากร (๒๕๒๘)

ขอบคุณข้อมูล ศูนย์วิจัยพัฒนาประมงน้ำจืด และ วิกิพีเดีย ภาพประกอบจาก fishbase.mnhn.fr

Written by on

Written by on

ปลาค้อผี

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ellopostoma mystax Tan & Lim, 2002

ชื่อสามัญ : Enigmatic Loach

ลักษณะทั่วไปของปลาค้อผี : ปลาค้อเกล็ดค่อนข้างใหญ่ ลายพื้นสีน้ำตาล ลายประขนาดใหญ่สีน้ำตาลเข้ม ฐานครีบหลังค่อนข้างกว้าง ปากเชิดขึ้น

ถิ่นอาศัย : ลำธาร บริเวณที่น้ำไหลไม่แรงนัก มีการสะสมของตะกอน ทางภาคใต้ตอนล่าง

อาหาร : ตัวอ่อนแมลง

ขนาด : ๕-๖ เซนติเมตร

ขอบคุณข้อมูล ศูนย์วิจัยพัฒนาประมงน้ำจืด และ วิกิพีเดีย ภาพประกอบจาก ig-bssw.org

Written by on

Written by on

ปลาอีโต้มอญ ปลาหน้ามอม

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Coryphaena hippurus Linnaeus, 1758

ชื่อสามัญ : Common dolphinfish

ลักษณะทั่วไป ปลาอีโต้มอญ ปลาหน้ามอม : ปลาชนิดนี้มีลำตัวยาวและแบนข้าง หัวโต ลำตัวขยายใหญ่ขึ้นในส่วนที่เป็นลำตัวหลังช่องเหงือก และเรียวเล็กลงตอนเหนือครีบก้น คอดหางเล็กเรียวยาว รูปร่างของมันคล้ายกับมีดอีโต้ จึงมีชื่อเรียกตามลักษณะดังกล่าว ปากกว้าง ขากรรไกรล่างยาวล้ำหน้าขากรรไกรบน มุมปากอยู่ในแนวเดียวกับจุดกึ่งกลางนัยน์ตา ครีบหลังมีฐานยาวมาก โดยมีจุดเริ่มต้นเหนือนัยน์ตาประกอบ ก้านครีบแขนง ๕๘-๖๖ ก้าน ครีบอกเรียวยาวและปลายแหลม ครีบท้องอยู่ใต้ครีบอก ครีบก้นมีฐานยาว ประกอบด้วยก้านครีบเดี่ยว ๑ ก้าน และก้านครีบแขนง ๒๖-๒๘ ก้าน ครีบหางเป็นแฉกเว้าลึก สีหลังสีดำเรือๆ ปนเทาเข้ม สีข้างสีขาวเงินแกมสีเหลืองทอง ครีบหลังและครีบก้นสีดำ ครีบก้นสีขาวเงินแกมเหลืองทอง

ขนาด : ใหญ่ที่สุดมีความยาว ๒๑๐ เซนติเมตร ทั่วๆ ไป ยาว ๑๐๐ เซนติเมตร

แหล่งอาศัย : กลางทะเลลึก ทะเลปิด เป็นปลาผิวน้ำ พบทั้งในอ่าวไทยและฝั่งอันดามัน

ประโยชน์ : เนื้อทำปลาดิบ ต้ม แกง หรือชำแหละเป็นชิ้นทำปลาเค็ม

ขอบคุณข้อมูล ศูนย์วิจัยพัฒนาประมงน้ำจืด และ วิกิพีเดีย ภาพประกอบจาก fishandcharter.com

Written by on

Written by on

ปลาเกล็ดเงิน ปลาลิ่น

ชื่่อวิทยาศาสตร์ : Hypophthalmichthys molitrix Valenciennes, 1844

ชื่อสามัญ : Silver carp

ลักษณะทั่วไปของปลาเกล็ดเงิน ปลาลิ่น : เป็นปลาน้ำจืด ลำตัวค่อนข้างยาว ท้องมีลักษณะเป็นสันจากใต้ครีบหูถึงก้น เกล็ดเล็กเป็นสีเงิน แนวสันหลังมีสีเทาปนเขียว ส่วนท้องสีขาวเงิน

ถิ่นอาศัย : ถิ่นกำเนิดในประเทศจีน พบตามแม่น้ำ คลอง หนอง บึง และอ่างเก็บน้ำ

อาหาร : แพลงก์ตอน

ขนาด : ๑๐๕ เซนติเมตร

ประโยชน์ : เนื้อปลาใช้เป็นอาหาร

ขอบคุณข้อมูล ศูนย์วิจัยพัฒนาประมงน้ำจืด และ วิกิพีเดีย ภาพประกอบจาก ffish.asia

Written by on

Written by on

ปลาไหลลาย ปลาตูหนา

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Anguilla marmorata Quoy and Gaimard, 1824

ชื่อสามัญ : Giant mottled eel

ลักษณะทั่วไป ปลาไหลลาย ปลาตูหนา : ปลาไหลชนิดนี้มีรูปร่างคล้ายกับปลาไหลหูดำ คือ ลำตัวท่อนหน้าค่อนข้างกลม ท่อนหางแบน นัยน์ตาเล็กมาก ปากกว้าง มุมปากยื่นเลยนัยน์ตา ครีบอกมีขนาดเล็กกว่าไหลหูดำ แต่ปลายกลมมนเช่นกัน ครีบหลัง ครีบก้น และครีบหางเชื่อมติดเป็นเนื้อเดียวกัน จุดเริ่มต้นขอบครีบหลังอยู่ค่อนมาทางหัว และล้ำหน้าครีบก้นมาก สีลำตัวสีน้ำตาลคล้ำ มีลาย และกระสีดำ

ขนาด : ใหญ่ที่สุดยาว ๑๕๐ เซนติเมตร

แหล่งอาศัย : แม่น้ำโขง และแม่น้ำเจ้าพระยา

ประโยชน์ : เนื้อปลานำมาประกอบอาหารประเภทต้มยำ ผัดเผ็ด

ขอบคุณข้อมูล ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืด ภาพประกอบจาก ffish.asia/

Written by on

Written by on

ปลาหนวดพราหมณ์ ๑๔ เส้น

ชื่่อวิทยาศาสตร์ : Polynemus multifilis Schlegel, 1845

ชื่อการค้า : Fringed Threadfin

ลักษณะทั่วไป ปลาหนวดพราหมณ์ ๑๔ เส้น : ปลาหนวดพราหมณ์ชนิดนี้มีเส้นของก้านครีบอกส่วนล่าง ๑๔ เส้น ซึ่งยาวไม่เท่ากัน ๓ เส้น ตอนบนยาวเป็น ๒ เท่าของลำตัว อีก ๑๑ เส้น ที่เหลือมีความยาวไล่เรียงลำดับจากอันแรกถึงสุดท้าย ทั้งปลาตัวเล็กและตัวใหญ่มีสีเหลืองเทาหรือเขียว

ถิ่นอาศัย : แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำบางปะกง และในลำน้ำที่ไหลลงสู่อ่าวไทย

อาหาร : แมลง และกุ้ง

ขนาด : ๒๗ เซนติเมตร

ขอบคุณข้อมูล ศูนย์วิจัยพัฒนาประมงน้ำจืด และ วิกิพีเดีย ภาพประกอบจาก thaifancyfish.com

Written by on

Written by on

ปลาโรซี่บาร์บหัวตะกั่ว

ชื่อสามัญ ปลาโรซี่บาร์บหัวตะกั่ว Rosy barb

ชื่อวิทยาศาสตร์ ปลาโรซี่บาร์บหัวตะกั่ว Puntius conchonius (Hamilton, 1822)

ลักษณะทั่วไปของปลาโรซี่บาร์บหัวตะกั่ว

ปลาโรซี่บาร์บหัวตะกั่วเป็นปลาสวยงามขนาดเล็กที่ได้รับความนิยมมาช้านาน มีถิ่นกำเนิดในแคว้นเบนกัลและอัสสัม ประเทศอินเดีย แต่สำหรับในประเทศไทยเป็นปลาที่เพิ่งเป็นที่รู้จัก และได้รับความนิยมมาเมื่อไม่นานมานี้ เนื่องจากเพิ่งมีการสั่งเข้ามาเมื่อไม่กี่ปีมานี้ ปลาชนิดนี้เป็นปลาคนละชนิดกับปลาโรซี่บาร์บธรรมดา ซึ่งมีลำตัวสีเงินอมแดงหรือส้ม ปลาทั้ง 2 ชนิดนี้มีรูปร่างเหมือน ๆ กัน แต่ต่างกันตรงสีสันซึ่งปลาโรซี่บาร์บหัวตะกั่วมีสีสันสะดุดตามากกว่า และก็มีราคาแพงกว่าด้วย ปลาโรซี่บาร์บหัวตะกั่วมีลักษณะรูปร่างคล้ายปลาตะเพียนในบ้านเรา แต่มีขนาดเล็กกว่า ลำตัวออกสีเขียวมะกอกเป็นมันแวววาวบริเวณแผ่นหลังออกสีเขียวเข้มสดใสสะท้อนแสง ในปลาเพศผู้ลำตัวมีสีแดงออกสีบานเย็นสดกว่าเพศเมีย ครีบทุกครีบมีสีดำขึ้นแซมแลเห็นได้ชัด ปกติลำตัวของปลาเพศผู้เพรียวกว่าปลาเพศเมีย ที่บริเวณโคนหางมีจุดสีดำขึ้นอยู่ข้างละจุด ลักษณะเพศของปลาปรากฏให้เห็นเด่นชัดเมื่อปลามีขนาด 3-4 เซนติเมตร ขึ้นไป เมื่อโตเต็มที่มีขนาดประมาณ 15 เซนติเมตร แต่เมื่อนำมาเลี้ยงในตู้อะแควเรี่ยมมักมีขนาดโตไม่มากนัก

ปลาโรซี่บาร์บหัวตะกั่วจัดว่าเป็นปลาค่อนข้างเลี้ยงง่ายและอดทน เทคนิคในการเลี้ยงก็ไม่ยุ่งยากวิธีการเลี้ยงๆ เหมือนปลาตะเพียนทองหรือปลากระแห จัดว่าเป็นปลาที่มีความว่องไวและปราดเปรียว ชอบอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูงแต่ไม่ค่อยอยู่นิ่ง กินอาหารได้แทบทุกชนิดทั้งอาหารสด และอาหารเม็ดสำเร็จรูป เป็นปลาที่กินเก่ง และโตไว เมื่ออยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่เวลาแหวกว่ายแลดูสวยงามมาก เพราะปลาชนิดนี้มีสีสันแวววาวระยิบระยับจับตามากทีเดียว เป็นปลาที่มีนิสัยรักสงบดังนั้นจึงสามารถเลี้ยงรวมกับปลาชนิดอื่นที่มีขนาดไล่เลี่ยกันหรือมีขนาดเล็กกว่า แต่ไม่ควรเลี้ยงรวมกับปลาชนิดอื่นที่มีนิสัยดุร้ายเพราะอาจถูกปลาอื่นทำร้ายเอาได้ ปลาชนิดนี้เป็นปลาที่ไม่ทำลายไม้น้ำ ดังนั้นภายในตู้เลี้ยงจึงสามารถปลูกพันธุ์ไม้น้ำหรือตกแต่งได้ การเลี้ยงปลาชนิดนี้ควรเลี้ยงในตู้ที่มีขนาดใหญ่พอสมควร เพราะปลาโรซี่บาร์บหัวตะกั่วเป็นปลาที่ว่ายน้ำได้รวดเร็ว การเลือกใช้ตู้ปลาขนาดใหญ่นอกจากเป็นการช่วยให้ปลามีเนื้อที่ในการว่ายน้ำแล้ว ยังช่วยเพิ่มบรรยากาศในการชมปลาได้ดีอีกด้วย

การเพาะพันธุ์ปลาโรซี่บาร์บหัวตะกั่ว

ปลาโรซี่บาร์บหัวตะกั่วชนิดนี้เป็นปลาที่เพาะพันธุ์ได้ไม่ยาก ขนาดของตู้ที่เหมาะสมที่ใช้ในการเพาะพันธุ์ควรเป็นตู้ที่มีความจุของน้ำราว 100 ลิตรขึ้นไป ภายในตู้ควรปลูกพันธุ์ไม้น้ำ และพื้นตู้ควรปูด้วยหินกรวดเพื่อให้ไข่ปลารอดพ้นจากกการถูกพ่อแม่ปลากิน การผสมพันธุ์ควรใช้ปลาตัวผู้ 2 ตัวต่อปลาตัวเมีย 1 ตัว เหตุผลเพื่อให้น้ำเชื้อของปลาเพศผู้ผสมกับไข่ปลาได้อย่างทั่วถึงมากขึ้น เพราะปลาชนิดนี้วางไข่กระจัดกระจายไปทั่วตู้ ภายหลังจากที่ปลาวางไข่เป็นที่เรียบร้อยแล้วให้แยกพ่อแม่ปลาออกจากตู้ เพื่อป้องกันไม่ให้ปลากินไข่ของตนเอง ปลาชนิดนี้เป็นปลาที่วางไข่ครั้งละมากๆ ไข่ฟักเป็นตัวภายในเวลา 24 ชั่วโมง ที่อุณหภูมิ 24 องศาเซลเซียส ภายหลังจากที่ปลาผสมพันธุ์วางไข่ และแยกพ่อแม่ปลาออกแล้ว ควรเปลี่ยนถ่ายน้ำภายในตู้ออกราว 1 ใน 3 ของปริมาณน้ำภายในตู้ แต่น้ำที่เติมเข้าไปใหม่ควรควบคุมให้มีสภาพ และอุณหภูมิใกล้เคียงกับน้ำภายในตู้เพาะพันธุ์ให้มากที่สุด ปกติปลาวางไข่ในยามใกล้รุ่ง ภายหลังที่ไข่ฟักจนเป็นตัวแล้วภายใน 3 วัน ลูกปลาสามารถว่ายน้ำได้อย่างเป็นอิสระ ช่วงนี้ควรให้ไรแดงเป็นอาหารโดยแบ่งให้วันละหลาย ๆ มื้อ แต่ให้น้อย ๆ เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกปลาเป็นโรคท้องอืดเนื่องจากกินอาหารมากจนเกินไป และยังช่วยให้ลูกปลามีอัตราการเจริญเติบโตรวดเร็วขึ้นอีกด้วย

โดยปกติปลาโรซี่บาร์บหัวตะกั่วมักชอบอาศัยอยู่ในน้ำที่มีความกระด้างเล็กน้อย แต่เมื่อเวลาใกล้ผสมพันธุ์กลับชอบอยู่ในน้ำอ่อน ปลาชนิดนี้เป็นปลาที่กินไข่ และลูกของตัวเอง ดังนั้นผู้เพาะเลี้ยงควรหมั่นเฝ้าดู เมื่อปลาวางไข่แล้วได้แยกพ่อแม่ปลาได้ทันก่อนที่พ่อแม่ปลากินไข่ของตนหมดเสียก่อน

ขอบคุณข้อมูล ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืด ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต

Written by on