รวบรวมข้อมูลดีๆ เรื่องราวบทความน่ารู้ เกี่ยวกับพัฒนาการของลูกน้อยในท้องตั้งแต่เริ่มปฏิสนธิจนถึงครบกำหนดคลอด เพื่อคุณแม่มือใหม่จะได้ทราบถึงพัฒนาการของลูก รู้ถึง วิธีการปฏิบัติตัวในช่วงท้องว่าจะต้องปฏิบัตอย่างไรลูกในท้องจึงจะสุขภาพดี โตตามวัย และจะได้รู้ว่าลูกน้อยที่อยู่ในท้องของเรานั้น ในแต่ละเดือนตั้งแต่ 1-9 นั้น เขาเติบโต มีพัฒนาการ มีรูปร่าง หรืออาศัยอยู่ในท้องของเราได้อย่างไร

Written by on

ภาวะขาดสารอาหารของลูกในท้อง

คุณแม่บางคนอาจมีทัศนะคติในเรื่องการกินที่ผิดๆ อยู่นะคะ ที่ว่าไม่ควรกินเยอะเดี๋ยวลูกในท้องจะอ้วนเกินไป ทำให้คลอดยาก แต่จริงๆ แล้วการเลือกกินอาหารที่ถูกต้องตามโภชนาการสามารถช่วยให้ลูกในท้องแข็งแรงสมบูรณ์ แถมคุณแม่เองก็ไม่อ้วนอีกด้วยค่ะ

ผลกระทบจากแม่ขาดอาหาร

  • ในกรณีที่แม่ขาดอาหาร ลูกในท้องมักจะได้รับผลกระทบอย่างมาก
  • มีโอกาสเสี่ยงต่อการแท้ง หรือคลอดก่อนกำหนดสูง
  • ทารกที่คลอดออกมามีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์
  • รกมีขนาดเล็กและเติบโตไม่ดีพอ เมื่อรกทำหน้าที่ได้ ไม่ดี โอกาสที่ลูกจะเสียชีวิตในครรภ์ก็สูงขึ้น ยิ่งในช่วงเดือนแรกๆ
  • ช่วงปลายของการตั้งครรภ์ที่สมองและร่างกายของลูกกำลังพัฒนาเต็มที่นั้นหากลูกมีภาวะขาดอาหารก็จะ เป็นอุปสรรคต่อการเติบโตของลูกได้

อะไรบ่งบอกว่า...ลูกในท้องขาดอาหาร

ข้อสังเกตเบื้องต้นของแพทย์ที่จะพิจารณาคือ ขนาดท้องกับอายุครรภ์ว่าสอดคล้องกันหรือไม่ น้ำหนักของแม่ขึ้นดีอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานหรือ เปล่า หรือแม่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงหรือไม่

ช่วงที่จะเริ่มสังเกตได้คืออายุครรภ์ประมาณ 28 สัปดาห์ขึ้นไป ซึ่งถ้าตรวจพบว่าลูกในท้องของคุณมีความเสี่ยงต่อการขาดอาหาร คุณหมอก็จะให้เพิ่มอาหารประเภทโปรตีน และแนะนำให้คุณแม่นอนหลับพักผ่อนให้มากขึ้น

แม่กลุ่มเสี่ยง กับปัญหาโภชนาการ

  • แม่ที่สูบบุหรี่หรือดื่มสุรา
  • แม่ที่มีอาการแพ้ท้องรุนแรง ไม่สามารถรับประทานอาหารได้เลย
  • แม่ที่มีความเจ็บป่วยเรื้องรัง ต้องได้รับการรักษาต่อเนื่องเป็นเวลานาน
  • แม่ที่มีครรภ์แฝด
  • แม่ที่มีอายุน้อยกว่า 18 ปี เพราะร่างกายยังต้องการอาหารสำหรับการเจริญ เติบโตของตัวแม่เองมากกว่าปกติ
  • แม่ที่ทำงานหนัก และเครียดมากเกินไป หรืออยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
  • แม่ที่ก่อนการตั้งครรภ์ มีร่างกายและสุขภาพไม่ดีนัก น้ำหนักตัวต่ำกว่าเกณฑ์ หรือกิน อาหารได้น้อยกว่าปกติ

ซึ่งกรณีเหล่านี้ต้องได้รับคำแนะนำจากสูติแพทย์ แต่โดยปกติแม่ตั้งครรภ์ทั่วไปที่กินอาหารได้หลากหลาย และในปริมาณตามที่ร่างกายต้องการ รวมทั้งได้รับคำแนะนำเพิ่มเติมจากแพทย์กรณีที่ร่างกายขาดสารอาหารอยู่แล้ว มักไม่ต้องกังวลค่ะว่าจะเกิดภาวะลูกในท้องขาดสารอาหาร ที่สำคัญอาหารที่มีคุณค่านั้นหาได้ไม่ยาก และราคาไม่แพง เพียงแต่ถ้าคุณแม่ตระหนักเห็นความสำคัญและรู้จักเลือกสรรสิ่งดีๆมีประโยชน์ต่อตัวคุณและลูกในท้อง ปัญหาที่กล่าวมานี้ก็ไม่น่ากังวลอะไร

ขอขอบคุณ ที่มา : นิตยสาร Modern Mom ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต

Written by on

Written by on

ลูกในท้องไม่โตทำไงดี

คุณแม่ท้องทุกคนต้องคอยดูแลใส่ใจลูกในท้องอย่างสม่ำเสมอนะคะ เพราะเมื่อเกิดความผิดปกติแม้เพียงเล็กน้อยคุณแม่ก็จะรับรู้และสามารถแก้ไขได้ทันท่วงทีค่ะ

รู้ทันพัฒนาการลูก

คุณแม่สามารถทราบว่าลูกน้อยในท้องมีพัฒนาการตามอายุครรภ์หรือไม่ โดยสังเกตอาการต่างๆ ดังนี้

ฮอร์โมนแห่งการตั้งครรภ์ ช่วงการตั้งครรภ์ 3-4 เดือนแรก เมื่อลูกในท้องมีพัฒนาการมากขึ้น จะมีการสร้างฮอร์โมนแห่งการตั้งครรภ์ ซึ่งคุณแม่จะแสดงอาการของฮอร์โมนเหล่านั้นออกมา เช่น เจ็บเต้านม ปัสสาวะบ่อย อารมณ์เปลี่ยนแปลง หงุดหงิดมากขึ้น และมีอาการแพ้ท้อง

นับจังหวะลูกดิ้น คุณแม่ท้องแรกจะเริ่มรู้สึกว่าลูกดิ้นตอน18 สัปดาห์ ถ้าเป็นท้องหลังจะเริ่มรู้สึกว่าลูกดิ้นตอน 16 สัปดาห์ แต่คุณแม่จะรู้สึกว่าลูกดิ้นจนนับจังหวะได้ชัดเจนตอนอายุครรภ์ได้ 20 สัปดาห์หรือไตรมาสที่ 2 ไปแล้วค่ะ

  • เทคนิคในการนับง่ายๆ คือใน 12 ชั่วโมง ลูกควรจะดิ้นเกิน 10 ครั้ง เช่น 9 โมงเช้าถึง 3 ทุ่ม ถ้าลูกดิ้นเกิน 10 ครั้ง ก็แสดงว่าปกติค่ะ ถ้าวันไหนที่รอดูมาทั้งวันแล้วรู้สึกว่าลูกไม่ค่อยดิ้นเลย อาจเป็นเพราะลูกกำลังหลับอยู่ คุณแม่ลองดื่มน้ำหวาน แล้วรอประมาณ 1 ชั่วโมง พอลูกตื่น เขาจะดิ้นจนคุณแม่รู้สึกได้ ซึ่งถ้าลองทำวิธีเหล่านี้แล้ว ลูกยังดิ้นน้อยอยู่จะต้องมาพบแพทย์ค่ะ

น้ำหนักบอกพัฒนาการ น้ำหนักของคุณแม่จะเป็นสิ่งที่บอกว่าลูกได้รับสารอาหารและออกซิเจนเพียงพอหรือไม่ คุณแม่ตั้งครรภ์ควรจะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น ประมาณ 12-15 กิโลกรัมตลอดการตั้งครรภ์

ดูจากยอดมดลูก เมื่อมีการตั้งครรภ์มดลูกจะขยายใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งสามารถดูพัฒนาการของลูกน้อยได้จากการขยายตัวของมดลูก โดยเมื่อตั้งครรภ์ในช่วง 12 สัปดาห์แรก ยอดมดลูกจะอยู่เหนือกระดูกหัวเหน่า โดยแบ่งส่วนที่ต่ำกว่าสะดือเป็น 3 ส่วน

เมื่อตั้งครรภ์ได้ 16 สัปดาห์ ยอดมดลูกจะอยู่เหนือกระดูกหัวเหน่าประมาณ 1 ใน 3 และจะเริ่มสูงประมาณ 2 ใน 3 เหนือกระดูกหัวเหน่า เมื่ออายุครรภ์ 20 สัปดาห์ และจะอยู่ตรงสะดือพอดีเมื่ออายุครรภ์ 24 สัปดาห์

พออายุครรภ์ 28 สัปดาห์ยอดมดลูกจะสูงประมาณ 1 ใน 4 เหนือสะดือ จากนั้นจะสูง 2 ใน 4 เมื่ออายุครรภ์ 32 สัปดาห์ สูงประมาณ 3 ใน 4 เมื่ออายุครรภ์ 36 สัปดาห์ และจะอยู่สูงสุดคือ 4 ใน 4 หลังจาก 37 สัปดาห์

หากเป็นท้องแรกเมื่อศีรษะเด็กเข้าสู่อุ้งเชิงกราน ช่วงนั้นท้องก็จะเริ่มลดลง ซึ่งวิธีสังเกตยอดมดลูกนี้ แพทย์จะเป็นผู้ประเมินเวลาที่คุณแม่มาตรวจอัลตราซาวนด์ค่ะ

5 วิธีปฏิบัติตัว เมื่อลูกน้อยพัฒนาการไม่ปกติ
1.พบแพทย์ คุณหมอจะประเมินว่าสาเหตุที่ลูกในท้องไม่พัฒนาตามอายุครรภ์ ซึ่งเกิดขึ้นได้จาก 3 สาเหตุหลัก คือ

  • คุณแม่มีความผิดปกติ เช่น มีโรคประจำตัวอย่างโรคเบาหวาน เกิดความผิดปกติที่เส้นเลือดทำให้อาหารส่งไปถึงลูกได้น้อยลง หรือคุณแม่ที่น้ำหนักขึ้นไม่ค่อยตามเกณฑ์ น้ำหนักน้อยหรือมีประวัติได้รับยาหรือสารอันตราย เช่น สูบบุหรี่จัด ดื่มเหล้า ใช้สารเสพติด เป็นต้น
  • รกสายและสะดือผิดปกติ เช่น มีปัญหารกลอกตัวก่อนกำหนด เส้นเลือดบริเวณใต้รกฉีกขาด รกเสื่อมสภาพ
  • เกิดจากความผิดปกติของลูก เช่น มีความผิดปกติของโครโมโซม มีการติดเชื้อไวรัส หรือมีความพิการแต่กำเนิด ซึ่งเมื่อทราบสาเหตุแล้วคุณหมอจะแก้ไขที่สาเหตุ ร่วมกับการปรับเปลี่ยนโภชนาการและพฤติกรรมของคุณแม่

2. กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ ในปริมาณที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย และควรเพิ่มพลังงานจากอาหารวันละ 300 กิโลแคลลอรี เมื่อไปฝากครรภ์ทางโรงพยาบาลจะมีทีมโภชนาการคอยดูแล ซึ่งนักโภชนาการจะวิเคราะห์ว่าคุณแม่กินอาหารไปเท่าไหร่ และเพียงพอหรือไม่

3. ปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ วันละ 8-10 ชั่วโมง นอนกลางวันประมาณ ½ -1 ชั่วโมง

4. ทำตามคำแนะนำของแพทย์ เช่น การนับลูกดิ้นใน 12 ชั่วโมง ควรจะเกิน 10 ครั้ง

5. ไปพบตามแพทย์นัดอย่างสม่ำเสมอ หากคุณแม่มีอาการผิดปกติ ควรได้รับการดูแลจากแพทย์อย่างใกล้ชิด เพื่อการป้องกันแก้ไขได้อย่างทันท่วงที ควรสังเกตอาการและดูแลครรภ์อย่างเหมาะสม เพื่อพัฒนาการของลูกน้อยที่ปกตินะคะ

ก้านแก้ว เรียบเรียงจากการสัมภาษณ์ พญ.ธิศรา วีรสมัย สูติแพทย์ โรงบาลพญาไท1

ขอขอบคุณ ที่มา : นิตยสารรักลูก ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต

Written by on

Written by on

ปอดแหล่งออกซิเจนสำคัญของทารก

ปอด หนึ่งในอวัยวะสำคัญของทารกในครรภ์ ครั้งนี้เราจึงชวนคุณแม่มาดูพัฒนาการของปอดและระบบการหายใจของเจ้าตัวเล็กในครรภ์กันค่ะเพื่อให้เข้าใจถึงพัฒนาการในแต่ละช่วงและหาคำตอบกันว่าทำไมเด็กๆ ที่คลอดก่อนกำหนดถึงมักมีปัญหาเรื่องการหายใจ

14 Week เจ้าตัวเล็กในครรภ์ยังอาศัยรกเป็นแหล่งออกซิเจน ซึ่งถูกลำเลียงผ่านทางสายสะดือ โดยเส้นเลือดดำขนาดใหญ่ที่ทำหน้าที่นำอาหารและออกซิเจนจากแม่ไปสู่ลูก

18 Week ปอดเริ่มมีการพัฒนาแล้วค่ะพบว่ามีการขยับขึ้นลงของทรวงอกคล้ายๆ กับเจ้าตัวน้อยกำลังหายใจแต่ถึงกระนั้นลูกก็ยังคงได้รับออกซิเจนที่ผ่านมาทางรกจนกว่าจะคลอดนั่นเอง

26 Week หลอดลมในปอดกำลังเจริญเติบโตอย่างดีแต่ยังไม่สมบูรณ์นัก ขณะที่ถุงลมภายในปอดจะก่อตัวและเพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ตั้งแต่อยู่ในครรภ์จนกระทั่งลูกอายุ 8 ปี นอกจากนี้รูจมูกของลูกก็เริ่มเปิด ลูกจึงเริ่มฝึกการหายใจ โดยการขยับกล้ามเนื้อที่ใช้ในการหายใจ อย่างกล้ามเนื้อบริเวณหน้าท้อง กล้ามเนื้อกระบังลม เพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพหลังคลอด

30 week ช่วงนี้ลูกหายใจค่อนข้างแรง พร้อมๆ กับการฝึกหายใจโดยใช้กล้ามเนื้อหน้าท้องอย่างเป็นจังหวะ ขณะเดียวกันมีการเพิ่มปริมาณถุงลมเล็กๆ ภายในปอดมากขึ้น เตรียมพร้อมสำหรับการหายใจด้วยตัวเองเมื่อแรกคลอด โดยมีเซลล์พิเศษและน้ำหล่อลื่นเคลือบบริเวณถุงลมไว้ เพื่อช่วยในการขยายตัวของถุงลมตอนคลอด

34 Week อวัยวะอื่นๆ มีพัฒนาการที่เกือบสมบูรณ์แล้วยกเว้นปอดที่ยังพัฒนาไม่เต็มที่แม้จะมีการสร้างน้ำหล่อลื่นรอบถุงลมเล็กๆ ในปอดเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการขยายตัวของปอด เมื่อลูกเริ่มหายใจครั้งแรกขณะคลอดออกมาปอดจึงเป็นอวัยวะที่ยังต้องใช้เวลาในการพัฒนาจนสมบูรณ์เต็มที่ หากลูกคลอดในเดือนนี้มักจะมีปัญหาเรื่องการหายใจเพราะยังขาดน้ำหล่อลื่นถุงลมในปอด แต่ก็มีโอกาสที่จะรอดชีวิตได้เช่นกัน

40 Week พัฒนาการของปอดทารกในครรภ์สมบูรณ์เต็มที่ และพร้อมสำหรับการออกมาเผชิญโลกภายนอกแล้ว

เพราะปอดเป็นอวัยวะส่วนที่ได้รับการพัฒนาในลำดับท้ายๆ กว่าที่ปอดจะสมบูรณ์ก็ใกล้เวลาที่เจ้าตัวเล็กพร้อมจะออกมาทักทายคุณพ่อคุณแม่แล้ว การที่ลูกอยู่ในครรภ์จนครบอายุครรภ์จึงทำให้ปอดพัฒนาได้อย่างเต็มที่และไม่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบการหายใจหลังคลอดนั่นเอง

ขอขอบคุณ ที่มา : นิตยสารร Modern Mom ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต

 

Written by on

Written by on

ถึงอยู่ในท้องเจ้าตัวน้อยก็ได้ยินเสียงนะ

ถึงแม้เจ้าตัวน้อยจะยังอยู่ในท้อง แต่เขาก็สามารถได้ยินเสียงของคุณแม่แล้วนะคะ และสามารถที่จะแยกเสียงของคุณแม่ออกจากเสียงของคนอื่นได้ด้วย นั่นแสดงว่าพัฒนาการการได้ยินของลูกน้อยนั้นเริ่มตั้งแต่อยู่ในครรภ์ค่ะ

เริ่มต้นการได้ยิน

4 Month: สมองเริ่มได้รับรู้ ตาเริ่มมองเห็น เริ่มรู้ว่ามีแสง ลิ้นเริ่มมีปุ่มสัมผัส และเริ่มจะได้ยินเสียงต่าง ๆ แล้ว ไม่ว่าจะเป็นเสียงหัวใจของแม่ หรือเสียงร้องของกระเพาะอาหาร รวมทั้งเสียงจากภายนอกครรภ์

5 Month: นอกจากได้ยินเสียงแล้ว ลูกในท้องก็มีการตอบสนองต่อเสียงอีกด้วย ไม่ว่าจะต่อเสียงพูดคุยของแม่ หรือเสียงดังที่เกิดขึ้นกะทันหัน ก็จะทำให้เด็กมีการตอบสนองด้วยอาการกระตุก การขยับตัว แม่ก็จะรู้สึกได้ว่า ลูกมีการเตะท้อง

6-7 Month: เด็กสามารถจดจำเสียงที่มาจากภายนอกได้ เช่น เสียงเพลงที่คุณแม่เปิดให้ลูกฟัง หรือเสียงพูดคุยของคุณพ่อคุณแม่ พอลูกคลอดออกมาแล้ว ได้ยินเพลงที่เขาเคยฟังบ่อย ๆ หรือได้ยินเสียงพ่อแม่ที่คุ้นเคยก็จะรู้สึกอบอุ่นปลอดภัยค่ะ

8-9 Month: มีพัฒนาการทางการได้ยินมากขึ้น ลูกในครรภ์มีความเข้าใจในภาษามากขึ้น หากที่บ้านมีการพูดคุยหลายภาษา ลูกในครรภ์ก็จะเริ่มคุ้นเคยกับลักษณะเสียงของภาษาที่แตกต่างกัน
สารพัดวิธีกระตุ้นการได้ยิน

พูดคุยกับลูก เสียงพูดของพ่อแม่เป็นเสียงที่ลูกได้ยินชัดเจนที่สุด เพราะนอกจากลูกจะได้ยินเสียงคุณแม่จากการฟังแล้ว ยังรู้สึกถึงการส่งผ่านทางร่างกายของแม่ด้วย อีกทั้งคุณพ่อก็สามารถมาร่วมพูดคุยกับคุณแม่และลูกได้ด้วยค่ะ เพราะเสียงทุ้ม ๆ ของคุณพ่อก็จะส่งผ่านไปสู่ลูกได้ดีกว่าเสียงความถี่สูง หากคุณพ่อคุณแม่ได้พูดคุยกับลูกตั้งแต่อยู่ในครรภ์อย่างสม่ำเสมอ เมื่อคลอดแล้ว ลูกก็จะสามารถจดจำเสียงได้ทันที

ฟังเพลง เพลงที่จะเปิดให้ลูกฟังนั้น ควรเป็นเพลงที่จังหวะไม่หนัก เป็นเพลงเบา ๆ อาจเป็นเพลงบรรเลง หรือเพลงที่มีเสียงร้องก็ได้ โดยเป็นการเปิดเพลงฟังทางลำโพงที่ทั้งแม่ และลูกได้ยินพร้อมกัน ที่สำคัญควรเป็นเพลงที่คุณแม่ชอบด้วย

สวดมนต์ด้วยกัน คุณแม่บางท่านที่ชอบสวดมนต์ ก็อาจจะเปลี่ยนจากการสวดในใจมาเป็นเปล่งเสียงออกมาให้ลูกได้ยินด้วย การที่ลูกได้ยินเสียงคุณแม่ในเวลาที่เงียบสงบจะทำให้ลูกฟังเสียงอย่างสงบไปด้วย รู้สึกมีความสุข และส่งผลดีต่อการทำงานของสมองเจ้าตัวเล็กตามไปด้วยค่ะ

อ่านนิทาน คุณแม่อาจจะอ่านนิทานให้ลูกฟังก็ได้ เพื่อช่วยเรื่องพัฒนาการด้านภาษา เมื่อเขาคลอดออกมาก็จะคุ้นเคย และเป็นพื้นฐานสำหรับพัฒนาการด้านภาษาต่อไป

ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ คุณพ่อหรือคุณแม่ควรทำจิตใจ และใช้เสียงที่สดใสเวลาคุยกับลูกด้วยนะคะ หากตั้งชื่อลูกแล้วก็ใช้ชื่อเรียกลูกเลยค่ะ โดยพูดช้า ๆ ชัด ๆ และทักลูกด้วยความรักเสมอ สำหรับตัวคุณพ่อเองควรเข้ามามีส่วนร่วมในการพูดคุยกับลูกบ่อย ๆ ด้วย เช่น บอกลูกว่า "เดี๋ยวพ่อเปิดเพลงให้ฟังนะจ๊ะ" หากคุณพ่อไม่มีเวลาคุยกับลูกบ่อยเท่าคุณแม่ คุณแม่ก็อาจคุยเรื่องดี ๆ ของคุณพ่อให้ลูกฟังด้วยก็ได้ค่ะ

ขอขอบคุณ ที่มา : นิตยสาร ModernMoM ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต

Written by on

Written by on

ตั้งครรภ์หรือเปล่า

เมื่อประจำเดือนขาดไป คุณจะรู้สึกว่าเจ็บเต้านม มากกว่าที่เคยเจ็บ ซึ่งปกติคุณจะรู้สึกได้เสมอ ตอนก่อนมีประจำเดือน ท้องไส้รู้สึกแปลกๆ คุณสงสัยแล้วว่าจะตั้งครรภ์ วิธีแก้ข้อสงสัยที่ดีที่สุด คือ การไปพบแพทย์ เพื่อตรวจยืนยัน

เมื่อพบว่าตั้งครรภ์คุณและสามีย่อมตื่นเต้น ดีใจ ก็มักจะดื่มฉลองกัน ตั้งแต่ตอนนี้แหละ ที่คุณจะต้องเริ่มปฏิบัติตัว เรื่องการกินอยู่ให้ถูกต้อง เพื่อลูกน้อยของคุณด้วย คุณจะต้องระลึกเสมอว่า การกินของคุณแต่ละคำ แต่ละมื้อนั้น เป็นการกินสำหรับ 2 คน นั่นคือ คุณเคยฉลองด้วยการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ก็เปลี่ยนมาดื่ม โซดาเปล่า หรือ น้ำผลไม้แทน การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ จะมีผลต่อการเติบโตของลูกในท้อง เกิดมาตัวเล็ก และอาจจะทำให้สติปัญญาทึบตลอดไป โดยเฉพาะถ้าแม่ดื่มเหล้าในระยะแรก ของการตั้งครรภ์ด้วยแล้ว จะเกิดภยันตรายต่อลูกในท้องอย่างมาก

ภาพการผสมระหว่าง เชื้ออสุจิ กับ ไข่ เมื่อเชื้ออสุจิ สามารถเจาะเข้าไปในไข่ได้แล้ว ก็จะสลัดหางตัวเองทิ้ง และฝังตัวต่อไป (ภาพขวามือ)

เมื่อไข่ได้รับการผสมแล้ว ก็จะแบ่งตัวทันที

โอกาสของเชื้ออสุจิ ที่จะเข้าไปผสมกับไข่ เท่ากัน หนี่งในล้าน

สามี ภรรยา ที่พร้อมจะมีลูก ย่อมดีใจเมื่อทราบว่า ภรรยาตั้งครรภ์ ประสบการณ์ใหม่ ที่จะได้เป็นพ่อแม่ของลูกนั้น มีความหมายมาก การตั้งครรภ์ เป็นประสบการณ์ตรงของทั้งคู่ ซึ่งแม้แต่การตั้งครรภ์ แต่ละครั้งก็ยังไม่เหมือนกันเลย แต่พ่อแม่ก็คงจะภาวนา และตั้งใจที่จะ บำรุงลูกในครรภ์ให้ดี ปลอดจากโรคแทรกซ้อน ลูกที่เกิดมาจะได้แข็งแรง และเลี้ยงง่ายมารู้จักตัวคุณเอง และลูกน้อยของคุณ เมื่อคุณเห็นลูกน้อยในครรภ์เติบโต และเปลี่ยนแปลง แล้วคุณจะรู้สึกประหลาดใจคุณจะทราบว่าตั้งครรภ์ได้ ก็ด้วยอาการขาดประจำเดือน หรือ มีมาเหมือนกัน แต่น้อยกว่าปกติ เพียงเปื้อนผ้าอนามัยเป็นจุด เมื่อขาดประจำเดือนสัก 1-2 สัปดาห์ ก็จะสามารถทดสอบ จากการตรวจปัสสาวะ พบว่าตั้งครรภ์ คุณอาจจะรู้สึกคลื่นไส้ อาเจียน เป็นอาการแพ้ท้อง หรือบางคนอ่อนเพลีย ง่วงนอน เนื่องจากอิทธิพลของฮอร์โมน ที่ถูกผลิตมากขึ้น อาการแพ้ท้องจะเกิดในช่วงใดของวันก็ได้ หรืออาจเกิดตอนเย็น หรือกลางคืน แต่บางคนไม่มีอาการ หรือไม่รู้สึกแพ้ท้องเลยก็มี

เต้านม เต้านมของหญิงที่ตั้งครรภ์จะค่อยๆ ขยายขึ้น คุณจึงรู้สึกว่าเต้านมตึง และเจ็บ หัวนมก็ขยายขึ้น และเริ่มมีสีคล้ำขึ้นเล็กน้อยน่าตื่นเต้นไหมคะ ที่มีชีวิตใหม่อยู่ภายในตัวคุณ ตั้งแต่ปฏิสนธิลูกน้อยของคุณก็จะเจริญเติบโตไปเรื่อย โดยไม่หยุดแม้แต่วินาทีเดียว คุณอยากรู้ไหมว่าเป็นอย่างไรบ้าง ลองตามอ่านดูสิคะ

ขอขอบคุณ ที่มา : นิตยสารรักลูก ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต

Written by on

Written by on

อัลตร้าซาวนด์จำเป็นแค่ไหน

จริงๆ แล้วตอนนี้ยังไม่มีข้อกำหนดที่เป็นมาตรฐานจากกระทรวงสาธารณสุข ว่าการตรวจครรภ์ด้วยเครื่องอัลตร้าซาวนด์ในระหว่างตั้งครรภ์ควรจะทำกันกี่ครั้ง แต่ถ้ายึดตามคำแนะนำของวิทยาลัยสูตินรีแพทย์อเมริกัน แนะนำให้ทำเพียงครั้งเดียวตอนอายุครรภ์ประมาณ 16-20 สัปดาห์

ตามความเห็นของสูตินรีแพทย์ ว่าที่คุณแม่ควรได้รับการตรวจด้วยเครื่องอัลตร้าซาวนด์อย่างน้อย 1 ครั้งในช่วงอายุครรภ์ดังกล่าว เพื่อวินิจฉัยตำแหน่งของการตั้งครรภ์ ขนาดของทารกในครรภ์ ความผิดปกติของรูปร่าง การทำงานของอวัยวะต่างๆ การเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ รวมถึงความผิดปกติโดยกำเนิดที่เกิดกับอวัยวะต่างๆ ที่สะท้อนถึงสุขภาพของทารกค่ะ

ขอขอบคุณ ที่มา : นิตยสารร Modern Mom ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต

Written by on

Written by on

ลูกน้อยในครรภ์ เดือนแรกของชีวิต

เริ่มตั้งแต่ปฏิสนธิมีการเติบโตของเซลล์ เป็นกระบวนการเพิ่มจำนวน สร้างเนื้อเยื่อ เริ่มมีส่วนหัวและลำตัวให้เห็น มองดูแล้วคล้ายลูกอ๊อด ที่มีหางและแขนขา งอกออกมาภายในลำตัวก็จะมีการแบ่งเนื้อเยื่อ สร้างอวัยวะต่างๆ สมอง หัวใจ ตา ปาก ทางเดินอาหาร หูชั้นใน และแขน ขา

หัวใจของลูกน้อยจะเริ่มเต้น ได้เมื่ออายุประมาณ 25 วัน

การเจริญเติบโตของตา

ในตอนแรก ตาจะเจริญโดย การบุ๋มลงไปในศีกษะ ทางด้านข้าง (รูปซ้าย) จากนั้นก็จะเจริญอย่างรวดเร็ว จนเป็นรูปตา (รูปกลาง เมื่ออายุ 8 สัปดาห์ , รูปขวา เมื่ออายุ 10 สัปดาห์) เมื่ออายุครบ 3 เดือน จะมีหนังตา ซึ่งลูกน้อยจะหลับตาอยู่

การเริ่มปฏิบัติตัวให้ถูกต้อง ตลอดระยะเวลาการตั้งครรภ์ ก็นับว่าคุณได้ทำหน้าที่แม่ของคุณอย่างเต็มศักยภาพ เพื่อเป้าหมายให้ลูกที่เกิดมาไม่พิการ ที่เรามักเรียกกันว่า ครบ 32 มีสติปัญญาดี แล้วมาสร้างเสริมให้เป็นเด็กแข็งแรง เก่ง และเป็นคนดี ต่อไปเมื่อลูกน้อยเติบใหญ่ แต่ละช่วงเวลาเป็นสิ่งสำคัญ บางอย่างทำผิดพลาดไปแล้ว จะเอาคืนมาไม่ได้ อะไรบ้าง? ยาไงคะ ยาที่คุณกินจะมีผลต่อลูกในท้อง โดยเฉพาะ ช่วง 4-8 สัปดาห์แรก ของการตั้งครรภ์ ซึ่งเป็นช่วงที่อวัยวะต่างๆ กำลังเติบโต ถ้ายาหยุดยั้งการเจริญเติบโตในช่วงนี้ จะเกิดความพิการได้ อย่างที่เคยมีมาในอดีต ยาโทลิดาไมด์ เป็นยาแก้ปวด ซึ่งคุณแม่บางคน มีอาการปวดหัวมาก แล้วใช้ยาชนิดนี้โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ทำให้ลูกเกิดมามีแขนขาด้วน เป็นต้น โชคดี ที่ยาชนิดนี้ไม่มีการจำหน่ายแล้ว อย่างไรก็ตาม อย่ารับประทานยาโดยไม่ปรึกษาแพทย์ แม้แต่ ยาแอสไพริน ยาแก้แพ้ วิตามินที่มีขนาดสูงๆ ยาทาภายนอก ถ้าคุณต้องรับประทานยาสำหรับโรคประจำตัว ควรแจ้งให้แพทย์ทราบว่า คุณตั้งครรภ์ แพทย์จะได้เปลี่ยนยาที่เหมาะสม สำหรับคนท้อง ปลอดภัยไว้ก่อน ปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทานยานะคะ

บุหรี่ บุหรี่มีอันตรายต่อการเติบโตของลูก ทั้งทางร่างกายและสมอง อันตรายมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับว่าคุณสูบบุหรี่วันละกี่มวน สูบมากเกิดอันตรายต่อลูกมาก หญิงตั้งครรภ์ต้องเลิกสูบบุหรี่ ถ้าสามีสูบก็ควรพยายามเลิกด้วย เพราะถ้าคุณสูบบุหรี่ในบ้าน อยู่ห้องเดียวกัน ภรรยาคุณก็เท่ากับสูบไปด้วย โดยหายใจเอาควันบุหรี่เข้าไป (Passive smoker) ถ้าสามีสูบ 2 มวน เท่ากับภรรยา หรือคนรอบข้าง หายใจเอาควันบุหรี่ เข้าไปเท่ากับสูบบุหรี่ 1 มวนที่เดียว ตอนนี้คุณจะเป็นพ่อแม่คนแล้ว ถ้างดสูบบุหรี่ได้ ลูกคุณก็แข็งแรง ตัวคุณเองก็แข็งแรง จะได้มีชีวิตยืนนาน เลี้ยงลูก เห็นเขาเติบโต จนมีหลานต่อไป

กาแฟ ผลของกาแฟต่อลูกในท้องนั้น ยังถกเถียงกันอยู่ องค์การควบคุมอาหารและยา ของประเทศสหรัฐอเมริกา เห็นว่า ถ้าดื่มกาแฟที่มีคาเฟอีน ขนาดปานกลาง จะไม่เกิดอันตรายต่อลูกน้อย ขนาดปานกลางหมายถึง ดื่มกาแฟ อย่างมาก 1-2 ถ้วย ต่อวัน แต่ต้องระวัง คาเฟอีน ที่ผสมในเครื่องดื่ม เช่น เครื่องดื่มชูกำลัง หรือ ช็อกโกเลต บางชนิดโดยที่เราไม่รู้ด้วยนะคะ

แล้วคุณจะรับประทานอะไรในช่วงแรกนี้คุณรู้สึกไม่สบายไปหมด คลื่นไส้ เวียนหัว ง่วงนอน อาการแพ้ท้องมักเกิดขึ้นกับคนท้องถึง 3 ใน 4 ส่วน อาการจะเกิดตอนไหนก็ได้ อาจเป็นตอน เช้า บ่าย เย็น หรือเมื่อได้รับกลิ่นอาหาร ในช่วงนี้คุณอาจต้องจิบ น้ำอุ่น น้ำอัดลม กินอาหารที่พอรับได้ เช่น ข้าวต้ม ขนมปังปิ้ง แต่ต้องกินครั้งละน้อยๆ เพิ่มมื้ออาหารให้ถี่ขึ้น อาจเป็น 5-6 มื้อ ต่อวัน

เรียบเรียงโดย เพ็ชรสังข์.คอม ขอบคุณ หนังสือรักลูก

Written by on