นำเสนอสาระน่ารู้ บทความดีๆ เกี่ยวกับพัฒนาการของลูกน้อยในวัยเตาะแตะ ลูกน้อยในวัย 2-3 ปี เพื่อคุณพ่อคุณแม่จะได้เตรียมพร้อมรับมือกับพัฒนาการของลูกน้อยได้อย่างชาญฉลาด และมีสติ พร้อมที่จะแก้ไขและส่งเสริมให้ลูกน้อยมีพัฒนาการที่ดีสมวัย และสามารถเจริญเติบโตต่อไปได้อย่างมีความสุข สุขภาพแข็งแรง ร่าเริงสดใส ทาง Pstip หวังเป็นอย่างยิ่งว่าสาระความรู้ต่างๆ ในหมวดนี้จะสามารถเป็นแนวทางที่ดี สำหรับคุณพ่อคุณแม่คนใหม่นำไปปฏิบัติเพื่อลูกน้อยที่คุณรักได้อีกทางหนึ่งค่ะ

Written by on

 

สมอง กับการเรียนรู้

การเลี้ยงดูลูกน้อยช่วงอายุ 0-3 ขวบปี นับว่าเป็นช่วงสำคัญยิ่ง คุณพ่อคุณแม่ต้องเอาใจใส่เป็นพิเศษ เพราะเป็นช่วงที่ลูกน้อยมีการพัฒนาสมองให้เกิดการเรียนรู้ต่อสิ่งต่างๆ รอบตัว

 

เด็กบางคนที่ถูกทอดทิ้งตั้งแต่เกิด ไม่ได้รับการเลี้ยงดูด้วยความรัก ความอ่อนโยนจากพ่อแม่ ทำให้ใยประสาทของเซลล์สมองเกิดน้อย ส่งผลให้เด็กคนนั้นมีการเรียนรู้ในสิ่งต่างๆ ได้ช้า ทำอะไรไม่ค่อยเป็น เฉื่อยชา ขาดเหตุผล แต่ในทางตรงกันข้ามเด็กที่ได้รับการดูแลเอาใจใส่ด้วยความรัก ความอบอุ่นจากพ่อแม่ ลูกน้อยจะได้รับการกระตุ้นทางตา หู ลิ้น จมูก และกาย อยู่เป็นประจำตลอดเวลา ซึ่งลูกจะได้รับการได้เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ได้รส และที่สำคัญได้รับการสัมผัสแห่งรักจากพ่อแม่ ซึ่งจะทำให้ใยประสาทของเซลล์สมองงอกงาม เกิดการเรียนรู้ในสิ่งต่างๆ ได้ง่าย ฉลาดที่จะจดจำ เป็นเด็กที่มีชีวิตชีวา รู้เหตุรู้ผล อันจะส่งผลให้ลูกน้อยเกิดการพัฒนา สามารถเรียนรู้คิดเป็นทำเป็น เป็นบุคคลที่มีคุณภาพ ในอนาคตไม่เป็นปัญหาของสังคม (อ้างอิงจากหนังสือ YOCHIEN EDVA OSOSUGIRU, การบริหารสมองของ ดร.พัชรีวัลย์ เกตุแก่นจันทร์)การเรียนรู้จะเกิดประสิทธิภาพสูงสุดได้นั้น เมื่อใช้สมองแบบ Whole Brain การบริหารสมอง จะทำให้สมองทั้ง 2 ซีกทำงานไปพร้อมๆ กันและเพิ่มความแข็งแรงในการทำงานให้ประสานกันอีกด้วย

การดื่มน้ำสะอาดบริสุทธิ์ก่อน และหลังการบริหารสมองจะช่วยให้การทำงานของสมองดีขึ้น เช่นเดียวกับการหายใจที่ถูกต้อง คือ การหายใจเข้าลึกๆ ช้าๆ และหายใจออกช้าๆ ให้ช้ากว่าการหายใจเข้าเพื่อให้สมอง ได้รับออกซิเจนอย่างเต็มที่รวมทั้งการบริโภคอาหารที่ถูกสุขลักษณะ จะทำให้สมองมีพลังงานทำงานได้เต็มศักยภาพ

การบริหารสมอง (Brain Gym) ทำได้ด้วยท่าง่ายๆ 4 ท่า คือ

  1. การเคลื่อนไหวสลับข้าง (Cross-Over Movement) ทำให้การทำงานของสมองสองซีกถ่ายโยงข้อมูลกันได้ เช่น การวิ่งเหยาะอยู่กับที่ช้าๆ กำมือซ้าย-ขวา ไขว้กันระดับหน้าอก กางแขนทั้งสองออกห่างกันเป็นวงกลม แล้วเอามือกลับมาไขว้กันเหมือนเดิม
  2. การยืดส่วนต่างๆ ของร่างกาย (Lengthening Movement) ทำให้ผ่อนคลายความตึงเครียดของสมองส่วนหน้าและส่วนหลัง มีสมาธิในการเรียนรู้และทำงาน เช่น การยกมือสองข้างดันฝาผนังงอขาขวา ขาซ้ายยืดตรงยกส้นเท้าซ้าย เอนตัวไปข้างหน้าเล็กน้อยพร้อมหายใจเข้าช้าๆ ลึกๆ แล้ววางส้นเท้าลงตัวตรง หายใจออกช้าๆ งอขาซ้าย ทำเหมือนขาขวา ใช้มือทั้งสองข้างทำท่ารูดซิบขึ้น หายใจเข้าช้าๆ ทำท่ารูดซิบลง หาใจออกช้าๆ
  3. การเคลื่อนไหวเพื่อกระตุ้น (Energising Movement) ทำให้เกิดการกระตุ้นความรู้สึกทางอารมณ์ เกิดแรงจูงใจ เพื่อช่วยให้เรียนรู้ได้ดีขึ้น เช่น การใช้นิ้วชี้นวดขมับเบาๆ ทั้งสองข้างวนเป็นวงกลม ใช้มือทั้งสองเคาะที่ตำแหน่งกระดูกหน้าอกโดยสลับมือกันเคาะเบาๆ
  4. ท่าบริหารร่างกายง่ายๆ (Useful Exercises) เช่น การกำมือสองข้าง ยกขึ้นไขว้กับระดับตา ตามองมือที่อยู่ด้านนอก เปลี่ยนมือทำเช่นกัน, ใช้มือทั้งสองปิดตาที่ลืมอยู่เบาๆ ให้สนิท จนมองเป็นสีดำมือสนิทสักพัก แล้วค่อยๆ เอามือออก แล้วเริ่มปิดตามใหม่ ควรจะทำก่อนอ่านหนังสือ ใช้นิ้วมือทั้งสองข้างเคาะเบาๆ ทั่วศีรษะออกมาจากด้านซ้ายและขวาพร้อมๆ กันการบริหารสมองอย่างถูกต้อง ถูกวิธีจะให้ผลดีกับทุกๆ คนในครอบครัว และที่สำคัญสมองกับการเรียนรู้ของลูกคุณ จะพัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพได้นั้น คุณพ่อคุณแม่ต้องเป็นตัวจักรที่สำคัญในการใส่ใจ และส่งเสริมลูกน้อยของคุณตั้งแต่เยาว์วัยค่ะ

ข้อมูลจาก วารสาร Kid's guide

Written by on

Written by on

พัฒนาการเด็กอายุ 1-2 ปี และพัฒนาการที่สงสัยว่าผิดปกติ

วัยนี้เป็นวัยล้มลุก ชอบอิสระ เช่น เดินได้เอง พ่อแม่ย่อมภูมิใจที่ลูกเติบโตเดินได้เอง หยิบอาหารกินได้เอง แต่ผู้ดูแลจะเหน็ดเหนื่อยขึ้น เพราะลูกจะเคลื่อนไหวตลอด ต้องคอยติดตามดูแลความปลอดภัยกันทุกฝีก้าว

พัฒนาการด้านการเคลื่อนไหว

  • เดินได้เอง คล่องขึ้น
  • เดินลากของเล่นได้
  • ถือของเล่นไว้ในมือเวลาเดินได้
  • เริ่มหัดวิ่ง
  • ยืนปลายเท้า
  • เตะบอล
  • ปีนขึ้นลงเบาะนั่งโซฟาได้เอง โดยไม่ต้องช่วย
  • เดินขึ้นลงบันได โดยการเดินพยุงช่วย

สงสัยพัฒนาการผิดปกติ มีอาการดังนี้

  • ยังเดินไม่ได้เมื่ออายุ 18 เดือน
  • เดินเขย่งปลายเท้า
  • ไม่พูด 15 คำ เมื่ออายุ 18 เดือน
  • ไม่พูดเป็นประโยค 2 คำ เมื่ออายุ 2 ขวบ
  • ไม่รู้จักหน้าที่ของของใช้ที่ใช้บ่อย ๆ เช่น แปรงสีฟัน โทรศัพท์
  • ไม่เลียนท่าทางหรือคำพูด
  • ไม่ทำตามคำสั่งง่าย ๆ เมื่ออายุ 2 ขวบ
  • ไม่นั่งรถ 3 ล้อ ใช้เท้าดันไปข้างหน้า เมื่ออายุ 2 ขวบ

พัฒนาการด้านอื่นๆที่ปกติสำหรับเด็กวัยนี้มีดังนี้

การใช้มือและนิ้ว

  • ใส่ของเล่นชิ้นเล็กลงในขวดได้และเขย่าให้ออกได้
  • วางบล็อกซ้อนกันได้ 4 ชิ้น แล้วน๊อคให้ตกลงมาเสีย
  • เขียนเส้นยุ่ง ๆ บนกระดาษ
  • คว่ำกล่องเอาของออกจากกล่องได้
  • ต่อได้ 4 บล็อก
  • ใช้มือข้างหนึ่งบ่อยกว่าอีกข้าง แสดงอาการถนัดซ้ายถนัดขวา
  • จับลูกบอลที่กลิ้งมาได้
  • เอาตะปูใส่รูกระดานได้
  • พับกระดาษ
  • เอาของเล่นแยกจากกันแล้วใส่กลับคืนได้
  • ปั้นดินเป็นรูปร่างได้
  • ชี้รูปตามบอกได้
  • จำชื่อคนที่คุ้นเคย ของเล่น และส่วนต่างของร่างกายได้แล้ว
  • พูดได้บางคำ ตอน 15-18 เดือน
  • พูดได้หลายคำต่อกัน เมื่ออายุ 18-24 เดือน
  • ใช้คำพูดเป็นประโยคสั้น
  • ทำตามคำสั่ง
  • พูดตามคำที่ผู้ใหญ่คุยกัน

พัฒนาการด้านความจำและความคิด

  • หาของที่ซ่อนไว้ใต้ผ้าคลุม 2-3 อันได้
  • เริ่มหาของเล่นรูปร่างและสีต่าง ๆ ที่เข้ากันได้
  • เริ่มเล่นสมมุติ เป็นแล้ว

ด้านสังคมและอารมณ์

  • ทำตามอย่างพฤติกรรมของผู้ใหญ่หรือเด็กที่โตกว่า
  • รู้จักแยกตัวเองบ้างแล้ว ไม่ติดคนเลี้ยงเหมือนแต่ก่อน
  • ชอบเล่นกับเพื่อน ๆ บ้างแล้ว
  • เป็นอิสระมากขึ้น ไม่ค่อยเชื่อฟัง เริ่มมีช่วงงอแงเวลาแม่ไม่อยู่ จนถึงขวบครึ่งแล้วก็จะหายไป

กิจกรรมที่คุณพ่อคุณแม่ต้องทำ คือ

  • ฝึกให้ดื่มนมจากถ้วย และเลิกขวดนมให้ได้ ก่อนอายุ 2 ขวบ
  • หัดให้ลูกแปรงฟัน
  • หัดให้ลูกตักข้าวกินเอง
  • หัดให้ลูกบอกเวลาขับถ่าย
  • หัดให้ลูกรู้จักควบคุมอารมณ์
  • เมื่อบอกให้ลูกทำอะไร ควรบอกอย่างนุ่มนวล เมื่อลูกทำตามควรกล่าวคำ ขอบใจจ๊ะลูก
  • เมื่อลูกปฏิเสธ ไม่ควรโกรธเขา เพียงลองใจถามดูซิว่า คุณจะทำอย่างไร ควรกล่าวคำขอร้องให้เขาทำซ้ำอีก ถ้าคุณบังคับให้เขาทำ เขาจะยิ่งไม่ยอมทำตาม
  • อย่าติดสินบนลูก ให้ลูกทำตามที่เราอยากให้ทำ
  • ให้ลูกเลือกในสิ่งที่พอทำได้ เช่น เลือกเสื้อผ้า เลือกนิทานที่เขาอยากให้อ่าน เลือกของเล่น
  • หลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่ขัดใจลูกโดยไม่จำเป็น เช่น พาไปร้านขายของเล่น แล้วลูกเกิดอยากได้
  • ให้รางวัลเมื่อลูกประพฤติดี ด้วยการอยู่ใกล้ชิด พาไปยิ่งเล่นที่สวนสาธารณะ
  • มีอารมณ์ขัน แม้เขาจะโกรธ แผดเสียงร้อง ควรมองดูว่าเขามีพละกำลังมากมายเพียงไร แต่ไม่ควรหัวเราะ ลูกจะยิ่งโกรธมากขึ้น

ขอขอบคุณ ที่มา : นิตยสาร Modern Mom ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต

Written by on

Written by on

 

น้ำหนัก ส่วนสูง และพัฒนาการของเด็กอายุ 2-3 ปี

เด็กวัยนี้เป็นวัยที่สำรวจโลกภายนอกมากขึ้น ขึ้นบันได แตะลูกบอลได้ และถีบสามล้อ ผู้ดูแลจึงต้องป้องกันอุบัติเหตุให้เด็ก เมื่อไปในที่ชุมชน ศูนย์การค้า ต้องระวังอย่าให้พลัดหลง เด็กบางคนเริ่มเข้าโรงเรียนก่อนอนุบาล อาจเจ็บป่วยบ่อย ๆ เพราะติดเชื้อ

จากเพื่อน พ่อแม่อาจต้องทำใจรับเรื่องนี้และให้ไปพบกุมารแพทย์เมื่อเจ็บป่วยเท่าที่จำเป็น

น้ำหนักและส่วนสูง

  • อายุ 2 ปี น้ำหนัก 11.8 กิโลกรัม ส่วนสูง 85 เซนติเมตร
  • อายุ 2 ปีครึ่ง น้ำหนัก 12.8 กิโลกรัม ส่วนสูง 88 เซนติเมตร
  • อายุ 3 ปี น้ำหนัก 13.8 กิโลกรัม ส่วนสูง 92 เซนติเมตร

พัฒนาการ

การทรงตัวและเคลื่อนไหว เด็กสามารถเตะลูกบอลและขว้างลูกบอลไปข้างหน้า กระโดดอยู่กับที่ได้ เดินขึ้นบันไดสลับเท้า ขี่รถจักรยานสามล้อได้เมื่อายุ 3 ปี

การใช้ตาและมือ/สติปัญญา เด็กสามารถเปิดหนังสือที่ละแผ่นต่อชั้นไม้สูง 8 ชั้น เขียนกากบาด และวงกลมได้ตามตัวอย่างการสื่อความหมายและภาษา เด็กอายุ 2 ปี พูดได้ 2-3 คำ ต่อกันต่อมาพูดเป็นประโยชน์ และโต้ตอบได้ตรงเรื่อง ร้องเพลงง่าย ๆ บอกชื่อตัวเองได้ อาจพูดบางคำยังไม่ชัด

อารมณ์และสังคม เด็กที่ได้รับการฝึกการขับถ่ายแล้ว จะบอกเวลาจะถ่ายอุจจาระ ถอดเสื้อผ้าได้ และใส่ได้เอง อายุ 3 ปี บอกเพศของตัวเองได้ เล่นเข้ากลุ่มเด็ก รู้จักขอ และแบ่งปันได้ รู้สึกมั่นใจในตนเองมากขึ้น เล่นเองได้นานขึ้น อายุ 3 ปีจะแยกจากแม่ได้ จึงเป็นช่วงเหมาะที่จะเริ่มเข้าอนุบาล เมื่ออายุประมาณ 3 ขวบครึ่ง การเติบโตของร่างกาย และพัฒนการของเด็กแต่ละคนอาจเร็ว ช้าแตกต่างกันได้บ้าง หากสงสัยควรถามแพทย์ พ่อแม่ควรให้ลูกช่วยเหลือตัวเอง และฝึกความพร้อมที่จะเข้าสังคม เพื่อนวัยเดียวกัน ดังนี้

  • ฝึกการช่วยเหลือตัวเอง เช่น กิน่ข้าว แปรงฟัน แต่งตัว โดยให้เด็กลองทำเอง ชี้แนะช่วยเหลือเท่าที่จำเป็น
  • เปิดโอกาส ให้เล่นกับเด็กอื่นในวัยเดียวกันและเล่นกลางแจ้งโดยคอยดูแลใกล้ชิด
  • พูดคุยและรับฟังเด็ก พยายามอธิบายโดยใช้เหตุผล และเลือกรายการโทรทัศน์ที่เหมาะสมกับเด็กให้ดูไม่เกินวันละ 1-2 ชั่วโมง
  • อายุ 3 ปี เริ่มเข้าโรงเรียนอนุบาล ซึ่งไม่ควรเน้นเรื่องการเรียนอย่างท่องจำ หรืออ่านเขียนแต่ควรเตรียมความพร้อม เสริมพัฒนาการทุกด้าน ได้แก่ การเคลื่อนไหว สติปัญญา การสื่อภาษา ด้านอารมณ์และสังคม
  • ระวังอุบัติเหตุ พลัดตกจากที่สูง สารพิษ ของมีคม จมน้ำ ไช้เข็มขัดนิรภัยเวลานั่งรถยนต์ หลีกเลี่ยงการเอาเด็กนั่งมอเตอร์ไซด์
  • พาไปตรวจสุขภาพ และพบทันตแพทย์เพื่อเคลือบฟลูโอไรด์
  • บันทึกน้ำหนัก ความยาว และพัฒนการของเด็กลงในสมุดสุขภาพ และนำติดตัวไปเมื่อพาเด็กไปรับการตรวจสุขภาพครั้งต่อไป

ขอขอบคุณ ที่มา : นิตยสารเรื่องผู้หญิง ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต

Written by on

Written by on

พัฒนาการเด็กอายุ 2-3 ปีและพัฒนาการที่ควรสงสัยว่าผิดปกติ

ลูกวัยนี้เป็นวัยที่ย่างเข้าสู่วัยก่อนเรียน เป็นช่วงที่การเจริญเติบโตทางร่างกาย และพัฒนาการการเคลื่อนไหวเริ่มช้าลง แต่พัฒนาการด้านสมองก้าวหน้า จะเห็นได้ว่า ลูกฉลาดขึ้น สังคมและอารมณ์ก็มีการเปลี่ยนแปลง พูดเก่งขึ้น ต้องการเป็นอิสระ และควบคุมตัวเองได้ดี คุณพ่อคุณแม่จะเห็นได้ว่า ลูกเมื่อเติบโตมาถึงอายุ 2 ขวบ จะเริ่มปฏิเสธเสมอ เข้าวัย เจ้าวายร้าย อายุ 2 ขวบปี (Terrible twos)

พัฒนาการที่ปกติด้านการเคลื่อนไหว

  • ปีนป่ายได้ดี
  • ขึ้นลงบันไดโดยก้าวสลับเท้า
  • เตะบอล
  • วิ่งได้ว่องไว
  • ถีบสามล้อได้
  • ก้มลงได้โดยหัวไม่ขมำ

สงสัยพัฒนาการผิดปกติ มีอาการดังต่อไปนี้

  • หกล้มบ่อย ๆ ขึ้นบันไดด้วยความยากลำบาก
  • น้ำลายไหลตลอดเวลาหรือพูดไม่ชัด
  • ต่อบล็อกได้ไม่ถึง 4 บล็อก
  • หยิบจับของชิ้นเล็กไม่ค่อยถนัด
  • เขียนวงกลมให้ดูแล้ว เขียนตามไม่ได้
  • พูดเป็นวลีสั้น ๆ ไม่ได้
  • เล่นสมมติไม่เป็น
  • ไม่เข้าใจคำบอกง่าย ๆ
  • ไม่ค่อยสนใจเด็กคนอื่น ๆ
  • ไม่ยอมจากแม่เลย

พัฒนาการด้านอื่นๆที่ปกติสำหรับเด็กวัยนี้มีดังนี้

การใช้มือและนิ้ว

  • เขียนเส้นตั้ง เส้นนอน และวงกลมได้
  • เปิดหนังสือทีละหน้า
  • ต่อบล็อกได้ถึง 6 บล็อก
  • จับดินสอในท่าเขียนเหมือนเด็กโต
  • หมุนปากขวดบิดและเปิดได้
  • หมุนพวงมาลัยได้

ด้านภาษา

  • ทำตามคำสั่ง 2-3 อย่างได้
  • รู้จักสิ่งของที่คุ้นเคยและรูปภาพของคนที่รู้จัก
  • เข้าใจประโยคต่าง ๆ มากขึ้น
  • เข้าใจความสัมพันธ์ของสิ่งที่อยู่ ?บน? ?ใน ? และ ?ใต้?
  • ใช้ประโยคยาว 4-5 คำ
  • บอกชื่อ อายุ และเพศของตนเองได้
  • ใช้สรรพนามแทนตัวได้
  • พูดให้ผู้อื่นเข้าใจได้ส่วนใหญ่

ความจำและความฉลาด

  • จัดของเล่นที่เหมือนกันให้อยู่กลุ่มเดียวกันได้
  • เล่นสมมติกับตุ๊กตา สัตว์ และเพื่อนได้
  • หาสิ่งของที่รูปร่างและสีมาเติมตรงที่ขาดได้
  • ต่อรูปภาพ 3-4 ชิ้น เข้ากันได้
  • เข้าใจความหมายของ สอง

ด้านสังคมและอารมณ์

  • ทำตามผู้ใหญ่และเพื่อน
  • ชอบเพื่อนที่คุ้นเคยกัน
  • รอจังหวะผลัดกันเล่นเป็นแล้ว
  • เข้าใจความหมายของ ?ของฉัน? ?ของเธอ?
  • แสดงความรัก ชอบ อย่างเปิดเผย
  • แสดงออกด้านอารมณ์หลากหลาย
  • จากแม่ไปโรงเรียนหรือที่ต่าง ๆ ได้โดยไม่ร้องตาม
  • ขัดขืนการเปลี่ยนแปลงที่เขาทำเป็นประจำ

กิจกรรมที่คุณพ่อคุณแม่จะต้องทำในช่วงนี้

  • พาลูกไปตรวจฟัน
  • ฝึกหัดให้ลูกขับถ่าย
  • การนอน เด็กวัยนี้ต้องนอน 9-13 ชั่วโมง
  • ฝึกระเบียบวินัย
  • เตรียมตัวไปโรงเรียน

ขอขอบคุณ ที่มา : นิตยสาร Modern Mom ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต

Written by on

Written by on

 

น้ำหนัก ส่วนสูง และพัฒนาการของเด็กอายุ 1-2 ปี

พัฒนาการที่ปกติสำหรับเด็กอายุ 1-2 ปี และวิธีการส่งเสริมพัฒนาการ

เด็กวัยนี้เป็นวัยที่หัดเดิน เดินได้ดีและวิ่งได้ ในวัยนี้นอกจากดูแลเรื่อง การกิน การนอน แล้วจะต้องฝึกการขับถ่าย และฝึกให้เด็กควบคุมอารมณ์ การเข้าร่วมกิจกรรมของครอบครัวตลอดจน การหย่า นมแม่หรือนมขวด ซึ่งต้องการความร่วมมือของพ่อแม่ คนเลี้ยงดูเด็กตลอดจนญาติผู้ใหญ่ด้วยจึงจะประสบความสำเร็จ

น้ำหนักและส่วนสูงโดยประมาณ

  • อายุ 12 เดือน น้ำหนัก 9 ส่วนสูง 5 เซนติเมตร
  • อายุ 15 เดือน น้ำหนัก 10 ส่วนสูง 77 เซนติเมตร
  • อายุ 18 เดือน น้ำหนัก 10.8 ส่วนสูง 80 เซนติเมตร

พัฒนาการ

การทรงตัวและเคลื่อนไหว

  • เด็กเดินเองได้ เมื่อเด็กอยู่ในท่ายืน สามารถก้มลงเก็บของ แล้วลุกขึ้นได้ โดยไม่ล้ม
  • การใช้ตาและมือ เมื่อให้ของเล่นเป็นชิ้นสี่เหลี่ยม วางของซ้อนกัน 2-3 ชั้น ขีดเขียนเป็นเส้นยุ่ง ๆ
  • การสื่อความหมายและภาษ เด็กพูดเป็นคำพยางค์เดียว ที่มีความหมาย เช่น พ่อ แม่ นม น้ำ ชี้ส่วนต่าง ๆ บนใบหน้าได้ตามคำบอก
  • อารมณ์และสังคม เด็กสามารถใช้ช้อนตักอาหารได้ แต่ยังหกอยู่บ้าง กลิ้งลูกบอลรับส่งกับผู้ใหญ่ เลียนแบบสีหน้า ท่าทาง เช่น โบกมืออำลา ไหว้
  • การเติบโตของร่างกาย และพัฒนาการของเด็กแต่ละคนอาจเร็ว ช้าแตกต่างกันได้บ้าง หากสงสัยควรถามแพทย์
  • พ่อแม่ควรให้เวลากับลูกอย่างมีคุณภาพ ตั้งใจ ฝึกลูกในการขับถ่าย และหย่าขวดนมโดยทำอย่างนุ่มนวล ปฎิบัติตามข้อเสนอแนะต่อไปนี้
  • ฝึกการดื่ม หรือนมจากถ้วยทีละน้อย โดยผู้ใหญ่ช่วยถือถ้วยให้ก่อน ต่อมาให้เด็กถือถ้วยยกขึ้นดื่มเอง และเลิกใช้ขวดนม
  • ทำอาหาร ที่อ่อนนุ่มตัดเป็นชิ้นเล็กให้เด็กหัดหยิบกินเอง และฝึกการใช้ช้อนตักอาหารโดยใช้ชามขอบสูง และช้อนเล็กขอบมน
  • ฝึกขับถ่ายอุจจาระปัสสาวะให้เป็นที่ เช่น กระโถนหรือส้วมที่ดัดแปลงให้เด็กใช้ได้
  • สอนการช่วยตัวเองในกิจวัตรประจำวัน และระเบียบวินัยอย่างง่าย ๆ ด้วยการทำตัวเป็นแบบอย่าง ใช้วิธีชักจูงให้สนใจทำจะได้ผลดีกว่าการสั่ง หรือบังคับขู่เข็ญ
  • พ่อแม่ควรส่งเสริมพัฒนการของเด็ก โดยจัดบริเวณที่ปลอดภัยให้เด็กมีอิสระที่จะเดิน ปีนป่าย และเล่นโดยอยู่ในความดูของผู้ใหญ่อย่างใกล้ชิด จัดหาของเล่นที่เหมาะสมกับเด็ก และเล่นกับเด็กด้วย เช่น ลูกบอล กล่องที่ซ้อนกันได้ ของเล่นลอยน้ำ หาของที่ซ่อนไว้
  • ยิ้มแย้ม พูดคุยโต้ตอบกับเด็ก เรียกชื่อเด็กและพูดถึงสิ่งที่เด็กสนใจหรือกำลังทำอยู่ ปรบมือและกล่าวชมเชย เมื่อเด็กทำสิ่งที่บอกได้อุ้มชูและกอดจูบเด็กและร้องเพลงกล่อมเด็กให้เด็กได้พบเห็นญาติหรือเพื่อนบ้าน และร่วมในกิจกรรมของครอบครัว
  • บันทึกน้ำหนัก ความยาว และพัฒนาการของเด็กลงในสมุดสุขภาพ และนำติดตัวไป เมื่อพาเด็กไปรับการตรวจสุขภาพทุกครั้ง

ขอขอบคุณ ที่มา : นิตยสาร Modern Mom ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต

Written by on

Written by on

พัฒนาการในเด็กอายุ 3-4 ปีและพัฒนาการที่ควรสงสัยว่าผิดปกติ

เมื่ออายุครบ 3 ปี ช่วงอายุแห่งการปฏิเสธ ไม่ กับทุกเรื่อง ที่จัดเป็นวัย Terrible two สิ้นสุดลงและช่วงอายุแห่งความมหัศจรรย์ Magic years กำลังเริ่มต้น ลูกจะมีโลกแห่งจินตนาการเกิดขึ้น เขาหายเตาะแตะแล้ว แต่จะเดิน วิ่งได้คล่อง เป็นอิสระมากขึ้น เล่นกับเพื่อนเป็นแล้ว พอถึง 3 ขวบครึ่งก็เข้าโรงเรียนอนุบาลได้แล้ว เพื่อจะได้ฝึกการใช้มือประสานตา และหัดเข้าสังคม คุณพ่อคุณแม่จะประหลาดใจบ่อย ๆ ที่ลูกสามารถจะพูดจาได้เก่ง เป็นที่ประทับใจไม่เว้นสักวัน เขาสามารถจะพูด แสดงความต้องการ และความรู้สึกได้แทนที่จะใช้ภาษากายอย่างที่เคยทำช่วงก่อนหน้านี้

พัฒนาการที่ปกติ

  • กระโดดยืนขาเดียวได้
  • ขึ้นลงบันใดเองได้ โดยไม่ต้องช่วย
  • เตะบอลไปข้างหน้าได้
  • โยนบอลขึ้นได้สูง
  • ใช้มือจับบอลที่กระเด้งขึ้นมาได้
  • เคลื่อนตัวไปข้างหน้าข้างหลังได้คล่อง

สงสัยพัฒนาการผิดปกติ มีอาการดังนี้

  • ไม่สามารถโยนบอลได้สูง
  • กระโดดอยู่กับที่ไม่ได้
  • ขี่สามล้อไม่เป็น
  • จับดินสอโดยใช้นิ้วโป้งและนิ้วชี้
  • ใช้ดินสอขีดเส้นยุ่งๆไม่ได้
  • สร้างบล็อกขึ้นถึง 4 ชั้นไม่ได้
  • ยังร้องตามแม่หรือเกาะติด เวลาแม่ไปนอกบ้าน
  • ไม่ยอมเล่นกับคนอื่น
  • ไม่ใส่ใจเด็กวัยเดียวกัน
  • ไม่เล่นสมมติกับเพื่อน ๆ
  • ไม่ยอมแต่งตัว นอน หรือถ่ายลงส้วม
  • แผดเสียงร้องเวลาโกรธ
  • ใช้ประโยคสั้น ๆ ไม่เกิน 3 พยางค์
  • ใช้คำแทนตัวเองหรือคนอื่นไม่ถูก

พัฒนาการด้านอื่นๆที่ปกติสำหรับเด็กวัยนี้มีดังนี้

การใช้มือและนิ้ว

  • เขียนสี่เหลี่ยมตามแบบได้
  • วาดรูปคนมี 2 ส่วนของร่างกาย 2-4 ส่วน
  • ใช้กรรไกรตัดกระดาษได้
  • เขียนวงกลม และสี่เหลี่ยมได้
  • เขียนหนังสือได้บางตัว

พัฒนาการด้านภาษา

  • เข้าใจความหมายของคำว่า เหมือนและแตกต่าง
  • ใช้ประโยคถูกไวยกรณ์
  • พูดเป็นประโยคยาว 5-6 คำ
  • พูดชัดขึ้น
  • เล่านิทานได้

พัฒนาการด้านความคิดและความจำ

  • บอกสีต่าง ๆ ได้ถูกต้อง
  • นับเลขได้
  • แก้ปัญหาบางอย่างได้
  • เข้าใจเวลา
  • ทำตามคำสั่ง (three-part command)
  • จำบางส่วนของนิทานได้
  • เล่นสมมติตามจินตนาการ

พัฒนาการด้านสังคมและอารมณ์

  • สนใจในประสบการณ์ใหม่ ๆ
  • ร่วมมือกับเด็กอื่น
  • เล่นสมมติเป็น พ่อ แม่
  • สร้างเรื่องตามจินตนาการขึ้นมาเล่น
  • แต่งตัวและถอดเสื้อผ้าได้
  • เมื่อมีข้อโต้แย้ง เด็กสามารถประนีประนอมได้
  • ชอบอิสระ
  • คิดว่าสิ่งที่ตนเองไม่คุ้นเคย ไม่รู้จัก เช่น สัตว์ประหลาด
  • เห็นตนเองเป็นบุคคลที่มีร่างกาย จิตใจและความรู้สึก
  • บางครั้งไม่สามารถแยกได้ว่า อะไรเป็นจินตนาการ อะไรเป็นจริง

ขอขอบคุณ ที่มา : นิตยสารรักลูก ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต

Written by on